วันอังคาร, มิถุนายน 30, 2563

เผด็จการ ก็เหี้ยแบบนี้แหละ "พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่ยื้อกันมา 2-3 เดือน คือ ยื้อเพื่อที่จะครองอำนาจไว้กับมือตัวเอง.. ไม่ได้มีไว้เพื่อควบคุมโรคเพราะตอนนี้โควิด19ก็เริ่มดีขึ้น ไม่มีผู้ติดเชื้อในประเทศแล้ว"




“ต้าร์ เป็นคนรุ่นใหม่ยุคแรกๆ ที่ทำงานเคลื่อนไหวเรื่องเอดส์ด้วยกันกับพี่ น้องเป็นคนแอคทีฟ กล้าคิด กล้าพูดในสิ่งที่เขาคิดว่า มันถูก กล้าตัดสินใจ กล้าทำ แต่ก็เป็นคนที่รับฟังคนอื่นเสมอ รู้จักกันมานาน มีแค่หลังๆที่ไม่ค่อยได้เจอ”
.

“สะเทือนใจกับการหายตัวไปของต้า พี่รู้สึกว่า เขาเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีอนาคต การที่ต้องลี้ภัย มันก็หนักหนาพอแล้วสำหรับเขา คือ เขาอาจจะมีธุรกิจ แต่พี่เชื่อว่า ลึกๆ ต้ายังอยากทำงานเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวอยู่ แต่มันขาดโอกาสตรงนั้นไปแล้ว พี่คิดว่า คนรุ่นใหม่มันคือความหวังนะ อยู่ๆคนรุ่นใหม่หายไป พี่รู้สึกแย่พอสมควร"
.

นี่คือคำบอกเล่าของแสงศิริ หรือ พี่ตุ้ย จากเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ กล่าวถึงวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ นักเคลื่อนไหวและผู้ลี้ภัยไทยที่ถูกอุ้มหายไปในประเทศกัมพูชาวันที่ 4 มิถุนายน 2563
.

พี่ตุ้ยเล่าถึงกิจกรรมที่ไปแสดงออกเพื่อถามหาความรับผิดชอบของกรณีวันเฉลิมว่า "พอเห็นโพสต์ของ กป.อพช. (คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน) ชวนไปยื่นหนังสือให้ติดตามกรณีการหายตัวของวันเฉลิม ส่งถึงนายกรัฐมนตรีกัมพูชา พี่พอมีเวลา ก็ลงชื่อไปกับเขา พี่อยากทำไรสักอย่างเพื่อต้า"
.

และจากเหตุการณ์ไปยื่นจดหมายในวันที่ 8 มิถุนายน 2563 พี่ตุ้ย และเพื่อนที่ไปร่วมยื่นจดหมายอีกสามคน โดนหมายเรียกให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาฐานฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่ สน.วังทองหลาง ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2563 พี่ตุ้ยเล่าถึงเหตุการณ์วันนั้นว่า
.

“จากที่เห็นข่าวประชาสัมพันธ์เชิญชวนคนให้ไปร่วมยื่นจดหมายถึงนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่สถานทูตกัมพูชา ผ่านทางเฟซบุ๊กของทาง กป.อพช. พี่ก็ลงทะเบียนไป พอไปถึงสถานทูตเวลาประมาณ 10 โมง ก็ยังไม่เจอใคร เจอแต่ตำรวจ นักข่าว เขาก็เข้ามาถามว่า เป็นแกนนำหรือเปล่า เราก็บอกว่า เปล่า แค่มาร่วมยื่นจดหมาย”
.

“พออีกสามคนที่เหลือมาถึง เราก็ไปติดต่อที่ป้อม ถามว่า จะมีคนออกมารับจดหมายมั้ย เขาก็ตอบไม่ได้ ได้แต่บอกว่าให้รอ เรารอไป 15 นาทีก็ไม่มีไรเกิดขึ้น สุดท้ายเราก็ตัดสินใจกันว่า ให้เอาจดหมายวางทิ้งไว้ แล้วก็ทาง กป.อพช.อ่านแถลงการณ์ เสร็จก็แยกย้าย รวมแล้วใช้เวลาประมาณ 1.30 ชั่วโมง ไม่เกิน 2 ชั่วโมง”
.

“ถ้าเจ้าหน้าที่ออกมารับแต่แรกก็คงจบไปแล้ว ใช้เวลาไม่นานเท่านั้น ตอนที่ไป ทุกคนก็ดูแลตัวเองอย่างดี ใส่หน้ากากอนามัยกันหมด”
.

“พอได้หมายเรียก ก็ไม่ได้ตกใจมาก แต่มีความกังวลใจว่า การโดนหมายเรียกฐานฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มันจะมีผลกับชีวิตเรามากน้อยแค่ไหน ต้องสู้คดีและใช้เวลานานแค่ไหน อย่างไร แต่เบื้องต้นได้ปรึกษากับทนาย ก็จะสู้ไปตามกระบวนการเพราะเรายืนยันว่า เราไม่ได้ละเมิด พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพื่อไปทำให้เกิดโรคระบาด”
.

ในส่วนความจำเป็นของการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ กับการควบคุมโรคโควิด19 พี่ตุ้ยกล่าวว่า “ตอนที่โควิดระบาดแรกๆ แล้วมีการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ก็รู้สึกว่า มันเหมาะสม เพราะมันอาจจำเป็นที่ต้องออกคำสั่งบางอย่างเพื่อควบคุมโรค สถานการณ์ตอนนั้นทั้งในและนอกประเทศ จำนวนผู้ติดเชื้อมันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เราก็เชื่อว่า มันน่าจะช่วยได้ แต่พอผ่านไปสักพัก มาตรการในการรับมือนั้นทำได้ดี กระทรวงสาธารณสุขก็มีวิธีจัดการโรคได้ดี ก็รู้สึกแปลกๆ แล้วว่า ทำไมถึงไม่ยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ สักที”
.

“ตอนแรกคิดว่า ประกาศใช้เดือนเดียวก็น่าจะพอ เพราะตัวเลขมันเริ่มลดลง มันทำให้เห็นว่า จริงๆ แล้วมันมีมาตรการอื่นที่เข้ามาจัดการได้โดยไม่ต้องใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เริ่มแรกเลยมีคนออกมาพูดว่า การออกพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มันจะเป็นการริดลอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตอนนั้นก็ยังเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่งเพราะโรคมันระบาด มีความจำเป็นจริงๆ แต่หลังๆ คิดว่าไม่ใช่แล้ว”
.

“ยิ่งพอมาเจอกับตัว ก็รู้เลยว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่ยื้อกันมาสองสามเดือน คือ ยื้อเพื่อที่จะครองอำนาจไว้กับมือตัวเอง เพื่อที่จะสั่งการอะไรแบบไหนก็ได้ เราคิดว่า มันเป็นการใช้ที่เกินเลยไปแล้ว มันเหมือนไม่ได้มีไว้เพื่อควบคุมโรคเพราะตอนนี้โควิด19ก็เริ่มดีขึ้น ไม่มีผู้ติดเชื้อในประเทศแล้ว แต่มีไว้เพื่อรัฐบาลต้องการกุมอำนาจไว้ในมือแล้วไปลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการพูด การสื่อสาร การร้องเรียนต่อนโยบายรัฐของประชาชนมากกว่า”

iLaw

(https://www.facebook.com/iLawClub/photos/a.10150540436460551/10164027546670551/?type=3&theater)
...




...



ภาพจาก
กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย Democracy Restoration Group - DRG