น.ส.พรรณิการ์ วานิช เป็นหนึ่งใน กก.บห.พรรคอนาคตใหม่ ที่ถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง 10 ปี หลังถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค จากกรณีนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ปล่อยเงินกู้ให้พรรค เมื่อปี 2563 การถูกตัดสิทธิทางการเมืองครั้งนี้จึงเป็นการ "ประหารชีวิตทางการเมือง" ครั้งที่ 2 แต่มีผลตลอดชีวิต
มาตรฐานจริยธรรม ตัดสิทธิการเมืองตลอดชีพ “ช่องทางใหม่” จัดการปฏิปักษ์ของชนชั้นนำ
ธันยพร บัวทอง
ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
21 กันยายน 2023
คำวินิจฉัยของศาลฎีกาที่พิพาษาตัดสิทธิทางการเมืองตลอดชีวิต น.ส.พรรณิการ์ วานิช แกนนำคณะก้าวหน้า และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร (สส.) อนาคตใหม่ ฐานฝ่าฝืนจริยธรรม จากกรณีโพสต์ภาพที่ถูกกล่าวหาว่าพาดพิงสถาบันฯ นับเป็นการ "ประหารชีวิตทางการเมือง" ครั้งล่าสุด จากกลไกของกฎหมายภายใต้รัฐธรรมนูญ ปี 2560
หลังจากบังคับใช้ “มาตรฐานจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ.2561” เป็นเวลา 5 ปี มีนักการเมืองอย่างน้อย 3 คน ถูกตัดสิทธิทางการเมืองตลอดชีพจากการฝ่าฝืนจริยธรรมที่ศาลฎีกา เป็นผู้พิพากษา
ไม่ว่าจะเป็น น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ กรณีครอบครองเอกสารสิทธิ ส.ป.ก.โดยมิชอบ, น.ส.กนกวรรณ วิลาวัลย์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กรณีรุกป่าเขาใหญ่ และ นางธณิกานต์ พรพงษาโรจน์ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ กรณีเสียบบัตรแทนกันในสภา
แต่การตัดสิทธิการเมืองตลอดชีพของ น.ส.พรรณิการ์ ถือเป็นคดีแรกที่เกี่ยวข้องกับการโพสต์ภาพลงบนโซเชียลมีเดีย ซึ่งถูกกล่าวหาว่าพาดพิงสถาบันกษัตริย์ และมีผลทางกฎหมายย้อนหลังต่อการกระทำที่เกิดขึ้นก่อนที่ น.ส.พรรณิการ์ ได้เป็น สส.
รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์และหัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนากฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวกับบีบีซีไทย ชี้ให้เห็นปัญหาของการกำหนดมาตรฐานจริยธรรมของนักการเมืองโดยนำเอาเนื้อหาขององค์กรศาลรัฐธรรมนูญมาใช้ และการเขียนข้อความที่เปิดกว้างทำให้กฎหมายนี้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองต่อฝ่ายตรงข้าม
“ส่วนหนึ่งเป็นปัญหาของรัฐธรรมนูญ 2560 ที่เปิดช่องให้ใช้กลไกทางกฎหมายเล่นงานคนที่เป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบการเมือง และเป็นปฏิปักษ์ต่ออำนาจนำในขณะนี้" รศ.สมชาย ระบุ
ที่มาที่ไปของคดีจริยธรรมนักการเมืองที่มีโทษรุนแรงถึง “ประหารชีวิตทางการเมือง” เป็นมาอย่างไร บีบีซีไทย สัมภาษณ์นักนิติศาสตร์และสำรวจความเห็นของนักกฎหมายต่อกรณีนี้
จริยธรรมนักการเมือง ภายใต้ “รัฐธรรมนูญปราบโกง” ฉบับมีชัย
