The People's Party and the Monarchy
คณะราษฎร ผู้ทำการปฏิวัติ 24 มิย 2475
เปลี่ยนแปลงการปกครองให้มีรัฐธรรมนูญ ให้มีประชาธิปไตย
คณะราษฎร มิได้ 'ล้มเจ้า'
ตามคำเล่าลือ และ ปวศ.ประดิษฐ์ใหม่
คณะราษฎร ทูลเชิญให้พระปกเกล้าฯ รัชกาลที่ 7
ทรงเปนกษัตริย์อยู่ต่อไปภายใต้รัฐธรรมนูญ 10 ธค.2475
ต่อมา ภายหลังกบฏบวรเดช 2476
รัชกาลที่ 7 เสด็จไปประทับในอังกฤษ และทรงสละราชสมบัติ
พระองค์ มิได้ทรงตั้งผู้ใดขึ้นครองราชต่อจากพระองค์
ดังนั้น นรม.พระยาพหลฯ หรือพจน์ พหลโยธิน ในขณะนั้น
ได้กราบบังคมทูลเชิญ พระองค์เจ้าอานันทฯ ที่ประทับอยู่ ณ สวิส
ขึ้นครองราชย์ เปนรัชกาลที่ 8 หรือในหลวงอานันท ฯ
สรุป
พระยาพหลฯ หัวหน้ารัฐบาลคณะราษฎร
ก้อมิได้ 'ล้มเจ้า' ตามข้อกล่าวหา และข่าวโคมลอย ครับ
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ Charnvit Kasetsiri
...
Somrit Luechai
Yesterday at 1:33 AM ·
การตอบโต้ของฝ่ายทหาร
ต่อการระลึกเหตุการณ์"24 มิ.ย.2475"ของฝ่ายประชาธิปไตย
โดยตีความใหม่การปฏิวัติครั้งนั้นนี้ว่า
"ทำรัฐประหาร ล้มราชบัลลังก์"
และชื่นชมขบวนการต่อต้านการปฏิวัติ(counter revolution)ที่นำโดยพระองค์เจ้าบวรเดชและพระยาศรีสิทธิสงคราม(ดิ่น ท่าราบ)คุณตาของท่านประธานองคมนตรีคนปัจจุบัน
ปรากฏการณ์นี้ถือว่า
เป็นการแสดงตัวตนที่ชัดเจนบนเวทีการเมืองของฝ่ายทหาร
โดยทำเป็นมองไม่เห็นว่า
1.คณะราษฎรนั้นมีแกนนำส่วนใหญ่เป็นทหาร
2.ทหารที่เป็นแกนนำนั้นล้วนเป็นปัญญาชนที่ก้าวหน้าแห่งยุค
3.อ.ปรีดี ในนามคณะราษฎร เป็นผู้ทูลเชิญพระองค์เจ้าอานันทมหิดลขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 8
ดังนั้นการ"ตีความใหม่"ในประวัติศาสตร์การเมืองครั้งนี้ว่า"ทำรัฐประหาร ล้มราชบัลลังค์"นั้น
จึงยากที่จะได้ผลในวงกว้าง
เพราะมันไม่ใช่เรื่องเหตุผลหรือความผิดความถูก
แต่เพราะมันตอบโต้ช้าไป
ช้าจนคนไม่สนว่า"ใครทำอะไร?"
เขาสนแต่ว่า"แล้วเขาจะได้อะไร?"ต่างหาก
แต่อย่างไรก็ตามการตอบโต้ของฝ่ายทหารครั้งนี้
จะได้ผลสำหรับคนที่ยังไงก็เชื่ออยู่แล้ว
เชื่อแม้ไม่เคยรู้หรือเคยเห็นก็ตาม
พวกนี้มีชื่อเรียกรวมๆว่า"สลิ่ม"
พูดง่ายๆคือการตอบโต้ครั้งนี้
เป้าหมายเพื่อ"กระชับมิตร"เสียมากกว่า
ดีครับที่ท่านหยิบเรื่อง"กบฏบวรเดช"ขึ้นมา
คนจะได้สนใจเรื่องนี้กันอีกครั้ง
หลังจากที่คนเขาลืมไปตั้งนานแล้ว
เชื่อผมเถอะครับว่า
จากนี้ไปเรื่อง"กบฏบวรเดช"จะแพร่ในโซเชียลมีเดีย
จนขี้เกียจอ่านเลยล่ะครับ