ภาพจาก Salika
16h
·
มีเพื่อนส่งมาให้ค่ะ โพสของคุณปิยะ ซอโสตถิกุล Tor Piya Sosothikul นักธุรกิจและที่ปรึกษาธนาคารกรุงเทพ เลยเอามาแชร์ต่อ เผื่อใครสนใจ
——-
อ่านเล่นสนุกสนุกนะครับ
·
มีเพื่อนส่งมาให้ค่ะ โพสของคุณปิยะ ซอโสตถิกุล Tor Piya Sosothikul นักธุรกิจและที่ปรึกษาธนาคารกรุงเทพ เลยเอามาแชร์ต่อ เผื่อใครสนใจ
——-
อ่านเล่นสนุกสนุกนะครับ
แนวโน้มเศรษฐกิจปีหน้าจะเป็นอย่างไรในความคิดเห็นส่วนตัว
1. เศรษฐกิจโลกจะยังไม่ปรับตัวดีขึ้นเท่าไหร่ inflation ก็ยังจะไม่สามารถควบคุมได้ 100% อ้ตราดอกเบี้ยยังสูง และก็ยังมีโอกาสปรับขึ้นอีกเล็กน้อย ทั้งหมดนี้ส่งผลให้การอุปโภคบริโภคลดลง รวมถึงการลงทุนเช่น สำหรับประเทศสหรัฐ รายได้ของประชาชนไม่ดีและค่าผ่อนบ้านสูงทำให้ธุรกิจก่อสร้างบ้านใหม่ตกลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งถือว่าเป็นธุรกิจสำคัญมากสำหรับเศรษฐกิจเขา
ส่วนประเทศจีนมีปัญหาด้านอสังหาริมทรัพย์ และอาจจะลุกลามไปถึงสถาบันการเงิน รวมถึงกระทบต่อหนี้สินประชาชน
ทั้งสองประเทศยักษ์ใหญ่นี้คือคู่ค้าเบอร์หนึ่งและเบอร์สองของประเทศไทย และในประเทศอื่นๆเช่นยุโรปการ ปรับฟื้นของเศรษฐกิจก็ช้ามาก ทั้งหมดนี้หมายความว่าผู้ซื้อสินค้าจากเรามีรายได้ไม่สูง จะทำให้การส่งออกของประเทศไทยยังชลอตัวและไม่สามารถกลับฟื้นขึ้นมาได้
2. การลงทุนของบริษัทข้ามชาติ (FDI) มีการชลอตัวมากว่า 10 ปีแล้ว ซึ่งมาจาก 2 เหตุผลหลักๆ คือเราไม่สามารถแข่งขันในเรื่องของค่าแรงกับประเทศอื่นๆ ได้ เช่น เวียดนาม ซึ่งคุณภาพแรงงานเขาก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าเรา แม้กระทั่งบริษัทในประเทศไทยที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก เช่น บริษัทผลิตรองเท้า บริษัทผลิตเสื้อผ้า ก็มีการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น
ส่วนการลงทุนสำหรับอุตสาหกรรมใหม่ๆ (EV, mobile parts, robotic, chips, batteries) บริษัทยักษ์ใหญ่ได้ตัดสินใจย้ายไปลงทุนที่อื่น ซึ่งโอกาสที่เค้าจะย้ายกลับมาแทบไม่มีเพราะต้องอาศัย supply chain หรือพูดง่ายๆ ก็คือไปแล้วไปเลย เหมือนกับที่ ไทยครองตลาดการผลิตรถกระบะเป็นเวลากว่า 25 ปี
3. การจับจ่ายใช้เงินของผู้บริโภคทยอยลดลงตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปีนี้ เพราะรายได้ลดลงแต่ภาระหนี้กลับสูงขึ้น ซึ่งเห็นได้จากภาระหนี้สินครัวเรือนที่ปรับขึ้นมาตลอดในช่วง 20 ปีนี้
ส่วนเงินกระตุ้น 500,000 ล้านบาท จะช่วยได้แค่ระยะสั้น เพราะการหมุนเวียนของเงินไม่ได้นัก (low multipler effect ไม่ถึง 5 เท่าอย่างที่ประมาณการไว้) ส่วนที่คิดว่าโรงงานต่างๆ จะลงทุนซื้อเครื่องจักรใหม่หรือจ้างคนงานเพิ่ม จะไม่เกิดขึ้นแน่นอน เพราะความต้องการของสินค้าเกิดขึ้นในระยะสั้น การลงทุนกับสิ่งเหล่านี้จะเป็นภาระในอนาคต โรงงานต่างๆ จะใช้วิธีให้คนงานทำ OT หรือนำสต๊อกสินค้าที่มีอยู่ออกมาขายก่อน
4. การขึ้นค่าแรงจะทำให้สินค้าหลายอย่างจำเป็นต้องปรับราคาสูงให้ขึ้น เนื่องจากต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ดังนั้น ประโยชน์ที่คาดหวังอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นสูงอย่างที่คาดหวัง และทำให้ผู้บริโภคหลายกลุ่มที่ไม่ได้อยู่ในระบบการว่าจ้างเดือดร้อน
5. มีเงินทุนไหลออกจากประเทศต่อเนื่อง สาเหตุมาจากอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศสูงกว่าในประเทศไทยมาก credit rating ก็ดีกว่ามากดังนั้นจริงมีการขายพันธบัตรต่างๆ เพื่อนนำเงินกลับประเทศเขา คนไทยที่มีฐานะทางการเงินดีๆยังนำเงินไปฝากที่ต่างประเทศแทน และการที่ค่าเงินบาทอ่อนลงก็ยิ่งทำให้ได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 2 เด้ง
