Thanapol Eawsakul
18h
·
กรณีนโยบายลดค่าพลังงานของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย
ในฐานะคนจ่ายค่าไฟ ลองอ่าน 3 สิ่งนี้เรียงกัน
1
ถอดรหัสนโยบายลดค่าไฟ “เพื่อไทย” เน้นลดต้นทุน ไม่กระทบกำไรโรงไฟฟ้า GULF-SCGP เด่นรับเงินไหลเข้า
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=259705686986141&id=100088401330647&mibextid=Nif5oz
2.จุลพันธ์
#เตรียมเดินหน้าลดราคาพลังงาน พรรคเพื่อไทย ให้คำมั่นไว้ จะดำเนินการทันทีใน “การประชุม ครม. ครั้งแรก หลังการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา” เพื่อลดภาระประชาชน และส่งเสริมการดำเนินการทางเศรษฐกิจ (การผลิตและการขนส่ง)
#ลดราคาน้ำมันทันที
- ลดราคา #น้ำมันดีเซล ทันทีโดยใช้กลไกการปรับลดภาษีสรรพสามิต
- ระยะต่อไปจะเร่งหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อปรับโครงสร้างราคาและภาษี ให้ราคาปรับลดลงอย่างยั่งยืน
- ราคา #น้ำมันเบนซิน จะมีการพิจารณาช่วยเหลือชดเชยแบบเฉพาะกลุ่ม
#ลดค่าไฟทันที
- ใช้กลไกการยืดการชำระหนี้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยไปก่อน ในช่วงที่ต้นทุนไฟฟ้ายังสูงอยู่ เพื่อลดภาระที่ซ้ำเติมต้นทุนไฟฟ้า
#หนิมจุลพันธ์
#จุลพันธ์อมรวิวัฒน์
#พรรคเพื่อไทย
#ราคาพลังงาน
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=742505141221768&id=100063868667877&mibextid=Nif5oz
3
สฤณี
ถ้าประกาศว่า “ลดทันที” ก็ประมาณนี้ค่ะที่ทำได้ แต่สังเกตว่าน้ำมันยังพูดเรื่อง “ปรับโครงสร้างราคา” ที่ดูเป็นการแก้ปัญหาในระยะยาว ขณะที่ไฟฟ้ายังพูดแค่เรื่องเฉพาะหน้าคือยืดหนี้ กฟผ. (ตอนนี้แบกเกินแสนล้านแล้ว) ออกไปอีก ซึ่งในอนาคตเราก็ต้องจ่ายคืนอยู่ดี
เชิญชวนร่วมลงชื่อในแคมเปญ #ค่าไฟต้องแฟร์ และรอติดตามตอนต่อไป https://www.energy-justice-thailand.com
https://www.facebook.com/100044570883310/posts/868332324662456/?mibextid=Nif5oz
.....·
กรณีนโยบายลดค่าพลังงานของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย
ในฐานะคนจ่ายค่าไฟ ลองอ่าน 3 สิ่งนี้เรียงกัน
1
ถอดรหัสนโยบายลดค่าไฟ “เพื่อไทย” เน้นลดต้นทุน ไม่กระทบกำไรโรงไฟฟ้า GULF-SCGP เด่นรับเงินไหลเข้า
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=259705686986141&id=100088401330647&mibextid=Nif5oz
2.จุลพันธ์
#เตรียมเดินหน้าลดราคาพลังงาน พรรคเพื่อไทย ให้คำมั่นไว้ จะดำเนินการทันทีใน “การประชุม ครม. ครั้งแรก หลังการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา” เพื่อลดภาระประชาชน และส่งเสริมการดำเนินการทางเศรษฐกิจ (การผลิตและการขนส่ง)
#ลดราคาน้ำมันทันที
- ลดราคา #น้ำมันดีเซล ทันทีโดยใช้กลไกการปรับลดภาษีสรรพสามิต
- ระยะต่อไปจะเร่งหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อปรับโครงสร้างราคาและภาษี ให้ราคาปรับลดลงอย่างยั่งยืน
- ราคา #น้ำมันเบนซิน จะมีการพิจารณาช่วยเหลือชดเชยแบบเฉพาะกลุ่ม
#ลดค่าไฟทันที
- ใช้กลไกการยืดการชำระหนี้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยไปก่อน ในช่วงที่ต้นทุนไฟฟ้ายังสูงอยู่ เพื่อลดภาระที่ซ้ำเติมต้นทุนไฟฟ้า
#หนิมจุลพันธ์
#จุลพันธ์อมรวิวัฒน์
#พรรคเพื่อไทย
#ราคาพลังงาน
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=742505141221768&id=100063868667877&mibextid=Nif5oz
3
สฤณี
ถ้าประกาศว่า “ลดทันที” ก็ประมาณนี้ค่ะที่ทำได้ แต่สังเกตว่าน้ำมันยังพูดเรื่อง “ปรับโครงสร้างราคา” ที่ดูเป็นการแก้ปัญหาในระยะยาว ขณะที่ไฟฟ้ายังพูดแค่เรื่องเฉพาะหน้าคือยืดหนี้ กฟผ. (ตอนนี้แบกเกินแสนล้านแล้ว) ออกไปอีก ซึ่งในอนาคตเราก็ต้องจ่ายคืนอยู่ดี
เชิญชวนร่วมลงชื่อในแคมเปญ #ค่าไฟต้องแฟร์ และรอติดตามตอนต่อไป https://www.energy-justice-thailand.com
https://www.facebook.com/100044570883310/posts/868332324662456/?mibextid=Nif5oz
Atukkit Sawangsuk
17h
·
เปรียบเทียบแนวทางลดค่าไฟแบบก้าวไกล
อันนี้เฉพาะที่อภิปราย กกพ.
