วันอังคาร, สิงหาคม 14, 2561

ไหงไปคนละทางล่ะ มุมมองการเมืองก่อนเลือกตั้งของสองแม่ทัพภาค


เรื่องทหารกับการเมือง (ยุคหัวหน้ารัฐประหารเปลี่ยนผ่านไปสู่นักการเมืองที่เคยเป็นทหาร) นี่ ถ้าถามแม่ทัพภาคสี่ก็ตอบอย่าง พอมาถึงภาคสอง มีคนตอบแทนให้อีกอย่าง

เมื่ออาทิตย์ที่แล้วนี่เอง (๘ สิงหา) พล.ท.ปิยวัฒน์ นาควานิช แม่ทัพภาคที่ ในฐานะผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (กกล.รส.ทภ.) ให้สัมภาษณ์ถึงการเคลื่อนไหวทางการเมืองในภาคใต้ว่า เริ่มคึกคักขึ้น

ทั้งนี้ ทางทหารเราจะพยายามดูแลสถานการณ์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีความสงบ แต่ถ้านักการเมืองกลุ่มใดก็ตาม หากถูกคุกคามหรือมีอะไรต่างๆ เกิดขึ้น ก็สามารถร้องขอให้เราไปช่วยเหลือได้

แม่ทัพภาคสี่ยังย้ำด้วยว่า “กองทัพภาคที่ จะไม่ไปเดินตามหลังนักการเมือง เพราะเราเป็นกลางทางการเมือง” เผื่อใครไม่ทราบภาคสี่อยู่ตรงไหน ก็ภาคใต้ โดยเฉพาะพื้นที่คุกรุ่นชายแดนติดมาเลเซีย คือนราธิวาส ปัตตานี และยะลา

นักข่าวถามถึงการเคลื่อนไหวของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่สมัยเมื่อ กปปส. ชนะแล้วเพราะกวักมือเรียกทหารเข้ามายึดอำนาจได้สำเร็จ เคยประกาศว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวการเมืองอีกต่อไป แม้ขณะบวช จนหลังจาก คสช.กระชับอำนาจแน่นเหนียวดีแล้วจึงสึก

มาบัดนี้ สุเทือก เป็นตัวการสำคัญจัดตั้งพรรค รปช. ขึ้นมาเพื่อสนับสนุนให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้กลับมาเป็นนายกฯ อีกครั้งหลังมีเลือกตั้ง แต่ก็ออกตัวว่าจะไม่รับตำแหน่งใดๆ ในพรรค ไม่ลงสมัคร ส.ส. โดยให้ มรว.จตุมงคล โสณกุล เป็นหัวหน้าพรรค

แต่สุเทือกก็ปาวารณาว่าจะลงสนามปราศรัยหาเสียงให้แก่พรรคอย่างเต็มที่ โดยจะเริ่มนำขบวนคาราวานลงพื้นที่พบปะประชาชนในเดือนนี้ นักข่าวจึงถามพล.ท.ปิยวัฒน์ว่า อย่างนี้จะผิดต่อ พรป.พรรคการเมืองไหม

ผมไม่อยากจะไปเตือนอะไรกับใครว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไรตามกรอบกฎหมายหรือไม่ เพราะพวกนักการเมืองย่อมรู้หลักกฎหมายดีกว่าผมเสียอีก” แม่ทัพภาคสี่ตอบแบบคลุมๆ ไม่เอ่ยชื่อใคร ก็ยังไม่วายเน้นเล็กน้อย

“ขอย้ำว่าทุกคนต้องปฏิบัติตามกรอบกฎหมายเดียวกัน เพราะนโยบายของผมจะใช้การเมืองนำ ทหารตาม การเมืองขยาย แต่ถ้าใครก็ตามที่กระทำผิดกฎหมาย ผมก็จะจับหมด ถ้าไม่ผิดก็ทำไป”


