ภาพจาก Khaosod English
..
Chotisak Onsoong
6 hrs ·
ขอพูดเรื่อง "จำนวนคน" อีกซักโพสต์นะ, อันนี้จะเอาแบบลงรายละเอียดเลย
1. ผมยืนยันว่าจำนวนคนที่ไปร่วมกิจกรรมวันนี้อยู่ที่ราว 40-50 คน และเป็นรุ่นใหม่ (นร.-นศ.) ราวครึ่งนึง
2. นี่ไม่ใช่การประเมินตัวเลขแบบเข้าข้างตัวเอง เพราะนับเฉพาะคนที่มานั่งคุยกันต่อหลังจบกิจกรรมก็ 30 คน แล้ว (มีบางส่วนไม่ได้ไปคุยต่อ ซึ่งมีทั้งคนที่ผมรู้จัก ระบุตัวได้ และที่ไม่รู้จัก)
3. บางคนอาจจะบอกว่าจำนวนคนที่ไปทำกิจกรรมกันนั้นมันน้อยมาก เมื่อเทียบกับกระแสในโลกออนไลน์
ก็มันชัวร์อยู่แล้ว, คุณอยู่แม่สาย อยู่โขงเจียม อยู่สุไหงโก-ลก ฯลฯ คุณโพสต์แสดงความเห็นได้ ติดแฮชแทกได้ แต่มาวันนี้ได้มั้ยล่ะ?
ไม่ว่าเรื่องอะไร คนที่เห็นด้วยกับเรื่องนั้นๆมันต้องมากกว่าคนที่ออกมาแอคชั่นอยู่แล้ว
4. กิจกรรมวันนี้เป็นการนัดแบบฉุกละหุกมาก, ทำกิจกรรมวันนี้ แต่นัดเอาเมื่อวานตอนเย็น (ราว 5 โมงเย็น)
แถมยังเป็นสถานที่ที่เดินทางลำบาก (อย่างน้อยก็ไม่มีรถไฟฟ้าผ่าน, รถเมล์ผ่านไม่กี่สาย) และไม่ใช่สถานที่นักกิจกรรมหรือคนที่สนใจการเมืองทั่วๆไปคุ้นเคย (เว้นแต่จะบังเอิญเป็นคนแถวนั้น)
ที่สำคัญ มันเป็นวันธรรมดา และเป็นช่วงเวลาทำงานของคนทั่วไป
ด้วยปัจจัยเหล้านี้ แล้วมีคนมาจำนวนเท่านี้ ผมว่าเยอะแล้ว
5. นักข่าวเยอะ, อันนี้ใช่, แต่ไม่เยอะเท่าคนที่ไปทำกิจกรรมหรอก (คนที่ไปทำกิจกรรมบางคนก็ live ด้วย ไม่ใช่ว่าจะถือป้ายตลอดเวลากันทุกคน, ผมก็เป็นหนึ่งในนั้น)
...
ผมว่านี่เป็นปรากฏการณ์ใหม่นะ ที่เมื่อนักกิจกรรมทางการเมือง/ผู้ลี้ภัยทางการเมืองถูกอุ้มหาย แล้วมีคนออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมจำนวนมากและกว้างขวางขนาดนี้
แล้วไม่ใช่แค่เรื่องนี้เรื่องเดียว, ไม่กี่เดือนก่อนนี้เองที่นักศึกษาหลายมหาลัยทั่วประเทศต่างพากันจัดชุมนุมไล่รัฐบาลประยุทธ์, นี่ก็ปรากฏการณ์ใหม่เช่นกัน
ยังไม่ต้องพูดถึงคำหรือวลีต่างๆที่กลายเป็นเทรนด์ในโลกทวิตเตอร์ ซึ่งเป็นที่นิยมของคนรุ่นใหม่อีกนะ
ดูเผินๆสังคมไทยไม่มีความเปลี่ยนแปลงอะไร แต่เอาเข้าจริงแล้วมันเปลี่ยนเยอะมากเลยนะ
ถ้าผมมีไทม์แมชชีนแล้วนั่งย้อนเวลาไปเล่าให้ตัวเองหรือนักกิจกรรมเมื่อซัก 16-17 ปี ที่แล้ว ว่า ในปี 63 มันมีแบบปรากฏการณ์แบบนี้ๆนะ ตัวผมเองหรือนักกิจกรรมเมื่อ 16-17 ปี ที่แล้ว คงคิดว่าผมที่ย้อนเวลากลับไปนั้นพูดอำเล่นขำๆแน่ๆ
...