ข้อกฎหมายที่ศาลฎีกาใช้ตัดสินกรณีนี้ คือ “มาตรฐานจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ.2561” ซึ่งเป็นกฎหมายที่เขียนขึ้น ภายใต้บทบัญญติของรัฐธรรมนูญ ปี 2560 มาตรา 219 ที่กำหนดให้บังคับใช้กับ สส. สว. และคณะรัฐมนตรี ด้วย
หากย้อนไปดูแนวคิดหลักใหญ่ของรัฐธรรมนูญปี 2560 ก็จะพบว่ารัฐธรรมนูญฉบับที่นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้ชูจุดแข็งว่าเป็น "รัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง" จากการใส่กลไกป้องกันการทุจริตเข้าไปเป็นจำนวนมาก พร้อมเพิ่มอำนาจให้กับศาลและองค์กรอิสระในการเข้ามากำกับรัฐบาล
ที่ผ่านมาจึงเห็นกรณีนักการเมืองที่ถูกดำเนินคดีทางอาญา ควบคู่ไปกับการถูกตรวจสอบจริยธรรมผ่านทาง ป.ป.ช. หาก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด เรื่องก็จะถูกส่งไปที่ศาลฎีกา
กรณีของ น.ส.พรรณิการ์ เกิดจากนายศรีสุวรรณ จรรยา จากสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ร้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2562 กล่าวหา น.ส.พรรณิการ์ ว่ามีพฤติการณ์ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง กรณีโพสต์ภาพถ่ายและข้อความ ในลักษณะเป็นการกระทำอันมิบังควรต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ลงบนเฟซบุ๊ก ในช่วงปี 2553
ต่อมา เมื่อต้นปี 2565 ป.ป.ช. ได้ชี้มูลความผิด และส่งฟ้องต่อศาลฎีกาจนมีคำพิพากษาดังกล่าว
กรณีการโพสต์ภาพและข้อความในเหตุเดียวกันนี้ น.ส.พรรณิการ์ ยังถูกแจ้งความดำเนินคดีตามความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จากเจ้าหน้าที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เมื่อปี 2564 ซึ่งศาลอาญาได้มีคำพิพากษายกฟ้อง น.ส.พรรณิการ์ ไปเมื่อเดือน พ.ค. 2566
"มาตรฐานจริยธรรม" เขียนไว้กว้างขวาง เปิดช่องให้ตีความ
ทัศนะของนักกฎหมายจาก ม.เชียงใหม่ เห็นว่า ไม่ควรนำมาตรฐานจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ มาบังคับใช้กับ สส. สว. และคณะรัฐมนตรี
รศ.สมชาย ชี้ว่า การทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ลักษณะการทำงานของ สส. เป็นงานที่สัมพันธ์กับผู้คน และต้องตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน ซึ่งแตกต่างจากการทำงานของฝ่ายตุลาการและองค์กรอิสระที่มาตรฐานต้องเข้มงวดกว่าและทำตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น ดังนั้น จึงเป็นการนำมาตรฐานจริยธรรมมาใช้แบบ "ผิดฝาผิดตัว"
"เป็นการพยายามเอามาตรฐานสิ่งที่คิดว่ามันดีงาม และเหมาะสำหรับคนที่ดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการระดับสูงในองค์กรอิสระมาใช้กับ สส. มาใช้กับนักการเมือง หรือสถาบันทางการเมืองที่ต้องสัมพันธ์กับประชาชน"
