วันศุกร์, กันยายน 08, 2566

ฟังเต็มๆ คำต่อคำ โฆษกสภากทม. แจงปมร้อน 'ห้องเรียนปลอดฝุ่น' ทำไมต้องปัดตก เชื่อ เป็นการ 'ตีเช็คเปล่า'




 

สภากทม.แจงยิบ ปัดตก ‘ห้องเรียนปลอดฝุ่น’ 219 ล. ชี้ ‘ตีเช็คเปล่า’ ยันหนุนโครงการ แต่ไม่เห็นด้วย ‘วิธีการ’

7 กันยายน 2566
มติชนออนไลน์

เมื่อวันที่ 7 กันยายน สืบเนื่องกรณีสภากทม.เห็นชอบตัดงบประมาณโครงการห้องเรียนปลอดฝุ่น จากข้อบัญญัติงบประมาณกรุงเทพมหานคร ปี 2567 วานนี้ กระทั่งเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากสังคม

นางสาวนฤนันมนต์ ห่วงทรัพย์ สมาชิกสภากรุงเทพมหานครเขตคลองสามวา ในฐานะโฆษกสภากรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า คณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณกทม.ปี67 เห็นด้วยกับโครงการห้องเรียนปลอดฝุ่นชั้นอนุบาล 6 กลุ่มเขต รวม 429 โรงเรียน 1,743 ห้อง รวมงบประมาณ 219,339,000 บาท ของสำนักการศึกษา แต่ยังมีกรรมการหลายท่านได้ขอสงวนความเห็น เนื่องจากเห็นด้วยกับโครงการแต่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการ ซึ่งไม่คุ้มค่ากับงบประมาณ ประกอบกับโครงการโรงเรียนสู้ฝุ่นเดิม นำร่อง 32 แห่ง ที่กทม.ดำเนินการอยู่ไม่มีการขยายผลต่อยอดแต่อย่างใด (อ่านข่าว ชัชชาติ ลั่น ‘ขนาดห้องผู้ว่ายังติดแอร์’ แต่ไม่มีลงทุนอนาคตชาติ ? ยกวิทย์แจง ของบฯ ‘ห้องเรียนปลอดฝุ่น’)

รวมถึง ในขั้นตอนการพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 หน่วยงานผู้ขอรับงบประมาณไม่ได้มีการแสดงเอกสาร ความชัดเจนของที่มาการของบประมาณ กรรมการวิสามัญฯจึงได้ขอสงวนความเห็นเพื่ออภิปรายในการประชุมสภากทม.และให้ที่ประชุมได้วินิจฉัยว่าจะพิจารณาเห็นชอบให้ตัดหรือคงอยู่ โดยเหตุผลหลักที่กรรมการวิสามัญได้อภิปรายในที่ประชุมสภากทม. ประกอบด้วย

1.เอกสารโครงการห้องเรียนปลอดฝุ่นของทุกกลุ่มเขตที่หน่วยงานนำมาแสดงมีรายละเอียดเหมือนกันหมด คือ ติดตั้งเครื่องปรับอากาศขนาด 30,000 BTU จำนวน 2 เครื่อง ในขณะที่สภาพห้องเรียนทุกแห่งมีขนาดที่แตกต่างกัน บางห้องเรียนมีขนาดเพียง 20 ตร.ม. และบางเขตมีจำนวนห้องเรียนอนุบาลไม่มาก และได้จัดให้เด็กอนุบาลได้เรียนรวมกัน ซึ่งไม่มีความจำเป็นต้องติดเครื่องปรับอากาศ BTU ที่สูงและต้องติดตั้งให้ครบทุกห้อง ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณเกินความจำเป็น (อ่านข่าว ปธ.อยากฟาดบ้าง! ส.ก.ขุดหลักฐาน ‘ตีเช็คเปล่า?’ ท้วงโครงการ ‘ห้องเรียนปลอดฝุ่น’ 20 ตรม.ติดแอร์ 2 ตัว)

2.การติดตั้งเครื่องปรับอากาศจำเป็นต้องมีงบประมาณค่าไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นด้วย รวมถึงค่าบำรุงรักษา ค่าล้างทำความสะอาด แต่พบว่าไม่ได้มีการของบประมาณในส่วนอื่นให้สอดคล้องกัน ทำให้เห็นว่าไม่มีการวางแผน เพียงแต่ต้องการใช้งบประมาณเท่านั้น (อ่านข่าว

3.การแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ต้องทำให้ถูกจุด ทั้งการเพิ่มพื้นที่สีเขียวการให้ความรู้เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา รวมถึงการติดตั้งเครื่องปรับอากาศเพิ่มอาจไม่สอดคล้องกับนโยบายลดภาวะโลกร้อนของผู้บริหาร (อ่านข่าว ส.ก.จอห์น เสิร์ชเน็ตเทียบราคา ‘ติดแอร์ห้องเรียนปลอดฝุ่น’ ไม่คุ้ม ลงทุนซื้อเครื่องฟอกฯ ประหยัด 164 ล้าน)

รวมถึง ในขั้นตอนการพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 หน่วยงานผู้ขอรับงบประมาณไม่ได้มีการแสดงเอกสาร ความชัดเจนของที่มาการของบประมาณ กรรมการวิสามัญฯจึงได้ขอสงวนความเห็นเพื่ออภิปรายในการประชุมสภากทม.และให้ที่ประชุมได้วินิจฉัยว่าจะพิจารณาเห็นชอบให้ตัดหรือคงอยู่ โดยเหตุผลหลักที่กรรมการวิสามัญได้อภิปรายในที่ประชุมสภากทม. ประกอบด้วย