..
หน้าสถานทูตกัมพูชา ช่วงสาย กป.อพช. ร้องรัฐบาลกัมพูชาช่วยเหลือติดตามการหายตัวไปของ '#วันเฉลิม' ขณะที่ สถานทูตแจ้งว่าไม่สามารถรับหนังสือ ช่วงบ่าย 'นักศึกษา-ประชาชน' ร้อง รบ.กัมพูชา ชี้แจงข้อเท็จจริงคนร้ายอุ้มวันเฉลิม ระบุ 15 มิ.ย.นี้ จะกลับมาฟังความคืบหน้าhttps://t.co/j1y0z02aPw pic.twitter.com/r0iPXDj8Rd— prachatai (@prachatai) June 8, 2020
Chotisak Onsoong
6 hrs ·
ขอพูดเรื่อง "จำนวนคน" อีกซักโพสต์นะ, อันนี้จะเอาแบบลงรายละเอียดเลย
1. ผมยืนยันว่าจำนวนคนที่ไปร่วมกิจกรรมวันนี้อยู่ที่ราว 40-50 คน และเป็นรุ่นใหม่ (นร.-นศ.) ราวครึ่งนึง
2. นี่ไม่ใช่การประเมินตัวเลขแบบเข้าข้างตัวเอง เพราะนับเฉพาะคนที่มานั่งคุยกันต่อหลังจบกิจกรรมก็ 30 คน แล้ว (มีบางส่วนไม่ได้ไปคุยต่อ ซึ่งมีทั้งคนที่ผมรู้จัก ระบุตัวได้ และที่ไม่รู้จัก)
3. บางคนอาจจะบอกว่าจำนวนคนที่ไปทำกิจกรรมกันนั้นมันน้อยมาก เมื่อเทียบกับกระแสในโลกออนไลน์
ก็มันชัวร์อยู่แล้ว, คุณอยู่แม่สาย อยู่โขงเจียม อยู่สุไหงโก-ลก ฯลฯ คุณโพสต์แสดงความเห็นได้ ติดแฮชแทกได้ แต่มาวันนี้ได้มั้ยล่ะ?
ไม่ว่าเรื่องอะไร คนที่เห็นด้วยกับเรื่องนั้นๆมันต้องมากกว่าคนที่ออกมาแอคชั่นอยู่แล้ว
4. กิจกรรมวันนี้เป็นการนัดแบบฉุกละหุกมาก, ทำกิจกรรมวันนี้ แต่นัดเอาเมื่อวานตอนเย็น (ราว 5 โมงเย็น)
แถมยังเป็นสถานที่ที่เดินทางลำบาก (อย่างน้อยก็ไม่มีรถไฟฟ้าผ่าน, รถเมล์ผ่านไม่กี่สาย) และไม่ใช่สถานที่นักกิจกรรมหรือคนที่สนใจการเมืองทั่วๆไปคุ้นเคย (เว้นแต่จะบังเอิญเป็นคนแถวนั้น)
ที่สำคัญ มันเป็นวันธรรมดา และเป็นช่วงเวลาทำงานของคนทั่วไป
ด้วยปัจจัยเหล้านี้ แล้วมีคนมาจำนวนเท่านี้ ผมว่าเยอะแล้ว
5. นักข่าวเยอะ, อันนี้ใช่, แต่ไม่เยอะเท่าคนที่ไปทำกิจกรรมหรอก (คนที่ไปทำกิจกรรมบางคนก็ live ด้วย ไม่ใช่ว่าจะถือป้ายตลอดเวลากันทุกคน, ผมก็เป็นหนึ่งในนั้น)
...