6. ส่วนตลาดหุ้นยังไม่มีปัจจัยอะไรที่สนับสนุนให้ตลาดสดใสขึ้นเลย ไม่ว่าจะเป็นแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศในปีหน้า ความเสี่ยงด้าน Geopolitical เรื่องสงคราม เรื่องการทะเลาะระหว่างประเทศยักษ์ใหญ่ ทำให้นักลงทุนต่างชาตินำเงินออกจาก emerging market
ถ้าหากเราดูตัวเลขย้อนหลังใน 6 ปีที่ผ่านมา ต่างชาตินำเงินออกไปจากตลาดหุ้นไทยเป็นจำนวนถึง 500,000 ล้านบาท ซึ่งถึงแม้ตอนนี้ราคาหุ้นของเราถือว่าถูกเพราะ P/E ต่ำกว่าตลาดเกิดใหม่ในภูมิภาคนี้ แต่ถ้านักลงทุนต่างชาติไม่เห็นว่าเศรษฐกิจจะดี หรือผลประกอบการบริษัทจะดีขึ้นในระยะนี้ ก็คงต้องใช้เวลากว่าจะกลับมาลงทุนอีก
7. รัฐบาลยังไม่มีแผนการลงทุนใน โครงการขนาดใหญ่ ซึ่งถ้ามีก็จะใช้เวลานานกว่าจะเริ่มได้ และที่สำคัญภาระหนี้ภาครัฐ ต่อ GDP ก็ใกล้จะติดเพดานแล้ว ไม่สามารถใช้เงินได้เยอะ และถึงแม้หากจะมีโครงการใหม่ที่จะลงทุน ก็ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปีถึงจะลงทุนได้
8. การท่องเที่ยวจะไม่ถึง 35 ล้านคนต่อปีอย่างที่อยากให้เป็น เนื่องจากนักท่องเที่ยวจีนจะยังไม่กลับมาด้วยเหตุผลหลายๆอย่าง เช่น การกำจัดทัวร์ 0 เหรียญ (ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี) ภาวะเศรษฐกิจที่ชลอตัวของประเทศจีนเอง ทำให้คนจีนเองก็ต้องลดการใช้จ่ายที่สิ้นเปลืองลง รวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้คนจีนกลัวเรื่องความปลอดภัย สุดท้ายคือในประเทศจีนเองในปัจจุบันนี้หลายมณฑลจะสร้างสถานที่ท่องเที่ยวและ landmark ขึ้นมา ทำให้คนจีนหันกลับไปท่องเที่ยวภายในประเทศเอง ซึ่งภายใน 3 ปีที่ผ่านมานี้ คนจีนเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้นถึง 100 ล้านคน
ส่วนนักท่องเที่ยวจากชาติอื่นๆ ก็ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจในประเทศเช่นกัน ซึ่งเวลาที่เค้ามาเที่ยวในประเทศไทย การใช้จ่ายเฉลี่ยต่อวันก็ลดลง จำนวนวันที่มาพักในประเทศไทยมีแนวโน้มลดลงด้วยเช่นกัน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะรายได้ของเค้าลดลง และอีกส่วนหนึ่ง เขาเริ่มมีการไปเที่ยวที่ประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้ๆเช่นเวียดนาม โดยใช้ประเทศไทยเป็นฐาน
ทั้งหมดนี้หมายความว่ารายได้จากการท่องเที่ยวในปีหน้าไม่ใช่ว่าจะดีกว่าปีนี้มากนัก อย่างที่เราคาดหวังกันไว้
9. ที่หลายคนคาดหวังว่า EEC จะสามารถดึงนักลงทุนต่างชาติเข้ามาได้อย่างมหาศาลเป็นหลาย 10,000 โรงงานในอุตสาหกรรมใหม่ๆ
ทุกครั้งที่มีการจัดสัมมนาจะพูดอยู่หนึ่งตัวเลขคือการสร้างแรงงานใหม่ได้ถึง 1.7 ล้านคน ผ่านมา 5 ปีแล้ว จำนวนโรงงานที่เปิดขึ้นมี ไม่ถึง 100 โรงงาน จำนวนแรงงานที่จ้างไม่ถึง 10,000 คน หรือ 0.0059% ของเป้าหมายที่ตั้งไว้
ส่วนรถไฟความเร็วสูงและการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐกับเอกชน (PPP) เพื่อสร้างเมือง ก็ยังไม่เห็นวี่แวว ในความคิดเห็นส่วนตัว เชื่อว่าอีก 5 ปีก็ยังไม่เกิด
10. ถ้าเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นอย่างมีนัยยะสำคัญเช่น GDP growth 3-4% เหมือนกับประเทศอื่นๆ อีกทั้งดอกเบี้ยต่างประเทศยังสูงกว่าเรามาก แนวโน้มอัตราแลกเปลี่ยนก็จะทำให้เงินบาทอ่อนค่าตัวลง สินค้านำเข้าทั้งหลายเช่นน้ำมัน จะมีราคาแพงแล้วก็กระทบมาถึงผู้บริโภค
*****************************
สรุปแล้วเครื่องจักรทุกตัวในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นด้านอุปโภคบริโภค การลงทุนทั้งจากในและต่างประเทศ การใช้จ่ายและการลงทุนของรัฐบาล การส่งออก การท่องเที่ยว และการไหลเงินเข้ามาในประเทศ ดูเหมือนยังวิ่งไม่ได้เต็มที่หรือกำลังอยู่ในช่วงซ่อมแซม
เพราะฉะนั้นผมขอประมาณการว่าปีหน้า GDP ไม่เกิน 1.5% แต่ผมยังให้กำลังใจทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลักดันเศรษฐกิจของไทย เพราะเป็นงานที่ท้าทายเหลือเกินครับ
ปิยะ ซอโสตถิกุล
14 พฤศจิกายน 2566