THAI NEWS PIX
ชุมนุม 8 พ.ย.: กลุ่มราษฎรตั้งตู้ไปรษณีย์จำลองใกล้พระบรมมหาราชวัง ส่ง "ราษฎรสาส์น" ถึงรัชกาลที่ 10
8 พฤศจิกายน 2020
บีบีซีไทย
ผู้ชุมนุมกลุ่ม "ราษฎร" ถูกตำรวจฉีดน้ำแรงดันสูงเพื่อสกัดไม่ให้เคลื่อนขบวนเข้าใกล้พระบรมมหาราชวัง แต่ยังคงเดินหน้าผลักดันแนวกั้นของตำรวจจนสามารถนำตู้ไปรษณีย์จำลองไปตั้งบริเวณหน้าศาลหลักเมือง ถ.ราชดำเนินใน เพื่อให้ผู้ชุมนุมนำจดหมายที่เขียนถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปหย่อน ก่อนรวบรวมส่งสำนักพระราชวัง
การชุมนุมของกลุ่มราษฎรในวันนี้ (8 พ.ย.) เริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงบ่าย แม้ว่าแกนนำจะประกาศนัดหมายในเวลา 16.00 น. ก็ตาม กิจกรรมสำคัญคือการให้ผู้ชุมนุมเขียนจดหมายหรือที่ผู้จัดการชุมนุมเรียกว่า "ราษฎรสาส์น" เพื่อส่งถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รายงานสด เกาะติดการชุมนุม 8 พ.ย. กลุ่มราษฎร ส่ง "ราษฎรสาส์น" ถึงรัชกาลที่ 10
ร. 10 : ผู้เชี่ยวชาญเล่าผ่านสารคดีบีบีซีทำไมนักศึกษายอมเสี่ยงคุกเพื่อให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
จาก "รูปที่มีทุกบ้าน" สู่การชุมนุมปกป้องสถาบันฯ ที่สวนลุมพินี
ในหลวง ร. 10 ตรัสทักทาย “กล้ามาก เก่งมาก ขอบใจ” ต่อชายที่ชูพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวง ร.9 ไว้เหนือหัว
ขณะที่กลุ่มคนเสื้อเหลืองซึ่งรวมตัวกันในนาม "ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน" รวมตัวกัน ที่อีกฝั่งหนึ่งของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยตั้งแต่เวลา 14.00 น. เพื่อ "เฝ้าระวังการจาบจ้วงก้าวล่วงสถาบันของกลุ่มราษฎร 63" แต่ได้สลายตัวไปในเวลา 16.00 น. โดยไม่เกิดเหตุปะทะกับกลุ่มราษฎรอย่างที่หลายฝ่ายกังวล
การชุมนุมของประชาชนทั้งสองกลุ่มในวันนี้ ทำให้กองบัญชาการตำรวจนครบาลระดมกำลังตำรวจมากถึง 59 กองร้อย หรือ 9,145 นาย มาควบคุมสถานการณ์
THANYAPORN BUATHONG/BBC THAI
คำบรรยายภาพ "จดหมาย" ขนาดใหญ่ที่ผู้ชุมนุม 2 คนควักเงินส่วนตัวจัดทำมาในราคา 1,400 บาท เพื่อร่วมกิจกรรมส่ง "ราษฎรสาส์น" ถึงกษัตริย์
ขณะที่ชายหนุ่มวัย 24 ปี 2 คนเดินถือจดหมายยักษ์ขนาด 1 เมตร จ่าหน้าถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเนื้อความในจดหมายระบุข้อเรียกร้อง 3 ข้อของกลุ่ม "ราษฎร" ได้แก่ ประยุทธ์ต้องลาออก ร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน และปฏิรูปสถาบันฯ