รศ.สมชาย ระบุว่า ปัญหาอีกประการคือ ข้อความที่ระบุว่าเป็นมาตรฐานจริยธรรม ถูกเขียนไว้ "อย่างกว้าง" เปิดโอกาสให้องค์กร หรือหน่วยงานที่มีอำนาจตัดสินสามารถ "ตีความ" หรือนำมาใช้กับกรณีเฉพาะ ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเป็นการโยงใยกับเรื่องการเมืองเพื่อใช้กับคนบางกลุ่มบางฝ่าย
"ปัญหาคือว่า พอมาใช้ ใช้กับใคร สิ่งที่เห็นก็คือ มันก็จะใช้กับบางกลุ่มที่ถูกมองว่าเป็นปัญหาของระบบการเมืองไทย... ส่วนหนึ่งเป็นปัญหาของรัฐธรรมนูญ 2560 ที่เปิดช่องให้ใช้กลไกทางกฎหมายเล่นงานคนที่เป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบ เป็นปฏิปักษ์ต่ออำนาจนำในขณะนี้" รศ.สมชายกล่าว
"มาตรฐานทางจริยธรรม มันพร้อมจะถูกตีความได้เสมอ เช่น ข้อความที่ระบุว่าต้องยึดมั่นและธำรงไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ผมคิดว่ามันสามารถถูกแปลความไปได้ในหลายทิศทาง พอมีมาตรฐานอย่างนี้เกิดขึ้น ถ้าต้องการเล่นงานใคร สามารถหยิบเอาข้อใดข้อหนึ่งขึ้นมาได้ไม่ยาก"
21 กันยายน 2023
คำวินิจฉัยของศาลฎีกาที่พิพาษาตัดสิทธิทางการเมืองตลอดชีวิต น.ส.พรรณิการ์ วานิช แกนนำคณะก้าวหน้า และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร (สส.) อนาคตใหม่ ฐานฝ่าฝืนจริยธรรม จากกรณีโพสต์ภาพที่ถูกกล่าวหาว่าพาดพิงสถาบันฯ นับเป็นการ "ประหารชีวิตทางการเมือง" ครั้งล่าสุด จากกลไกของกฎหมายภายใต้รัฐธรรมนูญ ปี 2560
หลังจากบังคับใช้ “มาตรฐานจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ.2561” เป็นเวลา 5 ปี มีนักการเมืองอย่างน้อย 3 คน ถูกตัดสิทธิทางการเมืองตลอดชีพจากการฝ่าฝืนจริยธรรมที่ศาลฎีกา เป็นผู้พิพากษา
ไม่ว่าจะเป็น น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ กรณีครอบครองเอกสารสิทธิ ส.ป.ก.โดยมิชอบ, น.ส.กนกวรรณ วิลาวัลย์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กรณีรุกป่าเขาใหญ่ และ นางธณิกานต์ พรพงษาโรจน์ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ กรณีเสียบบัตรแทนกันในสภา
แต่การตัดสิทธิการเมืองตลอดชีพของ น.ส.พรรณิการ์ ถือเป็นคดีแรกที่เกี่ยวข้องกับการโพสต์ภาพลงบนโซเชียลมีเดีย ซึ่งถูกกล่าวหาว่าพาดพิงสถาบันกษัตริย์ และมีผลทางกฎหมายย้อนหลังต่อการกระทำที่เกิดขึ้นก่อนที่ น.ส.พรรณิการ์ ได้เป็น สส.
รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์และหัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนากฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวกับบีบีซีไทย ชี้ให้เห็นปัญหาของการกำหนดมาตรฐานจริยธรรมของนักการเมืองโดยนำเอาเนื้อหาขององค์กรศาลรัฐธรรมนูญมาใช้ และการเขียนข้อความที่เปิดกว้างทำให้กฎหมายนี้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองต่อฝ่ายตรงข้าม
“ส่วนหนึ่งเป็นปัญหาของรัฐธรรมนูญ 2560 ที่เปิดช่องให้ใช้กลไกทางกฎหมายเล่นงานคนที่เป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบการเมือง และเป็นปฏิปักษ์ต่ออำนาจนำในขณะนี้" รศ.สมชาย ระบุ
