บอล ธนวัฒน์ วงค์ไชย @tanawatofficial ·16h
ห้ะ ?
ซอฟต์พาวเวอร์มีไว้เพื่อปูพรมแดงให้ลูกสาวนายใหญ่ pic.twitter.com/lKjFjp8Vb8
— บิ๊ก เกียรติชัย ตั้งภรณ์พรรณ (@big_kiattichai) November 22, 2023
เพราะเพื่อไทยไม่ได้คิดจริงจัง…
— ARM WORAWIT (@armupdate) November 22, 2023
ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ จัดหนัก หมอเลี๊ยบ-เพื่อไทย ซัด ที่บอกไม่มีนิยามเพราะไม่เคยคิดแบบซีเรียส เอามาใช้เพื่อให้ฟังดูดี โดยใช้แบบผิดๆ pic.twitter.com/E4zQnwqhj8
Soft Power ที่แท้ทรู😅 pic.twitter.com/VqWZ4tKi01
— รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส-ตลาดหลวง (@royalist_market) November 22, 2023
.
— อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล (@AmaratJeab) November 22, 2023
.
ไม่พูดอะไรเลยจะดีกว่า pic.twitter.com/G1V65R3iy0
Puangthong Pawakapan
14h
·
พูดอย่างซีเรียส เพื่อไทยควรคิดหาคำมาใหม่มาแทนคำว่าซอฟท์พาวเวรอ์จะดีกว่า เพราะคำนี้ได้กลายเป็น “ภาระ” ให้ต้องตามแก้ไม่หยุดหย่อน จนน่าจะเป็นอุปสรรคของการพยายามผลักดันแผนส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นด้วย
แม้เพื่อไทยจะพยายามบอกว่าตนใช้ในความหมายเฉพาะของตน ไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามทฤษฎีเปะๆ คือเพื่อไทยมุ่งใช้ความคิดสร้างสรรค์ พัฒนาทักษะคนไทย ผลักดันสินค้าไทยไปสู่ตลาดโลก ซึ่งไม่ต่างกับที่ครั้งหนึ่งเคยทำสินค้าโอท็อป เพียงแต่ครั้งนี้ต้องการทำในสเกลที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็เห็นและเข้าใจแล้วล่ะว่าเพื่อไทยต้องการทำอะไร กระนั้น ทุกครั้งที่เพื่อไทยบอกว่าจะทำโน่นนี่ให้เป็นซอฟท์พาวเวอร์ ก็ต้องเจอกับการเยาะเย้ยประชดประชันไปเสียทุกอัน เพราะอะไร?
ดิฉันเชื่อว่าตอนที่เพื่อไทยเลือกใช้คำนี้ ก็เห็นว่ามันเป็นคำที่ดูเท่ดูคูลดูทันสมัย เอามาสร้างเป็นสโลแกนก็ง่าย ซึ่งเพื่อไทยก็คงพอรู้แหละว่าซอฟท์พาวเวอร์ของตนนั้นไม่ตรงกับตัวทฤษฎี แต่คงคิดว่าไม่ใช่เรื่องร้ายแรงอะไร เพราะคำภ.อังกฤษจำนวนมาก เมื่อถูกใช้ในไทยมักจะมีความหมายเพี้ยนไปเสมอ เช่น ประชาธิปไตยแบบไทยๆ = ระบอบอำนาจนิยมที่มีรัฐซ้อนรัฐ ทำรัฐประหารได้เมื่อจำเป็น เป็นต้น