ซึ่งเป็นองค์กรกึ่งอิสระ (เงินเดือนสูงสุด ในประเทศนี้มี กสทช กับ กกพ สูงกว่าพวก กกต ปปช เกือบสองเท่า เกือบสี่แสน)
แต่มีผลประโยชน์เกี่ยวพันสูงมาก เป็นผู้อนุมัติซื้อขายไฟฟ้า
บอร์ดก็ไม่ได้มาจากไหน มาจากปลัดเกษียณเกือบทั้งนั้น
พรรคก้าวไกล - Move Forward Party
3d
·
[ ประชาชนจะจ่ายค่าไฟถูกลงกี่โมง ถ้ายังเอื้อนายทุน ‘เสือนอนกิน’ กันแบบนี้ ]
.
การประชุมสภาผู้แทนราษฎรเมื่อ 30 ส.ค. มีวาระรับทราบรายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน และสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)
สส.พรรคก้าวไกลได้อภิปรายหลายคน ประเด็นที่ถูกพูดถึงมากคือการแก้ไขปัญหาค่าไฟแพง ที่ยัง ‘แพงแล้ว แพงอยู่ แพงต่อ’ ประชาชนรับผลกระทบหนักในเวลานี้ �.�.
[ ของถูกให้ภาคธุรกิจ ของแพงให้ประชาชน ]
.�ศุภโชติ ไชยสัจ สส.บัญชีรายชื่อ อดีตเคยทำงานเป็นที่ปรึกษาด้านตลาดพลังงาน ได้อภิปราย 4 ประเด็นสำคัญ �.
(1) การปรับโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติในการผลิตกระแสไฟฟ้าในปัจจุบัน ทำให้ประชาชนต้องจ่ายแพงเกินไป : ไฟฟ้าที่เราใช้กันทุกวันนี้ ผลิตจากโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติมากถึง 60% ราคาก๊าซธรรมชาติจึงเป็นต้นทุนส่วนใหญ่ของไฟฟ้าในบ้านเรา แต่ต้นทุนราคาก๊าซที่ถูกนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า มาจาก Pool Gas ที่พึ่งพาการนำเข้าและมีราคาแพง ในขณะที่แหล่งก๊าซในประเทศที่มีราคาถูก ถูกนำไปเข้าโรงแยกก๊าซเพื่อนำไปใช้กับกลุ่มปิโตรเคมีก่อน
.
สรุปง่ายๆ คือ ‘ของถูกให้ภาคธุรกิจ ของแพงให้ประชาชน’
.
ถึงอย่างนั้น สังคมกลับมามีความหวังเพราะได้เห็นหนังสือที่ทาง กกพ. ทำถึงรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานเมื่อ 28 เมษายนที่ผ่านมา เสนอให้มีการปรับโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติใหม่ โดยให้นำราคาก๊าซธรรมชาติจากแหล่งในประเทศ มาเฉลี่ยรวมกับ Pool Gas ที่มีราคาแพง ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตกระแสไฟฟ้าลดลงด้วย
.
จึงอยากตั้งคำถามถึง กกพ. ว่าจากวันนั้นถึงวันนี้ ได้มีการติดตามผลของการทำหนังสือฉบับนี้หรือไม่ กระทรวงพลังงานหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการไปถึงไหนแล้ว เพราะประชาชนสงสัยว่า หรือเป็นเพราะกลุ่มปิโตรเคมีต้องจ่ายแพงขึ้น จึงเป็นตัวขัดขวางให้ข้อเสนอนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้
.
