อ่านคนสาปแช่งให้ อ. สมศักดิ์ืเจียมตายเร็วๆแล้วก็นึกขึ้นได้ว่า ความเกลียดชังทางการเมืองนั้นแก้ยากยิ่งกว่าการขจัดเผด็จการ และเผด็จการก็อยู่ได้เพราะความเกลียดชังทางการเมืองที่แบ่งแยกประชาชน #ป #ความเกลียดชัง #สมศักดิ์เจียม
Political hatred in Thailand is such that the news of exiled arch critic of monarchy, Somsak Jeamteerasakul, suffering from a stroke is greeted with schadenfreude. Political hatred divides the people and enable the junta to stay on in power. #Thailand #somsak #LM
Pravit Rojanaphruk
...
อัฟเดทข่าวดี สศจ. อาการดีขึ้น และพูดชัดขึ้นแล้ว แต่ยังพักฟื้นอยู่ รพ.
หมอบอกว่า หาย ฟื้นฟูได้
มิตรในปารีส
อัพเดท -- อาจารย์สมศักดิ์อยู่โรงพยาบาล ได้รับการดูแลอย่างดี อยู่ในช่วงพักฟื้น ตอนนี้ครอบครัวขอให้อาจารย์ได้พักผ่อน ขอบคุณทุกกำลังใจและความห่วงใย -- ครับ
Pavin Chachavalpongpun
...
คิดถึงอาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล: ผู้มิใช่ 'อาชญากร' ที่ต้องหลบซ่อน
2014-07-03
สุรพศ ทวีศักดิ์
ที่มา ประชาไท
ตั้งแต่ประกาศกฎอัยการศึก และเกิดรัฐประหาร ผมไม่ทราบข่าวคราวเกี่ยวกับอาจารย์สมศักดิ์อีกเลย ตอนไปรายงานตัวเมื่อวันที่ 24 พ.ค. เจ้าหน้าที่สอบปากคำถามผมว่า “ทำไมคุณจึงฝักใฝ่ความคิดอาจารย์สมศักดิ์ มีการเขียนอ้างความคิดอาจารย์สมศักดิ์ โพสต์แสดงความเห็นท้ายบทความ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน คุณไม่รู้หรือว่าสมศักดิ์เป็นพวก...”
ผมตอบไปว่า “เท่าที่ผมทราบ อาจารย์สมศักดิ์ก็แสดงความเห็นบนจุดยืนประชาธิปไตยที่มีสถาบันกษัตริย์นะครับ แต่เขาเห็นว่าควรเป็นแบบอังกฤษหรือบางประเทศในยุโรป” เจ้าหน้าที่แย้งทันทีว่า “ที่นี่เมืองไทย ไม่ใช่ฝรั่ง เมืองไทยต้องเป็นแบบไทยเท่านั้นจะเป็นแบบอังกฤษหรือที่ไหนไม่ได้...” จากนั้น ผมก็นั่งฟังเจ้าหน้าที่พูดเป็นส่วนใหญ่ ตอบคำถามเท่าที่จำเป็น
หลังออกมาจากห้องสอบปากคำ ผมนึกในใจว่าจริง ๆ แล้วเรื่องราวทั้งหมดที่คุยกันเมื่อครู่นี้ เป็นแค่เรื่องที่เราคิดต่างกันเท่านั้นเอง เจ้าหน้าที่รัฐมองอีกมุมหนึ่ง นักวิชาการมองอีกมุมหนึ่ง การมองต่างมุมของนักวิชาการไม่อาจเป็นเหตุที่จะทำให้เขากลายเป็น “อาชญากร” แต่อย่างใด
สิ่งที่นักวิชาการ (เช่น อ.สมศักดิ์ เป็นต้น) พยายามทำคือ การนำเรื่องที่คนเห็นต่างกันขึ้นมาพูดคุยกัน “บนเวทีของเหตุผล” เพราะนี่คือ “ความรับผิดชอบ” ของการเป็น “นักวิชาการ” เนื่องจากเราเชื่อว่า ปัญหาขัดแย้งทางความคิดสามารถแก้ได้ด้วยหลักเหตุผล หลักวิชาการ การพูดกันด้วยเหตุผลจึงเป็นพลังสำคัญของสังคมอารยะในการแก้ปัญหาความเห็นต่างอย่างสันติวิธี