พวกเขาใช้เงินส่วนตัวจำนวน 1,400 บาทผลิตจดหมายนี้ขึ้นเพราะเห็นว่ากลุ่มราษฎรยื่นข้อเรียกร้อง 3 ข้อต่อรัฐบาลมาระยะหนึ่งแล้วแต่ไม่เป็นผล จึงต้องการบอกให้พระมหากษัตริย์รับทราบข้อเรียกร้องของประชาชนด้วย
"เป็นข้อเรียกร้องที่อยากให้สถาบันฯ ได้รับรู้ว่า ประชาชนต้องการอะไร" ผู้ชุมนุมที่เป็นเจ้าของจดหมายกล่าว
เขียนจดหมาย "เพื่อให้รู้ว่าเรามีตัวตน"
ภายหลังผู้ประสานงานกลุ่ม "ราษฎร" ได้แจกกระดาษและซองจดหมายให้แก่ผู้ชุมนุมเพื่อเขียนจดหมายถึงกษัตริย์ บีบีซีไทยพูดคุยกับแนวร่วมการชุมนุมอย่างน้อย 5 คนที่รวมเขียนจดหมายในครั้งนี้
หลายคน "ไม่มั่นใจ" ว่าจดหมายจะไปถึงปลายทาง และหลายคนบอกว่าโอกาสที่จดหมายจะไปถึงพระเนตรเป็นเรื่องที่ "เป็นไปไม่ได้" แต่พวกเขายังยืนยันถึงเหตุผลความจำเป็นในการร่วมส่ง "ราษฎรสาส์น" ในวันนี้
นักเรียนหญิงชั้น ม.3 ซึ่งเดินทางมาพร้อมผู้ปกครอง มีโอกาสเขียนจดหมายฉบับแรกในชีวิตในวันนี้ เพราะ "ต้องการเขียนส่งไปเพื่อให้รู้ว่าพวกเรามีตัวตน และเสียงเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันฯ ก็มีอยู่จริง"
THAI NEWS PIX
ขณะที่สไตลิสต์ชาย วัย 38 ปี เตรียมข้อความที่จะสื่อสารมาในสมาร์ทโฟนตั้งแต่ค่ำวานนี้ ก่อนคัดลอกมันลงกระดาษเขียนจดหมาย
"การเขียนจดหมายคือการระบายสิ่งที่อัดอั้นอยู่ในใจ ผมมองว่าพลังของการสื่อสารครั้งนี้อยู่ที่การเอาความจริงมาพูดกัน ไม่มั่นใจว่าจะไปถึงไหม แต่หวังว่าจะมีผู้รายงานสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ให้รับทราบ"
เคลื่อนขบวนไปสำนักพระราชวัง
เวลาประมาณ 17.50 น. ผู้จัดการชุมนุมประกาศกับมวลชนพร้อม ๆ กับเผยแพร่ข้อความที่เฟซบุ๊กกลุ่ม "เยาวชนปลดแอก" ว่าจะเคลื่อนขบวนไปที่สำนักพระราชวัง ซึ่งตั้งอยู่ภายในพระบรมมหาราชวังเพื่อนำจดหมายที่ประชาชนเขียนไปส่งที่นั่น พร้อมกับมีการนำตู้ไปรษณีย์จำลองขนาดใหญ่ 4 ตู้ และป้ายไวนิลขนาดยักษ์ตกแต่งเป็นรูปซองจดหมายระบุชื่อผู้ส่ง "ราษฎร" และชื่อผู้รับ "วชิราลงกรณ์" มาเดินนำขบวน จำนวนผู้ชุมนุมที่มีเป็นจำนวนมากทำให้การจราจรทั้ง 7 ช่องทางถูกปิดไปโดยปริยาย
เวลาประมาณ 18.20 น. หัวขบวนผู้ชุมนุมเดินทางมาถึง ถ.ราชดำเนินใน บริเวณหน้าศาลฎีกา
ขณะที่มีการระดมการ์ดอาสา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ชายไปยืนตั้งแถวเป็นแนวหน้าสุดของขบวน แต่ผู้ชุมนุมก็ไม่สามารถเคลื่อนขบวนต่อไปได้เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำรถโดยสารประจำทางอย่างน้อย 3 คันมากีดขวางถนนไว้ ผู้ชุมนุมบางส่วนจึงช่วยกันดันรถโดยสารประจำทางคันหนึ่งเพื่อช่องเปิดช่องทาง แต่กลับพบว่ามีรถกีดขวางอีกหลายชั้น และในจำนวนนี้มีรถฉีดน้ำแรงดันสูงรวมอยู่ด้วย