(2) ความโปร่งใสของ กกพ. ในการปฏิบัติหน้าที่ : ตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร 2540 มาตรา 9 (7) กำหนดให้มีการเผยแพร่มติของคณะกรรมการใดๆ ที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งสู่สาธารณะ การเปิดเผยมตินั้นสำคัญ เพราะช่วยให้เกิดความโปร่งใส ประชาชนตรวจสอบได้
.
เช่น การให้ใบอนุญาตโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนรอบที่ผ่านมามากกว่า 5,000 เมกะวัตต์ ระบุว่าจะให้ใบอนุญาตตามคะแนนเชิงเทคนิคเพียงอย่างเดียว แต่กฎเกณฑ์ วิธีการให้คะแนน กลับไม่ได้แจ้ง มีแต่การใช้ดุลพินิจ คำถามคือความโปร่งใสอยู่ที่ไหน?
.
ยังไม่รวมกระบวนการคัดเลือกที่ให้เวลาแค่เดือนเดียวในการยื่นเอกสาร ทำให้เกิดการตั้งคำถามกันว่า คนที่เตรียมเอกสารทันนั้น เพราะรู้กันอยู่แล้วหรือไม่ หรือประเด็นราคารับซื้อไฟฟ้าที่เรียกว่า Feed-in tariff จากโรงไฟฟ้าพวกนี้ มีสูตรคำนวณอย่างไร สูงเกินกว่าความเป็นจริงของราคาตลาดหรือไม่ เพราะคนที่แบกรับต้นทุนคือพี่น้องประชาชน
.
จึงตั้งคำถามว่า ทำไมไม่เปิดเผยมติหรือเนื้อหากระบวนการต่างๆ ที่บัญญัติใน พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและยุติธรรมต่อประชาชน ไม่อย่างนั้น กกพ. เองอาจกำลังละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 157 ก็เป็นได้
.
(3) การเจรจาแก้ไขสัญญาซื้อขายไฟฟ้า เพื่อปรับลดค่าความพร้อมจ่าย (Availability Payment) ของโรงไฟฟ้า : ปัจจุบันไทยมีโรงไฟฟ้ามากเกินความจำเป็น มี 8 โรงที่ไม่ได้เดินเครื่องเลยในปี 2564 แต่เรายังต้องจ่ายเงินให้โรงไฟฟ้าเหล่านี้ผ่านค่าความพร้อมจ่ายที่ถูกระบุในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchasing Agreement: PPA)
.
แม้เข้าใจว่าการแก้ไขสัญญาระหว่างรัฐและเอกชนเป็นสิ่งที่ยาก แต่ในทุกสัญญาจะมีการระบุข้อกำหนดหนึ่ง คือเหตุสุดวิสัย (force majeure) หมายถึงการเกิดเหตุที่อยู่เหนือการควบคุมของคู่สัญญาและเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน เช่น การแพร่ระบาดของโควิด 19 ควรนำมาเป็นเหตุสุดวิสัยที่นำไปสู่การแก้ไขสัญญาลดค่าความพร้อมจ่ายได้
.
จึงขอตั้งคำถามว่า กกพ. เคยมีความคิด หรือความพยายามเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาทบทวนหรือแก้ไขสัญญานี้หรือไม่
.
(4) งบประมาณและความคุ้มค่าในการเดินทางดูงานต่างประเทศ : งบในกลุ่มนี้สูงมากกว่า 10 ล้านบาทต่อปี ประเทศที่เดินทางไปล้วนมีความก้าวหน้าทางพลังงาน แต่ทำไมประเทศไทยยังไม่มีนโยบายหรือกระบวนการต่างๆ ที่ทันสมัยเหมือนประเทศอื่น เช่น ในขณะที่ประเทศอื่นใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการยื่นประมูลโรงไฟฟ้า แต่เรายังต้องยื่นซองกระดาษ
.
ศุภโชติทิ้งท้ายว่า หน่วยงานที่ควรกำกับกิจการพลังงานต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศ กลับถูกสังคมตั้งคำถามว่าท่านกำลังถูก ‘กำกับ’ โดยกลุ่มทุนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ไม่ใช่เพื่อประชาชนอยู่หรือไม่ หากเป็นเช่นนี้ แล้วประชาชนจะพึ่งใคร!?!
.�.
[ หยุดนายทุนเสือนอนกิน อู้ฟู่บนน้ำตาประชาชน ]
.
ต่อมา วิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ ขยายประเด็นต่อว่า ปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าที่ไม่ได้เดินเครื่อง แต่รัฐต้องเอาเงินไปจ่ายค่าพร้อมจ่ายให้นายทุน โดยมีการประเมินกันว่า ค่าพร้อมจ่ายที่ต้องจ่ายให้นายทุน 80 สตางค์ต่อหน่วยนั้น ถ้าประเทศเราสำรองไฟแค่ 15% (ปัจจุบันสำรองถึง 50%) เหมือนประเทศอื่น ประชาชนจะจ่ายแค่ 24 สตางค์ต่อหน่วยเท่านั้น
.
