เกิดอะไรขึ้นเมื่อวันที่ 14 ต.ค.
วันที่ 14 ต.ค. เป็นวันแรกของการชุมนุมของกลุ่ม "คณะราษฎร 2563" ซึ่งได้เคลื่อนขบวนจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยมายังทำเนียบรัฐบาลในช่วงเย็น ขณะที่ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่ถูกตำรวจสกัดไว้ที่แยกนางเลิ้ง ผู้ชุมนุมบางส่วนได้เดินทางล่วงหน้ามารวมตัวกันอยู่บริเวณสะพานชมัยมรุเชฐ หน้าทำเนียบรัฐบาล
เวลาก่อน 18.00 น. เล็กน้อยมีขบวนรถยนต์พระที่นั่งของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีและสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกร รัศมีโชติฯ ผ่านเส้นทางดังกล่าว ขณะที่เคลื่อนที่ผ่านกลุ่มผู้ชุมนุม ผู้ชุมนุมบางคนได้ชูสัญลักษณ์ 3 นิ้วและโห่ร้อง
REUTERS
คำบรรยายภาพ ขบวนเสด็จฯ เคลื่อนที่ผ่านกลุ่มผู้ชุมนุม ช่วงเย็นวันที่ 14 ต.ค.
ข่าวพระราชสำนักค่ำวันนั้นรายงานว่าสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ไปในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร โดยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกร รัศมีโชติฯ เสด็จในการนี้ด้วย
เช้าวันรุ่งขึ้น (15 ต.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้ลงนามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพฯ โดยเนื้อหาตอนหนึ่งของประกาศระบุว่า ผู้ชุมนุม "...มีการกระทำที่กระทบต่อขบวนเสด็จพระราชดำเนิน มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำที่มีความรุนแรงกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตหรือทรัพย์สินของรัฐหรือบุคคล อันมิใช่การชุมนุมโดยสงบที่ได้รับการรับรอง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย"
"เอกชัย" เชื่อตำรวจจงใจให้ขบวนเสด็จฯ ผ่านที่ชุมนุม
นายเอกชัยให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนก่อนเข้าแจ้งความ ผบ.ตร.และ ผบช.น. วันนี้โดยเล่าเหตุการณ์ในวันที่ 14 ต.ค. ให้ฟังว่าเขาอยู่ในที่ชุมนุมบริเวณหน้าทำเนียบฯ จริง แต่เขาและผู้ชุมนุมคนอื่น ๆ ไม่รู้เลยว่าจะมีขบวนเสด็จฯ ผ่านเส้นทางนี้ ก่อนที่ขบวนเสด็จฯ จะมาถึงเขาเห็นตำรวจหลายนายมายืนกั้นผู้ชุมนุมจึงคิดว่าจะมีการสลายการชุมนุม เขาตัดสินใจลงไป "ดัน" กับตำรวจ สักพักก็เห็นว่ามีขบวนเสด็จมา
เอกชัยยืนยันว่าเขาไม่มีเจตนาประทุษร้ายพระราชินีและองค์รัชทายาท และตลอดช่วงเวลาที่ยืนอยู่ตรงนั้น เจ้าหน้าที่ไม่ได้ประกาศให้ประชาชนทราบเลยว่าจะมีขบวนเสด็จผ่านเส้นทางนี้
เอกชัยระบุว่าเหตุที่เขามาแจ้งความ ผบ.ตร. และ ผบช.น. เพราะคิดว่าทั้งสองต้องรับผิดชอบต่อการจัดเส้นทางให้ขบวนเสด็จผ่านกลุ่มผู้ชุมนุม และที่สำคัญคือเขาเชื่อว่าเหตุการณ์นี้เป็นการจงใจทำให้เกิดขึ้นเพื่อที่ พล.อ.ประยุทธ์จะได้ใช้เป็นข้ออ้างในการออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
WATCHIRANONT THONGTEP/BBC THAI
คำบรรยายภาพ เอกชัย หงส์กังวาน นักกิจกรรมทางการเมือง ร่วมชุมนุมกับกลุ่ม "คณะราษฎร" เมื่อวันที่ 14 ต.ค.