สำหรับแม่ทัพภาค ๒ อันเป็นเขตอีสานที่มีกลุ่มการเมืองซึ่งสนับสนุนให้ประยุทธ์ได้เป็นนายกฯ อีกสมัยหนึ่ง กำลังดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งพรรคอย่างทางการ ใช้ชื่อ พลังประชารัฐแกนนำชวนกันออกเดินสายพบนักการเมืองท้องถิ่นพรรคเก่าหลายคน จนได้ฉายาว่านัก ดูด

นั้นถูกนายดร งามธุระ ที่ปรึกษากฎหมายของกลุ่มสามมิตร นำชื่อไปอ้างอิงและพูดแทนว่า “เป็นเรื่องปกติที่นักการเมืองในพื้นที่ต้องมีการพบปะกันทุกฝ่ายอยู่แล้ว...ไม่ว่าจะไปกี่กลุ่มกี่คนก็ทำได้ทั้งนั้น เพราะไม่ได้ไปทำผิดกฎหมาย ไปเสริมสร้างให้คนรักกัน ชอบกัน

นัยว่าเข้าทางสามมิตรพอดี ไม่เช่นนั้นก็เป็นการขอยืมชื่อ พล.ท.ธรากร ธรรมวินทร ในฐานะผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย กองทัพภาคที่ (กกล.รส.ทภ.) มาใช้อ้างว่าการไปชวนอดีต ส.ส.พรรคต่างๆ มาเข้าร่วมพลังประชารัฐ

เป็นเพียงการไปพบปะพี่น้องประชาชน และสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลให้เกิดความปรองดองของคนในชาติ ทำให้คนไทยรักกัน ไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย จึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด”

อีกทั้งอ้างว่า “กิจกรรมของกลุ่มสามมิตร จึงอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายทุกประการ ซึ่งหากนายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต.หรือ คสช.มีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมอย่างใดแล้ว ทางกลุ่มสามมิตรพร้อมไปให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์


ไม่แจ้งชัดว่าที่ปรึกษากฎหมายของกลุ่มสามมิตรสามารถอ้างคำพูดยัดปากแม่ทัพภาค ๒ ได้เช่นนั้นจริง หรือเพียงเพราะกลุ่มสามมิตรเส้นใหญ่ (สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ สมศักดิ์ เทพสุทิน และสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) ชนิดสั่งแม่ทัพภาคได้

แต่แน่ๆ ว่าเมื่อมาถึงการเมืองที่แบ่งพรรคแบ่งพวก แบ่งขั้วจะแจ้ง กลุ่มเรียกร้องการเลือกตั้ง เรียกร้องประชาธิปไตยจะถูกทหารชุดพรางไปเยี่ยมถึงบ้าน ส่วนกลุ่มที่ออกตัวแรงสนับสนุน คสช. ทำกิจกรรมการเมืองอย่างไร จะถูกเอาหูไปนาเอาตาไปไร่
 
การเดินสายพบประชาชนเพื่อค้นหาทางออกในการแก้ไขปัญหาประเทศด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน ของ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และปิยบุตร แสงกนกกุล แห่งพรรคอนาคตใหม่ เจอเข้ากับการฟ้องร้องและเพ่งเล็งของ คสช. ไปแล้วหลายคดี

ในขณะที่การเดินสายทาบทามอดีต ส.ส. ท้องถิ่น โดยกลุ่มสามมิตร กลาย “เป็นเพียงแต่ไปรับฟังปัญหาของชาวบ้าน” และ “สนับสนุนแนวทางการทำงานของรัฐบาลที่ต้องการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน” จนกลายเป็นภารกิจใหม่

เช่น การเสนอแยก อ.บัวใหญ่ ออกเป็นจังหวัด และขอขึ้นเงินเดือนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนันและแพทย์ประจำตำบล เหล่านี้ไฉน คสช.ไม่ให้ทหารลงไปทำเองเหมือนที่ไปก่อกวนพวกชาวบ้านเห็นต่างบ้างล่ะ