ที่มาที่ไปของคดีจริยธรรมนักการเมืองที่มีโทษรุนแรงถึง “ประหารชีวิตทางการเมือง” เป็นมาอย่างไร บีบีซีไทย สัมภาษณ์นักนิติศาสตร์และสำรวจความเห็นของนักกฎหมายต่อกรณีนี้
จริยธรรมนักการเมือง ภายใต้ “รัฐธรรมนูญปราบโกง” ฉบับมีชัย
ข้อกฎหมายที่ศาลฎีกาใช้ตัดสินกรณีนี้ คือ “มาตรฐานจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ.2561” ซึ่งเป็นกฎหมายที่เขียนขึ้น ภายใต้บทบัญญติของรัฐธรรมนูญ ปี 2560 มาตรา 219 ที่กำหนดให้บังคับใช้กับ สส. สว. และคณะรัฐมนตรี ด้วย
หากย้อนไปดูแนวคิดหลักใหญ่ของรัฐธรรมนูญปี 2560 ก็จะพบว่ารัฐธรรมนูญฉบับที่นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้ชูจุดแข็งว่าเป็น "รัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง" จากการใส่กลไกป้องกันการทุจริตเข้าไปเป็นจำนวนมาก พร้อมเพิ่มอำนาจให้กับศาลและองค์กรอิสระในการเข้ามากำกับรัฐบาล
ที่ผ่านมาจึงเห็นกรณีนักการเมืองที่ถูกดำเนินคดีทางอาญา ควบคู่ไปกับการถูกตรวจสอบจริยธรรมผ่านทาง ป.ป.ช. หาก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด เรื่องก็จะถูกส่งไปที่ศาลฎีกา
กรณีของ น.ส.พรรณิการ์ เกิดจากนายศรีสุวรรณ จรรยา จากสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ร้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2562 กล่าวหา น.ส.พรรณิการ์ ว่ามีพฤติการณ์ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง กรณีโพสต์ภาพถ่ายและข้อความ ในลักษณะเป็นการกระทำอันมิบังควรต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ลงบนเฟซบุ๊ก ในช่วงปี 2553
ต่อมา เมื่อต้นปี 2565 ป.ป.ช. ได้ชี้มูลความผิด และส่งฟ้องต่อศาลฎีกาจนมีคำพิพากษาดังกล่าว
กรณีการโพสต์ภาพและข้อความในเหตุเดียวกันนี้ น.ส.พรรณิการ์ ยังถูกแจ้งความดำเนินคดีตามความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จากเจ้าหน้าที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เมื่อปี 2564 ซึ่งศาลอาญาได้มีคำพิพากษายกฟ้อง น.ส.พรรณิการ์ ไปเมื่อเดือน พ.ค. 2566
"มาตรฐานจริยธรรม" เขียนไว้กว้างขวาง เปิดช่องให้ตีความ
ทัศนะของนักกฎหมายจาก ม.เชียงใหม่ เห็นว่า ไม่ควรนำมาตรฐานจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ มาบังคับใช้กับ สส. สว. และคณะรัฐมนตรี
รศ.สมชาย ชี้ว่า การทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ลักษณะการทำงานของ สส. เป็นงานที่สัมพันธ์กับผู้คน และต้องตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน ซึ่งแตกต่างจากการทำงานของฝ่ายตุลาการและองค์กรอิสระที่มาตรฐานต้องเข้มงวดกว่าและทำตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น ดังนั้น จึงเป็นการนำมาตรฐานจริยธรรมมาใช้แบบ "ผิดฝาผิดตัว"
