วันเสาร์, กันยายน 23, 2566

มาตรฐานจริยธรรม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับพุทธศักราช 2540 - ฉบับ พุทธศักราช 2550)


Kamol Kamoltrakul
18h
·
พบแล้ว “มาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรม” แต่ไม่พบว่า “ช่อ”ผู้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองตลอดชีพเข้าข่ายความผิด?
“มาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรม” หมายถึง หลักการหรือแนวทางปฏิบัติที่องค์กรประมวลขึ้น ให้สมาชิกใช้ยึดถือปฏิบัติ เพื่อเป็นเครื่องกำกับความประพฤติของคนในองค์กร
มาตรฐานจริยธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับพุทธศักราช 2540 - ฉบับ พุทธศักราช 2550)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยที่ได้มี การบัญญัติเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมไว้ในฐานะที่เป็นเรื่องสำคัญ โดยมาตรา 77
กำหนดให้ “รัฐต้องจัดให้มี แผนพัฒนาการเมือง จัดทำมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ และพนักงานหรือลูกจ้างอื่นของรัฐเพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติหน้าที่”
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กำหนดค่านิยมสร้างสรรค์ 5 ประการ
ได้แก่
1) กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง
2) ซื่อสัตย์ และมีความรับผิดชอบ
3) โปร่งใส ตรวจสอบได้
4) ไม่เลือกปฏิบัติ
5) มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
ผู้ตรวจการแผ่นดินกำหนดค่านิยม หลักสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งนักการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐไว้ 9 ประการ ได้แก่
1) การยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม
2) การมีจิตสานึกที่ดี ซื่อสัตย์ สุจริต และรับผิดชอบ
3) การยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
4) การยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม และถูกกฎหมาย
5) การให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็วมีอัธยาศัย และไม่เลือกปฏิบัติ
6) การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วนถูกต้อง และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง
7) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้
การยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
9) การยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพขององค์กร
ส่วนค่านิยมที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ไม่อาจจะนำมาเป็นบันทัดฐานได้ เนื่องจากร่างตามคำสั่งของคณะรัฐประหาร