นายเอกชัยกล่าวว่าเขาหาข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางจากพระที่นั่งอัมพรสถานไปยังวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร และพบกว่าหากใช้ ถ.ราชดำเนินนอก จะใกล้กว่าและยังไม่มีการชุมนุม
"ทำไม (ตำรวจ) ไม่เลือกเส้นทางที่ใกล้ว่าและไม่มีม็อบ แต่กลับเลือกเส้นทางที่อ้อมและมีม็อบ จึงมองได้ว่าเป็นการเจตนา จงใจเลือกเส้นทางนี้ และในคืนนั้นเองรัฐบาลก็ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงโดยอ้างว่ามีการกระทำที่กระทบต่อขบวนเสด็จพระราชดำเนิน" นายเอกชัยตั้งข้อสังเกต
เขากล่าวหาตำรวจว่าจงใจใช้เหตุการณ์ขบวนเสด็จเป็นเครื่องมือทางการเมือง และไม่มีการประกาศให้ประชาชนที่อยู่ในบริเวณนั้นรับรู้ว่าจะมีขบวนเสด็จฯ ซึ่งเขาเห็นว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามมาตรา 157 ของประมวลกฎหมายอาญา
รอง ผบช.น. ยืนยันตำรวจปฏิบัติถูกต้องตามหน้าที่
พล.ต.ต. ปิยะ ต๊ะวิชัย รอง ผบช.น. ให้สัมภาษณ์บีบีซีไทยวันนี้ (5 พ.ย.) ว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ลาดพร้าวได้ให้นายเอกชัยมาแจ้งความที่ สน.ดุสิตแทนเนื่องจากที่เกิดเหตุเป็นท้องที่รับผิดชอบของ สน.ดุสิต ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งความไว้แล้ว หลังจากนี้จะสอบสวนข้อเท็จจริง หากมีมูลก็จะรับเป็นคดีต่อไป แต่หากไม่มีมูลก็ยุติการสอบสวน
สำหรับข้อกล่าวหาของนายเอกชัยนั้น รอง ผบช.น. ยืนยันว่าตำรวจปฏิบัติตามกฎหมายทุกประการ
อ่านบทความเต็มที่
https://www.bbc.com/thai/thailand-54821021
วันที่ 14 ต.ค. เป็นวันแรกของการชุมนุมของกลุ่ม "คณะราษฎร 2563" ซึ่งได้เคลื่อนขบวนจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยมายังทำเนียบรัฐบาลในช่วงเย็น ขณะที่ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่ถูกตำรวจสกัดไว้ที่แยกนางเลิ้ง ผู้ชุมนุมบางส่วนได้เดินทางล่วงหน้ามารวมตัวกันอยู่บริเวณสะพานชมัยมรุเชฐ หน้าทำเนียบรัฐบาล
เวลาก่อน 18.00 น. เล็กน้อยมีขบวนรถยนต์พระที่นั่งของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีและสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกร รัศมีโชติฯ ผ่านเส้นทางดังกล่าว ขณะที่เคลื่อนที่ผ่านกลุ่มผู้ชุมนุม ผู้ชุมนุมบางคนได้ชูสัญลักษณ์ 3 นิ้วและโห่ร้อง
REUTERS
คำบรรยายภาพ ขบวนเสด็จฯ เคลื่อนที่ผ่านกลุ่มผู้ชุมนุม ช่วงเย็นวันที่ 14 ต.ค.