พูดให้เห็นภาพ เช่น ค่าไฟของท่าน 1,000 บาท ถ้าไม่ต้องจ่ายค่าพร้อมจ่าย 80 สตางค์ ประชาชนจะจ่ายค่าไฟแค่ 880 บาท นั่นหมายความว่าทุกวันนี้ประชาชนถูกไถเดือนละ 120 บาท เข้ากระเป๋านายทุนเสือนอนกิน นี่หรือคือการกำกับกิจการพลังงานที่ว่าดีแล้ว เป็นธรรมแล้ว?
.
ปัญหาค่าไฟแพงยังเดือดร้อนถึงภาคอุตสาหกรรม เพราะค่าไฟคิดเป็น 10-30% ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด ในขณะที่ค่าไฟประเทศไทย 4.70 บาทต่อหน่วย แต่เวียดนาม 2.76 บาทต่อหน่วย แบบนี้ประเทศไทยจะมีขีดความสามารถในการแข่งขัน สู้ประเทศอื่นได้อย่างไร
.
นอกจากนั้น ที่ผ่านมาโครงการอะไรที่ประชาชนจะได้ประโยชน์ ก็ทำเหมือนไม่เต็มใจทำ เช่น การซื้อโซลาร์รูฟท็อปจากภาคเอกชนที่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะราคารับซื้อไม่เป็นธรรม ซื้อถูกมาก รัฐบาลชุดที่แล้วแถลงต่อรัฐสภาเมื่อ 25 กรกฎาคม 2562 ว่าจะส่งเสริมการซื้อขายไฟฟ้าแบบหักลบหน่วยไฟฟ้าสุทธิ (Net Metering) แต่เอาเข้าจริงไม่ได้ทำเลย พอเอกชนจะซื้อขายไฟฟ้ากันเอง กกพ. ก็ไปคิดค่าเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Wheeling Charge) แพงหูฉี่ 1.15 บาท ตั้งราคาแบบนี้เหมือนจะไม่ให้ทำมากกว่า
.
จึงขอย้ำเตือน กกพ. ว่าหน้าที่สำคัญคือการปกป้องผลประโยชน์ เพื่อให้ประชาชนได้ใช้พลังงานอย่างเป็นธรรม ถ้า กกพ. ไม่ตระหนักเรื่องนี้ สุดท้ายกลุ่มทุนผูกขาดหรือเครือข่ายอุปถัมภ์ของผู้มีอำนาจ ก็จะเข้ามาฮุบเอาพลังงานของประเทศไปกินรวบ รีดนาทาเร้นจากประชาชนตามใจชอบ ให้พวกมันร่ำรวยบนคราบน้ำตาของประชาชน
.�.
[ เรียกร้อง กกพ. ยุติออกใบอนุญาตโรงไฟฟ้า ลวงตา-หลบกฎเกณฑ์ ]
.
จากนั้น เบญจา แสงจันทร์ สส.บัญชีรายชื่อ ยกข้อร้องเรียนจากประชาชน จ.ปราจีนบุรี ว่าขณะนี้มีความพยายามขออนุญาตก่อสร้างโรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะอุตสาหกรรม จำนวน 3 โรง
.
ความน่าสนใจคือ (1) แต่ละโรงมีกำลังการผลิต 9.9 เมกะวัตต์ เมื่อนำมารวมกันจะมีกำลังการผลิต 29.7 เมกะวัตต์ (2) ตั้งอยู่บนที่ดินที่มีพื้นที่ต่อเนื่องกัน ทั้งหมดเกือบ 62 ไร่ ในนิคมอุตสาหกรรมไฮเทคกบินทร์ ต.ลาดตะเคียน อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
.
จึงขอถามไปยัง กกพ. ว่าโรงไฟฟ้าทั้ง 3 นี้ ยังถือเป็นโครงการผลิตและจําหน่ายไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะอุตสาหกรรม ‘ขนาดเล็กมาก’ ได้อยู่หรือไม่ เพราะถึงแม้แต่ละโรงมีขนาดไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ แต่เมื่อเดินเครื่องจักรพร้อมกัน กำลังการผลิตก็เกือบ 30 เมกะวัตต์ เช่นนี้จึงน่าตั้งข้อสังเกตว่า บริษัทจงใจยื่นขออนุญาตเพื่อเลี่ยงการทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือไม่
.
และเนื่องจากการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก เข้ามามีส่วนในการผลิตไฟฟ้า แต่สำหรับกรณีนี้ โรงไฟฟ้าทั้ง 3 โรงมีผู้ถือหุ้นหลักเป็นบริษัทเดียวกัน คือบริษัท เก็ท กรีน พาวเวอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท เอิร์ธ เท็ค เอนไวรอนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยอยู่ก่อนแล้ว
.
