วันอังคาร, มิถุนายน 23, 2563

กิจกรรม 88ปี "24 มิถุนา" ที่น่าสนใจในกรุงเทพมหานคร




กิจกรรม "24 มิถุนายน" กรุงเทพมหานคร

เวลาย่ำรุ่ง 05.00 น. ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
เวลา 10.00 น. หน้ารัฐสภา เกียกกาย
เวลา 18.00 น. ณ สกายวอล์ค แยกปทุมวัน

การเมืองไทย ในกะลา
..



24 มิถุนาฯ นี้ เวลา 10.30 น. มาเจอกันหน้าอาคารรัฐสภา (เกียกกาย)
.
เนื่องในวาระ 88 ปี การเปลี่ยนแปลงการปกครองสยามสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มุ่งหมายให้ประชาชนเป็นผู้ทรงอำนาจสูงสุดของประเทศ
.
คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.) ขอเชิญประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจของประเทศทวงถามความคืบหน้ากระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ในฐานะมรดกทางอุดมการณ์ของคณะราษฎร และคำมั่นสัญญาที่รัฐบาลให้กับประชาชนว่าจะดำเนินการให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา
.
อีกทั้ง ในวันที่ 13 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา ครช. ภายใต้ความร่วมมือของพี่น้องประชาชน ได้ยื่นข้อเสนอว่าด้วยหลักเกณฑ์และเเนวทางในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ได้แก่
.
1.สร้างสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้เข้มแข็ง ไม่นำเหตุความมั่นคงมาอ้างในการจำกัดเสรีภาพ ให้ประชาชนเข้าชื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และสร้างหลักประกันด้านรัฐสวัสดิการ
.
2. สร้างกลไกเข้าสู่อำนาจที่ยึดโยงกับประชาชน กำหนดให้ชัดเจนว่านายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส. และ ส.ว. ต้องมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด การปฏิรูปประเทศหรือยุทธศาสตร์ชาติ ต้องไม่เกิดขึ้นโดยคนกลุ่มเดียว และต้องไม่นิรโทษกรรมให้คณะรัฐประหาร
.
3.ให้ตราพระราชบัญญัติการรับฟังความเห็นของประชาชนเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และให้ความเห็นของประชาชนมีผลผูกพันในทางกฎหมายและทางการเมืองต่อองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
.
4.ในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ให้จัดทำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยให้มีการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 เรื่องหลักเกณฑ์แก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยอาศัยเพียงเสียงเห็นชอบจากสมาชิกรัฐสภาจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
.
โดยในวันที่ 24 มิถุนายน 2563 เวลา 10.30 น. ครช.จะมีกิจกรรมเพื่อแสดงพลังทวงคืนมรดกคณะราษฎร ทวงสัญญารัฐธรรมนูญประชาชน ดังนี้
.
10.30 น.-10.45 น. การจำลองเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ วันที่ 24 มิถุนายน 2475
.
10.45 น.-11.15 น. การปราศรัยจากองค์กรเครือข่าย ครช.
.
11.15 น. เป็นต้นไป อ่านแถลงการณ์และทวงถามความคืบหน้าการแก้รัฐธรรมนูญต่อ กมธ.แก้รัฐธรรมนูญฯ และร่วมร้องเพลงชาติ ฉบับ 24 มิถุนาฯ

คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน l ครช.
...



เสวนาไฮไลต์ในงาน ‘เปิดโกดัง Book Wonder’
.
ในวาระครบรอบ 88 ปี การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
สำนักพิมพ์มติชนขอชวนนักอ่านและผู้สนใจร่วมงานเสวนา “ปฏิวัติสู่ประชา-ธิปไตย”
เพื่อตั้งคำถาม สืบค้นเรื่องราว พร้อมหาคำตอบ ว่าประชาธิปไตยของไทยถือกำเนิด ก้าวผ่าน ล้มลุกคลุกคลาน
จะต้องทำอย่างไรเพื่อให้ประเทศไทยมีประชาธิปไตยที่แข็งแรงและยั่งยืน
ผ่านการเปิดตัวหนังสือการเมือง 3 เล่มสำคัญ ได้แก่ ตามรอยอาทิตย์อุทัย: แผนสร้างชาติไทยสมัยคณะราษฎร, ศิลปะ-สถาปัตยกรรมคณะราษฎร, When We Vote: พลวัตการเลือกตั้งและประชาธิปไตยในอาเซียน
.
กิจกรรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
สำหรับ 30 ที่นั่งที่แรก รับฟรี! คูปองเครื่องดื่ม-ของว่าง ท่านละ 1 ใบ และที่นั่งสุดพิเศษกว่าใครในงานเสวนาครั้งนี้
.
☑️ งานเสวนา “ปฏิวัติสู่ประชา-ธิปไตย”
วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน 2563 / เวลา : 12.30-15.00 น.
สถานที่ : ร้าน Brainwake Café มติชนอคาเดมี
วิทยากร : ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ Charnvit Kasetsiri) / รศ.ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ / ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ
ชวนเสวนาโดย : ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ Sirote Klampaiboon (ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์)
.
☑️ วิธีลงทะเบียนสำหรับผู้สนใจ
สามารถแจ้งชื่อนามสกุลของท่านได้ทาง inbox : m.me/matichonbook
.
☑️ สถานที่จัดงาน : Brainwake Café มติชนอคาเดมี
ถนนเทศบาลนิมิตใต้ ซอย12 ประชานิเวศน์ 1 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร
คลิกดูเส้นทาง: https://bit.ly/2Y6ZEgr
.
***สามารถรับชม Live ผ่าน Matichon Book - สำนักพิมพ์มติชน / Matichon Online - มติชนออนไลน์ และ Khaosod - ข่าวสด
.
.
#เปิดโกดัง #BookWonder #matichonbook #เสวนา #ปฏิวัติสู่ประชาธิปไตย
...



