thaiarmedforce.com
15h
·
อภิปรายนโยบายกองทัพ #รัฐบาลเศรษฐา ก่อนแถลงต่อสภาฯ
เอกสารคำแถลงนโยบายของรัฐบาลคุณ เศรษฐา ทวีสิน - Srettha Thavisin จาก พรรคเพื่อไทย ได้ถูกส่งให้สภาฯได้อ่านทำความเข้าใจกัน และถูกเผยแพร่ออกมาก่อนการแถลงที่จะมีขึ้นโดย พรรคก้าวไกล - Move Forward Party ซึ่งวันนี้ TAF ขอวิเคราะห์และวิจารณ์นโยบายด้านความมั่นคง โดยเฉพาะ 5 ข้อที่ถูกเขียนมาครับ
---------------------------
ในคำเกริ่นนำมีการระบุว่า รัฐบาลจะ "สนับสนุนให้มีการปรับโครงสร้างของหน่วยงานความมั่นคงให้มีความทันสมัยและสามารถตอบสนองต่อการคุกคามและภัยความมั่นคงรูปแบบใหม่ในศตวรรษที่ 21" ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี
แต่คำว่าสนับสนุนเหมือนกับว่ารัฐบาลไม่ได้มีแผนในการปรับโครงสร้างกองทัพของตนเอง แต่น่าจะเป็นการสนับสนุนแผนงานของกองทัพที่จะทำอยู่แล้ว ซึ่งนั่นหมายถึงการ #ปฏิรูปกองทัพ จะเป็นการดำเนินการตามแผนของกลาโหมที่เคยแถลงว่ามีแต่ยังไม่ทราบรายละเอียดมากนัก
ถ้าเป็นตามนี้ถือว่าน่าเสียดาย เพราะแผนของกลาโหมเป็นการปรับเล็ก ไมได้มีการปิดหรือโอนย้ายหน่วยที่ไม่จำเป็น รวมถึงไม่ได้ดำเนินการแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคในหลาย ๆ ประการ แม้ว่าจะมองว่ารัฐบาลสนับสนุนให้ปฏิรูปกองทัพแบบนี้ถือเป็นก้าวแรก แต่จริง ๆ เราหวังว่าพรรค #เพื่อไทย น่าจะมีความริเริ่มหรือ Initiative ในการเป็นหัวหอกเสนอแผนปฏฺิรูปกองทัพมากกว่าเพียงแค่ทำตามแผนของกลาโหมเท่านั้น
---------------------------
1. จะเปลี่ยนรูปแบบการเกณฑ์ทหารเป็นแบบสมัครใจ
ถือว่าเป็นนโยบาย #ยกเลิกเกณฑ์ทหาร ซึ่งถูกบรรจุไว้ในนโยบายรัฐบาลอย่างเป็นทางการ อันนี้ TAF สนับสนุน และต้องดูแผนงานอีกครั้งว่าจะเป็นอย่างไร แต่เราก็อยากให้รัฐบาลมีแผนของตนเองที่เข้มข้นและครอบคลุมมากกว่าแผนของกลาโหมเองที่ดำเนินการอยู่ เพราะรัฐบาลมีอำนาจในการแก้กฎหมาย หรือให้พรรครัฐฐบาลเสนอกฎหมายในสภาฯได้
ดังนั้นเราอยากให้รัฐบาลยกเลิกเกณฑ์ทหารแบบยกเลิกจริง คือแก้กฎหมายให้ไม่มีการเกณฑ์ทหารในยามปกติเลย เพราะถ้าไม่แก้กฎหมาย การยกเลิกเกณฑ์ทหารจะกลายเป็นการยกเลิกแบบชั่วคราว ซึ่งวันดีคืนดีกองทัพอาจจะนำกลับมาเกณฑ์ใหม่ได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาตใคร
---------------------------
2. ปรับปรุงการฝึก #นักศึกษาวิชาทหาร หน่วยบัญชาการรักษาดินแดนให้เป็นแบบสร้างสรรค์
อย่างแรกเลยคือยังไม่ชัดเจนว่าฝึก รด. แบบสร้างสรรค์คืออะไร เพราะถ้าจะฝึก รด. ด้วยการให้ทำเกษตรหรืออะไรโทน ๆ นี้ก็ถือว่าไม่เหมาะสมเท่าไหร่ เพราะ รด. คือกำลังสำรอง ควรชัดเจนในจุดประสงค์ของการมี รด. แต่ถ้าแบบสร้างสรรค์คือฝึก รด. เพื่อให้รองรับการปฏิบัติการนอกเหนือจากการทำสงครามหรือ MOOTWAR นั้นถือว่า TAF เห็นด้วย เพื่อลดการใช้กำลังรบหลักในงานด้านบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งต่อไปสามารถพัฒนาให้มีการเรียกระดมพลเพื่อรับมือภัยพิบัติได้