สังคมอารยะทุกแห่งบนโลกใบนี้ ล้วนแต่ประจักษ์ด้วยตนเองแล้วทั้งนั้นว่า พลังของเหตุผลและปัญญาทำให้สังคมของเขามีความก้าวหน้าทุกด้าน แต่เหตุผลและปัญญาจะมีพลังทำให้สังคมก้าวหน้าได้จริง ต้องทำให้สังคมหลุดพ้นจากการถูกครอบงำทางความความคิดเสียก่อน นี่คือเหตุผลสำคัญของการเกิด “ยุคสว่าง (Enlightenment)” ในยุโรป
ยุคสว่างเป็นคำเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างจาก “ยุคมืด (Dark Age)” ที่อำนาจรัฐและศาสนจักรครอบงำทางความคิดของผู้คน ด้วยการสร้างศีลธรรมที่เน้น “ศรัทธา ภักดี เชื่อฟัง และทำตาม” ทำให้คนไม่กล้าคิดอย่างเป็นตัวของตัวเอง ไม่เชื่อมั่นว่าตนเองมีความสามารถที่จะใช้เหตุผลและปัญญาของตัวเองแก้ปัญหาต่าง ๆ ทางสังคมการเมืองได้ ต้องรอให้ผู้มีอำนาจมาจัดการให้ เนื่องจากการคิดต่างหรือขัดแย้งกับความเชื่อทางศาสนา ทำให้พวกเขากลายเป็น “นักโทษทางความคิด” ถูกล่าแม่มด แขวนคอ เผาทั้งเป็นต่อหน้าสาธารณชน ยุคสว่างจึงเป็นยุคที่ปลดปล่อยผู้คนให้หลุดออกมาจาก “ความไม่มีวุฒิภาวะ” เช่นนั้น ให้กลายเป็นผู้ที่มีวุฒิภาวะที่เชื่อมั่นในสติปัญญาของตัวเอง “จงกล้าคิด! จงกล้าใช้ความคิด ใช้ความเข้าใจของตัวเอง!” จึงเป็นคำขวัญที่มีพลังปลุกจิตสำนึกของผู้คนให้ตื่นขึ้น หรือ “ตาสว่าง” ขึ้นในยุคสว่าง
บางทีก็มีการให้ความหมายของยุคสว่างว่า เป็นยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านสู่ “ความเป็นสมัยใหม่ (modernity)” อาจารย์สมศักดิ์เคยอภิปรายในที่เสวนาแห่งหนึ่งว่า “ไอเดียสำคัญของความเป็นสมัยใหม่คือ การเน้น individuality หรือความเป็นปัจเจกบุคคลที่มีสิทธิ เสรีภาพ มีอำนาจในการกำหนดตัวเอง” ก่อนหน้านั้นอำนาจอยู่ที่ศาสนาหรือรัฐ เป้าหมายชีวิต ศีลธรรม ความดี หรืออะไรถูก ผิด เป็นสิ่งที่ศาสนาหรือรัฐให้มา หรือกำหนดให้เราเชื่อและทำตามเอาไว้ล่วงหน้า แต่นักปรัชญาที่เป็นผู้สนับสนุนสำคัญให้เกิดแสงสว่างทางปัญญา เช่น ค้านท์ (Immanuel Kant) โต้แย้งว่า คำสอนหรือกฎต่าง ๆ ที่กำหนดเอาไว้ล่วงหน้าให้เราทำตามนั้นไม่ใช่ศีลธรรม แต่ศีลธรรมต้องเกิดจากปัจเจกแต่ละคนใช้เหตุผลอย่างอิสระ กำหนดหลักการที่ถูกต้องขึ้นมาด้วยตัวเองเท่านั้น
เสรีภาพตามทัศนะของค้านท์ จึงหมายถึง “เสรีภาพในการกำหนดตัวเอง” คือการที่ปัจเจกบุคคลใช้เหตุผลของตนเองอย่างเป็นอิสระจากอิทธิพลครอบงำของศาสนาหรือรัฐ ตัดสินใจด้วยตัวเองได้ว่า อะไรถูก หรือผิด และปกครองตัวเองได้ในทางศีลธรรม ซึ่งสอดคล้องกับความคิดของรุสโซ (Jean Jacques Reusseau) ที่ถือว่า ประชาชนมีเสรีภาพของเจตจำนงปกครองตัวเองได้ในทางสังคมการเมือง ปัญญาชนในยุคสว่างแม้อาจคิดต่างกันในหลายเรื่อง แต่ที่ตรงกันคือพวกเขาต่างยืนยัน “individuality หรือความเป็นปัจเจกบุคคลที่มีสิทธิ เสรีภาพ มีอำนาจในการกำหนดตัวเอง”
