วันเสาร์, กันยายน 23, 2566

อีกหนึ่งสัญญาณบ่งชี้ความเห็นส่วนต่อขยายของ "ระบอบประยุทธ์"


THE STANDARD
15h
·
UPDATE: ภูมิธรรม​รับ ​อยากคุยวิษณุ​ ดึงร่วม คกก.ประชามติ​ร่างรัฐธรรมนูญใหม่​ เตรียมหาวิธีลดงบทำประชามติ​ ชี้ทำ​ 3-4 ครั้ง พุ่งหมื่นกว่าล้านบาท​
.
วันนี้ (22 กันยายน) ภูมิธรรม​ เวชยชัย​ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติ กล่าวว่า จะมีการพูดคุยกันภายใน 1-​2 สัปดาห์ เพื่อให้การตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าวเรียบร้อย​ ส่วนไทม์ไลน์การทำงานขอให้มีการนัดประชุมในครั้งแรกก่อน ซึ่งจะเห็นวัตถุประสงค์​ ขอบเขต เป้าหมาย​ การร่างกฎหมายลูกต่างๆ​ ด้วย
.
“ผมอยากเห็นการเลือกตั้งครั้งหน้ามีกฎหมายรัฐธรรมนูญใหม่ และมีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญใหม่ให้สำเร็จ​ เพื่อใช้ในการเลือกตั้ง” ภูมิธรรมกล่าว
.
ภูมิธรรม​ยังกล่าวอีกว่า ได้ทาบทามผู้ที่มาร่วมเป็นคณะกรรมการชุดดังกล่าวโดยได้พูดคุยกับ เอกชัย ไชยนุวัติ​ รองคณบดี​คณะนิติศาสตร์​ มหาวิทยาลัยสยาม, สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นิกร​ จำนง ประธานคณะกรรมการนโยบายพรรคชาติไทยพัฒนา​ ซึ่งบุคคลเหล่านี้ให้ความสนใจ แต่ก็ต้องพูดคุยในรายละเอียด เพราะอยากให้ทุกคนที่เข้ามาร่วมเกิดความสบายใจและทำให้รัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตย​ และขณะนี้อยู่ระหว่างการทาบทาม พงศ์เทพ​ เทพกาญจนา อดีตประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรค​เพื่อไทย​
.
ส่วนจะมีการทาบทาม วิษณุ​ เครืองาม​ อดีตรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย หรือไม่ ภูมิธรรมระบุว่า ยังไม่มีโอกาสได้คุยกับวิษณุ​ แต่ถ้ามีโอกาสก็อยากจะคุย เนื่องจากวิษณุเป็นผู้รู้ เป็นคนที่เชี่ยวชาญในกฎหมายมากพอสมควร รวมถึงหลายท่านที่เคยมีบทบาท ซึ่งยังไม่มีโอกาสคุย เวลาที่มีประชุมก็สามารถปรึกษาหารือกันได้
.
เมื่อถามว่าจะมีการเชิญคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2560 มาร่วมด้วยหรือไม่ ภูมิธรรมระบุว่า ตนยินดีต้อนรับทุกคน แต่ต้องคุยกันในรายละเอียดและกรอบแนวทางว่าเป็นอย่างไร
.
เมื่อถามว่าได้ทาบทามตัวแทนพรรคก้าวไกลเข้าร่วมคณะกรรมการชุดดังกล่าวหรือไม่ ภูมิธรรมระบุว่า ในส่วนพรรคการเมืองตนพยายามเชิญมาร่วมให้มากที่สุด แต่เรามีข้อจำกัดเรื่องปริมาณจำนวนคน เมื่อลิสต์รายชื่อก็เกิน 30 คน ใหญ่มากเกินไปก็ทำงานลำบาก แต่ถ้าไม่ได้เป็นคณะกรรมการก็สามารถเข้ามามีส่วนร่วม พบปะพูดคุยแสดงความคิดเห็น
.
สำหรับงบประมาณในการจัดทำรัฐธรรมนูญทั้งฉบับนั้น ภูมิธรรม​กล่าวว่า ในส่วนของการทำประชามติจะใช้งบประมาณครั้งละประมาณ 3-4 พันล้านบาท หากทำครบ 3-4 ครั้ง ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยจะใช้งบประมาณสูงถึงหมื่นล้านบาท แต่ตนคิดว่าอยู่ในแนวทางที่จะต้องพูดคุยกันให้ชัดเจน อาศัยความคิดเห็นจากคณะกรรมการชุดดังกล่าว ซึ่งเราพยายามจะทำให้การทำประชามติน้อยครั้งที่สุด อันไหนสามารถควบรวมได้ก็จะทำ เพื่อให้ประหยัดงบประมาณให้ได้มากที่สุด โดยยึดแนวทางของศาลรัฐธรรมนูญที่วินิจฉัยไว้
.
ผู้สื่อข่าวยังถามถึงมุมมองเรื่องมาตรฐานจริยธรรม กรณี พรรณิการ์​ วานิช​ ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองตลอดชีวิต และพรรคก้าวไกลก็ออกมาระบุว่า​ ปัญหาอยู่ที่รัฐธรรมนูญนั้น ภูมิธรรม​กล่าวว่า​ อะไรที่เป็นประชาธิปไตยเราทำได้หมด เว้นการแก้ไขในหมวด 1 และ 2 ในแต่ละเรื่องที่เกิดขึ้น เราต้องดูเจตจำนง ที่จะควบคุมดูแลนักการเมืองและผู้ที่เกี่ยวข้องก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็ต้องดูว่าไม่ละเมิดและมีความเที่ยงตรงได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งก็ต้องไปดูในรายละเอียด
.
เมื่อถามว่าที่มีการวิจารณ์ว่าประมวลกฎหมายที่ออกโดยศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระมาบังคับใช้กับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) อาจจะไม่ถูกหลัก หรือกรณีที่ศาลตัดสินว่าไม่ผิด แต่กลับผิดหลักจริยธรรมไปก่อนหน้านี้นั้น​ ภูมิธรรม​กล่าวว่า ต้องดูเป็นรายกรณี แต่การอิงศาลรัฐธรรมนูญในเบื้องต้นก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว แม้จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ตาม
.
ภูมิธรรมยังกล่าวด้วยว่า อะไรที่เป็นปัญหามากเกินไปคนในกลุ่มวิชาชีพที่เราเชิญมาหรือรับฟังมาก็จะเป็นคนให้ความเห็นเองว่า เรื่องไหนโอเค หรือเรื่องไหนต้องมีการปรับปรุงแก้ไข
.
“ผมคิดว่าหากระดมความคิดเห็นได้กว้างขึ้น​ รัฐธรรมนูญก็จะไม่มีปัญหา เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ทุกฝ่ายต้องยอมรับและผ่านให้ได้ และผมคิดว่าถ้ารัฐธรรมนูญผ่านได้ ไม่ว่าจะเป็นประชาธิปไตยในลำดับใด มันก็จะทำให้โอกาสและบรรยากาศของประเทศพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น” ภูมิธรรมกล่าว
.
#TheStandardNews
...
Saiseema Phutikarn ·
อีกหนึ่งสัญญาณบ่งชี้ความเห็นส่วนต่อขยายของ "ระบอบประยุทธ์"

