Sunai @sunaibkk
ด่วน! คณะกรรมการตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บังคับบุคคลสูญหายของยูเอ็นรับเรื่องกรณีอุ้มหาย “วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์” และได้ส่งหนังสือในนามเลขาธิการยูเอ็นจี้ให้รัฐบาลกัมพูชาสอบสวน และรายงานผลภายใน 24 มิ.ย. #saveวันเฉลิม
ด่วน! คณะกรรมการตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บังคับบุคคลสูญหายของยูเอ็นรับเรื่องกรณีอุ้มหาย “วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์” และได้ส่งหนังสือในนามเลขาธิการยูเอ็นจี้ให้รัฐบาลกัมพูชาสอบสวน และรายงานผลภายใน 24 มิ.ย. #saveวันเฉลิม
ผ่านมา 10 วันยังไม่รู้ชะตากรรม “วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์” ผู้ลี้คนไทยที่ถูกอุ้มหายที่กรุงพนมเปญ / นักศึกษาที่ทำกิจกรรม #saveวันเฉลิม ถูกจับ / คนที่ไปประท้วงหน้าสถานทูตกัมพูชาถูกตั้งข้อหาผิด พรก.ฉุกเฉิน / โปสเตอร์และงานศิลปะเกี่ยวกับ #saveวันเฉลิม ถูกเจ้าหน้าที่ทำลาย pic.twitter.com/Y8bNzeqEfU— Sunai (@sunaibkk) June 14, 2020
...เด็กระยอง ชูป้าย ถามรัฐบาลครบ 10 วันแล้ว “ตาร์ วันเฉลิม” ถูกอุ้มหาย ยังไม่คืบ! https://t.co/7rVGxQw9NV via @MatichonOnline— Matichon Online (@MatichonOnline) June 14, 2020
iLaw
16 hrs ·
“ถ้าต้องการยุติการบังคับสูญหายเราต้องมีการสร้างกลไก ไม่ว่ากลไกในประเทศเองหรือระหว่างประเทศที่จะเป็นหลักประกันว่าจะต้องไม่มีใครถูกบังคับสูญหาย ไม่ว่า คนๆนั้นจะเป็นใครก็ตาม อย่างที่เมื่อวานเราได้ยินรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศพูดว่า ใครก็ไม่รู้ไม่รู้จัก การพูดในลักษณะนี้เป็นการไม่เห็นความสำคัญ เหมือนกับมองว่า ถ้าคนที่ไม่เป็นที่รู้จักจะหายไปสักคนคงไม่มีใครเดือดร้อน ทั้งๆที่จริงๆแล้วมันเป็นความรับผิดชอบของรัฐที่ไม่ว่าใครก็ตามจะต้องไม่ถูกอุ้มหายไปเฉยๆโดยปราศจากการค้นหา กรณีสมชายก็ทราบดี พอถูกอุ้มไปแล้วนายกฯก็พูดว่า สมชายเป็นใครไม่รู้จัก ทะเลาะกับเมียมั้ง รูปข้างหลัง[ภาพของผู้ถูกบังคับสูญหายรายอื่นๆ]ก็ล้วนแล้วแต่ถูกกล่าวหาว่า ค้ายาเสพติดมั้ง บางคนก็เกี่ยวกับการก่อการร้ายในภาคใต้หรือการคอร์รัปชั่น คือคนที่ถูกอุ้มหายมักจะถูกทำให้เป็นคนไม่ดีในสายตาของรัฐ และมีคนที่พร้อมจะเชื่อและเหมือนทำให้เป็นเหตุผลว่า คนไม่ดีหายไปไม่เห็นต้องทำอะไร ไม่เห็นต้องเดือดร้อน ทั้งที่จริงแล้วรัฐควรจะคุ้มครองพลเมืองทุกคนของรัฐ ไม่ว่าเขาจะไปอยู่ที่ไหนก็ตาม ตรงนี้ไม่สามารถปัดความรับผิดชอบได้เลย และประเทศไทยพูดอยู่เสมอว่า มีเจตจำนงทางการเมืองที่จะคุ้มครองไม่ให้ใครสูญหาย มีการลงนามอนุสัญญาคนหาย พยายามที่จะร่างพ.ร.บ.ทรมาน-สูญหาย คือเขียนกฎหมายก็เขียนด้วยความกลัว กลัวว่า จะเอาผิดเจ้าหน้าที่รึป่าว กลัวไปกลัวมาก็ห้าหกปีทำอะไรไม่ได้ จนวันนี้ไม่มีกลไกอะไรในการคุ้มครอง
.