นี่จึงถือเป็นการลวงตา หลบกฎเกณฑ์ เจตนาเลี่ยงการปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการกํากับกิจการพลังงาน ว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565 - 2573 สําหรับขยะอุตสาหกรรม ที่มีใจความว่า “โครงการที่เสนอขายไฟฟ้าต้องเป็นโรงไฟฟ้าที่ลงทุนก่อสร้างใหม่ และไม่เคยมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าหรือไม่เคยได้รับการตอบรับซื้อจากการไฟฟ้าฝ่ายจําหน่าย และไม่มีลักษณะต้องห้าม เช่น เป็นโครงการที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือการไฟฟ้าฝ่ายจําหน่ายที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่”
.
ดังนั้น การที่ทั้ง 3 บริษัทได้รับอนุญาตจาก กกพ. ให้ก่อตั้งโรงไฟฟ้า จึงเป็นการดําเนินการที่สุ่มเสี่ยงต่อการผิดระเบียบ ผิดกฎหมาย เป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบธรรมด้วยหรือไม่?
.
นอกจากนี้ ในเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อประกอบการออกใบอนุญาตกิจการโรงไฟฟ้า ยังมีความผิดปกติหลายอย่าง แสดงถึงเจตนากีดกันประชาชนไม่ให้มีส่วนร่วม เช่น บริษัทเจ้าของโครงการโรงไฟฟ้าฯ ทั้ง 3 โครงการ จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นในวันเวลาเดียวกัน จัดแค่ 1 ครั้งในวันจันทร์ซึ่งเป็นวันทำงาน ไม่มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบทั่วถึง แถมสถานที่ที่จัดห่างจากจุดตั้งโรงไฟฟ้ากว่า 10 กิโลเมตร ส่งผลให้จำนวนผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็น มีน้อยลงอย่างมีนัยยะสำคัญหรือไม่
.
เบญจาย้ำในช่วงท้ายว่า ทุกครั้งที่มีโครงการขนาดใหญ่ ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน โครงการเหล่านี้มักจะสร้างผลกำไรมหาศาลให้กับนายทุน แต่ไม่ได้สร้างความมั่นคงในชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน รวมถึงระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น
.
ผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการมากที่สุด อาจไม่ใช่ผู้เซ็นอนุมัติ แต่เป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ จึงขอให้ กกพ. พิจารณายุติการออกใบอนุญาตโรงงานไฟฟ้าทั้ง 3 โรงนี้ออกไปก่อน เพื่อพิจารณาให้รอบคอบ
.
#ก้าวไกล #ค่าไฟแพง #ประชุมสภา
เปรียบเทียบแนวทางลดค่าไฟแบบก้าวไกล
อันนี้เฉพาะที่อภิปราย กกพ.
ซึ่งเป็นองค์กรกึ่งอิสระ (เงินเดือนสูงสุด ในประเทศนี้มี กสทช กับ กกพ สูงกว่าพวก กกต ปปช เกือบสองเท่า เกือบสี่แสน)
แต่มีผลประโยชน์เกี่ยวพันสูงมาก เป็นผู้อนุมัติซื้อขายไฟฟ้า
บอร์ดก็ไม่ได้มาจากไหน มาจากปลัดเกษียณเกือบทั้งนั้น
พรรคก้าวไกล - Move Forward Party
3d
·
[ ประชาชนจะจ่ายค่าไฟถูกลงกี่โมง ถ้ายังเอื้อนายทุน ‘เสือนอนกิน’ กันแบบนี้ ]
.
การประชุมสภาผู้แทนราษฎรเมื่อ 30 ส.ค. มีวาระรับทราบรายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน และสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)
สส.พรรคก้าวไกลได้อภิปรายหลายคน ประเด็นที่ถูกพูดถึงมากคือการแก้ไขปัญหาค่าไฟแพง ที่ยัง ‘แพงแล้ว แพงอยู่ แพงต่อ’ ประชาชนรับผลกระทบหนักในเวลานี้ �.�.
[ ของถูกให้ภาคธุรกิจ ของแพงให้ประชาชน ]
.�ศุภโชติ ไชยสัจ สส.บัญชีรายชื่อ อดีตเคยทำงานเป็นที่ปรึกษาด้านตลาดพลังงาน ได้อภิปราย 4 ประเด็นสำคัญ �.
