บันทึกภาพ ปี 2012หน้างานเสวนาของคณะนิติราษฎร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ภาพจาก FB ในนามของความสงบเรียบร้อย
...
ข้อเสนอ ‘นิติราษฎร์’ แก้ม.112
Posted: 06/04/2011 | Author: Siam Parade | Filed under: Siam Parade | Tags: 112, นิติราษฎร์, lese majeste |Leave a comment
เมื่อวันที่ 27 มีนาคมที่ผ่านมา อาจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ตัวแทนกลุ่มนิติราษฎร์ ได้นำเสนอประเด็นในการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุ ภาพ สรุปสาระสำคัญดังนี้
1.ยกเลิกมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา เพราะบทบัญญัติที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันได้รับการบัญญัติขึ้นโดยคำสั่ง ฉบับที่ 41 ของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินปี 2519 จึงเป็นกฎหมายของคณะรัฐประหารที่ขาดความชอบธรรมทางประชาธิปไตย
2.การลงโทษจากเดิมให้จำคุก 3-15 ปี ให้เปลี่ยนเป็นไม่มีอัตราโทษขั้นต่ำ, ลดอัตราโทษให้เป็นจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับความผิดนี้ต่อพระมหากษัตริย์, ลดอัตราโทษให้เป็นจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับความผิดนี้ต่อพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เหตุผลข้อนี้คือการลงโทษตามกฎหมายเดิมรุนแรงเกินไป จึงเสนอให้บทลงโทษลดลง และให้มีความต่างในการลงโทษผู้ที่หมิ่นสถานะของพระมหากษัตริย์ กับผู้ที่ละเมิดพระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการ
3.เพิ่มเหตุยกเว้นความผิด ให้การติชม แสดงความคิดเห็น หรือแสดงข้อความใดโดยสุจริต เพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เพื่อธำรงไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญ เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่มีความผิด เพราะตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 45 รับรองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต จึงไม่สมควรเป็นความผิดทางอาญา
4.เพิ่มเหตุยกเว้นโทษความผิด ถ้าผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดพิสูจน์ได้ว่าข้อความนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ถ้าข้อที่กล่าวหาว่าเป็นความผิดนั้นเป็นเรื่องความเป็นอยู่ส่วนพระองค์ หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว แล้วแต่กรณี การพิสูจน์นั้นไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน ห้ามมิให้พิสูจน์
5.ผู้มีอำนาจกล่าวโทษเปลี่ยนจากบุคคลทั่วไปเป็นสำนักราชเลขาธิการ เพื่อป้องกันมีการนำเอาข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไปเป็นเครื่องมือโจมตีกัน ในทางการเมือง และให้สำนักราชเลขาธิการได้ทำหน้าที่ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเต็ม ที่
อาจารย์วรเจตน์เสนอว่า ข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์นี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นในทางวิชาการที่จะนำมา ซึ่งการถกเถียงแลกเปลี่ยนในประเด็นนี้อย่างจริงจัง และเป็นข้อเสนอที่ประนีประนอมที่สุด แม้ว่าจะไม่ได้แก้ปัญหาให้หมดไป แต่น่าจะบรรเทาปัญหาลงได้บ้าง
