วันเสาร์, กันยายน 23, 2566

กองทัพเรือใช้งบ 200 ล้านบาทเพื่อศึกษาการซื้อเรือดำน้ำ แต่ก็ยังถูกจีนหลอก น่าอาย !


Puangthong Pawakapan
19h
·
กองทัพเรือใช้งบ 200 ล้านบาทเพื่อศึกษาการซื้อเรือดำน้ำ แต่ก็ยังถูกจีนหลอกขาย จีนย่อมรู้ดีว่าเงื่อนไขของเยอรมันคือ เรือดำน้ำที่ใช้เครื่องยนต์ของเยอรมันมีไว้ใช้ในจีนเท่านั้น ห้ามนำไปขายต่อให้ประเทศอื่น แต่ก็ยังเขียนสัญญาขายให้ไทย
นายพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ พรรคก้าวไกล เคยให้สัมภาษณ์ว่า
"“ถามว่าใช้เงินไปตั้ง 200 ล้านในการทำการศึกษา แต่ไม่รู้ว่า ต้องมีการต่อรอง เรื่องเครื่องยนต์ MTU เรื่องเครื่องยนต์ดีเซล ที่ไปต่อกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพื่อให้เครื่องยนต์ทำงาน เรื่องพวกนี้ ผมว่ากองทัพต้องรู้อยู่แล้วว่าจะใช้เครื่องยนต์ที่มาจากเยอรมัน และก็เป็นไปไม่ได้ที่กองทัพจะไม่รู้ว่า มีสัญญาของสหภาพยุโรปที่จะไม่ขายอาวุธสงครามให้จีน”
“กองทัพเรือต้องรู้อยู่แล้ว กองทัพเรือควรจะต้องมีเอกสารที่ทำให้แน่ใจว่า เยอรมันจะขายให้ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบ สัญญาซื้อขายเครื่องยนต์ MTU ระหว่างจีนกับเยอรมัน หรือเอกสารสัญญา จดหมายต่างๆ ที่เป็นลายลักษณ์อักษร"
หาก ครม.ล้มเลิกการซื้อนี้ จีนต้องคืนเงินให้ไทยทั้งหมด แต่ถ้าอนุมัติรับเครื่องยนต์จีนแทน ก็เป็นไปได้สูงว่ารัฐบาลต่อๆ ไปในอนาคตก็จะผ่านงบประมาณให้ซื้อลำที่ 2 ลำที่ 3 ได้ไม่ยากนัก
นายพิจารณ์ตั้งข้อสังเกตว่า "เหตุใดหลังจากที่กองทัพเรือทราบปัญหาของทางการจีนในปี 2564 แล้ว โครงการอันสืบเนื่องจากการจัดซื้อเรือดำน้ำทั้งหมด จึงดำเนินต่อเนื่องไปอย่างเป็นปกติ ไม่ว่าจะเป็นการของบฯ ซื้อเรือดำน้ำลำที่ 2 ในงบประมาณฯ ปี 2565 การสร้างเรือยกพลขึ้นบกเพื่อสนับสนุนเรือดำน้ำ การสร้างท่าจอดเรือดำน้ำ โรงซ่อม และโรงเก็บขีปนาวุธ ล้วนเป็นไปตามขั้นตอนปกติทั้งหมด"
สิ่งที่ ครม.เศรษฐาควรทำคือล้มข้อตกลงนี้ แล้วตั้งคณะกรรมการสอบสวนทีมงานกองทัพเรือที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อเรือดำน้ำนี้ ว่าทำหน้าที่ผิดพลาดอย่างไร ทำให้ประเทศเสียหายอย่างไรบ้าง .. กรณีนี้จะเป็นสิ่งยืนยันว่ารัฐบาลเศรษฐาเป็นอิสระจากกองทัพจริงหรือไม่
ขออนุญาตอัพเดท
โดยคุณ Saiseema Phutikarn
ประเด็นนี้จริงๆ ไม่ใช่ห้ามจีนเอาไปผลิตขายต่อ แต่ห้ามส่งออกไปจีนเลย ตามติของ EU ที่สั่งแบนการส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ให้จีน ตั้งแต่หลังเหตุการณ์เทียนอันเหมินปี 2532 แต่ที่ผ่านมาที่ส่งออกได้เพราะอ้างว่าเป็นเครื่องยนต์ Dual-Use คือใช้ในเรือพลเรือนได้ด้วย ช่วงสัมพันธ์ดีเน้นเซ็งลี้ รบ เยอรมันก็ปิดตาข้างหนึ่งให้ ... พอสื่อ กับ NGO จะไปขุดเอาเรื่องนี้ว่าละเมิดมติ EU มาทำสกู๊ปสักครั้งก็จะมีความเสี่ยงจากประเด็นเรื่องนี้ขึ้นมา .... แต่ไม่ใช่ว่าก่อนหน้านี้เรื่องนี้ไม่เคยเป็นประเด็น เป็นความเสี่ยงที่คาดไม่ได้ เป็นความเสี่ยงที่เพิ่งเกิดขึ้นหลังกองทัพเรือทำสัญญาจ่ายเงินให้จีนไปแล้ว ... เพราะจริงๆแล้วปีแรกๆที่มีสื่อไปขุดเรื่องนี้ จนเป็นประเด็นดังขึ้นมาก็คือปี 2558 ปีเดียวกับที่กองทัพเรือของบ 200 ล้าน ไปศึกษาการจัดหาเรือดำน้ำนั่นแหละ ... ดังนั้นถ้าศึกษาจริงความเสี่ยงเรื่องนี้ ทร. จะอ้างว่าไม่รู้ ไม่ประเมินมาก่อนไม่ได้เลย
เห็นทางฝ่ายกองทัพ บางคนพยายามจะบอกว่า เครื่องยนต์ดีเซลในเรือดำน้ำไม่สำคัญ ทำหน้าที่แค่ปั่นไฟชาร์จแบตเตอร์รี่ตอนเรืออยู่เหนือน้ำเท่านั้น ตอนดำน้ำไม่ได้ใช้ ใช้เครื่องยนต์จีนก็ได้ไม่ต่างกัน อันนี้ก็ต้องถามกลับว่าแล้วทำไม เรือดำน้ำจีนรุ่นใหม่ๆ ที่ผ่านมาถึงใช้เครื่องยนต์ MTU มาตลอด จริงๆก่อนหน้านั้นเรือรุ่นเก่าๆของจีนก็เคยใช้เครื่องยนต์ของจีนเองเหมือนกัน แต่พอเกิดกรณี "Chinese submarine 361" ที่เครื่องยนต์ดีเซลทำงานผิดพลาดจนทำให้ลูกเรือเสียชีวิตทั้งลำ ตอนหลังเลยเปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์ MTU ซึ่งเป็นเครื่องยนต์หลักที่ใช้ในเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าทั่วโลก
https://www.reuters.com/.../breakout-submarines-special...
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
https://www.facebook.com/.../pfbid02v3nH5Cet1nE1hQU54nkB3...
https://www.pptvhd36.com/.../%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0.../206255