ขณะที่ผู้ชุมนุมพยายามจะฝ่าแนวกั้นตำรวจเพื่อเดินทางต่อไปยังสำนักพระราชวังนั้นเอง ตำรวจได้เริ่มฉีดน้ำแรงดันสูงใส่ฝูงชน จนผู้ชุมนุมพากันแตกตื่น วิ่งหลบน้ำคนละทิศคนละทาง และเกิดเสียงก่นด่าตำรวจรอบทิศทาง
GETTY IMAGES
อย่างไรก็ตามการฉีดน้ำเกิดขึ้นในเวลาสั้น ๆ ก่อนที่ตำรวจจะประกาศว่าจะมีการเจรจา และจะไม่มีการฉีดน้ำอีกต่อไป และยังมีเจ้าหน้าที่ตำรวจประกาศผ่านโทรโข่งว่า "ขอโทษครับ เมื่อสักครู่ผิดพลาด" ทำให้ผู้ชุมนุมโห่ร้องแสดงความไม่พอใจ
หลังจากนั้นผู้จัดการชุมนุมและเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เจรจากันอยู่พักใหญ่ ขณะที่ผู้ชุมนุมลำเลียงร่มและอุปกรณ์ป้องกันตัวส่งไปให้ผู้ที่แนวหน้าเป็นระยะ ๆ เนื่องจากหวั่นว่าเจ้าหน้าที่จะฉีดน้ำเข้าใส่อีก
ผบช.น. ขอโทษผู้ชุมนุม
พล.ต.ท.ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) กล่าวผ่านเครื่องขยายเสียงต่อผู้ชุมนุมชี้แจงเหตุการณ์ที่มีการฉีดน้ำใส่ผู้ชุมนุมว่า เป็นการสั่งการของ พล.ต.ต.เมธี รักพันธุ์ ผบก.น.6 ในฐานะผู้บัญชาการควบคุมสถานการณ์
"เจตนาของท่าน ท่านไม่อยากให้เหตุการณ์ลุกลาม ก็เกรงว่าพี่น้องจะมีกระทบกระทั่งกันและเกิดอันตราย ผมในฐานะผู้บังคับบัญชา สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้พี่น้องเข้าใจผิดและเกิดเหตุรุนแรง ก็ขอโทษด้วยนะครับ" ผบช.น. กล่าว
แถลงการณ์ราษฎรระบุ "กษัตริย์มิอาจเลือกที่รักมักที่ชัง"
เวลาประมาณ 20.00 น. ผู้ชุมนุมได้พยายามเคลื่อนรถประจำทางออกเพื่อเปิดทาง และสามารถนำตู้ไปรษณีย์จำลองไปตั้งไว้บริเวณหน้าศาลหลักเมืองได้ จากนั้นแกนนำจึงอ่านแถลงการณ์และประกาศให้ผู้ชุมนุมนำจดหมายที่ตัวเองเขียนขึ้นมาหย่อนในตู้ไปรษณีย์
แถลงการณ์ของกลุ่มราษฎรมีใจความสำคัญว่า สามัญชนอาจเลือกได้ว่าจะอยู่ท่ามกลางผู้ที่รักและศรัทธา แต่ "กษัตริย์มิอาจทำเช่นนั้น ด้วยกษัตริย์มิอาจเลือกที่รักมักที่ชัง ราษฎรไม่ว่าจะรักและศรัทธากษัตริย์มากน้อยเพียงใด ย่อมเป็นที่รักของกษัตริย์ผู้ซึ่งต้องคำนึงถึงหลักสิทธิ เสรีภาพ และความบริสุทธิ์ยุติธรรม"
แถลงการณ์ราษฎรยังระบุด้วยว่า เมื่อกษัตริย์ฟังคำสรรเสริญเยินยอได้ ก็จำเป็นต้องสดับรับฟังคำเตือนและข้อเสนอแนะ พร้อมย้ำด้วยว่า 3 ข้อเรียกร้องของพวกเขา "เป็นการประนีประนอมที่สุดแล้ว"
หลังจากนั้นได้เปิดให้ประชาชนทยอยนำ "ราษฎรสาส์น" ไปหย่อนที่ตู้จดหมายจำลองแล้วจึงแยกย้ายกันกลับ
แกนนำประกาศยุติการชุมนุมเมื่อเวลาประมาณ 20.55 น.