ผมว่านี่เป็นปรากฏการณ์ใหม่นะ ที่เมื่อนักกิจกรรมทางการเมือง/ผู้ลี้ภัยทางการเมืองถูกอุ้มหาย แล้วมีคนออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมจำนวนมากและกว้างขวางขนาดนี้
แล้วไม่ใช่แค่เรื่องนี้เรื่องเดียว, ไม่กี่เดือนก่อนนี้เองที่นักศึกษาหลายมหาลัยทั่วประเทศต่างพากันจัดชุมนุมไล่รัฐบาลประยุทธ์, นี่ก็ปรากฏการณ์ใหม่เช่นกัน
ยังไม่ต้องพูดถึงคำหรือวลีต่างๆที่กลายเป็นเทรนด์ในโลกทวิตเตอร์ ซึ่งเป็นที่นิยมของคนรุ่นใหม่อีกนะ
ดูเผินๆสังคมไทยไม่มีความเปลี่ยนแปลงอะไร แต่เอาเข้าจริงแล้วมันเปลี่ยนเยอะมากเลยนะ
ถ้าผมมีไทม์แมชชีนแล้วนั่งย้อนเวลาไปเล่าให้ตัวเองหรือนักกิจกรรมเมื่อซัก 16-17 ปี ที่แล้ว ว่า ในปี 63 มันมีแบบปรากฏการณ์แบบนี้ๆนะ ตัวผมเองหรือนักกิจกรรมเมื่อ 16-17 ปี ที่แล้ว คงคิดว่าผมที่ย้อนเวลากลับไปนั้นพูดอำเล่นขำๆแน่ๆ
...
...31 คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ 'ธรรมศาสตร์' ออกแถลงการณ์เรียกร้องรัฐบาล ปกป้องคุ้มครอง 'วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์' ย้ำแม้เป็นผู้ต้องหา ยังคงเป็นผู้ทรงสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างบริบูรณ์ ในฐานะที่เป็นประชาชนชาวไทย#VoiceOnlinehttps://t.co/w2WtiXTD18— Voice TV (@VoiceTVOfficial) June 8, 2020
แถลงการณ์คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ต่อกรณีของนายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์
ตามที่ได้มีการนำเสนอข่าวอย่างแพร่หลายเกี่ยวกับการหายตัวไปของนายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ในระหว่างพำนักอยู่ในกัมพูชา แม้ยังไม่มีการยืนยันอย่างเป็นทางการถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและชะตากรรมของบุคคลดังกล่าวจากหน่วยงานราชการของไทยและกัมพูชา แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าข่าวที่ได้รับการนำเสนอออกไปโดยสื่อมวลชนทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ก่อให้เกิดความสงสัยและความวิตกกังวลอย่างยิ่งแก่ประชาชนจำนวนมากต่อชะตากรรมของบุคคลดังกล่าวและต่อบทบาทหน้าที่ของรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐในการปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน นอกจากนี้ยังเกิดคำถามและข้อถกเถียงกันในวงกว้างว่าบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดทางอาญาและหลบหนีการดำเนินคดีควรได้รับการป้องคุ้มครองสิทธิโดยระบบกฎหมายและผู้บังคับใช้กฎหมายของไทยหรือไม่และเพียงใด และรัฐบาลและหน่วยงานรัฐในฐานะผู้บังคับใช้กฎหมายและพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของประชาชนควรดำเนินการเช่นไรในสถานการณ์เช่นว่านี้
ต่อคำถามและข้อถกเถียงข้างต้น คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดังมีรายนามท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้ มีความเห็นร่วมกันว่า ประชาชนชาวไทยทั้งหลายย่อมเป็นผู้ทรงสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งหมายถึงการเป็นผู้ทรงสิทธิในชีวิตและร่างกาย สิทธิที่จะใช้ความคิด สิทธิที่จะแสดงความคิดเห็น รวมถึงสิทธิที่จะร่วมกันเปลี่ยนแปลงสังคมไปตามแนวทางที่คนส่วนใหญ่ในสังคมยินยอมพร้อมใจกัน อาจกล่าวได้ว่า สิทธิตามรัฐธรรมนูญในประการสำคัญดังกล่าวทั้งหลายเป็น “คุณค่าพื้นฐาน” ในการอยู่ร่วมกันในสังคมการเมืองประชาธิปไตย ซึ่งทำให้การดำรงชีวิตของผู้คนในสังคมมีคุณค่า มีความหมาย และมีความหวัง รัฐที่เป็นนิติรัฐมิได้มีแต่เพียงหน้าที่ที่จะต้องงดเว้นจากการกระทำการทั้งหลายที่เป็นการกระทบสิทธิและเสรีภาพของประชาชน แต่ยังมี “หน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน” ซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงของรัฐในการธำรงไว้ซึ่งคุณค่าพื้นฐานของสังคมการเมืองประชาธิปไตยและของระบบรัฐธรรมนูญ การที่รัฐได้ดำเนินการอย่างจริงจังในปกป้องชีวิตและร่างกายของประชาชน การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นอย่างเสรี การส่งเสริมให้ประชาชนได้แสดงออกทางการเมืองอย่างสันติ ไม่ว่าบุคคลดังกล่าวจะมีทัศนคติทางการเมืองอย่างไรก็ตาม ย่อมเป็นเครื่องยืนยันว่าผู้ถืออำนาจรัฐมีความตั้งใจอย่างแท้จริงที่จะพิทักษ์รักษาคุณค่าพื้นฐานดังกล่าวของสังคม และย่อมสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนทั้งหลายว่าจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขอย่างแท้จริง
