Bobby Ralph
1d·
คนในเมืองหลายคนไม่รู้ว่า ความเหลื่อมล้ำในด้านการศึกษาของไทยหมายถึงอะไร
1. แรกเริ่มเลย จะมีโรงเรียน1โรงอยู่ในทุกหมู่บ้านแต่มีตั้งแต่อนุบาลถึงป.6เท่านั้น รร.ใหญ่หน่อยระดับตำบล มีถึงชั้น ม.3 ( ช่วงอนุบาลถึงป.6 รัฐออกค่าอาหารกลางวันให้ 20 บาทต่อหัว )
2. เมื่อเด็กจบป.6 เด็กจะมีอายุราวๆ10ขวบ ถ้าต้องเข้าไปเรียนในตำบลจะมีระยะทางประมาณ10กิโลจากบ้าน บางคนพ่อแม่มีตังก็ขี่มอเตอไซค์ไปส่ง ไม่มีก็ขอเค้าไป แต่ทุกบ้านต้องมีมอเตอร์ไซค์มันคือความจำเป็น ( ไม่งั้นต้องเดินไปกลับ 20โลทุกวันและต้องให้ทันเช้าเคารพธงชาติ)
3. พอโตขึ้น ต้องไปรร.ในอำเภอซึ่งมักจะไกลออกไปราว20กม. เด็กต้องขี่เองละเพราะพ่อแม่ไปส่ง ไปรับไม่ไหว ค่าน้ำมันตกโลละ 1บาทหรือ ขี่เองไปกลับค่าน้ำมันวันละ 40 บาท เดือนละ 800บาท พ่อแม่ต้องออกมอเตอไซค์ให้เด็กอีกคัน
ค่าแรงเกษตรกรตกเดือนละ 10,000 บาทโดยประมาณ ค่าน้ำมันเพื่อการศึกษาลูกกินไปละ 8% + ค่าผ่อนมอเตอร์ไซค์เดือนละ 2000 = 28% ของรายได้ 1หมื่นบาทต่อเดือนของพ่อแม่
พอเริ่มโต อาหารกลางวันซื้อเอง ( 20 บาท x 20 วัน = 400 บาทต่อเดือน ต่อหัว )
กลายเป็นรายจ่าย 32% สำหรับการศึกษาของลูก1คน
4. หลังม.3 เด็กต้องไปเรียนในจังหวัด ขี่รถไปกลับทุกวันเกือบร้อยโล ค่ารถวันละร้อย รถ2แถวมาทำเป็นรถนักเรียนก็มี แต่เด็กๆเดินทางวันละร้อยโล ทุกวัน
( ค่าเดินทางไม่ลด ส่วนมอเตอร์ไซค์ขายไม่ได้เผื่อฉุกเฉิน )
5. บางคนมีฐานะหน่อยก็เช่าหอให้อยู่ ค่าหอตกเดือนละ 1500 ไหนจะค่าอาหารเย็น กลับบ้านเสาร์อาทิตย์
รายจ่ายต่อครัวเรือนมาละ 42% ต่อหัว เพื่อให้เด็กไปโรงเรียนต่อได้ มูลนิธิของเราถึงเข้าไปช่วยออกให้ 30% ทุกเดือน เด็กๆถึงได้ไปต่อ
6. แต่สำหรับเด็กๆคนอื่น เมื่อยิ่งโต ต้นทุนยิ่งสูงตามมา เด็กจำนวนมากเลยไม่ได้ไปต่อหลังม.3 พ่อแม่ที่ลงทุนในการศึกษาไม่เห็น return สักทีเลยให้ออกมาช่วยทำนาแทน
การศึกษาคือการลงทุนที่รอเห็นผลหลังจาก 20ปีไป คนจนรอไม่ได้
ระบบที่เรามีในปัจจุบันคือการสร้างคนจนรุ่นใหม่ไว้ให้ตลาดได้ใช้งาน ถ้ารัฐไม่มี agenda สร้างคนจนไว้คอยรองรับมือเท้าคนในเมือง รัฐควรออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมดเพื่อให้เด็กเรียนต่อได้
เข้าใจรึยังว่าทำไมคนถึงไม่อยากมีลูก ทั้งคนจนและคนในเมือง ปัญหามันมาจากความยากทางเศรษฐกิจทั้งนั้น
ส่วนบางคนที่ชีวิตประสพความสำเร็จที่ไม่ได้โตมาจากสภาพนี้ มีครอบครัวที่จ่ายได้ เค้าเลยนึกเอาเองว่าถ้าเด็กขยันมากๆก็จะรอดเอง
ถ้าคุณมีภาระทุกเดือน 42%คุณจะลงทุนในระบบเก็บฟางข้าวเพื่อให้คนในเมืองมีอากาศหายใจดีๆหรือไม่
พรบ.อากาศสะอาดของคนเมืองถูกมองเป็นเรื่องไร้สาระที่คนเขียนไม่ได้เข้าใจโครงสร้างของปัญหา
เข้าใจรึยังทำไมต้องเผาฟางข้าวฟางข้าวโพด
#ควันของความยากจน
Sutirapan Sakkawatra ·
ปีที่แล้วมีวานวิจัยเรื่องปัญหาฝุ่นควันและแนวทางแก้ไข
ข้อสรุปจากงานวิจัยชิ้นนี้คือ ประเทศไทยไม่มีทางแก้ปัญหาได้ เพราะมันไม่ใช่ปัญหาสิ่งแวดล้อม
แต่มันคือปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง บทความนี้อธิบายหนึ่งในหลายๆ มิติของเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดีครับ
Bobby Ralph
Sutirapan Sakkawatra
ใช่ครับ หลายๆปัญหามันมาสุมกองจนเป็นปัญหาปลายเหตุคือฝุ่นควันแต่มันแก้ได้ถ้ารัฐมีคนที่เข้าใจโครงสร้างปัญหาจริงและมีคนเก่งเข้าไปช่วยด้วย แต่ตอนนี้มีแต่คนไม่เก่งที่ได้อำนาจไปทำ