ธัญธร สุนันทวดี
ถูมิธรรมควรไปปรึกษาI law นะว่าเค๊าทำประชามติกันยังไงไม่ให้งบโดนงาบอ่ะ
.....


 

C.Cheangsen @CheangUchen
"ส่วนขยาย"ของระบอบประยุทธ์
 
เพิ่งเขียนบทความเรื่องนี้ไปเมื่อวีคที่แล้ว และส่งต้นฉบับไปละ เห็นมีการถกกันว่า รัฐบาลเศรษฐ เป็นส่วนขยายของระบอบประยุทธ์หรือไม่ เลยขออนุญาตแบ่งปัน

%%%%%%
3. ระบอบประยุทธ์ (3) ที่มีเศรษฐาเป็นนายกฯ?
ถ้าไม่ดูหน้าว่าใครเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลชุดนี้อาจไม่ต่างจากรัฐบาลชุดที่แล้วมากนัก ไม่ใช่เพราะเพียงแค่มีพรรคการเมืองในรัฐบาลเกือบเดิมทั้งหมด (ยกเว้นพรรคประชาธิปัตย์) หรือมีรัฐมนตรีส่วนใหญ่มาจากพรรคการเมืองเดิม และรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทยเองเคยเป็นรัฐมนตรีจากระบอบประยุทธ์เท่านั้น 

แต่ที่สำคัญ คือ พรรคการเมืองที่ชนะเลือกตั้ง ได้อันดับ 1 คือ ก้าวไกล ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลและแกนนำเป็นนายกรัฐมนตรีได้ และพรรคอันดับ 2 ด้วยการสนับสนุนของสมาชิกวุฒิสภา ขึ้นสู่อำนาจแทน 

พรรคเพื่อไทยในปี 2562 โดนอย่างไร พรรคก้าวไกล ปี 2566 ก็โดนอย่างนั้น และน่าจะรุนแรงกว่า 

นอกจากนั้น สิ่งที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้แต่เกิดขึ้นแล้ว พรรคเพื่อไทยได้ทำลายมรดกที่บรรพบุรุษของตัวเองพยายามสร้างมาตลอดนับสิบปี คือ การนำนโยบายที่ตัวเองหาเสียงมาทำเป็นนโยบายของรัฐบาลและนำไปสู่การปฏิบัติ 

จากการแถลงนโยบายและการตอบคำถามต่างๆ ของแกนนำรัฐบาล เห็นได้เด่นชัดว่าวิ่งตามหลังพลังประชารัฐแบบหายใจรดต้นคอ คือ ไม่ตรงปก 

แม้การเข้าสู่อำนาจอาจไม่สง่างามอย่างที่กล่าวมา แต่ไม่มีประชาชนคนไหน สนับสนุนพรรคการเมืองใด ต้องการรัฐบาลที่แย่ไปกว่าเดิม และยังคงหวังว่ารัฐบาลชุดนี้จะจัดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับภาคธุรกิจและสังคมต่างไปจากระบอบประยุทธ์ก่อนหน้านี้ 

ถ้ารัฐบาลนี้ไม่ยอมทำอะไรเลย แต่ยังคงระเบียบโครงสร้างทางการเมืองที่รักษาสถานะและอำนาจของชนชั้นนำตามจารีตให้คงอยู่ต่อไป และต้องการเพียงรักษาฉากหน้าที่เป็นประชาธิปไตยไว้เพื่อความชอบธรรมเท่านั้น ก็จะกลายเป็นส่วนต่อขยายของระบอบเก่า ระบอบประยุทธ์ (3) ที่มีเศรษฐาเป็นนายกฯ เท่านั้น

เพราะการไม่มีชื่อประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี ไม่ได้เท่ากับการหมดไปของระบอบประยุทธ์ในแง่ของเนื้อหา และหากมีคนเข้าใจผิดในเรื่องนี้ ต้องโยนความผิดให้กับผู้เขียนบทความทั้ง 2 ท่าน