แต่สิ่งที่ยังไม่ได้ระบุและถือว่าต้องคิดต่อก็คือ ถ้ารัฐบาลจะยกเลิกเกณฑ์ทหาร ต้องปรับการเรียน รด. ในปัจจุบัน แต่ในนโยบายนั้นไม่มีการบอกว่าจะปรับการเรียน รด. ให้รองรับการยกเลิกเกณฑ์ทหาร ซึ่ง TAF ไม่เห็นด้วย เพราะ รด. ออกแบบมาภายใต้กฎหมายเดิมเพื่อรองรับการเกณฑ์ทหาร ถ้าไม่ปรับโครงสร้างการเรียน รด. นอกจากจะไม่มีใครมาเรียนแล้ว ยังทำให้เสียโอกาสและกระทบต่อความมั่นคงในภาพรวม
การยกเลิกเกณฑ์ทหารจะเกี่ยวพันโดยตรงกับการ #ปฏิรูประบบกำลังสำรอง ซึ่งยังไม่มีในนโยบายนี้ ถือว่าน่าเป็นห่วง และจะกระทบกับความมั่นคง
ซึ่งจริง ๆ แล้วควรจะมีการดำเนินการเช่น หลังการยกเลิกเกณฑ์ทหาร อาจให้ รด. เป็นการฝึกภาคบังคับ แต่ฝึกน้อยแค่ 1 - 2 สัปดาห์แล้วจบ หรือเปลี่ยน รด. เป็นระบบที่คล้าย Reserve Officers' Training Corps หรือ ROTC ของสหรัฐอเมริกาเพื่อรองรับระบบที่ไม่มีการเกณฑ์ทหาร
ดังนั้นตรงนี้ขอให้รัฐบาลพิจารณาให้ดี โดยเฉพาะต้องมีการปฏฺิรูประบบกำลังสำรองควบคู่ไปด้วย
---------------------------
3. ลดกำลังพลนายทหารชั้นสัญญาบัตรระดับสูง และกำหนดอัตรากำลังใน กอ.รมน. ให้สอดคล้องกับบทบาทและภารกิจในปัจจุบันและอนาคตของประเทศ
TAF สนับสนุนการลดนายทหารชั้นสัญญาบัตรระดับสูง โดยเฉพาะการลดนายพล ซึ่งไม่แน่ใจว่ารัฐบาลจะมีเป้าหมายในใจหรือไม่ หรือใช้เป้าหมายของแผนของกระทรวงกลาโหมที่จะลดนายพลให้ได้ 50%
ส่วนการปรับอัตรากำลัง กอ.รมน. ก็เป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะ กอ.รมน. เป็นโครงสร้างที่ไม่จำเป็นแล้วในปัจจุบัน สามารถ #ยุบกอรมน ได้ และความมั่นคงภายในสามารถให้หน่วยงานอื่นหรือโอนออกไปจากกระทรวงกลาโหมเพื่อดูแลได้
แต่ถ้าไม่โอนออกและไม่ยุบเพื่อประนีประนอมกับกองทัพ การปรับอัตราก็ถือเป็นเรื่องที่พอยอมรับได้ ถ้าการปรับอัตรานั้นนำมาสู่การลดอัตราของ กอ.รมน. ลง
สิ่งที่น่าเสียดายคือไม่มีการปรับอำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน. เพราะปัจจุบันนี้ กอ.รมน. ทำงานที่ไม่ควรทำเยอะมาก เช่นส่งเสริมการเกษตร ไล่จับอาลัวพระเครื่อง หรืองานการเมืองที่ทำแบบไม่เหมาะสม เช่น การมุ่งติดตามและกดดันผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล ซึ่งถือว่าไม่ใช่หน้าที่ของกองทัพหรือกระทรวงกลาโหม
---------------------------
4. ปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหมให้มีความทันสมัย โปร่งใส ตรวจสอบได้ และสอดคล้องกับรูปแบบและความเสี่ยงของภัยคุกคามทั้งในปัจจุบันและอนาคต