รวบรวมจดหมายส่งสำนักพระราชวัง
น.ส.ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล แกนนำ "ราษฎร" กล่าวกับสื่อมวลชนหลังยุติการชุมนุมว่า จดหมายที่ราษฎรนำมาหย่อนที่ตู้ไปรษณีย์จำลองคืนนี้ ทางผู้จัดชุมนุมจะรวบรวมและนำส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ซึ่งส่วนตัวคาดว่าจะเป็นสำนักพระราชวัง แต่จะมีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งถึงมือของผู้แทนสำนักพระราชวังโดยตรงหรือไม่ ต้องดูว่าประชาชนต้องการอย่างไรและรัฐบาลมีท่าทีอย่างไรด้วย
น.ส. ภัสราวลีระบุว่าข้อความหลักที่ต้องการสื่อสารถึงสถาบันฯ คือข้อเรียกร้องหลัก 3 ข้อ และย้ำว่าข้อเรียกร้องเรื่องการปฏิรูปสถาบันฯ ไม่ใช่การล้มล้างสถาบัน ส่วนเหตุที่ต้องส่งจดหมายถึงกษัตริย์เพราะที่ผ่านมารัฐบาลไม่มีการตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุม
"เราหมดหวังที่จะเรียกร้องกับรัฐบาล เราเลยต้องขอให้ประมุขของประเทศนี้ มองเห็นข้อเรียกร้องของประชาชน"
THAI NEWS PIX
คำบรรยายภาพ น.ส. จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ จากกลุ่มเยาวชนปลดแอก นำจดหมายไปหย่อนในตู้ไปรษณีย์จำลอง
ตร. ย้ำฉีดน้ำเพื่อส่งสัญญาณเตือน
เวลาประมาณ 21.00 น. พล.ต.ต. ปิยะ ต๊ะวิชัย รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และ พ.ต.อ. กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้แถลงข่าวถึงผลการดำเนินการหลังการดูแลความเรียบร้อยของการชุมนุมในวันนี้
พ.ต.อ. กฤษณะกล่าวว่า การชุมนุมและการเคลื่อนขบวนของกลุ่มผู้ชุมนุมในวันนี้ไม่ได้ขออนุญาตล่วงหน้า ถือว่าผิด พ.ร.บ. การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 โดยเจ้าหน้าที่ได้เก็บหลักฐานมาตั้งแต่ช่วงบ่ายที่กลุ่มผู้ชุมนุมได้เริ่มรวมตัวกันที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยรวมทั้งการเคลื่อนขบวนมายังบริเวณด้านหน้าศาลฏีกา
"เมื่อมีการประกาศหลายครั้ง และมีการเจรจาต่อรองแล้ว แต่ไม่เป็นผลเจ้าหน้าที่จึงมีความจำเป็นต้องปฏิบัติตามขั้นตอนทางกฎหมาย ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้วางแนวทางเอาไว้ คือการใช้น้ำฉีดเพื่อเป็นการเตือนว่าตรงนี้เป็นการตั้งแนวเขตแนวที่สอง" พ.ต.อ. กฤษณะกล่าวและอธิบายว่าการฉีดน้ำในวันนี้เป็น "การฉีดตามยุทธวิธี" เป็นน้ำเปล่า ไม่ได้มุ่งประสงค์ให้เกิดอันตรายหรือให้เกิดความเสียหายให้กับทรัพย์สิน
รองโฆษก ตร.กล่าววอีกว่า หากว่าดูตามแนววิถีที่ฉีด เป็นการโปรยน้ำออกมาเพื่อเป็นการเตือนถึงจุดที่จะต้องมีบังคับใช้กฎหมาย ที่สำคัญคือมีการแจ้งเตือนประสานงาน รวมทั้งต่อรองกับผู้ชุมนุมโดยตลอด
ส่วนในเรื่องการออกมาขอโทษผู้ชุมนุมนั้น ก็เพื่อไม่ให้สถานการณ์บานปลาย
...
ผู้ชุมนุมกลุ่ม "ราษฎร" ถูกตำรวจฉีดน้ำแรงดันสูงเพื่อสกัดไม่ให้เคลื่อนขบวนเข้าใกล้พระบรมมหาราชวัง แต่ยังคงเดินหน้าผลักดันแนวกั้นของตำรวจจนสามารถนำตู้ไปรษณีย์จำลองไปตั้งบริเวณหน้าศาลหลักเมือง ถ.ราชดำเนินใน เพื่อให้ผู้ชุมนุมนำจดหมายที่เขียนถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปหย่อน ก่อนรวบรวมส่งสำนักพระราชวัง
