อ่า บังเอิญได้ยิน สรยุทธ สุทัศนะจินดา คุยหลังไมค์กับ พรรณิการ์ วานิช นัดหมายไปออกรายการ พูดเรื่อง ‘ซ้อฟพาวเวอร์’ อีกครั้ง อีกราย
สรยุทธว่า “เดี๋ยวนัดกัน” พรรณิการ์ตอบ “ได้” สรยุทธต่อ “พี่ต้องหาคนที่จะมาถกกับเธอเรื่องซ้อฟพาวเวอร์” ‘ช่อ’ สนองทันใด “ได้ เป็นคุณหมอเลี้ยบก็ไม่ติดล่ะค่ะ” สรยุทธ “แนะนำให้อีกเพราะหมอเลี้ยบเป็นเลขานุการกรรมการซ้อฟพาวเวอร์แห่งชาติ”
ต้นเรื่องมาจากเขาคุยกัน จนมาถึงจุดที่ช่อบอกว่า “นี่เดี๋ยววันนี้กลับไปจะไปอัดเทปตัวเองอยู่เรื่องซ้อฟพาวเวอร์ ในฐานะที่ดิฉันเป็นนักเรียนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดิฉันงงมากว่าทุกวันนี้ซ้อฟพาวเวอร์กลายเป็นนันยางไปแล้วเนี่ย
ที่จริงมันเป็นนโยบายการทหาร ความมั่นคง และนโยบายการทูต ใช่ มันเป็นนโยบายการทหารนะ ตั้งแต่ดั้งเดิมแหละ หลังสงครามเย็น ใช่ค่ะ ถือกำเหนิดจากกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา” ข้อนี้ ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ เคยอ้างถึงไว้ไม่นาน
พรรณิการ์ ก็บังเอิญมาเสริมให้ ลงรายละเอียดเพิ่มเล็กน้อย “ซ้อฟพาวเวอร์ไม่ใช่สินค้า ซ้อฟพาวเวอร์คือวิธีคิด ใช่ เคยดูอ็อพเพ็นไฮมเมอร์ปะ ที่บอกว่าทิ้งระเบิดที่ไหนอย่าไปทิ้งที่เกียวโตนะ เพราะว่าผมกับเมียไปฮันนีมูนที่นั่น นั่นละคือซ้อฟพาวเวอร์
มันซึมซับอยู่ในจิตสำนึก จนรู้สึกว่าอเมริกาจะทิ้งระเบิดที่ไหนก็ได้ แต่ต้องไม่ใช่เกียวโต ซึ่งจริงๆ (คำจำกัดความของมัน) ลื่นไหล เราก็ไม่มานั่งบอกหรอกว่าใครจำกัดความผิดหรือถูก แต่อย่างน้อยคุณต้องมีความเข้าใจในการใช้
ในเทอมของมันนิดนึงว่าซ้อฟพาวเวอร์คือนโยบายต่างประเทศเว้ย ไม่ใช่แบบโพพูซัง (น้ำเต้าหู้) น่ะ ไม่ใช่แอนโทเนียด้วย นึกออกรึปะ จริง โพพูซังอร่อย ดิฉันก็ชอบกิน นันยางก็ดี แอนโทเนียก็สวย แต่ไม่ใช่ซ้อฟพาวเวอร์”