เป็นสิ่งที่ควรทำและ TAF สนับสนุน และเราจะรอดูแผนงานในการปรับปรุงต่อไป เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าสังคมตั้งคำถามกับความโปร่งใสในการซื้ออาวุธของกองทัพค่อนข้างมาก
และสิ่งที่อยากให้รัฐบาลผลักดันก็คือการจัดหาและส่งกำลังบำรุงแบบรวมการณ์ เพื่อลดปัญหาความซ้ำซ้อนและความไม่มีมาตรฐานในการจัดหาอาวุธในปัจจุบันนี้ของกองทัพ
ซึ่งสรุปง่าย ๆ ก็คือ กระทรวงกลาโหมควรทำสมุดปกขาวนั่นเอง
---------------------------
5. นำพื้นที่ของหน่วยทหารที่เกินความจำเป็นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โดยเฉพาะการใช้เพื่อการเกษตร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค การเพิ่มพูนความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ และการใช้เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการสร้างรายได้ การสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและการสร้างความเข้มแข็งด้านสังคมของประเทศ
เป็นสิ่งที่ทำได้และ TAF สนับสนุน ซึ่งเราอยากเสนอให้ไม่ใช่แต่เฉพาะการนำที่ดินของกองทัพไปใช้ประโยชน์เท่านั้น แต่ควรโอนที่ดินที่กองทัพไม่ใช้งานออกไปและให้กรมธนารักษ์ดูแลเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ ซึ่งจะสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจได้อีกมาก และไม่เป็นช่องทางในการทุจริตหรือการใช้เงินนอกงบประมาณโดยไม่สามารถตรวจสอบได้แบบในปัจจุบันนี้ เพราะถ้าใช้ประโยชน์ในที่ดินกองทัพ แต่กองทัพยังเป็นเจ้าของ ค่าเช่ายังต้องจ่ายกองทัพ ก็เท่ากับว่าจะเป็นการส่งเสริมให้กองทัพทำธุรกิจโดยที่ไม่ใช่หน้าที่ของกองทัพ
เรื่องการสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ควรเพิ่มการจัดหาอาวุธในประเทศ การแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรกับอาวุธ และการลงทุนในประเทศด้วยจะดีมาก
---------------------------
นอกจากนั้น ยังมีบางนโยบายที่พรรคเพื่อไทยเคยหาเสียงเอาไว้ แต่หายไปจากการแถลงนโยบายคือ
1. ใบประกอบวิชาชีพตามความถนัดเพื่อเพิ่มศักยภาพพลทหาร: อันนี้เข้าใจว่าอาจจะเป็นประเด็นเล็กและเป็นรายละเอียดในการปฏิบัติ จึงไม่ได้ถูกใส่ในคำแถลงนโยบาย
2. การลดขนาดกองทัพ: ซึ่งคำแถลงมีเพียงการปรับโครงสร้างกระทรวงกลาโหม ยังไม่ชัดเจนว่าจะเป็นการลดขนาดกองทัพซึ่งหมายถึงการลดหน่วยที่ไม่จำเป็นหรืออยู่นอกภารกิจของกระทรวงกลาโหมหรือไม่
3. การตัดงบประมาณกลาโหม 10%: ซึ่งไม่ได้อยู่ในคำแถลง แต่อาจจะดำเนินการในตอนจัดทำงบประมาณ ซึ่งก็ต้องตามดูกันต่อไป
4. นโยบายด้านสามจังหวัดชายแดนภายใต้: ซึ่งในคำแถลงนโยบายแทบไม่ได้ระบุไว้เลย
---------------------------
หลังจากนี้ ตามดูกันต่อไปว่า แผนงานในการดำเนินงานของรัฐบาลคุณ #เศรษฐา ทวีสิน ด้านความมั่นคงจะเป็นอย่างไรครับ