การรื้อถอนสถาปัตยกรรมคณะราษฎร ไม่อาจทำให้เรื่องราวของพวกเขาสูญหายไปได้
.
จากเสียงเรียกร้องของนักอ่านที่อยากสัมผัสหนังสือ ‘ศิลปะ-สถาปัตยกรรมคณะราษฎร’ ของ ชาตรี ประกิตนนทการ ในเร็ววัน สำนักพิมพ์มติชนจึงขอเสิร์ฟน้ำจิ้มเล็กๆ จากบางส่วนของบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มที่ผู้เขียนพูดถึงเรื่องราวเพิ่มเติมใน ‘ศิลปะ-สถาปัตยกรรมคณะราษฎร’ ฉบับปรับปรุงใหม่ครั้งนี้ ว่ามีอะไร และสำคัญอย่างไรบ้าง โดยคราวนี้จะชวนอาจารย์ชาตรีพูดถึงการรื้อถอนสิ่งก่อสร้างของคณะราษฎรว่าสามารถทำให้ความทรงจำ เรื่องเล่า และเรื่องราวเกี่ยวกับคณะราษฎรสูญหายไปได้หรือไม่
.
Q : การรื้อถอนสิ่งก่อสร้างของคณะราษฎร รวมถึงการเปลี่ยนชื่อสถานที่ต่างๆ ที่เกี่ยวพันกับคณะราษฎร จะมีส่วนช่วยทำให้ขั้นตอน “การถูกทำให้ลืมเลือน” ของคณะราษฎรเป็นจริงได้มากน้อยแค่ไหน
.
A : ถ้าถามว่าการรื้อและการทำลายศิลปะ-สถาปัตยกรรมคณะราษฎรจะทำให้ความทรงจำ เรื่องเล่า เรื่องราวเกี่ยวกับ คณะราษฎรสูญหายไปหรือเปล่า ผมคิดว่าไม่มีทาง ในหลายกรณีมันกลับจะยิ่งทำให้ผู้คนสนใจคณะราษฎรมากขึ้น เป็นแรงปฏิกริยาจากการที่ถูกกดทับ เพราะฉะนั้น การรื้อและการทำลาย ไม่สามารถที่จะทำให้อุดมการณ์แบบคณะราษฎรสูญหายได้แน่นอน
.
ผมเขียนไว้ในหนังสือว่า การต่อสู้และเอาชนะกันทางอุดมการณ์มันไม่สามารถกระทำผ่านการรื้ออนุสาวรีย์หรือสิ่งปลูกสร้างได้ มันจะต้องต่อสู้กันผ่านข้อมูล ข้อเท็จจริง และหลักฐานเท่านั้นถึงจะทำให้การต่อสู้ทางอุดมการณ์ประสบความสำเร็จ และก็มีความชอบธรรม
.
Coming Soon : ศิลปะ-สถาปัตยกรรมคณะราษฎร
.
ท่ามกลางบรรยากาศของการ "ทุบ-รื้อ-ถอน-ทำลาย" ศิลปะและสถาปัตยกรรมของคณะราษฎรที่ผ่านมา สิ่งหนึ่งที่ทำให้การทุบทำลายเกิดขึ้นโดยมิต้องไตร่ตรองและโดยไม่มีผู้ใดคัดค้าน ก็เนื่องด้วยความรู้-ความเข้าใจต่อศิลปะและสถาปัตยกรรมไทยในช่วงทศวรรษ 2475-2490 ถูกอธิบายหรือทำให้เข้าใจว่าเป็นเพียง "ศิลปะนอกขนบ" เป็นศิลปะที่อยู่ตรงกันข้ามกับ "ความเป็นไทย"
.
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 จากความพยายามของ ชาตรี ประกิตนนทการ เขาได้รวบรวมบทความที่เกี่ยวข้องกับศิลปะและสถาปัตยกรรมไทยในทศวรรษ 2475-2490 จำนวน 6 เรื่อง มาพิมพ์รวมเล่มกันเป็นครั้งแรก ในชื่อหนังสือ “ศิลปะ-สถาปัตยกรรมคณะราษฎร” เพื่ออธิบายและนิยามรูปแบบศิลปะและสถาปัตยกรรมที่ถูกหลงลืมและละเลยในวงการศิลปะไทยว่าเป็น "ศิลปะ-สถาปัตยกรรมคณะราษฎร" (และเป็นที่มาของชื่อหนังสือ) อันเป็นศิลปะที่แฝงฝังไปด้วยอุดมการณ์และศรัทธาต่อระบอบประชาธิปไตย