หลังจากนั้นอาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เสนอว่า การแก้ไขกฎหมายอย่างเดียวอาจจะไม่ใช่ทางแก้ที่จะทำให้เกิดความเป็นธรรมมาก ขึ้น จะต้องดูถึงรากฐานทางอุดมการณ์ที่รองรับด้วย ดังนั้น การแก้กฎหมายจะต้องพิจารณาถึงอุดมการณ์ที่รองรับ ในเมื่ออุดมการ์ที่ดำเนินอยู่ยังเป็นอุดมการณ์แบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การแก้ข้อกฎหมายแต่เพียงอย่างเดียวก็ไม่เป็นประโยชน์ จึงต้องรณรงค์ให้ยกเลิกอุดมการณ์นั้นด้วย เช่น การเลิกโฆษณาเกินจริง การยกเลิกสถานะพิเศษของสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นต้น จึงจะบรรลุเสรีภาพของประชาชนได้ตามระบอบประชาธิปไตย
ประเด็นของการเสนอและการถกเถียงกันในเรื่องนี้เป็นที่น่าสนใจอย่างมาก เพราะสถานการณ์ของสังคมไทยหลังจากการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 ประเด็นเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้กลายเป็นประเด็นแหลมคม จากการที่ชนชั้นนำฝ่ายอำมาตย์และองค์กรทางการเมืองฝ่ายขวาได้นำเอาข้อหา หมิ่นพระบรมเดชานุภาพมาเป็นเครื่องมือทางการเมืองในการโจมตีใส่ร้ายศัตรูทาง การเมือง และทำให้ประชาชนผู้บริสิทธิ์หลายคนต้องตกเป็นเหยื่อทางการเมือง ตัวอย่างเช่น กรณีของ น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล ที่ถูกจำคุกโดยไม่ได้ประกัน และถูกศาลอาญาตัดสินลงโทษถึง 18 ปี
กรณีของนายบุญยืน ประเสริฐยิ่ง ถูกศาลตัดสินจำคุก 6 ปี แต่ได้รับการอภัยโทษ หลังจากติดคุกอยู่ 1 ปี 10 เดือน กรณีนายสุวิชา ท่าค้อ ถูกศาลตัดสินจำคุก 6 ปี แต่ได้รับการอภัยโทษ หลังจากถูกขังอยู่ 1 ปี 5 เดือน กรณีของนายวราวุธ ฐานังกรณ์ และ น.ส.ปภัสชนัญญ์ ฉิ่งอินทร์ ที่เผาโลงประท้วงที่นครราชสีมา และถูกดำเนินคดีอยู่ในขณะนี้
ที่น่าสนใจคือกรณีของนายอำพล ตั้งนพคุณ หรืออากง อายุ 61 ปี ถูกจับเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่ผ่านมา ในข้อหาส่งเอสเอ็มเอสข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมาให้นายกรัฐมนตรี ทั้งที่นายอำพลเป็นคนสูงอายุอยู่กับบ้านและยืนยันว่าใช้เอสเอ็มเอสไม่เป็น ขณะนี้ยังคงดำเนินคดีในชั้นศาล
นอกจากนี้ในขณะนี้ยังมีการกล่าวหาและดำเนินคดีอยู่อีกนับสิบคดี และยังมี “ผังล้มเจ้า” ที่ฝ่ายรัฐบาลเผยแพร่และกล่าวหานักการเมืองฝ่ายต่อต้านในข้อหาว่ามีการตั้ง ขบวนการล้มเจ้าเพื่อต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์
ความจริงแล้วต้องถือว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมีปัญหาหลายประการ แม้กระทั่งในเชิงปรัชญาของกฎหมาย เพราะกฎหมายสมัยใหม่ในแบบประชาธิปไตยนั้นต้องเริ่มต้นด้วยความเสมอ ภาคระหว่างมนุษย์ สถานะการเป็นประมุขแห่งรัฐ เช่น ในเยอรมนีหรืออินเดีย ถือเป็นหน้าที่ชนิดหนึ่ง และจะไม่ก่อให้เกิดเอกสิทธิ์เหนือกว่าบุคคลอื่น การมีกฎหมายพิเศษมาคุ้มครองสถานะผู้นำแห่งรัฐจึงเป็นเรื่องที่ไม่เป็น ประชาธิปไตย ส่วนเรื่องอัตราการลงโทษก็เช่นกัน การถูกลงโทษถึงขั้นติดคุกหลายปีเพียงเพราะเรื่องการใช้คำพูดเป็นสิ่งที่เกิน กว่าเหตุ และเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างยิ่ง