16 ปีที่ผ่านมา ไม่เคยได้ยินเจ้าหน้าที่รัฐคนใดบอกว่า จะให้ความยุติธรรม มีแต่คำพูดที่ทำให้เกิดความสิ้นหวังมากกว่า เช่นยังไงก็ไม่เจอ ทำใจเถอะ จะให้ช่วยเหลืออะไรบ้าง ทั้งที่รัฐมีความสามารถมากมายในการค้นหา แต่มันอยู่ที่ความเต็มใจที่จะทำหรือไม่ทำเท่านั้นมากกว่า ส่วนตัวผิดหวังมากอย่างเมื่อวานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมาบอกว่า วันเฉลิมไม่เคยมาขอความช่วยเหลือ จะให้เขาขออะไร จะให้ไปคุ้มครองพยานหรือขอกองทุนยุติธรรมเขาคงไม่ขอ แต่ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมให้ความหวังหน่อยได้ไหม ทำอย่างไรที่จะให้ความเป็นธรรมกับพลเมืองไทยไม่ว่าเขาจะไปอยู่ที่ไหน ประสานความร่วมมือกับต่างประเทศได้ไหม
.
ในเรื่องของการสูญหาย ทันทีที่รับรู้แล้วจะต้องมีการติดตามหาตัว ประเทศกัมพูชาให้สัตยาบันเรื่องผู้ลี้ภัยปี 1951 หลังการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชา กัมพูชาให้สัตยาบันอนุสัญญาระหว่างประเทศเยอะมาก เพราะฉะนั้นกลไกเหล่านี้มันมีขึ้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นผู้ลี้ภัยหรือไม่เป็นก็แล้วแต่ คนที่หนีภัยไม่ว่า จะเป็นภัยการสู้รบ ภัยความอดอยากก็แล้วแต่ เมื่อหนีภัยเข้าไปในประเทศไหน ประเทศนั้นจะต้องมีหลักประกันว่า จะไม่ทำให้ผู้ลี้ภัยไปอยู่ในอันตราย ตรงนี้คือหลักสากล ประเทศไทยให้สัตยาบันอนุสัญญาทรมาน ลงนามอนุสัญญาคนหาย และกัมพูชามีความผูกพันที่ชัดมาก เมื่อไหร่ที่รู้ข่าวก็ต้องเริ่มดำเนินการสืบสวนสอบสวน ไม่ใช่มาถึงวันนี้มานั่งถามว่าได้ไปแจ้งความหรือยัง ซึ่งโดยเฉพาะในสถานการณ์โควิดแบบนี้ ถามว่าคุณปิดประเทศ ยิ่งสถานการณ์แบบนี้ใครจะสามารถทำได้ ถ้ารัฐไม่ทำ เรื่องแบบนี้อยู่ที่ความเต็มใจหรือไม่เต็มใจเป็นประเด็นสำคัญ ไม่ใช่หายไปแล้วบอกว่า เป็นคนไม่ดี เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ประเทศไทยมี [พรรคการเมือง] ที่มีนโยบายกัญชาเสรี แต่พอมาวันนี้บอกกัญชาไม่ดีไปแล้ว ในฐานะที่วันเฉลิมเป็นคนไทยประเทศไทยต้องดำเนินทุกวิถีทางในการสอบสวน กัมพูชาจะต้องสอบสวนเช่นกัน ที่ผ่านมามีหลายคดีเวลาที่เกิดเหตุในประเทศไทยเป็นกรณีของคนต่างชาติ สถานทูตจะประสานความร่วมมือ ไม่ใช่การแทรกแซง อาจจะให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค ซึ่งทำได้อยู่แล้ว ทุกประเทศที่รับรู้ ยินดีที่จะให้ความช่วยเหลือ
.
ในความเป็นครอบครัวต้องใช้ความอดทนแบบทนทายาด ทนจนไม่รู้จะทนอย่างไร อย่างที่บอกว่า มีคำเตือนแบบหวังดีแต่ทำให้เรารู้สึกไม่ปลอดภัยมีประจำเลย ระวังนะจะถูกอุ้มหายไปอีกคนก็มี บางทีก็มีเจ้าหน้าที่ไปเยี่ยมที่บ้าน คนเตือนมานะ มีอะไรอยากจะให้ช่วยก็บอก...การที่จะผ่านมามายืนพูดมันไม่ใช่ทุกคนจะทำได้...การต่อสู้เรื่องการบังคับสูญหายมันใช้เวลานานมาก ชั่วชีวิตเราอาจจะไม่ทราบความจริง แต่หวังว่าจะมีคนรุ่นใหม่ๆที่พร้อมจะเรียกร้องความเป็นธรรมจากทุกคน
.