ประชาชนชาวไทยทั้งหลายไม่ว่าอยู่ในสถานะใดก็ตามย่อมมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญและได้รับการคุ้มครองสิทธิตามรัฐธรรมนูญดังที่กล่าวมาข้างต้น แม้บุคคลนั้นจะเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาและอยู่ระหว่างการหลบหนีการดำเนินคดีตามกฎหมาย ก็ยังคงเป็นผู้ทรงสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างบริบูรณ์ในฐานะที่เป็นประชาชนชาวไทย และมีสิทธิเรียกร้องให้รัฐปกป้องคุ้มครองชีวิตและร่างกาย มีสิทธิใช้ความคิดของตน รวมถึงการแสดงออกทางการเมือง การที่รัฐให้ความคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพและปกป้องชีวิตของบุคคลดังกล่าว ไม่ได้เป็นเพียงการปฏิบัติหน้าที่ขั้นพื้นฐานในฐานะนิติรัฐ แต่ยังเป็นการแสดงออกในเชิงคุณค่าว่า ประเทศไทยมีกลไกในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นคุณค่าพื้นฐานของรัฐที่ปกครองในระบอบเสรีประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ดังมีรายนามท้ายแถลงการณ์จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการอย่างจริงจังและทันท่วงที ในการให้ความช่วยเหลือนายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์และพลเมืองคนอื่นที่อยู่ในสถานการณ์อย่างเดียวกันให้รอดพ้นจากภยันตราย สืบหาข้อเท็จจริง ติดต่อประสานงาน รวมถึงรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินการดังกล่าวให้กับสาธารณชนได้รับทราบอย่างรวดเร็วและชัดเจน เพื่อแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติตามหน้าที่ขั้นพื้นฐานของรัฐในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างถูกต้องครบถ้วน
1. รองศาสตราจารย์ ดร. มุนินทร์ พงศาปาน
2. รองศาสตราจารย์ ดร. สุปรียา แก้วละเอียด
3. รองศาสตราจารย์ ดร. ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รณกรณ์ บุญมี
5. รองศาสตราจารย์ ดร. นิรมัย พิศแข มั่นจิตร
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กรศุทธิ์ ขอพ่วงกลาง
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เอมผกา เตชะอภัยคุณ
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จารุประภา รักพงษ์
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ตามพงศ์ ชอบอิสระ
10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นพร โพธิ์พัฒนชัย
11. อาจารย์ ดร. ลลิล ก่อวุฒิกุลรังษี
12. อาจารย์ ดร. นัษฐิกา ศรีพงษ์กุล
13. อาจารย์ ดร. พนัญญา ลาภประเสริฐพร
14. อาจารย์เมษปิติ พูลสวัสดิ์
15. รองศาสตราจารย์ ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนจิตรา
สายสุนทร
16. ศาสตราจารย์ ดร. วรเจตน์ ภาคีรัตน์
17. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล
18. ศาสตราจารย์ ดร.สุเมธ ศิริคุณโชติ
19. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีระ สุธีวรางกูร
20. อาจารย์นาฏนภัส เหล็กเพ็ชร
21. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จันทจิรา เอี่ยมมยุรา
22. อาจารย์ดิศรณ์ ลิขิตวิทยาวุฒิ
23. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาวตรี สุขศรี
24. อาจารย์ฉัตรดนัย สมานพันธ์
25. อาจารย์ ดร. ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล
26. อาจารย์ปวีร์ เจนวีระนนท์
27. อาจารย์คงสัจจา สุวรรณเพ็ชร
28. อาจารย์สหรัฐ อกนิษฐศาสตร์
29. อาจารย์มาติกา วินิจสร
30. อาจารย์ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล
31. อาจารย์ภัทรพงษ์ แสงไกร
32. อาจารย์กิตติภพ วังคำ
[ดาวโหลดเอกสารแถลงการณ์ได้ที่ https://www.dropbox.com/s/nhi3jhklrpfge8g/แถลงการณ์นิติมธ.กรณีวันเฉลิม.pdf?dl=0]