ผมเข้าใจว่า “ความคิดหลัก (general idea)” ที่เป็นฐานในการแสดงความเห็น หรือวิพากษ์วิจารณ์สังคมการเมืองไทยของอาจารย์สมศักดิ์ ก็คือการยืนยัน “individuality หรือความเป็นปัจเจกบุคคลที่มีสิทธิ เสรีภาพ มีอำนาจในการกำหนดตัวเอง” ดังกล่าว ระยะหลังจะเห็นว่า อาจารย์สมศักดิ์วิจารณ์ทั้งสองฝ่าย (ทั้ง กปปส. - นปช.) มากขึ้น จนมีเสื้อแดงบางคนไปตั้งคำถามในเฟซบุ๊คของอาจารย์ว่า ตกลงอาจารย์มีจุดยืนอยู่ฝ่ายไหนกันแน่ คำตอบที่อาจารย์สมศักดิ์ตอบก็คือ เขาวิพากษ์ทุกฝ่ายบน “หลักการ” ที่มีอยู่ก่อน (ที่จะมีกลุ่มต่าง ๆ เกิดขึ้น) นั่นคือ หลักการเสรีประชาธิปไตย ที่อาจยกตัวอย่างได้ว่าคือ “เสรีประชาธิปไตยแบบอังกฤษ หรือสหรัฐฯ”
ผมคิดและเชื่อมั่นว่า ความคิดแบบอาจารย์สมศักดิ์ไม่ได้เป็นอันตรายใด ๆ ต่อรัฐ หรือสังคมการเมืองไทยสมัยใหม่ ตรงกันข้ามสังคมไทยจำเป็นต้องมีนักวิชาการที่ชัดเจนในหลักการ และกล้ายอมเจ็บตัวตั้งคำถามวิพากษ์วิจารณ์ทุกฝ่าย ทุกอำนาจ แม้กระทั่งเพื่อนในแวดวงนักวิชาการด้วยกันอย่างตรงไปตรงมาเช่นนี้ เพราะการทำหน้าที่เช่นนี้ของนักวิชาการ จำเป็นต่อการสร้างพลังเหตุผลและปัญญา เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมไทยให้เป็นสังคมอารยะประชาธิปไตยอย่างสันติวิธี
แต่วันนี้ ไม่มีอาจารย์สมศักดิ์ ไม่ทราบข่าวคราวสารทุกข์สุกดิบ บอกตามตรงว่าผมคิดถึง และเชื่อว่าการคิดถึงอาจารย์สมศักดิ์ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร
ปัญญาชนไม่มีปืน มีเพียงความคิดและปากกาเป็นอาวุธ เขาไม่มีอำนาจบังคับใครให้ยอมรับหรือเชื่อในความคิดที่เขาเสนอได้ แต่เขาเสนอความคิดทุกอย่างสู่สาธารณะ ด้วยสำนึกเคารพเสรีภาพ และสติปัญญาของประชาชนที่มีวิจารณญาณของตัวเอง เขาจึงไม่ใช่ “อาชญากร” ที่ต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างหลบ ๆ ซ่อน ๆ ในโลกยุคศตวรรษที่ 21 แต่อย่างใด
สุรพศ ทวีศักดิ์
ที่มา ประชาไท
ตั้งแต่ประกาศกฎอัยการศึก และเกิดรัฐประหาร ผมไม่ทราบข่าวคราวเกี่ยวกับอาจารย์สมศักดิ์อีกเลย ตอนไปรายงานตัวเมื่อวันที่ 24 พ.ค. เจ้าหน้าที่สอบปากคำถามผมว่า “ทำไมคุณจึงฝักใฝ่ความคิดอาจารย์สมศักดิ์ มีการเขียนอ้างความคิดอาจารย์สมศักดิ์ โพสต์แสดงความเห็นท้ายบทความ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน คุณไม่รู้หรือว่าสมศักดิ์เป็นพวก...”