ในส่วนของครอบครัว สิ่งหนึ่งที่พูดมาตลอดสิบกว่าปีคือเรื่องของการบังคับสูญหาย เป็นเรื่องของการสร้างความคลุมเครือโดยรัฐ ความคลุมเครือระหว่างการมีชีวิตอยู่กับการไม่มีชีวิต มันเหมือนคำสาปที่ครอบครัวต้องเผชิญทุกวัน วันหนึ่งอาจมีคนมาบอกว่า เจอคนหายที่นั่นที่นี อีกวันนึงบอกว่าเขาตายไปแล้ว อารมณ์และจิตใจของครอบครัวจะอยู่กับความไม่มั่นคง นอกจากนี้คนที่หายตัวไป ยังถูกทำให้เป็นคนไม่ดี ไม่มีคุณค่า เป็นคนที่ไม่ควรมีคนใส่ใจ สร้างความเศร้าสะเทือนใจให้หลายคนที่มีชีวิตอยู่อย่างมาก คิดว่าเป็นการกระทำที่โหดร้ายทารุณมากเลย
.
สิ่งหนึ่งที่เราเรียกร้องมาตลอดคือ การเยียวยาที่ไม่ใช่การจ่ายเงินอย่างเดียว แต่หมายถึงกระบวนการด้านความยุติธรรม การคืนความเป็นธรรม การคืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การมีหลักประกันว่า จะไม่มีใครถูกทำให้สูญหายอีก ในไทยเรื่องของการเยียวยาการบังคับสูญหายครั้งแรกและครั้งเดียวที่มีการยอมรับว่า บังคับสูญหายที่เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐจริงและมีการชดเชยครอบครัวในชายแดนใต้ แต่ไม่ได้ครอบคลุมทั่วประเทศ อีกประการหนึ่งคือ อนุสัญญาคนหายของสหประชาชาติ ให้ความสำคัญกับเหยื่อและครอบครัวมาก ครอบครัวมีส่วนร่วมในการร่างกฎหมาย มีส่วนร่วมในการเข้าเป็นกรรมการในการสืบหาความจริง แต่ในร่างกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม คณะกรรมการประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานรัฐแทบจะทุกหน่วยงาน อาจจะมีชื่อของคนทำงานสิทธิมนุษยชน กีดกันครอบครัวในการร่วมร่างกฎหมายและมีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการ หวังว่า หากนำพ.ร.บ.เข้าสู่สภา ญาติคนหายควรจะมีส่วนร่วมเข้าไปเป็นกรรมาธิการวิสามัญในการพิจารณาร่างกฎหมาย ไม่มีใครที่จะเข้าใจปัญหาของการบังคับสูญหายได้เท่ากับคนที่อยู่ในครอบครัวที่ต้องเผชิญกับสิ่งเหล่านี้
.
ในส่วนของคดี เฉพาะกรณีสมชาย นีละไพจิตร กรมสอบสวนคดีพิเศษงดการสอบสวนไปแล้ว ด้วยเหตุผลว่า จะมีผลต่อตัวชี้วัดของกรมสอบสวนคดีพิเศษ และบอกว่า หากมีหลักฐานอะไรให้ส่งมา อยากจะเรียนให้ทราบว่า ทุกวันนี้การพยายามมีชีวิตอยู่ยังยากเลย การต้องเผชิญการคุกคามอยู่ทุกวันยังเอาตัวรอดได้ยากเลย อย่าว่าแต่ไปหาพยานหลักฐานที่ไหนเลย สุดท้ายอยากจะขอให้กำลังใจทุกครอบครัว ชีวิตนับแต่นี้ไป ถ้าหากว่า คุณต้องอยู่ในครอบครัวที่มีการบังคับสูญหายชีวิตมันจะไม่ปกติ เราต้องอยู่กับการคุกคาม ถูกให้ร้ายป้ายสี เรื่อง Cyber Bullying และไอโอเป็นเรื่องปกติ อยากจะเรียกร้องสังคมให้ยืนอยู่ข้างครอบครัวของผู้สูญหายในการเรียกร้องความเป็นธรรม ไม่อยากให้ปัดความรับผิดชอบมาที่ครอบครัวอย่างเดียวเนื่องจากปัญหาการบังคับสูญหายเป็นปัญหาความรุนแรงเชิงโครงสร้างของสังคมและกรณีที่เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ จำเป็นที่ต้องสืบสวนสอบสวนจนกว่าจะทราบข้อเท็จจริง...”
.
.
อังคณา นีละไพจิตร อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในงาน "ตามหาวันเฉลิม: ตามหาหลักประกันความปลอดภัยของประชาชนจากการถูกบังคับสูญหาย (และทรมาน)" เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2563