การชุมนุมของกลุ่มราษฎรในวันนี้ (8 พ.ย.) เริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงบ่าย แม้ว่าแกนนำจะประกาศนัดหมายในเวลา 16.00 น. ก็ตาม กิจกรรมสำคัญคือการให้ผู้ชุมนุมเขียนจดหมายหรือที่ผู้จัดการชุมนุมเรียกว่า "ราษฎรสาส์น" เพื่อส่งถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รายงานสด เกาะติดการชุมนุม 8 พ.ย. กลุ่มราษฎร ส่ง "ราษฎรสาส์น" ถึงรัชกาลที่ 10
ร. 10 : ผู้เชี่ยวชาญเล่าผ่านสารคดีบีบีซีทำไมนักศึกษายอมเสี่ยงคุกเพื่อให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
จาก "รูปที่มีทุกบ้าน" สู่การชุมนุมปกป้องสถาบันฯ ที่สวนลุมพินี
ในหลวง ร. 10 ตรัสทักทาย “กล้ามาก เก่งมาก ขอบใจ” ต่อชายที่ชูพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวง ร.9 ไว้เหนือหัว
ขณะที่กลุ่มคนเสื้อเหลืองซึ่งรวมตัวกันในนาม "ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน" รวมตัวกัน ที่อีกฝั่งหนึ่งของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยตั้งแต่เวลา 14.00 น. เพื่อ "เฝ้าระวังการจาบจ้วงก้าวล่วงสถาบันของกลุ่มราษฎร 63" แต่ได้สลายตัวไปในเวลา 16.00 น. โดยไม่เกิดเหตุปะทะกับกลุ่มราษฎรอย่างที่หลายฝ่ายกังวล
การชุมนุมของประชาชนทั้งสองกลุ่มในวันนี้ ทำให้กองบัญชาการตำรวจนครบาลระดมกำลังตำรวจมากถึง 59 กองร้อย หรือ 9,145 นาย มาควบคุมสถานการณ์
ราษฎรสาส์น vs ประชาสาส์น
เปิดจดหมายของ "ราษฎร"
ผู้ชุมนุมในวันนี้ต่างร่วมกิจกรรมเขียนจดหมายถึงกษัตริย์อย่างคึกคัก โดยผู้จัดการชุมนุมมีการแจกซองที่สกรีนคำว่า "เรารักในหลวง" โดยมีวลีต่อท้ายเช่น "ที่ให้เราตรวจสอบได้" "ที่ต่อต้านความรุนแรง"
หญิงชาว จ.นครปฐม วัย 50 ปี เขียนจดหมายด้วยลายมือแล้วฝากให้ผู้ชุมนุมส่งถึงพระมหากษัตริย์
เธอเขียนว่า "งบประมาณที่ได้จากภาษีประชาชน ส่วนใหญ่เอาไปใช้กับส่วนราชการและส่วนของสถาบันกษัตริย์ รวมทั้งจ่ายดอกเบี้ยที่มีหนี้ประเทศ งบที่จะมาพัฒนาหรือเป็นรัฐสวัสดิการให้ประชาชนแทบจะไม่เหลือแล้ว หรือมีก็จะให้เฉพาะเมืองใหญ่ ๆ เท่านั้น ไม่มีให้จังหวัดเล็ก ๆ ที่ไกลปืนเที่ยงเลย ที่เหลื่อมล้ำมาก ๆ"
จดหมายฉบับนี้มีทั้งหมด 5 ข้อ เนื้อความโดยรวมกล่าวถึง ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยคนจน การเก็บภาษีที่ไม่เป็นธรรม และการไม่มีรัฐสวัสดิการ ที่ทำให้ประชาชนธรรมดาที่ไม่ได้เป็นข้าราชการใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก ทว่าภาษีส่วนใหญ่ที่ประชาชนเสียไป กลับถูกใช้ไปกับส่วนราชการและสถาบันกษัตริย์
เปิดจดหมายของ "ราษฎร"
ผู้ชุมนุมในวันนี้ต่างร่วมกิจกรรมเขียนจดหมายถึงกษัตริย์อย่างคึกคัก โดยผู้จัดการชุมนุมมีการแจกซองที่สกรีนคำว่า "เรารักในหลวง" โดยมีวลีต่อท้ายเช่น "ที่ให้เราตรวจสอบได้" "ที่ต่อต้านความรุนแรง"
หญิงชาว จ.นครปฐม วัย 50 ปี เขียนจดหมายด้วยลายมือแล้วฝากให้ผู้ชุมนุมส่งถึงพระมหากษัตริย์
เธอเขียนว่า "งบประมาณที่ได้จากภาษีประชาชน ส่วนใหญ่เอาไปใช้กับส่วนราชการและส่วนของสถาบันกษัตริย์ รวมทั้งจ่ายดอกเบี้ยที่มีหนี้ประเทศ งบที่จะมาพัฒนาหรือเป็นรัฐสวัสดิการให้ประชาชนแทบจะไม่เหลือแล้ว หรือมีก็จะให้เฉพาะเมืองใหญ่ ๆ เท่านั้น ไม่มีให้จังหวัดเล็ก ๆ ที่ไกลปืนเที่ยงเลย ที่เหลื่อมล้ำมาก ๆ"