(1) การปรับโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติในการผลิตกระแสไฟฟ้าในปัจจุบัน ทำให้ประชาชนต้องจ่ายแพงเกินไป : ไฟฟ้าที่เราใช้กันทุกวันนี้ ผลิตจากโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติมากถึง 60% ราคาก๊าซธรรมชาติจึงเป็นต้นทุนส่วนใหญ่ของไฟฟ้าในบ้านเรา แต่ต้นทุนราคาก๊าซที่ถูกนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า มาจาก Pool Gas ที่พึ่งพาการนำเข้าและมีราคาแพง ในขณะที่แหล่งก๊าซในประเทศที่มีราคาถูก ถูกนำไปเข้าโรงแยกก๊าซเพื่อนำไปใช้กับกลุ่มปิโตรเคมีก่อน
.
สรุปง่ายๆ คือ ‘ของถูกให้ภาคธุรกิจ ของแพงให้ประชาชน’
.
ถึงอย่างนั้น สังคมกลับมามีความหวังเพราะได้เห็นหนังสือที่ทาง กกพ. ทำถึงรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานเมื่อ 28 เมษายนที่ผ่านมา เสนอให้มีการปรับโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติใหม่ โดยให้นำราคาก๊าซธรรมชาติจากแหล่งในประเทศ มาเฉลี่ยรวมกับ Pool Gas ที่มีราคาแพง ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตกระแสไฟฟ้าลดลงด้วย
.
จึงอยากตั้งคำถามถึง กกพ. ว่าจากวันนั้นถึงวันนี้ ได้มีการติดตามผลของการทำหนังสือฉบับนี้หรือไม่ กระทรวงพลังงานหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการไปถึงไหนแล้ว เพราะประชาชนสงสัยว่า หรือเป็นเพราะกลุ่มปิโตรเคมีต้องจ่ายแพงขึ้น จึงเป็นตัวขัดขวางให้ข้อเสนอนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้
.
(2) ความโปร่งใสของ กกพ. ในการปฏิบัติหน้าที่ : ตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร 2540 มาตรา 9 (7) กำหนดให้มีการเผยแพร่มติของคณะกรรมการใดๆ ที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งสู่สาธารณะ การเปิดเผยมตินั้นสำคัญ เพราะช่วยให้เกิดความโปร่งใส ประชาชนตรวจสอบได้
.
เช่น การให้ใบอนุญาตโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนรอบที่ผ่านมามากกว่า 5,000 เมกะวัตต์ ระบุว่าจะให้ใบอนุญาตตามคะแนนเชิงเทคนิคเพียงอย่างเดียว แต่กฎเกณฑ์ วิธีการให้คะแนน กลับไม่ได้แจ้ง มีแต่การใช้ดุลพินิจ คำถามคือความโปร่งใสอยู่ที่ไหน?
.
ยังไม่รวมกระบวนการคัดเลือกที่ให้เวลาแค่เดือนเดียวในการยื่นเอกสาร ทำให้เกิดการตั้งคำถามกันว่า คนที่เตรียมเอกสารทันนั้น เพราะรู้กันอยู่แล้วหรือไม่ หรือประเด็นราคารับซื้อไฟฟ้าที่เรียกว่า Feed-in tariff จากโรงไฟฟ้าพวกนี้ มีสูตรคำนวณอย่างไร สูงเกินกว่าความเป็นจริงของราคาตลาดหรือไม่ เพราะคนที่แบกรับต้นทุนคือพี่น้องประชาชน
.
จึงตั้งคำถามว่า ทำไมไม่เปิดเผยมติหรือเนื้อหากระบวนการต่างๆ ที่บัญญัติใน พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและยุติธรรมต่อประชาชน ไม่อย่างนั้น กกพ. เองอาจกำลังละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 157 ก็เป็นได้
.
(3) การเจรจาแก้ไขสัญญาซื้อขายไฟฟ้า เพื่อปรับลดค่าความพร้อมจ่าย (Availability Payment) ของโรงไฟฟ้า : ปัจจุบันไทยมีโรงไฟฟ้ามากเกินความจำเป็น มี 8 โรงที่ไม่ได้เดินเครื่องเลยในปี 2564 แต่เรายังต้องจ่ายเงินให้โรงไฟฟ้าเหล่านี้ผ่านค่าความพร้อมจ่ายที่ถูกระบุในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchasing Agreement: PPA)
.
แม้เข้าใจว่าการแก้ไขสัญญาระหว่างรัฐและเอกชนเป็นสิ่งที่ยาก แต่ในทุกสัญญาจะมีการระบุข้อกำหนดหนึ่ง คือเหตุสุดวิสัย (force majeure) หมายถึงการเกิดเหตุที่อยู่เหนือการควบคุมของคู่สัญญาและเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน เช่น การแพร่ระบาดของโควิด 19 ควรนำมาเป็นเหตุสุดวิสัยที่นำไปสู่การแก้ไขสัญญาลดค่าความพร้อมจ่ายได้
.