"เป็นการพยายามเอามาตรฐานสิ่งที่คิดว่ามันดีงาม และเหมาะสำหรับคนที่ดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการระดับสูงในองค์กรอิสระมาใช้กับ สส. มาใช้กับนักการเมือง หรือสถาบันทางการเมืองที่ต้องสัมพันธ์กับประชาชน"
รศ.สมชาย ระบุว่า ปัญหาอีกประการคือ ข้อความที่ระบุว่าเป็นมาตรฐานจริยธรรม ถูกเขียนไว้ "อย่างกว้าง" เปิดโอกาสให้องค์กร หรือหน่วยงานที่มีอำนาจตัดสินสามารถ "ตีความ" หรือนำมาใช้กับกรณีเฉพาะ ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเป็นการโยงใยกับเรื่องการเมืองเพื่อใช้กับคนบางกลุ่มบางฝ่าย
"ปัญหาคือว่า พอมาใช้ ใช้กับใคร สิ่งที่เห็นก็คือ มันก็จะใช้กับบางกลุ่มที่ถูกมองว่าเป็นปัญหาของระบบการเมืองไทย... ส่วนหนึ่งเป็นปัญหาของรัฐธรรมนูญ 2560 ที่เปิดช่องให้ใช้กลไกทางกฎหมายเล่นงานคนที่เป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบ เป็นปฏิปักษ์ต่ออำนาจนำในขณะนี้" รศ.สมชายกล่าว
"มาตรฐานทางจริยธรรม มันพร้อมจะถูกตีความได้เสมอ เช่น ข้อความที่ระบุว่าต้องยึดมั่นและธำรงไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ผมคิดว่ามันสามารถถูกแปลความไปได้ในหลายทิศทาง พอมีมาตรฐานอย่างนี้เกิดขึ้น ถ้าต้องการเล่นงานใคร สามารถหยิบเอาข้อใดข้อหนึ่งขึ้นมาได้ไม่ยาก"
ไม่ควรมีใครถูก “ประหารชีวิตทางการเมือง”
รศ.สมชาย เห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นคดีของนักการเมืองอย่าง น.ส.ปารีณา หรือ น.ส.กนกวรรณ ที่กระทำผิดในคดีอาญาหรือคดีทุจริต ก็ควรได้รับโทษจากกฎหมายแต่ในเฉพาะกรณีนั้น เพราะไม่ควรมีใครถูกลงโทษตัดสิทธิการเมืองตลอดไปตราบใดที่ยังเป็นพลเมือง
"ไม่ควรมีใครถูกลงโทษประหารชีวิตทางการเมือง ตราบเท่าที่คน ๆ นั้นยังเป็นสมาชิกของสังคมนั้น ๆ อยู่ ผมคิดว่าเขายังควรมีสิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมืองตั้งแต่การเลือกตั้งหรือการเสนอตัวลงรับเลือกตั้ง" รศ.สมชายกล่าว พร้อมบอกว่า
"ควรโยนมาตรฐานทางจริยธรรมแบบ ‘อำมาตย์’ ทิ้งไป หากจะสร้างมาตรฐานทางจริยธรรมให้เกิดขึ้น สังคมต้องมีส่วนร่วม ซึ่งจะทำได้ต่อเมื่อมีการเปิดเผยข้อมูลที่โปร่งใส และทำให้ช่องทางการตรวจสอบไม่ใช่เฉพาะช่องทางของบางกลุ่มบางฝ่าย"
นักกฎหมายผู้นี้บอกด้วยว่า หากจะมีผู้ที่ควรถูกตัดสิทธิทางการเมืองตลอดชีพ ก็มีอยู่กลุ่มเดียวคือ กลุ่มบุคคลที่ก่อรัฐประหาร
"สมมติถ้าจะตัดสิทธิทางการเมืองตลอดชีพ ผมคิดว่ามีอยู่กลุ่มเดียว คือคนที่ทำรัฐประหาร แต่ตรงกันข้ามในสังคมไทย คนที่ทำรัฐประหารได้ดิบได้ดี ได้ยศถาบรรดาศักดิ์ ได้อยู่บ้านหลวง ไม่ถูกตัดสิทธิ ไม่กระทบกระเทือนอะไรเลย"
น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ อดีต ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ เป็นนักการเมืองอีกรายที่ถูกศาลฎีกา สั่งเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดชีวิต พร้อมเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี ฐานผิดจริยธรรมร้ายแรงกรณีครอบครองที่ดิน ส.ป.ก.