เรื่องกระบวนการพิจารณาก็มีปัญหาเช่นกัน เพราะการกล่าวหาในคดีนี้ไม่สามารถจะเปิดเผยให้ชัดเจนได้ มิฉะนั้นผู้ที่นำมาเปิดเผยจะถูกพิจารณาว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไปด้วย เกิดปรากฏการณ์เหลือเชื่อ ดังเช่นคดีของนายอำพล ตั้งนพคุณ ศาลตัดสินความว่าการส่งเอสเอ็มเอสเช่นนั้นเป็นความผิด เพราะเป็นข้อความที่ “กระทบต่อความรู้สึกของประชาชนและความมั่นคงของประเทศอย่างร้ายแรง” ทั้งที่ประชาชนทั่วไปไม่รู้เลยว่าข้อความที่ถูกกล่าวอ้างนั้นเป็นข้อความว่า อะไร หมิ่นพระบรมเดชานุภาพจริงหรือไม่
แต่ปัญหาสำคัญยังมาจากกระบวนการทางสังคม เพราะส่วนมากผู้ถูกกล่าวหาในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมักจะถูกตัดสินล่วงหน้า แล้วว่าเป็นผู้มีทรรศนะในเชิงปฏิปักษ์ต่อสถาบันตั้งแต่ก่อนที่ศาลจะตัดสิน ทั้งที่เสรีภาพทางความคิดและการนับถือบุคคลใดจะต้องถือว่าเป็นสิทธิส่วน บุคคลที่ต้องได้รับความเคารพ แต่ในสังคมไทยหาได้เป็นเช่นนั้นไม่
ข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์นั้นมุ่งที่จะปฏิรูปกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุ ภาพให้เป็นธรรมมากขึ้น แต่ความจริงแล้วการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในระยะ 5 ปีที่ผ่านมามีแต่ประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่ตกเป็นเหยิ่อของกฎหมายนี้ โดยไม่เห็นว่าการใช้กฎหมายนี้จะมีประโยชน์แต่อย่างใด แม้กระทั่งในแนวทางที่จะปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ยั่งยืนสืบไป การนำกฎหมายข้อนี้มาเป็นเครื่องมือของชนชั้นนำ การลงโทษประชาชนให้รุนแรงอาจจะได้แต่ความหวาดเกรง คงจะไม่สามารถทำให้เกิดความเห็นพ้องกับชนชั้นนำโดยสุจริตใจ
การยกเลิกกฎหมายข้อนี้ไปเสียเลยน่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่า จะทำให้ผู้บริสุทธิ์ไม่ต้องตกเป็นเหยื่อต่อไป และเป็นการปิดทางสำหรับการเมืองแบบใส่ร้ายป้ายสี นอกจากนี้สังคมไทยจะได้เคลื่อนไปในทางที่เป็นประชาธิปไตยและเคารพสิทธิมนุษย ชนมากยิ่งขึ้น ส่วนอุดมการณ์แบบเก่าที่รองรับอยู่เบื้องหลังกฎหมายฉบับนี้คงจะต้องรณรงค์ใน ระยะยาวต่อไป
ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 6 ฉบับ 305 วันที่ 2 – 8 เมษายน พ.ศ. 2554 หน้า 9 คอลัมน์ ถนนประชาธิปไตย โดย สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
ooo
"ปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์"
ข้อเสนอทางวิชาการสุดแหลมคมเกิดขึ้นเมื่อ 27 มี.ค. 2554 เมื่อคณะนิติราษฎร์โยนหินถามทางเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา โดยมีสาระสำคัญ 7 ข้อ
- ให้ยกเลิกมาตรา 112 ออกจากลักษณะว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักร
- เพิ่มหมวดลักษณะความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และเกียรติยศผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
- แบ่งแยกการคุ้มครองสำหรับตำแหน่งพระมหากษัตริย์ออกจากการคุ้มครองสำหรับตำแหน่งพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
- กำหนดโทษโดยไม่มีอัตราโทษขั้นต่ำ แต่กำหนดเพดานโทษสูงสุด
- เพิ่มเหตุยกเว้นความผิดกรณีแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต
- เพิ่มเหตุยกเว้นโทษกรณีข้อความที่กล่าวหานั้นได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นความจริง และการพิสูจน์นั้นเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
- กำหนดให้สำนักราชเลขาธิการมีอำนาจเป็นผู้กล่าวโทษเท่านั้น
อ่านต่อ