ผมตอบไปว่า “เท่าที่ผมทราบ อาจารย์สมศักดิ์ก็แสดงความเห็นบนจุดยืนประชาธิปไตยที่มีสถาบันกษัตริย์นะครับ แต่เขาเห็นว่าควรเป็นแบบอังกฤษหรือบางประเทศในยุโรป” เจ้าหน้าที่แย้งทันทีว่า “ที่นี่เมืองไทย ไม่ใช่ฝรั่ง เมืองไทยต้องเป็นแบบไทยเท่านั้นจะเป็นแบบอังกฤษหรือที่ไหนไม่ได้...” จากนั้น ผมก็นั่งฟังเจ้าหน้าที่พูดเป็นส่วนใหญ่ ตอบคำถามเท่าที่จำเป็น
หลังออกมาจากห้องสอบปากคำ ผมนึกในใจว่าจริง ๆ แล้วเรื่องราวทั้งหมดที่คุยกันเมื่อครู่นี้ เป็นแค่เรื่องที่เราคิดต่างกันเท่านั้นเอง เจ้าหน้าที่รัฐมองอีกมุมหนึ่ง นักวิชาการมองอีกมุมหนึ่ง การมองต่างมุมของนักวิชาการไม่อาจเป็นเหตุที่จะทำให้เขากลายเป็น “อาชญากร” แต่อย่างใด
สิ่งที่นักวิชาการ (เช่น อ.สมศักดิ์ เป็นต้น) พยายามทำคือ การนำเรื่องที่คนเห็นต่างกันขึ้นมาพูดคุยกัน “บนเวทีของเหตุผล” เพราะนี่คือ “ความรับผิดชอบ” ของการเป็น “นักวิชาการ” เนื่องจากเราเชื่อว่า ปัญหาขัดแย้งทางความคิดสามารถแก้ได้ด้วยหลักเหตุผล หลักวิชาการ การพูดกันด้วยเหตุผลจึงเป็นพลังสำคัญของสังคมอารยะในการแก้ปัญหาความเห็นต่างอย่างสันติวิธี
สังคมอารยะทุกแห่งบนโลกใบนี้ ล้วนแต่ประจักษ์ด้วยตนเองแล้วทั้งนั้นว่า พลังของเหตุผลและปัญญาทำให้สังคมของเขามีความก้าวหน้าทุกด้าน แต่เหตุผลและปัญญาจะมีพลังทำให้สังคมก้าวหน้าได้จริง ต้องทำให้สังคมหลุดพ้นจากการถูกครอบงำทางความความคิดเสียก่อน นี่คือเหตุผลสำคัญของการเกิด “ยุคสว่าง (Enlightenment)” ในยุโรป
ยุคสว่างเป็นคำเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างจาก “ยุคมืด (Dark Age)” ที่อำนาจรัฐและศาสนจักรครอบงำทางความคิดของผู้คน ด้วยการสร้างศีลธรรมที่เน้น “ศรัทธา ภักดี เชื่อฟัง และทำตาม” ทำให้คนไม่กล้าคิดอย่างเป็นตัวของตัวเอง ไม่เชื่อมั่นว่าตนเองมีความสามารถที่จะใช้เหตุผลและปัญญาของตัวเองแก้ปัญหาต่าง ๆ ทางสังคมการเมืองได้ ต้องรอให้ผู้มีอำนาจมาจัดการให้ เนื่องจากการคิดต่างหรือขัดแย้งกับความเชื่อทางศาสนา ทำให้พวกเขากลายเป็น “นักโทษทางความคิด” ถูกล่าแม่มด แขวนคอ เผาทั้งเป็นต่อหน้าสาธารณชน ยุคสว่างจึงเป็นยุคที่ปลดปล่อยผู้คนให้หลุดออกมาจาก “ความไม่มีวุฒิภาวะ” เช่นนั้น ให้กลายเป็นผู้ที่มีวุฒิภาวะที่เชื่อมั่นในสติปัญญาของตัวเอง “จงกล้าคิด! จงกล้าใช้ความคิด ใช้ความเข้าใจของตัวเอง!” จึงเป็นคำขวัญที่มีพลังปลุกจิตสำนึกของผู้คนให้ตื่นขึ้น หรือ “ตาสว่าง” ขึ้นในยุคสว่าง
บางทีก็มีการให้ความหมายของยุคสว่างว่า เป็นยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านสู่ “ความเป็นสมัยใหม่ (modernity)” อาจารย์สมศักดิ์เคยอภิปรายในที่เสวนาแห่งหนึ่งว่า “ไอเดียสำคัญของความเป็นสมัยใหม่คือ การเน้น individuality หรือความเป็นปัจเจกบุคคลที่มีสิทธิ เสรีภาพ มีอำนาจในการกำหนดตัวเอง” ก่อนหน้านั้นอำนาจอยู่ที่ศาสนาหรือรัฐ เป้าหมายชีวิต ศีลธรรม ความดี หรืออะไรถูก ผิด เป็นสิ่งที่ศาสนาหรือรัฐให้มา หรือกำหนดให้เราเชื่อและทำตามเอาไว้ล่วงหน้า แต่นักปรัชญาที่เป็นผู้สนับสนุนสำคัญให้เกิดแสงสว่างทางปัญญา เช่น ค้านท์ (Immanuel Kant) โต้แย้งว่า คำสอนหรือกฎต่าง ๆ ที่กำหนดเอาไว้ล่วงหน้าให้เราทำตามนั้นไม่ใช่ศีลธรรม แต่ศีลธรรมต้องเกิดจากปัจเจกแต่ละคนใช้เหตุผลอย่างอิสระ กำหนดหลักการที่ถูกต้องขึ้นมาด้วยตัวเองเท่านั้น
