วันเสาร์, กันยายน 23, 2566

อีกประเด็นที่ทำให้เห็นว่าศาลฎีกาพิพากษา ‘ช่อ’ “เกินเจ้า”

อีกประเด็นที่ทำให้เห็นว่าศาลฎีกาพิพากษา “เกินเจ้า” คดีที่ตัดสิทธิทางการเมืองตลอดชีวิตของ ช่อพรรณิการ์ วานิช ซึ่ง Saiseema Phutikarn วิพากษ์ว่า “อิหญั่งว่ะ แบบนี้หรือ ไม่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันกษัตริย์”

เมื่อพบว่าหนึ่งในสองการกระทำที่ถูกหาว่า ผิดจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามรัฐธรรมนูญ ๖๐ แม้นว่าเหตุเกิดตอนที่ผู้ถูกกล่าวหายังไม่ได้ดำรงตำแหน่งการเมือง คือการแชร์ภาพพระเทพฯ ไปทรงฝากเงินที่ธนาคารออมสินตอนปี ๕๔

เธอเขียนบรรยายภาพว่า “จะหาเวลาทำตามพระราชนิยม ฝากเงินที่ออมสิน ช่วยชาวนาจริงๆ” ดูแล้วเป็นการเสียดสีพระกนิษฐาฯ หรือไม่ อยู่ที่ใครล่ะเป็นผู้วินิจฉัย ถ้าเป็นวิจารณญานของผู้ยึดมั่นในหลักนิติธรรม หรือ ‘Rule of Law’ ละก็ไม่ใช่

คุณพูติกาลชี้ให้ย้อนไปดูเหตุการณ์จริงเมื่อกุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ “ช่วงนั้น รบ.ยิ่งลักษณ์ ยุบสภาไปแล้วการเลือกตั้งถูกขัดขวาง การชุมนุม กปปส. ก็ยังคงปิดเมืองเรียกร้องปฏิรูปก่อนเลือกตั้งต่อ รบ.ยิ่งลักษณ์ที่รักษาการประสบปัญหา

กกต.ไม่ยอมอนุมัติให้กู้เงินมาจ่ายเงินค่าข้าว ในโครงการจำนำข้าวที่ค้างอยู่ เลยจะให้ธนาคารออมสินจ่ายเงินให้ชาวนาไปก่อน” กปปส.จึงสร้างกระแส “มวลมหาประชาชน แห่ไปถอนเงินออกจากธนาคารออมสิน” จะได้ไม่มีจ่ายค่าจำนำข้าว

“โพสท์นี้เป็นเพียง ๑ ใน ๖ โพสท์ที่ ปปช.ชี้มูลว่าช่อผิดจริยธรรมไม่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันกษัตริย์ นอกจากอันนี้ที่ศาลเห็นว่าพาดพิงพระเทพฯ แล้วยังมีอีก ๓ โพสท์ที่ศาลเห็นว่าพาดพิง ร.๙” อีกสองโพสต์ศาลไม่ระบุว่าพาดพิงใคร ได้แต่เหมารวม

แถมในคำตัดสินฉบับเต็มไม่มีแม้แต่คำอธิบายว่า แต่ละโพสท์มันพาดพิงไม่เหมาะสมมิบังควรอย่างไร” เท่ากับว่านี่เป็นคำพิพากษาที่มักง่ายมากๆ สักแต่ว่าตัดสินให้ผู้ถูกกล่าวหามีความผิด โดยไม่คำนึงบริบทของเหตุการณ์ แม้แต่น้อย

นี่คือการตัดสินแบบศาลเตี้ย เอาข้อกล่าวหามาเป็นเนื้อนาความผิด เมื่อคำนึงถึงทางปฏิบัติที่บุคคลทั้ง ๕ ได้มานั่งบัลลังก์ตัดสินแล้วละก็ เป็นการชี้ผิดไว้ก่อนแล้วพยายามหาข้อกฎหมายมาสนับสนุน กะล่อนยิ่งกว่าศรีธนญชัย

(https://www.facebook.com/photo/?fbid=3511995282449307&set=a.1813390568976462)