1.เอกสารโครงการห้องเรียนปลอดฝุ่นของทุกกลุ่มเขตที่หน่วยงานนำมาแสดงมีรายละเอียดเหมือนกันหมด คือ ติดตั้งเครื่องปรับอากาศขนาด 30,000 BTU จำนวน 2 เครื่อง ในขณะที่สภาพห้องเรียนทุกแห่งมีขนาดที่แตกต่างกัน บางห้องเรียนมีขนาดเพียง 20 ตร.ม. และบางเขตมีจำนวนห้องเรียนอนุบาลไม่มาก และได้จัดให้เด็กอนุบาลได้เรียนรวมกัน ซึ่งไม่มีความจำเป็นต้องติดเครื่องปรับอากาศ BTU ที่สูงและต้องติดตั้งให้ครบทุกห้อง ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณเกินความจำเป็น (อ่านข่าว ปธ.อยากฟาดบ้าง! ส.ก.ขุดหลักฐาน ‘ตีเช็คเปล่า?’ ท้วงโครงการ ‘ห้องเรียนปลอดฝุ่น’ 20 ตรม.ติดแอร์ 2 ตัว)

2.การติดตั้งเครื่องปรับอากาศจำเป็นต้องมีงบประมาณค่าไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นด้วย รวมถึงค่าบำรุงรักษา ค่าล้างทำความสะอาด แต่พบว่าไม่ได้มีการของบประมาณในส่วนอื่นให้สอดคล้องกัน ทำให้เห็นว่าไม่มีการวางแผน เพียงแต่ต้องการใช้งบประมาณเท่านั้น (อ่านข่าว

3.การแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ต้องทำให้ถูกจุด ทั้งการเพิ่มพื้นที่สีเขียวการให้ความรู้เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา รวมถึงการติดตั้งเครื่องปรับอากาศเพิ่มอาจไม่สอดคล้องกับนโยบายลดภาวะโลกร้อนของผู้บริหาร (อ่านข่าว ส.ก.จอห์น เสิร์ชเน็ตเทียบราคา ‘ติดแอร์ห้องเรียนปลอดฝุ่น’ ไม่คุ้ม ลงทุนซื้อเครื่องฟอกฯ ประหยัด 164 ล้าน)

“การเขียนโครงการเหมารวมในรูปแบบเดียวกันทุกกลุ่มเขต การตั้งราคาเครื่องปรับอากาศที่สูงเกินบริบทของห้องเรียน การกำหนดงบประมาณจากเบื้องบนเพื่อให้เบื้องล่างนำไปปฏิบัติ โดยไม่คำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้งาน จึงเหมือนการตีเช็คเปล่าที่ไม่ได้เจาะจงการใช้เงินให้เห็นชัดเจน นอกจากนี้ การติดตั้งเครื่องปรับอากาศโดยไม่ได้จัดหาเครื่องฟอกอากาศเพิ่มอาจไม่เพียงพอต่อการป้องกันฝุ่นซึ่งมีจำนวนสูงเกินค่ามาตรฐานในหลายพื้นที่ และเรื่องความปลอดภัยของเด็กไม่ได้มีแค่เรื่องฝุ่น แต่เรื่องของกล้องวงจรปิด ห้องน้ำที่เพียงพอและถูกสุขลักษณะ การปลูกต้นไม้ฟอกอากาศในโรงเรียน เป็นสิ่งที่ฝ่ายบริหารควรให้ความสำคัญเช่นเดียวกัน” โฆษกสภากทม. กล่าว

สำหรับรายการโครงการปรับปรุงห้องเรียนปลอดฝุ่นที่สภากรุงเทพมหานครให้ความเห็นชอบตัดออก ประกอบด้วย

1.โครงการปรับปรุงห้องเรียนปลอดฝุ่นชั้นอนุบาล กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง จำนวน 41 โรงเรียน 140 ห้อง จำนวน 17,646,000 บาท

2.โครงการปรับปรุงห้องเรียนปลอดฝุ่นชั้นอนุบาล กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก จำนวน 129 โรงเรียน 561 ห้อง จำนวน 70,584,000 บาท

3.โครงการปรับปรุงห้องเรียนปลอดฝุ่นชั้นอนุบาล กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ จำนวน 45 โรงเรียน 244 ห้อง จำนวน 30,748,000 บาท

4.โครงการปรับปรุงห้องเรียนปลอดฝุ่นชั้นอนุบาล กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ จำนวน 55 โรงเรียน 192 ห้อง จำนวน 24,202,000 บาท

5.โครงการปรับปรุงห้องเรียนปลอดฝุ่นชั้นอนุบาล กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ จำนวน 89 โรงเรียน 247 ห้อง จำนวน 31,033,000 บาท

6.โครงการปรับปรุงห้องเรียนปลอดฝุ่นชั้นอนุบาล กลุ่มเขตกรุงธนใต้ จำนวน 70 โรงเรียน 359 ห้อง จำนวน 45,126,000 บาท

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

ส.ก.ถามผู้ว่าฯ เบิกค่าไฟจากใคร – ไม่กลัวโดนฟ้อง ทำโลกร้อน? แนะใช้ 200 ล. ซ่อมห้องเรียนทรุดโทรม