กฎหมายมีผลย้อนหลังได้หรือไม่
กรณีของ น.ส.พรรณิการ์ เป็นการโพสต์ภาพและข้อความในช่วงปี 2553 ซึ่งเกิดก่อนการเข้ามาเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
คำพิพากษาชี้ว่า การโพสต์ของ น.ส.พรรณิการ์แสดงให้เห็นถึงทัศนคติของ น.ส.พรรณิการ์ที่มีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาตั้งแต่ก่อนดำรงตำแหน่ง ส.ส. และเมื่อดำรงตำแหน่ง ส.ส. ซึ่งอยู่ภายใต้ข้อบังคับมาตรฐานทางจริยธรรมฯ หมวด 1 มาตรฐานทางจริยธรรมอันเป็นอุดมการณ์ ในข้อ 6 ที่กำหนดให้ต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ คำพิพากษาระบุว่า น.ส.พรรณิการ์ ยังคงปล่อยให้ภาพถ่ายและข้อความดังกล่าวปรากฏอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในบัญชีผู้ใช้งานในลักษณะเป็นสาธารณะที่บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ แสดงถึงการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง
"พฤติการณ์ของผู้คัดค้าน (น.ส.พรรณิการ์) เป็นการแสดงออกถึงการไม่เคารพและเทิดทูนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ต้องพิทักษ์รักษาไว้ตามรัฐธรรมนูญ... การที่ผู้คัดค้านไม่ลบหรือนำภาพถ่ายและข้อความดังกล่าวทั้งหมดออกจากระบบคอมพิวเตอร์ทั้งที่สามารถกระทำได้เพื่อไม่ให้ปรากฏอยู่และเพื่อไม่ให้บุคคลใดสามารถเข้าถึงภาพถ่ายและข้อความทั้งหกกรณีดังกล่าว ซึ่งถือเป็นการงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย"
เกี่ยวกับประเด็นนี้ ทำให้เกิดการตั้งคำถามว่า กฎหมายที่เขียนขึ้นมาใหม่สามารถมีผลย้อนหลังไปยังพฤติการณ์ในอดีตก่อนการเกิดขึ้นของกฎหมายนั้น ๆ ได้หรือไม่
รศ.สมชาย อธิบายว่า มีข้อถกเถียงของนักกฎหมายออกเป็น 2 ทาง ประการแรกคือ ห้ามกฎหมายมีผลย้อนหลังเฉพาะบทบัญญัติหรือโทษทางอาญา ไม่ว่าจะเป็นการจำคุก กักขัง ประหารชีวิต ซึ่งหมายความว่า เป็นการห้ามลงโทษทางอาญาในเหตุที่ก่อนหน้านี้ไม่เป็นความผิดแล้วมากำหนดให้เป็นความผิดในภายหลัง ส่วนแนวทางที่ 2 ที่ รศ.สมชาย เห็นด้วยคือ ไม่ว่าจะเป็นบทลงโทษชนิดไหน ก็ไม่ควรต้องมีผลเป็นการย้อนหลัง
"ในโลกสมัยใหม่ในปัจจุบันมีการคิดค้นโทษที่ไม่เป็นโทษทางอาญาหรือจำคุก แต่เป็นโทษอย่างอื่น เช่น การตัดสิทธิการเมือง มันมีผลกระทบรุนแรง กรณีนี้ไม่ควรจะใช้มาตรการการลงโทษ เพราะมาตรการการลงโทษควรจะเดินไปข้างหน้า โดยพื้นฐานแล้วผมเห็นด้วยกับการมีมาตรฐานจริยธรรม แต่ว่าถ้าเกิดจะทำ ต้องเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นหลังจากมีกฎหมายตัวนี้ใช้บังคับ" นักวิชาการด้านกฎหมายกล่าว
"สำหรับผมเห็นว่าการตัดสิทธิประหารชีวิตทางการเมืองรุนแรงไม่น้อยกว่าโทษทางอาญาเลย"