จึงขอตั้งคำถามว่า กกพ. เคยมีความคิด หรือความพยายามเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาทบทวนหรือแก้ไขสัญญานี้หรือไม่
.
(4) งบประมาณและความคุ้มค่าในการเดินทางดูงานต่างประเทศ : งบในกลุ่มนี้สูงมากกว่า 10 ล้านบาทต่อปี ประเทศที่เดินทางไปล้วนมีความก้าวหน้าทางพลังงาน แต่ทำไมประเทศไทยยังไม่มีนโยบายหรือกระบวนการต่างๆ ที่ทันสมัยเหมือนประเทศอื่น เช่น ในขณะที่ประเทศอื่นใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการยื่นประมูลโรงไฟฟ้า แต่เรายังต้องยื่นซองกระดาษ
.
ศุภโชติทิ้งท้ายว่า หน่วยงานที่ควรกำกับกิจการพลังงานต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศ กลับถูกสังคมตั้งคำถามว่าท่านกำลังถูก ‘กำกับ’ โดยกลุ่มทุนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ไม่ใช่เพื่อประชาชนอยู่หรือไม่ หากเป็นเช่นนี้ แล้วประชาชนจะพึ่งใคร!?!
.�.
[ หยุดนายทุนเสือนอนกิน อู้ฟู่บนน้ำตาประชาชน ]
.
ต่อมา วิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ ขยายประเด็นต่อว่า ปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าที่ไม่ได้เดินเครื่อง แต่รัฐต้องเอาเงินไปจ่ายค่าพร้อมจ่ายให้นายทุน โดยมีการประเมินกันว่า ค่าพร้อมจ่ายที่ต้องจ่ายให้นายทุน 80 สตางค์ต่อหน่วยนั้น ถ้าประเทศเราสำรองไฟแค่ 15% (ปัจจุบันสำรองถึง 50%) เหมือนประเทศอื่น ประชาชนจะจ่ายแค่ 24 สตางค์ต่อหน่วยเท่านั้น
.
พูดให้เห็นภาพ เช่น ค่าไฟของท่าน 1,000 บาท ถ้าไม่ต้องจ่ายค่าพร้อมจ่าย 80 สตางค์ ประชาชนจะจ่ายค่าไฟแค่ 880 บาท นั่นหมายความว่าทุกวันนี้ประชาชนถูกไถเดือนละ 120 บาท เข้ากระเป๋านายทุนเสือนอนกิน นี่หรือคือการกำกับกิจการพลังงานที่ว่าดีแล้ว เป็นธรรมแล้ว?
.
ปัญหาค่าไฟแพงยังเดือดร้อนถึงภาคอุตสาหกรรม เพราะค่าไฟคิดเป็น 10-30% ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด ในขณะที่ค่าไฟประเทศไทย 4.70 บาทต่อหน่วย แต่เวียดนาม 2.76 บาทต่อหน่วย แบบนี้ประเทศไทยจะมีขีดความสามารถในการแข่งขัน สู้ประเทศอื่นได้อย่างไร
.
นอกจากนั้น ที่ผ่านมาโครงการอะไรที่ประชาชนจะได้ประโยชน์ ก็ทำเหมือนไม่เต็มใจทำ เช่น การซื้อโซลาร์รูฟท็อปจากภาคเอกชนที่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะราคารับซื้อไม่เป็นธรรม ซื้อถูกมาก รัฐบาลชุดที่แล้วแถลงต่อรัฐสภาเมื่อ 25 กรกฎาคม 2562 ว่าจะส่งเสริมการซื้อขายไฟฟ้าแบบหักลบหน่วยไฟฟ้าสุทธิ (Net Metering) แต่เอาเข้าจริงไม่ได้ทำเลย พอเอกชนจะซื้อขายไฟฟ้ากันเอง กกพ. ก็ไปคิดค่าเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Wheeling Charge) แพงหูฉี่ 1.15 บาท ตั้งราคาแบบนี้เหมือนจะไม่ให้ทำมากกว่า
.
จึงขอย้ำเตือน กกพ. ว่าหน้าที่สำคัญคือการปกป้องผลประโยชน์ เพื่อให้ประชาชนได้ใช้พลังงานอย่างเป็นธรรม ถ้า กกพ. ไม่ตระหนักเรื่องนี้ สุดท้ายกลุ่มทุนผูกขาดหรือเครือข่ายอุปถัมภ์ของผู้มีอำนาจ ก็จะเข้ามาฮุบเอาพลังงานของประเทศไปกินรวบ รีดนาทาเร้นจากประชาชนตามใจชอบ ให้พวกมันร่ำรวยบนคราบน้ำตาของประชาชน
.�.