ข่าวพระราชสำนักค่ำวันนั้นรายงานว่าสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ไปในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร โดยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกร รัศมีโชติฯ เสด็จในการนี้ด้วย
เช้าวันรุ่งขึ้น (15 ต.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้ลงนามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพฯ โดยเนื้อหาตอนหนึ่งของประกาศระบุว่า ผู้ชุมนุม "...มีการกระทำที่กระทบต่อขบวนเสด็จพระราชดำเนิน มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำที่มีความรุนแรงกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตหรือทรัพย์สินของรัฐหรือบุคคล อันมิใช่การชุมนุมโดยสงบที่ได้รับการรับรอง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย"
"เอกชัย" เชื่อตำรวจจงใจให้ขบวนเสด็จฯ ผ่านที่ชุมนุม
นายเอกชัยให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนก่อนเข้าแจ้งความ ผบ.ตร.และ ผบช.น. วันนี้โดยเล่าเหตุการณ์ในวันที่ 14 ต.ค. ให้ฟังว่าเขาอยู่ในที่ชุมนุมบริเวณหน้าทำเนียบฯ จริง แต่เขาและผู้ชุมนุมคนอื่น ๆ ไม่รู้เลยว่าจะมีขบวนเสด็จฯ ผ่านเส้นทางนี้ ก่อนที่ขบวนเสด็จฯ จะมาถึงเขาเห็นตำรวจหลายนายมายืนกั้นผู้ชุมนุมจึงคิดว่าจะมีการสลายการชุมนุม เขาตัดสินใจลงไป "ดัน" กับตำรวจ สักพักก็เห็นว่ามีขบวนเสด็จมา
เอกชัยยืนยันว่าเขาไม่มีเจตนาประทุษร้ายพระราชินีและองค์รัชทายาท และตลอดช่วงเวลาที่ยืนอยู่ตรงนั้น เจ้าหน้าที่ไม่ได้ประกาศให้ประชาชนทราบเลยว่าจะมีขบวนเสด็จผ่านเส้นทางนี้
เอกชัยระบุว่าเหตุที่เขามาแจ้งความ ผบ.ตร. และ ผบช.น. เพราะคิดว่าทั้งสองต้องรับผิดชอบต่อการจัดเส้นทางให้ขบวนเสด็จผ่านกลุ่มผู้ชุมนุม และที่สำคัญคือเขาเชื่อว่าเหตุการณ์นี้เป็นการจงใจทำให้เกิดขึ้นเพื่อที่ พล.อ.ประยุทธ์จะได้ใช้เป็นข้ออ้างในการออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
WATCHIRANONT THONGTEP/BBC THAI
คำบรรยายภาพ เอกชัย หงส์กังวาน นักกิจกรรมทางการเมือง ร่วมชุมนุมกับกลุ่ม "คณะราษฎร" เมื่อวันที่ 14 ต.ค.
นายเอกชัยกล่าวว่าเขาหาข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางจากพระที่นั่งอัมพรสถานไปยังวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร และพบกว่าหากใช้ ถ.ราชดำเนินนอก จะใกล้กว่าและยังไม่มีการชุมนุม
"ทำไม (ตำรวจ) ไม่เลือกเส้นทางที่ใกล้ว่าและไม่มีม็อบ แต่กลับเลือกเส้นทางที่อ้อมและมีม็อบ จึงมองได้ว่าเป็นการเจตนา จงใจเลือกเส้นทางนี้ และในคืนนั้นเองรัฐบาลก็ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงโดยอ้างว่ามีการกระทำที่กระทบต่อขบวนเสด็จพระราชดำเนิน" นายเอกชัยตั้งข้อสังเกต
เขากล่าวหาตำรวจว่าจงใจใช้เหตุการณ์ขบวนเสด็จเป็นเครื่องมือทางการเมือง และไม่มีการประกาศให้ประชาชนที่อยู่ในบริเวณนั้นรับรู้ว่าจะมีขบวนเสด็จฯ ซึ่งเขาเห็นว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามมาตรา 157 ของประมวลกฎหมายอาญา
รอง ผบช.น. ยืนยันตำรวจปฏิบัติถูกต้องตามหน้าที่
พล.ต.ต. ปิยะ ต๊ะวิชัย รอง ผบช.น. ให้สัมภาษณ์บีบีซีไทยวันนี้ (5 พ.ย.) ว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ลาดพร้าวได้ให้นายเอกชัยมาแจ้งความที่ สน.ดุสิตแทนเนื่องจากที่เกิดเหตุเป็นท้องที่รับผิดชอบของ สน.ดุสิต ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งความไว้แล้ว หลังจากนี้จะสอบสวนข้อเท็จจริง หากมีมูลก็จะรับเป็นคดีต่อไป แต่หากไม่มีมูลก็ยุติการสอบสวน
สำหรับข้อกล่าวหาของนายเอกชัยนั้น รอง ผบช.น. ยืนยันว่าตำรวจปฏิบัติตามกฎหมายทุกประการ
อ่านบทความเต็มที่
https://www.bbc.com/thai/thailand-54821021