เสรีภาพตามทัศนะของค้านท์ จึงหมายถึง “เสรีภาพในการกำหนดตัวเอง” คือการที่ปัจเจกบุคคลใช้เหตุผลของตนเองอย่างเป็นอิสระจากอิทธิพลครอบงำของศาสนาหรือรัฐ ตัดสินใจด้วยตัวเองได้ว่า อะไรถูก หรือผิด และปกครองตัวเองได้ในทางศีลธรรม ซึ่งสอดคล้องกับความคิดของรุสโซ (Jean Jacques Reusseau) ที่ถือว่า ประชาชนมีเสรีภาพของเจตจำนงปกครองตัวเองได้ในทางสังคมการเมือง ปัญญาชนในยุคสว่างแม้อาจคิดต่างกันในหลายเรื่อง แต่ที่ตรงกันคือพวกเขาต่างยืนยัน “individuality หรือความเป็นปัจเจกบุคคลที่มีสิทธิ เสรีภาพ มีอำนาจในการกำหนดตัวเอง”
ผมเข้าใจว่า “ความคิดหลัก (general idea)” ที่เป็นฐานในการแสดงความเห็น หรือวิพากษ์วิจารณ์สังคมการเมืองไทยของอาจารย์สมศักดิ์ ก็คือการยืนยัน “individuality หรือความเป็นปัจเจกบุคคลที่มีสิทธิ เสรีภาพ มีอำนาจในการกำหนดตัวเอง” ดังกล่าว ระยะหลังจะเห็นว่า อาจารย์สมศักดิ์วิจารณ์ทั้งสองฝ่าย (ทั้ง กปปส. - นปช.) มากขึ้น จนมีเสื้อแดงบางคนไปตั้งคำถามในเฟซบุ๊คของอาจารย์ว่า ตกลงอาจารย์มีจุดยืนอยู่ฝ่ายไหนกันแน่ คำตอบที่อาจารย์สมศักดิ์ตอบก็คือ เขาวิพากษ์ทุกฝ่ายบน “หลักการ” ที่มีอยู่ก่อน (ที่จะมีกลุ่มต่าง ๆ เกิดขึ้น) นั่นคือ หลักการเสรีประชาธิปไตย ที่อาจยกตัวอย่างได้ว่าคือ “เสรีประชาธิปไตยแบบอังกฤษ หรือสหรัฐฯ”
ผมคิดและเชื่อมั่นว่า ความคิดแบบอาจารย์สมศักดิ์ไม่ได้เป็นอันตรายใด ๆ ต่อรัฐ หรือสังคมการเมืองไทยสมัยใหม่ ตรงกันข้ามสังคมไทยจำเป็นต้องมีนักวิชาการที่ชัดเจนในหลักการ และกล้ายอมเจ็บตัวตั้งคำถามวิพากษ์วิจารณ์ทุกฝ่าย ทุกอำนาจ แม้กระทั่งเพื่อนในแวดวงนักวิชาการด้วยกันอย่างตรงไปตรงมาเช่นนี้ เพราะการทำหน้าที่เช่นนี้ของนักวิชาการ จำเป็นต่อการสร้างพลังเหตุผลและปัญญา เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมไทยให้เป็นสังคมอารยะประชาธิปไตยอย่างสันติวิธี
แต่วันนี้ ไม่มีอาจารย์สมศักดิ์ ไม่ทราบข่าวคราวสารทุกข์สุกดิบ บอกตามตรงว่าผมคิดถึง และเชื่อว่าการคิดถึงอาจารย์สมศักดิ์ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร
ปัญญาชนไม่มีปืน มีเพียงความคิดและปากกาเป็นอาวุธ เขาไม่มีอำนาจบังคับใครให้ยอมรับหรือเชื่อในความคิดที่เขาเสนอได้ แต่เขาเสนอความคิดทุกอย่างสู่สาธารณะ ด้วยสำนึกเคารพเสรีภาพ และสติปัญญาของประชาชนที่มีวิจารณญาณของตัวเอง เขาจึงไม่ใช่ “อาชญากร” ที่ต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างหลบ ๆ ซ่อน ๆ ในโลกยุคศตวรรษที่ 21 แต่อย่างใด