จดหมายฉบับนี้มีทั้งหมด 5 ข้อ เนื้อความโดยรวมกล่าวถึง ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยคนจน การเก็บภาษีที่ไม่เป็นธรรม และการไม่มีรัฐสวัสดิการ ที่ทำให้ประชาชนธรรมดาที่ไม่ได้เป็นข้าราชการใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก ทว่าภาษีส่วนใหญ่ที่ประชาชนเสียไป กลับถูกใช้ไปกับส่วนราชการและสถาบันกษัตริย์
THANYAPORN BUATHONG/BBC THAI
คำบรรยายภาพ "จดหมาย" ขนาดใหญ่ที่ผู้ชุมนุม 2 คนควักเงินส่วนตัวจัดทำมาในราคา 1,400 บาท เพื่อร่วมกิจกรรมส่ง "ราษฎรสาส์น" ถึงกษัตริย์
ขณะที่ชายหนุ่มวัย 24 ปี 2 คนเดินถือจดหมายยักษ์ขนาด 1 เมตร จ่าหน้าถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเนื้อความในจดหมายระบุข้อเรียกร้อง 3 ข้อของกลุ่ม "ราษฎร" ได้แก่ ประยุทธ์ต้องลาออก ร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน และปฏิรูปสถาบันฯ
พวกเขาใช้เงินส่วนตัวจำนวน 1,400 บาทผลิตจดหมายนี้ขึ้นเพราะเห็นว่ากลุ่มราษฎรยื่นข้อเรียกร้อง 3 ข้อต่อรัฐบาลมาระยะหนึ่งแล้วแต่ไม่เป็นผล จึงต้องการบอกให้พระมหากษัตริย์รับทราบข้อเรียกร้องของประชาชนด้วย
"เป็นข้อเรียกร้องที่อยากให้สถาบันฯ ได้รับรู้ว่า ประชาชนต้องการอะไร" ผู้ชุมนุมที่เป็นเจ้าของจดหมายกล่าว
เขียนจดหมาย "เพื่อให้รู้ว่าเรามีตัวตน"
ภายหลังผู้ประสานงานกลุ่ม "ราษฎร" ได้แจกกระดาษและซองจดหมายให้แก่ผู้ชุมนุมเพื่อเขียนจดหมายถึงกษัตริย์ บีบีซีไทยพูดคุยกับแนวร่วมการชุมนุมอย่างน้อย 5 คนที่รวมเขียนจดหมายในครั้งนี้
หลายคน "ไม่มั่นใจ" ว่าจดหมายจะไปถึงปลายทาง และหลายคนบอกว่าโอกาสที่จดหมายจะไปถึงพระเนตรเป็นเรื่องที่ "เป็นไปไม่ได้" แต่พวกเขายังยืนยันถึงเหตุผลความจำเป็นในการร่วมส่ง "ราษฎรสาส์น" ในวันนี้
นักเรียนหญิงชั้น ม.3 ซึ่งเดินทางมาพร้อมผู้ปกครอง มีโอกาสเขียนจดหมายฉบับแรกในชีวิตในวันนี้ เพราะ "ต้องการเขียนส่งไปเพื่อให้รู้ว่าพวกเรามีตัวตน และเสียงเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันฯ ก็มีอยู่จริง"
THAI NEWS PIX
ขณะที่สไตลิสต์ชาย วัย 38 ปี เตรียมข้อความที่จะสื่อสารมาในสมาร์ทโฟนตั้งแต่ค่ำวานนี้ ก่อนคัดลอกมันลงกระดาษเขียนจดหมาย
"การเขียนจดหมายคือการระบายสิ่งที่อัดอั้นอยู่ในใจ ผมมองว่าพลังของการสื่อสารครั้งนี้อยู่ที่การเอาความจริงมาพูดกัน ไม่มั่นใจว่าจะไปถึงไหม แต่หวังว่าจะมีผู้รายงานสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ให้รับทราบ"
เคลื่อนขบวนไปสำนักพระราชวัง
เวลาประมาณ 17.50 น. ผู้จัดการชุมนุมประกาศกับมวลชนพร้อม ๆ กับเผยแพร่ข้อความที่เฟซบุ๊กกลุ่ม "เยาวชนปลดแอก" ว่าจะเคลื่อนขบวนไปที่สำนักพระราชวัง ซึ่งตั้งอยู่ภายในพระบรมมหาราชวังเพื่อนำจดหมายที่ประชาชนเขียนไปส่งที่นั่น พร้อมกับมีการนำตู้ไปรษณีย์จำลองขนาดใหญ่ 4 ตู้ และป้ายไวนิลขนาดยักษ์ตกแต่งเป็นรูปซองจดหมายระบุชื่อผู้ส่ง "ราษฎร" และชื่อผู้รับ "วชิราลงกรณ์" มาเดินนำขบวน จำนวนผู้ชุมนุมที่มีเป็นจำนวนมากทำให้การจราจรทั้ง 7 ช่องทางถูกปิดไปโดยปริยาย