Saiseema Phutikarn ·
ประเด็นนี้จริงๆ ไม่ใช่ห้ามจีนเอาไปผลิตขายต่อ แต่ห้ามส่งออกไปจีนเลย ตามติของ EU ที่สั่งแบนการส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ให้จีน ตั้งแต่หลังเหตุการณ์เทียนอันเหมินปี 2532 แต่ที่ผ่านมาที่ส่งออกได้เพราะอ้างว่าเป็นเครื่องยนต์ Dual-Use คือใช้ในเรือพลเรือนได้ด้วย ช่วงสัมพันธ์ดีเน้นเซ็งลี้ รบ เยอรมันก็ปิดตาข้างหนึ่งให้ ... พอสื่อ กับ NGO จะไปขุดเอาเรื่องนี้ว่าละเมิดมติ EU มาทำสกู๊ปสักครั้งก็จะมีความเสี่ยงจากประเด็นเรื่องนี้ขึ้นมา .... แต่ไม่ใช่ว่าก่อนหน้านี้เรื่องนี้ไม่เคยเป็นประเด็น เป็นความเสี่ยงที่คาดไม่ได้ เป็นความเสี่ยงที่เพิ่งเกิดขึ้นหลังกองทัพเรือทำสัญญาจ่ายเงินให้จีนไปแล้ว ... เพราะจริงๆแล้วปีแรกๆที่มีสื่อไปขุดเรื่องนี้ จนเป็นประเด็นดังขึ้นมาก็คือปี 2558 ปีเดียวกับที่กองทัพเรือของบ 200 ล้าน ไปศึกษาการจัดหาเรือดำน้ำนั่นแหละ ... ดังนั้นถ้าศึกษาจริงความเสี่ยงเรื่องนี้ ทร. จะอ้างว่าไม่รู้ ไม่ประเมินมาก่อนไม่ได้เลย
เห็นทางฝ่ายกองทัพ บางคนพยายามจะบอกว่า เครื่องยนต์ดีเซลในเรือดำน้ำไม่สำคัญ ทำหน้าที่แค่ปั่นไฟชาร์จแบตเตอร์รี่ตอนเรืออยู่เหนือน้ำเท่านั้น ตอนดำน้ำไม่ได้ใช้ ใช้เครื่องยนต์จีนก็ได้ไม่ต่างกัน อันนี้ก็ต้องถามกลับว่าแล้วทำไม เรือดำน้ำจีนรุ่นใหม่ๆ ที่ผ่านมาถึงใช้เครื่องยนต์ MTU มาตลอด จริงๆก่อนหน้านั้นเรือรุ่นเก่าๆของจีนก็เคยใช้เครื่องยนต์ของจีนเองเหมือนกัน แต่พอเกิดกรณี "Chinese submarine 361" ที่เครื่องยนต์ดีเซลทำงานผิดพลาดจนทำให้ลูกเรือเสียชีวิตทั้งลำ ตอนหลังเลยเปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์ MTU ซึ่งเป็นเครื่องยนต์หลักที่ใช้ในเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าทั่วโลก
https://www.reuters.com/.../breakout-submarines-special...