อภิปรายนโยบายกองทัพ #รัฐบาลเศรษฐา ก่อนแถลงต่อสภาฯ
เอกสารคำแถลงนโยบายของรัฐบาลคุณ เศรษฐา ทวีสิน - Srettha Thavisin จาก พรรคเพื่อไทย ได้ถูกส่งให้สภาฯได้อ่านทำความเข้าใจกัน และถูกเผยแพร่ออกมาก่อนการแถลงที่จะมีขึ้นโดย พรรคก้าวไกล - Move Forward Party ซึ่งวันนี้ TAF ขอวิเคราะห์และวิจารณ์นโยบายด้านความมั่นคง โดยเฉพาะ 5 ข้อที่ถูกเขียนมาครับ
---------------------------
ในคำเกริ่นนำมีการระบุว่า รัฐบาลจะ "สนับสนุนให้มีการปรับโครงสร้างของหน่วยงานความมั่นคงให้มีความทันสมัยและสามารถตอบสนองต่อการคุกคามและภัยความมั่นคงรูปแบบใหม่ในศตวรรษที่ 21" ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี
แต่คำว่าสนับสนุนเหมือนกับว่ารัฐบาลไม่ได้มีแผนในการปรับโครงสร้างกองทัพของตนเอง แต่น่าจะเป็นการสนับสนุนแผนงานของกองทัพที่จะทำอยู่แล้ว ซึ่งนั่นหมายถึงการ #ปฏิรูปกองทัพ จะเป็นการดำเนินการตามแผนของกลาโหมที่เคยแถลงว่ามีแต่ยังไม่ทราบรายละเอียดมากนัก
ถ้าเป็นตามนี้ถือว่าน่าเสียดาย เพราะแผนของกลาโหมเป็นการปรับเล็ก ไมได้มีการปิดหรือโอนย้ายหน่วยที่ไม่จำเป็น รวมถึงไม่ได้ดำเนินการแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคในหลาย ๆ ประการ แม้ว่าจะมองว่ารัฐบาลสนับสนุนให้ปฏิรูปกองทัพแบบนี้ถือเป็นก้าวแรก แต่จริง ๆ เราหวังว่าพรรค #เพื่อไทย น่าจะมีความริเริ่มหรือ Initiative ในการเป็นหัวหอกเสนอแผนปฏฺิรูปกองทัพมากกว่าเพียงแค่ทำตามแผนของกลาโหมเท่านั้น
---------------------------
1. จะเปลี่ยนรูปแบบการเกณฑ์ทหารเป็นแบบสมัครใจ
ถือว่าเป็นนโยบาย #ยกเลิกเกณฑ์ทหาร ซึ่งถูกบรรจุไว้ในนโยบายรัฐบาลอย่างเป็นทางการ อันนี้ TAF สนับสนุน และต้องดูแผนงานอีกครั้งว่าจะเป็นอย่างไร แต่เราก็อยากให้รัฐบาลมีแผนของตนเองที่เข้มข้นและครอบคลุมมากกว่าแผนของกลาโหมเองที่ดำเนินการอยู่ เพราะรัฐบาลมีอำนาจในการแก้กฎหมาย หรือให้พรรครัฐฐบาลเสนอกฎหมายในสภาฯได้
ดังนั้นเราอยากให้รัฐบาลยกเลิกเกณฑ์ทหารแบบยกเลิกจริง คือแก้กฎหมายให้ไม่มีการเกณฑ์ทหารในยามปกติเลย เพราะถ้าไม่แก้กฎหมาย การยกเลิกเกณฑ์ทหารจะกลายเป็นการยกเลิกแบบชั่วคราว ซึ่งวันดีคืนดีกองทัพอาจจะนำกลับมาเกณฑ์ใหม่ได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาตใคร
---------------------------
2. ปรับปรุงการฝึก #นักศึกษาวิชาทหาร หน่วยบัญชาการรักษาดินแดนให้เป็นแบบสร้างสรรค์
อย่างแรกเลยคือยังไม่ชัดเจนว่าฝึก รด. แบบสร้างสรรค์คืออะไร เพราะถ้าจะฝึก รด. ด้วยการให้ทำเกษตรหรืออะไรโทน ๆ นี้ก็ถือว่าไม่เหมาะสมเท่าไหร่ เพราะ รด. คือกำลังสำรอง ควรชัดเจนในจุดประสงค์ของการมี รด. แต่ถ้าแบบสร้างสรรค์คือฝึก รด. เพื่อให้รองรับการปฏิบัติการนอกเหนือจากการทำสงครามหรือ MOOTWAR นั้นถือว่า TAF เห็นด้วย เพื่อลดการใช้กำลังรบหลักในงานด้านบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งต่อไปสามารถพัฒนาให้มีการเรียกระดมพลเพื่อรับมือภัยพิบัติได้