.
และในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 อันเป็นปีครบรอบ 88 ปี การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง หนังสือ “ศิลปะ-สถาปัตยกรรมคณะราษฎร” ของ ชาตรี ประกิตนนทการ ได้กลับมาอีกครั้งในรูปแบบหนังสือปกแข็งน่าสะสมพร้อมกับขนาดที่ใหญ่และหนาขึ้น และแน่นอนว่า บรรจุอัดแน่นด้วยบทความจากพิมพ์ครั้งแรก 6 เรื่อง และเพิ่มเติมจากพิมพ์ครั้งใหม่ฉบับปรับปรุงนี้อีก 4 เรื่อง
.
ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์ศิลปะ เป็นผู้ศึกษาตามรอยคณะราษฎร หรือว่าเป็นนักอ่านทั่วไป ก็พลาดไม่ได้ด้วยประการทั้งปวง
.
เตรียมพบกับ “#ศิลปะสถาปัตยกรรมคณะราษฎร” ของ ชาตรี ประกิตนนทการ ได้ที่นี่ เร็วๆ นี้
........................
.
อย่าพลาด! งานเสวนา “ปฏิวัติสู่ประชา-ธิปไตย”
วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน 2563 / เวลา : 12.30-15.00 น.
สถานที่ : ร้าน Brainwake Café มติชนอคาเดมี
วิทยากร : ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ Charnvit Kasetsiri ) / รศ.ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ / ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ
ชวนเสวนาโดย : Sirote Klampaiboon (ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์)
.
☑️ วิธีลงทะเบียนสำหรับผู้สนใจ
สามารถแจ้งชื่อนามสกุลของท่านได้ทาง inbox : m.me/matichonbook
.
☑️ สถานที่จัดงาน : Brainwake Café มติชนอคาเดมี
ถนนเทศบาลนิมิตใต้ ซอย12 ประชานิเวศน์ 1 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร
คลิกดูเส้นทาง: https://bit.ly/2Y6ZEgr
.
***หากที่นั่งเต็มสามารถรับชม Live ผ่าน Matichon Book - สำนักพิมพ์มติชน / Matichon Online - มติชนออนไลน์ และ Khaosod - ข่าวสด
.
.
#เปิดโกดัง #BookWonder #matichonbook #เสวนา #ปฏิวัติสู่ประชาธิปไตย

ooo

ปฏิวัติสยาม 24 มิถุนายน 2475 / The 1932 Revolution of Siam นำมาซึ่งหลัก 6 ประการ คือ 

1.เอกราชสมบูรณ์ 
2.ความปลอดภัย 
3.เศรษฐกิจ
4.เสมอภาค 
5.เสรีภาพ 
6.การศึกษา

หลายอย่าง คณะราษฎร The People's Party ยังทำไม่สำเร็จ
หลายอย่าง ทำแล้ว แต่ถูกโละทิ้ง ทุบทำลาย
แต่หลักการณ์ ที่เปนประชาธิปไตย อารยะ และสากล ก้อยังคงอยู่
และต้องการ การสร้างเสริมต่อ โดยคนรุ่นใหม่ ๆ
มรดกที่คงทนของ คณะราษฎร
ที่คนมักมองข้าม
คือเพลงชาติ National Anthem ที่ได้ยิน ได้ฟัง ทุกวันคืน
กับ
การเปลี่ยนชื่อ จากสยาม เปนประเทศไทย from Siam to Thailand
CkJune2020

Charnvit Kasetsiri