เวลาประมาณ 18.20 น. หัวขบวนผู้ชุมนุมเดินทางมาถึง ถ.ราชดำเนินใน บริเวณหน้าศาลฎีกา
ขณะที่มีการระดมการ์ดอาสา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ชายไปยืนตั้งแถวเป็นแนวหน้าสุดของขบวน แต่ผู้ชุมนุมก็ไม่สามารถเคลื่อนขบวนต่อไปได้เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำรถโดยสารประจำทางอย่างน้อย 3 คันมากีดขวางถนนไว้ ผู้ชุมนุมบางส่วนจึงช่วยกันดันรถโดยสารประจำทางคันหนึ่งเพื่อช่องเปิดช่องทาง แต่กลับพบว่ามีรถกีดขวางอีกหลายชั้น และในจำนวนนี้มีรถฉีดน้ำแรงดันสูงรวมอยู่ด้วย
ขณะที่ผู้ชุมนุมพยายามจะฝ่าแนวกั้นตำรวจเพื่อเดินทางต่อไปยังสำนักพระราชวังนั้นเอง ตำรวจได้เริ่มฉีดน้ำแรงดันสูงใส่ฝูงชน จนผู้ชุมนุมพากันแตกตื่น วิ่งหลบน้ำคนละทิศคนละทาง และเกิดเสียงก่นด่าตำรวจรอบทิศทาง
GETTY IMAGES
อย่างไรก็ตามการฉีดน้ำเกิดขึ้นในเวลาสั้น ๆ ก่อนที่ตำรวจจะประกาศว่าจะมีการเจรจา และจะไม่มีการฉีดน้ำอีกต่อไป และยังมีเจ้าหน้าที่ตำรวจประกาศผ่านโทรโข่งว่า "ขอโทษครับ เมื่อสักครู่ผิดพลาด" ทำให้ผู้ชุมนุมโห่ร้องแสดงความไม่พอใจ
หลังจากนั้นผู้จัดการชุมนุมและเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เจรจากันอยู่พักใหญ่ ขณะที่ผู้ชุมนุมลำเลียงร่มและอุปกรณ์ป้องกันตัวส่งไปให้ผู้ที่แนวหน้าเป็นระยะ ๆ เนื่องจากหวั่นว่าเจ้าหน้าที่จะฉีดน้ำเข้าใส่อีก
ผบช.น. ขอโทษผู้ชุมนุม
พล.ต.ท.ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) กล่าวผ่านเครื่องขยายเสียงต่อผู้ชุมนุมชี้แจงเหตุการณ์ที่มีการฉีดน้ำใส่ผู้ชุมนุมว่า เป็นการสั่งการของ พล.ต.ต.เมธี รักพันธุ์ ผบก.น.6 ในฐานะผู้บัญชาการควบคุมสถานการณ์
"เจตนาของท่าน ท่านไม่อยากให้เหตุการณ์ลุกลาม ก็เกรงว่าพี่น้องจะมีกระทบกระทั่งกันและเกิดอันตราย ผมในฐานะผู้บังคับบัญชา สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้พี่น้องเข้าใจผิดและเกิดเหตุรุนแรง ก็ขอโทษด้วยนะครับ" ผบช.น. กล่าว
แถลงการณ์ราษฎรระบุ "กษัตริย์มิอาจเลือกที่รักมักที่ชัง"
เวลาประมาณ 20.00 น. ผู้ชุมนุมได้พยายามเคลื่อนรถประจำทางออกเพื่อเปิดทาง และสามารถนำตู้ไปรษณีย์จำลองไปตั้งไว้บริเวณหน้าศาลหลักเมืองได้ จากนั้นแกนนำจึงอ่านแถลงการณ์และประกาศให้ผู้ชุมนุมนำจดหมายที่ตัวเองเขียนขึ้นมาหย่อนในตู้ไปรษณีย์
แถลงการณ์ของกลุ่มราษฎรมีใจความสำคัญว่า สามัญชนอาจเลือกได้ว่าจะอยู่ท่ามกลางผู้ที่รักและศรัทธา แต่ "กษัตริย์มิอาจทำเช่นนั้น ด้วยกษัตริย์มิอาจเลือกที่รักมักที่ชัง ราษฎรไม่ว่าจะรักและศรัทธากษัตริย์มากน้อยเพียงใด ย่อมเป็นที่รักของกษัตริย์ผู้ซึ่งต้องคำนึงถึงหลักสิทธิ เสรีภาพ และความบริสุทธิ์ยุติธรรม"
แถลงการณ์ราษฎรยังระบุด้วยว่า เมื่อกษัตริย์ฟังคำสรรเสริญเยินยอได้ ก็จำเป็นต้องสดับรับฟังคำเตือนและข้อเสนอแนะ พร้อมย้ำด้วยว่า 3 ข้อเรียกร้องของพวกเขา "เป็นการประนีประนอมที่สุดแล้ว"
หลังจากนั้นได้เปิดให้ประชาชนทยอยนำ "ราษฎรสาส์น" ไปหย่อนที่ตู้จดหมายจำลองแล้วจึงแยกย้ายกันกลับ
แกนนำประกาศยุติการชุมนุมเมื่อเวลาประมาณ 20.55 น.