[ เรียกร้อง กกพ. ยุติออกใบอนุญาตโรงไฟฟ้า ลวงตา-หลบกฎเกณฑ์ ]
.
จากนั้น เบญจา แสงจันทร์ สส.บัญชีรายชื่อ ยกข้อร้องเรียนจากประชาชน จ.ปราจีนบุรี ว่าขณะนี้มีความพยายามขออนุญาตก่อสร้างโรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะอุตสาหกรรม จำนวน 3 โรง
.
ความน่าสนใจคือ (1) แต่ละโรงมีกำลังการผลิต 9.9 เมกะวัตต์ เมื่อนำมารวมกันจะมีกำลังการผลิต 29.7 เมกะวัตต์ (2) ตั้งอยู่บนที่ดินที่มีพื้นที่ต่อเนื่องกัน ทั้งหมดเกือบ 62 ไร่ ในนิคมอุตสาหกรรมไฮเทคกบินทร์ ต.ลาดตะเคียน อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
.
จึงขอถามไปยัง กกพ. ว่าโรงไฟฟ้าทั้ง 3 นี้ ยังถือเป็นโครงการผลิตและจําหน่ายไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะอุตสาหกรรม ‘ขนาดเล็กมาก’ ได้อยู่หรือไม่ เพราะถึงแม้แต่ละโรงมีขนาดไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ แต่เมื่อเดินเครื่องจักรพร้อมกัน กำลังการผลิตก็เกือบ 30 เมกะวัตต์ เช่นนี้จึงน่าตั้งข้อสังเกตว่า บริษัทจงใจยื่นขออนุญาตเพื่อเลี่ยงการทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือไม่
.
และเนื่องจากการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก เข้ามามีส่วนในการผลิตไฟฟ้า แต่สำหรับกรณีนี้ โรงไฟฟ้าทั้ง 3 โรงมีผู้ถือหุ้นหลักเป็นบริษัทเดียวกัน คือบริษัท เก็ท กรีน พาวเวอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท เอิร์ธ เท็ค เอนไวรอนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยอยู่ก่อนแล้ว
.
นี่จึงถือเป็นการลวงตา หลบกฎเกณฑ์ เจตนาเลี่ยงการปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการกํากับกิจการพลังงาน ว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565 - 2573 สําหรับขยะอุตสาหกรรม ที่มีใจความว่า “โครงการที่เสนอขายไฟฟ้าต้องเป็นโรงไฟฟ้าที่ลงทุนก่อสร้างใหม่ และไม่เคยมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าหรือไม่เคยได้รับการตอบรับซื้อจากการไฟฟ้าฝ่ายจําหน่าย และไม่มีลักษณะต้องห้าม เช่น เป็นโครงการที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือการไฟฟ้าฝ่ายจําหน่ายที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่”
.
ดังนั้น การที่ทั้ง 3 บริษัทได้รับอนุญาตจาก กกพ. ให้ก่อตั้งโรงไฟฟ้า จึงเป็นการดําเนินการที่สุ่มเสี่ยงต่อการผิดระเบียบ ผิดกฎหมาย เป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบธรรมด้วยหรือไม่?
.
นอกจากนี้ ในเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อประกอบการออกใบอนุญาตกิจการโรงไฟฟ้า ยังมีความผิดปกติหลายอย่าง แสดงถึงเจตนากีดกันประชาชนไม่ให้มีส่วนร่วม เช่น บริษัทเจ้าของโครงการโรงไฟฟ้าฯ ทั้ง 3 โครงการ จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นในวันเวลาเดียวกัน จัดแค่ 1 ครั้งในวันจันทร์ซึ่งเป็นวันทำงาน ไม่มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบทั่วถึง แถมสถานที่ที่จัดห่างจากจุดตั้งโรงไฟฟ้ากว่า 10 กิโลเมตร ส่งผลให้จำนวนผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็น มีน้อยลงอย่างมีนัยยะสำคัญหรือไม่
.
เบญจาย้ำในช่วงท้ายว่า ทุกครั้งที่มีโครงการขนาดใหญ่ ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน โครงการเหล่านี้มักจะสร้างผลกำไรมหาศาลให้กับนายทุน แต่ไม่ได้สร้างความมั่นคงในชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน รวมถึงระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น
.
ผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการมากที่สุด อาจไม่ใช่ผู้เซ็นอนุมัติ แต่เป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ จึงขอให้ กกพ. พิจารณายุติการออกใบอนุญาตโรงงานไฟฟ้าทั้ง 3 โรงนี้ออกไปก่อน เพื่อพิจารณาให้รอบคอบ
.
#ก้าวไกล #ค่าไฟแพง #ประชุมสภา