แต่สิ่งที่ยังไม่ได้ระบุและถือว่าต้องคิดต่อก็คือ ถ้ารัฐบาลจะยกเลิกเกณฑ์ทหาร ต้องปรับการเรียน รด. ในปัจจุบัน แต่ในนโยบายนั้นไม่มีการบอกว่าจะปรับการเรียน รด. ให้รองรับการยกเลิกเกณฑ์ทหาร ซึ่ง TAF ไม่เห็นด้วย เพราะ รด. ออกแบบมาภายใต้กฎหมายเดิมเพื่อรองรับการเกณฑ์ทหาร ถ้าไม่ปรับโครงสร้างการเรียน รด. นอกจากจะไม่มีใครมาเรียนแล้ว ยังทำให้เสียโอกาสและกระทบต่อความมั่นคงในภาพรวม
การยกเลิกเกณฑ์ทหารจะเกี่ยวพันโดยตรงกับการ #ปฏิรูประบบกำลังสำรอง ซึ่งยังไม่มีในนโยบายนี้ ถือว่าน่าเป็นห่วง และจะกระทบกับความมั่นคง
ซึ่งจริง ๆ แล้วควรจะมีการดำเนินการเช่น หลังการยกเลิกเกณฑ์ทหาร อาจให้ รด. เป็นการฝึกภาคบังคับ แต่ฝึกน้อยแค่ 1 - 2 สัปดาห์แล้วจบ หรือเปลี่ยน รด. เป็นระบบที่คล้าย Reserve Officers' Training Corps หรือ ROTC ของสหรัฐอเมริกาเพื่อรองรับระบบที่ไม่มีการเกณฑ์ทหาร
ดังนั้นตรงนี้ขอให้รัฐบาลพิจารณาให้ดี โดยเฉพาะต้องมีการปฏฺิรูประบบกำลังสำรองควบคู่ไปด้วย
---------------------------
3. ลดกำลังพลนายทหารชั้นสัญญาบัตรระดับสูง และกำหนดอัตรากำลังใน กอ.รมน. ให้สอดคล้องกับบทบาทและภารกิจในปัจจุบันและอนาคตของประเทศ
TAF สนับสนุนการลดนายทหารชั้นสัญญาบัตรระดับสูง โดยเฉพาะการลดนายพล ซึ่งไม่แน่ใจว่ารัฐบาลจะมีเป้าหมายในใจหรือไม่ หรือใช้เป้าหมายของแผนของกระทรวงกลาโหมที่จะลดนายพลให้ได้ 50%
ส่วนการปรับอัตรากำลัง กอ.รมน. ก็เป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะ กอ.รมน. เป็นโครงสร้างที่ไม่จำเป็นแล้วในปัจจุบัน สามารถ #ยุบกอรมน ได้ และความมั่นคงภายในสามารถให้หน่วยงานอื่นหรือโอนออกไปจากกระทรวงกลาโหมเพื่อดูแลได้
แต่ถ้าไม่โอนออกและไม่ยุบเพื่อประนีประนอมกับกองทัพ การปรับอัตราก็ถือเป็นเรื่องที่พอยอมรับได้ ถ้าการปรับอัตรานั้นนำมาสู่การลดอัตราของ กอ.รมน. ลง
สิ่งที่น่าเสียดายคือไม่มีการปรับอำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน. เพราะปัจจุบันนี้ กอ.รมน. ทำงานที่ไม่ควรทำเยอะมาก เช่นส่งเสริมการเกษตร ไล่จับอาลัวพระเครื่อง หรืองานการเมืองที่ทำแบบไม่เหมาะสม เช่น การมุ่งติดตามและกดดันผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล ซึ่งถือว่าไม่ใช่หน้าที่ของกองทัพหรือกระทรวงกลาโหม
---------------------------
4. ปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหมให้มีความทันสมัย โปร่งใส ตรวจสอบได้ และสอดคล้องกับรูปแบบและความเสี่ยงของภัยคุกคามทั้งในปัจจุบันและอนาคต