รวบรวมจดหมายส่งสำนักพระราชวัง
น.ส.ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล แกนนำ "ราษฎร" กล่าวกับสื่อมวลชนหลังยุติการชุมนุมว่า จดหมายที่ราษฎรนำมาหย่อนที่ตู้ไปรษณีย์จำลองคืนนี้ ทางผู้จัดชุมนุมจะรวบรวมและนำส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ซึ่งส่วนตัวคาดว่าจะเป็นสำนักพระราชวัง แต่จะมีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งถึงมือของผู้แทนสำนักพระราชวังโดยตรงหรือไม่ ต้องดูว่าประชาชนต้องการอย่างไรและรัฐบาลมีท่าทีอย่างไรด้วย
น.ส. ภัสราวลีระบุว่าข้อความหลักที่ต้องการสื่อสารถึงสถาบันฯ คือข้อเรียกร้องหลัก 3 ข้อ และย้ำว่าข้อเรียกร้องเรื่องการปฏิรูปสถาบันฯ ไม่ใช่การล้มล้างสถาบัน ส่วนเหตุที่ต้องส่งจดหมายถึงกษัตริย์เพราะที่ผ่านมารัฐบาลไม่มีการตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุม
"เราหมดหวังที่จะเรียกร้องกับรัฐบาล เราเลยต้องขอให้ประมุขของประเทศนี้ มองเห็นข้อเรียกร้องของประชาชน"
THAI NEWS PIX
คำบรรยายภาพ น.ส. จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ จากกลุ่มเยาวชนปลดแอก นำจดหมายไปหย่อนในตู้ไปรษณีย์จำลอง
ตร. ย้ำฉีดน้ำเพื่อส่งสัญญาณเตือน
เวลาประมาณ 21.00 น. พล.ต.ต. ปิยะ ต๊ะวิชัย รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และ พ.ต.อ. กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้แถลงข่าวถึงผลการดำเนินการหลังการดูแลความเรียบร้อยของการชุมนุมในวันนี้
พ.ต.อ. กฤษณะกล่าวว่า การชุมนุมและการเคลื่อนขบวนของกลุ่มผู้ชุมนุมในวันนี้ไม่ได้ขออนุญาตล่วงหน้า ถือว่าผิด พ.ร.บ. การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 โดยเจ้าหน้าที่ได้เก็บหลักฐานมาตั้งแต่ช่วงบ่ายที่กลุ่มผู้ชุมนุมได้เริ่มรวมตัวกันที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยรวมทั้งการเคลื่อนขบวนมายังบริเวณด้านหน้าศาลฏีกา
"เมื่อมีการประกาศหลายครั้ง และมีการเจรจาต่อรองแล้ว แต่ไม่เป็นผลเจ้าหน้าที่จึงมีความจำเป็นต้องปฏิบัติตามขั้นตอนทางกฎหมาย ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้วางแนวทางเอาไว้ คือการใช้น้ำฉีดเพื่อเป็นการเตือนว่าตรงนี้เป็นการตั้งแนวเขตแนวที่สอง" พ.ต.อ. กฤษณะกล่าวและอธิบายว่าการฉีดน้ำในวันนี้เป็น "การฉีดตามยุทธวิธี" เป็นน้ำเปล่า ไม่ได้มุ่งประสงค์ให้เกิดอันตรายหรือให้เกิดความเสียหายให้กับทรัพย์สิน
รองโฆษก ตร.กล่าววอีกว่า หากว่าดูตามแนววิถีที่ฉีด เป็นการโปรยน้ำออกมาเพื่อเป็นการเตือนถึงจุดที่จะต้องมีบังคับใช้กฎหมาย ที่สำคัญคือมีการแจ้งเตือนประสานงาน รวมทั้งต่อรองกับผู้ชุมนุมโดยตลอด
ส่วนในเรื่องการออกมาขอโทษผู้ชุมนุมนั้น ก็เพื่อไม่ให้สถานการณ์บานปลาย
...
แถลงการณ์ ยุติการชุมนุม และยื่นจดหมายของกลุ่มราษฎร
Nov 8, 2020
som tum thai
วันที่ 8 พ.ย.63 20.50 น. กลุ่มผู้ชุมนุมได้อ่านแถลงการณ์ และให้นำจดหมายไปหย่อนตู้ไปรษณีย์ที่หน้าศาลหลักเมือง จากนั้นขอให้เดินทางกลับบ้านโดยสวัสดิภาพ