อีกทั้งก่อนหน้านี้ก็มีการใช้คำนี้ผิดๆ กันอย่างมโหฬารแต่ก็ไม่เห็นมีใครทักท้วงอะไร เช่น บอกว่ามิลลี่กินข้าวเหนียวมะม่วงเป็นซอฟท์พาวเวอร์ ดิฉันคิดว่าเหตุการณ์นี้คือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ความเข้าใจผิดกระจายไประดับไฟลามทุ่ง หลังจากนี้ อะไรจากไทยที่ไปปรากฏบนเวทีนอกประเทศไทย ก็จะถูกเรียกว่าซอฟท์พาวเวอร์ไปเสียหมด – แต่นี่เป็นการกระทำของเอกชนหรือปัจเจกชน คนจึงไม่ได้ซีเรียสกับการใช้ผิดใช้ถูกเท่าไร
เพื่อไทยก็คงคิดว่าเสียงวิจารณ์ว่าใช้ซอฟท์พาวเวอร์ผิดความหมายก็คงอยู่แป๊บเดียวแหละ แล้วคนก็จะรับเอานิยามของตนไปในที่สุด แต่พอเพื่อไทยบอกว่าจะผลักดันนโยบาย “1 ครอบครัว 1 ซอฟท์พาวเวอร์” คนก็เริ่มเอะใจ เสียงเอ๊ะดังขึ้นเมื่อเพื่อไทยเริ่มยกตัวอย่างซอฟท์พาวเวอร์ เช่น ผ้าขาวม้า ช็อคมินท์ หมูกระทะ
อยากให้เพื่อไทยเข้าใจว่าคนที่เอ๊ะกับการใช้คำนี้ของเพื่อไทย อาจไม่ใช่เพราะเขาไม่เลือกเพื่อไทย แต่เพราะการใช้มันมีปัญหาจริงๆ เพราะคุณเลือกใช้คำที่มีความหมายใหญ่มาก คือมันพูดถึงการสร้างสมพลังอำนาจของชาติในการโน้มน้าวประเทศอื่นๆ ให้ดำเนินนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศผู้มีซอฟท์พาวเวอร์ แต่รูปธรรมซอฟท์พาวเวอร์ของเพื่อไทยกลับเล็กมากๆ - ช็อกมินท์ หมูกระทะ! (ซึ่งไม่แน่ใจว่าสินค้าสองตัวนี้มุ่งขายให้คนไทยหรือต่างชาติกันแน่) มันมีความไม่สมมาตรกันอย่างแรงจนคนรับไม่ได้ คนที่เขาพอรู้เกี่ยวกับแนวคิดนี้ก็ย่อมจะอดรนทนเงียบไว้ไม่ได้ค่ะ
ดิฉันเข้าใจว่าเพื่อไทยอยากผลักดันให้สินค้าไทยมีตลาดที่ใหญ่ขึ้น ดิฉันก็อยากเห็นนโยบายนี้ประสบความสำเร็จด้วย อะไรที่ทำให้คนมีรายได้มากขึ้นย่อมเป็นสิ่งดี แต่เราก็เห็นบ่อยครั้งที่สินค้าที่น่าสนใจตายตั้งแต่คลอดเพราะทำโฆษณาผิดพลาด
กรณีซอฟท์พาวเวอร์ เพื่อไทยกำลังเผชิญปัญหาว่ากระแสสังคมในประเทศขาดความเชื่อมั่น ไม่ให้ความร่วมมือ หรือแม้แต่คนที่อยากจะสนับสนุนก็ยังงงๆ ว่ามันคืออะไรกันแน่ เช่น คุณสรยุทธ์ สุทัศนะจินดา ซึ่งพยายามอย่างมากที่จะเข้าใจแต่ก็ไม่เข้าใจ น่าเห็นใจมากๆ
ดิฉันคิดว่าเพื่อไทยควรคิดหาคำใหม่แทนซอฟท์พาวเวอร์ เช่น คำว่า Thai power ก็ได้ หมายถึงโครงการผลักดันสินค้าไทยวัฒนธรรมไทยออกสู่ตลาดโลก สร้างงาน สร้างเงิน สร้างรายได้ -- ไม่ต้องกลัวว่าต้องเสียหน้าด้วย ถ้าทำนโยบายนี้สำเร็จ คนก็จะลืมเรื่องซอฟท์พาวเวอร์ไปเอง
เปลี่ยนคำเถอะค่ะ จะได้ตัดจบเลิกเถียงกันว่านั่นนี่เป็นซอฟท์พาวเวอร์หรือไม่เสียที เสียเวลา เสียพลังงานมาก อยากโปรโมทสินค้ากี่หมื่นตัว ก็ทำไปเลยค่ะ ส่วนดิฉันซึ่งเป็นคนสอนวิชาไออาร์ก็จะได้ประโยชน์ด้วย ไม่ต้องลำบากรื้อถอนความเข้าใจผิดเรื่องซอฟท์พาวเวอร์กับนิสิตด้วย เฮ้ออออออออออ