วันจันทร์, มิถุนายน 29, 2563

ทำไม “ปฏิบัติการไอโอ” (Information Operation, IO) ถึงได้ผล...




ทำไมการใช้ “ปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร” (Information Operation, IO) ถึงสามารถสร้างชุดความจริงที่ต้องการขึ้นมาได้?
.
ทำไมคนถึงเชื่อ “ข่าวปลอม” (Fake News) “ทฤษฎีสมคบคิด” (Conspiracy Theories) หรือ “โฆษณาชวนเชื่อ” (propaganda)?
.
.
.
“If you tell a big enough lie and tell it frequently enough, it will be believed”
.
“หากคุณโกหกในเรื่องที่ใหญ่มากพอ และโกหกบ่อยเพียงพอ เรื่องนั้นจะถูกเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง”
.
ประโยคนี้ฟังดูแล้วอาจย้อนแย้ง ข้อเท็จจริงก็ควรที่จะเป็นเป็นข้อเท็จจริง เรื่องโกหกก็ควรจะเป็นเรื่องโกหก
.
แต่ประเด็นของเรื่องราวนี้ มันไม่ได้เกี่ยวกับว่ามันคือข้อเท็จจริงหรือไม่ แต่มันอยู่ที่ว่า เรา ”เชื่อ” ว่ามันเป็น ”เรื่องจริง” หรือไม่
.
ประโยคนี้ถูกกล่าวไว้โดย Adolf Hitler ในปี ค.ศ.1925 (บ้างก็ว่ากล่าวไว้โดย Joseph Goebbels ลูกน้องคนสำคัญของ Hitler) และถูกนำมาศึกษาวิจัยอย่างจริงจังว่าประโยคดังกล่าวเป็นจริงหรือไม่ในปี ค.ศ.1977 โดย Lynn Hasher และ David Goldstein จาก Villanova University ร่วมกับ Thomas Toppino จาก Temple University
.
โดยในการวิจัยนั้น ผู้วิจัยได้จัดทำข้อความขึ้นมาทั้งสิ้น 60 ข้อความ มีทั้งข้อความที่เป็นข้อเท็จจริงและเรื่องโกหกปะปนกัน ให้คนกลุ่มเดิมเข้ามาทำการทดสอบ โดยระบุว่าข้อความดังกล่าวมีความเป็นจริง มากแค่ไหน
.
ทำการทดสอบเป็น 3 ช่วง ห่างกัน 3 สัปดาห์ในแต่ละช่วง โดยในชุดข้อความนั้น จะมี 20 ข้อความที่เป็นข้อความเดิม อีก 40 ข้อความของแต่ละชุดจะแตกต่างไม่ซ้ำกันเลย
.
ข้อความที่จะใช้ในการทดสอบ จะเป็นเรื่องที่คนทั่วๆไปมักจะไม่ค่อยรู้ ในหลากหลายหมวด ได้แก่ ประวัติศาสตร์ การเมือง งบประมาณ กีฬา วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา ศิลปะ ภูมิศาสตร์ ประชากรศาสตร์ ศาสนา
.
ตัวอย่างข้อความ เช่น บาสเก็ตบอลถูกบรรจุเข้ามาในโอลิมปิคเมื่อปี ค.ศ.1925 ฐานทัพอากาศแห่งแรกตั้งอยู่ใน New Mexico เป็นต้น
.
ผู้เข้ารับการทดสอบจะถูกถามด้วยว่า มีความมั่นใจแค่ไหนว่าข้อความนี้เป็นข้อเท็จจริง โดยให้คะแนน 1-7
.
ซึ่งหลังการศึกษาวิจัยก็พบว่า ชุดข้อความ 20 ข้อความที่ถูกใช้ทั้ง 3 รอบ เป็นข้อความที่ถูกระบุว่าเป็นเรื่องจริงมากที่สุด
.
การศึกษานี้เกิดขึ้นอีกหลายครั้ง และได้ผลของการวิจัยไปในทิศทางเดียวกัน จนนักจิตวิทยาได้ให้คำนิยามปรากฏการณ์นี้ว่า the illusory truth effect
.
.
.
the illusory truth effect ได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางทั้งในวงการโฆษณา การเมือง สื่อมวลชน กองทัพ ซึ่งเป็นที่มาว่า ทำไมจึงมีการใช้ข่าวปลอมหรือการโฆษณาชวนเชื่อ มาใช้ในสงครามข้อมูล
.
หรือแม้แต่กองทัพบกของไทยเอง ก็มีการใช้ปฏิบัติบัติข้อมูลข่าวสารกับประชาชน ดังที่เคยได้ถูกอภิปรายในสภามาแล้ว
https://www.facebook.com/103628360981510/posts/198273401517005/
.
นี่คือคำตอบชั้นดี ที่บอกให้เราเข้าใจได้ว่า ทำไมหลายๆ เรื่องราวของการเมืองไทยในตอนนี้จึงมี ”หลายความจริง”
.
ทำไมคนแต่ละกลุ่มจึงมีความจริงในแต่ละประเด็นแตกต่างกัน ทั้งๆ ที่ข้อเท็จจริงในแต่ละเรื่อง มีเพียงหนึ่งเดียว
.
สิ่งที่ควรเกิดขึ้นในสังคม คือ การสร้างให้ประชาชนมีวิจารณญาณในการรับข่าว ทุกข่าวที่ออกมา ไม่ว่าจะผ่านทางสื่อไหน เป็นข้อมูลที่ได้มาจากใครหรือฝั่งใด ก็ควรผ่านการคัดกรอง การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า เราเสพข่าวดังกล่าวตามข้อเท็จจริง
.
ไม่ใช่เพียงแค่เพราะเราเชื่อว่ามันดี หรือมีคนบอกว่ามันใช่ เราเลยเชื่อว่ามันต้องถูกต้องเสมอ
.
#กระจ่าง
.
ที่มา :
.
Frequency_and_the_Conference_of_Referential_Validity
https://www.researchgate.net/publication/222438522_Frequency_and_the_Conference_of_Referential_Validity
.
the illusory truth effect
https://fs.blog/2020/02/illusory-truth-effect/
.
ประวัติ Hitler
https://en.wikipedia.org/wiki/Adolf_Hitler
.
ประวัติ Goebbels
https://en.wikipedia.org/wiki/Joseph_Goebbels

ที่มา FB
กระจ่าง - The Enlightener
(https://www.facebook.com/TheEnlightenerNews/photos/a.103870064290673/283060573038287/?type=3&theater)