อีกความเห็นหนึ่งจาก รศ.มุนินทร์ พงศาปาน อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ตั้งข้อสังเกตบนเฟซบุ๊ก Munin Pongsapan ต่อการใช้กฎหมายย้อนหลังว่า หลักการกฎหมายไม่มีผลย้อนหลังเป็นโทษกับบุคคล เป็นหลักการพื้นฐานของทุกระบบกฎหมายที่มีนิติรัฐ และบังคับใช้กับกฎหมายในทุกสาขา ไม่จำกัดอยู่เฉพาะกฎหมายอาญา
“ฉะนั้นในทางรัฐธรรมนูญ จะมีการบังคับใช้กฎหมายเพื่อยุบพรรคหรือตัดสิทธิบุคคลสำหรับการกระทำที่เกิดขึ้นก่อนที่กฎหมายจะกำหนดเป็นความผิดและกำหนดโทษไม่ได้โดยเด็ดขาด”
"ช่องทางใหม่" จัดการปฏิปักษ์ของชนชั้นนำ
รศ.สมชาย กล่าวว่า นับตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา อำนาจทางตุลาการมีบทบาทอย่างมากในการ "เข้ามาจัดการกับฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์กับชนชั้นนำ" ที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง แต่ "มาตรฐานจริยธรรม" อาจเป็น "ช่องทางใหม่" นอกเหนือจากกลไกของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.), คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หรือศาลรัฐธรรมนูญ ที่ตัดสินยุบพรรค ตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรค ผ่านกลไกกฎหมายที่เกี่ยวกับพรรคการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญ
"กระบวนการแบบนี้เคยใช้กันมาแล้ว เรียกว่าเป็นช่องทางใหม่ในการจัดการกับกลุ่มคนที่เป็นปฏิปักษ์ต่อชนชั้นนำ"
ด้าน รศ.มุนินทร์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มธ. ตั้งข้อสังเกตต่อคำตัดสินกรณีนี้ว่า การบังคับใช้กลไกเผด็จการในรัฐธรรมนูญ ทั้งอำนาจในการยุบพรรคและตัดสิทธินักการเมือง เป็นกลไกทางกฎหมายที่ไม่มีหลักทฤษฎีกฎหมายใด ๆ ที่สามารถอธิบายความชอบธรรมได้ ทั้งในแง่เหตุแห่งความผิดที่มีการบัญญัติไว้อย่างคลุมเครือ เช่น การล้มล้างการปกครอง การกระทำผิดจริยธรรม เปิดโอกาสให้ผู้ตัดสินใช้ดุลยพินิจได้อย่างกว้างขวาง ทั้งบทลงโทษที่ไม่ได้สัดส่วนกับความผิด
"กระทำผิดคนเดียว แต่ยุบทั้งพรรค การกระทำผิดจริธรรมแต่ตัดสิทธิตลอดชีวิต กลไกเผด็จการเหล่านี้อันตรายเกินกว่าที่จะฝากความหวังไว้กับผู้พิพากษาที่มีใจเป็นธรรมคนใด ทุกพรรคการเมืองและนักการเมืองทุกคนอาจตกเป็นเหยื่อได้ด้วยกันทั้งสิ้น"
รศ.มุนินทร์ ชี้ถึงการให้เหตุผลของศาลเพื่อพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ว่า ในหลายคดีศาลยังให้เหตุผลบนสมมติฐานที่ว่าทุกคนในสังคมให้ความเคารพและจะต้องเคารพสถาบันฯ ซึ่งขัดแย้งกับความเป็นจริงและธรรมชาติของมนุษย์ที่มีความเชื่อและความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลายในทุกเรื่อง และวิพากษ์วิจารณ์ทุกสรรพสิ่งไม่เว้นแม้พระศาสดา
"ความเป็นจริงคือ สถาบันพระมหาษัตริย์สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายเช่นว่านั้น การให้เหตุผลที่ขัดกับความเป็นจริงและธรรมชาติของมนุษย์เป็นเพียงแค่การพิทักษ์อย่างฉาบฉวยในระยะสั้น แต่จะเป็นการบ่อนทำลายในระยะยาว" รศ.มุนินทร์ ระบุ