เป็นสิ่งที่ควรทำและ TAF สนับสนุน และเราจะรอดูแผนงานในการปรับปรุงต่อไป เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าสังคมตั้งคำถามกับความโปร่งใสในการซื้ออาวุธของกองทัพค่อนข้างมาก
และสิ่งที่อยากให้รัฐบาลผลักดันก็คือการจัดหาและส่งกำลังบำรุงแบบรวมการณ์ เพื่อลดปัญหาความซ้ำซ้อนและความไม่มีมาตรฐานในการจัดหาอาวุธในปัจจุบันนี้ของกองทัพ
ซึ่งสรุปง่าย ๆ ก็คือ กระทรวงกลาโหมควรทำสมุดปกขาวนั่นเอง
---------------------------
5. นำพื้นที่ของหน่วยทหารที่เกินความจำเป็นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โดยเฉพาะการใช้เพื่อการเกษตร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค การเพิ่มพูนความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ และการใช้เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการสร้างรายได้ การสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและการสร้างความเข้มแข็งด้านสังคมของประเทศ
เป็นสิ่งที่ทำได้และ TAF สนับสนุน ซึ่งเราอยากเสนอให้ไม่ใช่แต่เฉพาะการนำที่ดินของกองทัพไปใช้ประโยชน์เท่านั้น แต่ควรโอนที่ดินที่กองทัพไม่ใช้งานออกไปและให้กรมธนารักษ์ดูแลเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ ซึ่งจะสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจได้อีกมาก และไม่เป็นช่องทางในการทุจริตหรือการใช้เงินนอกงบประมาณโดยไม่สามารถตรวจสอบได้แบบในปัจจุบันนี้ เพราะถ้าใช้ประโยชน์ในที่ดินกองทัพ แต่กองทัพยังเป็นเจ้าของ ค่าเช่ายังต้องจ่ายกองทัพ ก็เท่ากับว่าจะเป็นการส่งเสริมให้กองทัพทำธุรกิจโดยที่ไม่ใช่หน้าที่ของกองทัพ
เรื่องการสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ควรเพิ่มการจัดหาอาวุธในประเทศ การแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรกับอาวุธ และการลงทุนในประเทศด้วยจะดีมาก
---------------------------
นอกจากนั้น ยังมีบางนโยบายที่พรรคเพื่อไทยเคยหาเสียงเอาไว้ แต่หายไปจากการแถลงนโยบายคือ
1. ใบประกอบวิชาชีพตามความถนัดเพื่อเพิ่มศักยภาพพลทหาร: อันนี้เข้าใจว่าอาจจะเป็นประเด็นเล็กและเป็นรายละเอียดในการปฏิบัติ จึงไม่ได้ถูกใส่ในคำแถลงนโยบาย
2. การลดขนาดกองทัพ: ซึ่งคำแถลงมีเพียงการปรับโครงสร้างกระทรวงกลาโหม ยังไม่ชัดเจนว่าจะเป็นการลดขนาดกองทัพซึ่งหมายถึงการลดหน่วยที่ไม่จำเป็นหรืออยู่นอกภารกิจของกระทรวงกลาโหมหรือไม่
3. การตัดงบประมาณกลาโหม 10%: ซึ่งไม่ได้อยู่ในคำแถลง แต่อาจจะดำเนินการในตอนจัดทำงบประมาณ ซึ่งก็ต้องตามดูกันต่อไป
4. นโยบายด้านสามจังหวัดชายแดนภายใต้: ซึ่งในคำแถลงนโยบายแทบไม่ได้ระบุไว้เลย
---------------------------
หลังจากนี้ ตามดูกันต่อไปว่า แผนงานในการดำเนินงานของรัฐบาลคุณ #เศรษฐา ทวีสิน ด้านความมั่นคงจะเป็นอย่างไรครับ
.....
thaiarmedforce.com
รัฐบาลจะสนับสนุนให้มีการปรับโครงสร้างของหน่วยงานความมั่นคงให้มีความทันสมัยและสามารถตอบสนองต่อการคุกคามและภัยความมั่นคงรูปแบบใหม่ในศตวรรษที่ 21 และเป็นกลไกสาคัญในการพิทักษ์เอกราช สร้างความมั่นคง และความปลอดภัยในทุกพื้นที่ของประเทศ รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาและการแก้ไขปัญหาภัยคุกคามและภัยพิบัติ เพื่อช่วยเหลือประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ
นโยบายพัฒนากองทัพ
1. จะเปลี่ยนรูปแบบการเกณฑ์ทหารเป็นแบบสมัครใจ
2. ปรับปรุงการฝึกนักศึกษาวิชาทหารหน่วยบัญชาการรักษาดินแดนให้เป็นแบบสร้างสรรค์
3. ลดกาลังพลนายทหารชั้นสัญญาบัตรระดับสูง และกำหนดอัตรากำลังใน กอ.รมน. ให้สอดคล้องกับบทบาทและภารกิจในปัจจุบันและอนาคตของประเทศ
4. ปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหมให้มีความทันสมัย โปร่งใส ตรวจสอบได้ และสอดคล้องกับรูปแบบและความเสี่ยงของภัยคุกคามทั้งในปัจจุบันและอนาคต
5. นำพื้นที่ของหน่วยทหารที่เกินความจำเป็นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โดยเฉพาะการใช้เพื่อการเกษตร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค การเพิ่มพูนความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ และการใช้เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการสร้างรายได้ การสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและการสร้างความเข้มแข็งด้านสังคมของประเทศ
thaiarmedforce.com
รัฐบาลจะสนับสนุนให้มีการปรับโครงสร้างของหน่วยงานความมั่นคงให้มีความทันสมัยและสามารถตอบสนองต่อการคุกคามและภัยความมั่นคงรูปแบบใหม่ในศตวรรษที่ 21 และเป็นกลไกสาคัญในการพิทักษ์เอกราช สร้างความมั่นคง และความปลอดภัยในทุกพื้นที่ของประเทศ รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาและการแก้ไขปัญหาภัยคุกคามและภัยพิบัติ เพื่อช่วยเหลือประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ
นโยบายพัฒนากองทัพ
1. จะเปลี่ยนรูปแบบการเกณฑ์ทหารเป็นแบบสมัครใจ
2. ปรับปรุงการฝึกนักศึกษาวิชาทหารหน่วยบัญชาการรักษาดินแดนให้เป็นแบบสร้างสรรค์
3. ลดกาลังพลนายทหารชั้นสัญญาบัตรระดับสูง และกำหนดอัตรากำลังใน กอ.รมน. ให้สอดคล้องกับบทบาทและภารกิจในปัจจุบันและอนาคตของประเทศ
4. ปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหมให้มีความทันสมัย โปร่งใส ตรวจสอบได้ และสอดคล้องกับรูปแบบและความเสี่ยงของภัยคุกคามทั้งในปัจจุบันและอนาคต
5. นำพื้นที่ของหน่วยทหารที่เกินความจำเป็นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โดยเฉพาะการใช้เพื่อการเกษตร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค การเพิ่มพูนความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ และการใช้เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการสร้างรายได้ การสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและการสร้างความเข้มแข็งด้านสังคมของประเทศ