ของแพง ตังค์ไม่พอ คนไทย เครียดพุ่ง! เบื่อหน่าย ไม่มีความสุข
โดย ไทยรัฐออนไลน์
24 ส.ค. 2561
คนไทยทุกเพศทุกวัยเครียดพุ่ง กุ้มใจปัญหาเศรษฐกิจการเงินมากสุด สวนทางตัวเลขเศรษฐกิจภาครัฐออกมาดี ย้ำต้องพึ่งตัวเองใช้จ่ายประหยัด จากสินค้าราคาแพงขึ้น หนี้สินรุงรัง ทำให้เบื่อหน่าย ไม่มีความสุข...
เมื่อวันที่ 24 ส.ค. สถาบันวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอยูโพล) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่องดัชนีความเครียดของคนไทย เดือนส.ค. กรณีศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,007 ตัวอย่าง พบว่า คนไทยมีความเครียดคล้ายคลึงกับการสำรวจในครั้งที่ผ่านมาเมื่อเดือนพ.ค. ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่มีความเครียดในเรื่องเศรษฐกิจ/การเงินมากกว่าเรื่องอื่นๆ (ร้อยละ 77.08) รองลงมา คือ เรื่องสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 66.52) และเรื่องครอบครัว (ร้อยละ 55.06) เป็นต้น แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ระดับความเครียดของคนไทยในการสำรวจครั้งนี้พุ่งสูงกว่า 2 ไตรมาสที่ผ่านมา
ประเด็นที่น่าเป็นห่วง คือ เมื่อพิจารณาความเครียดของคนในแต่ละวัยก็พบว่า คนไทยตั้งแต่วัยเรียน วัยทำงาน จนถึงวัยชรา (อายุ 18 ปีขึ้นไป) ต่างก็มีความเครียดในเรื่องเศรษฐกิจ/การเงินมาเป็นอันดับ 1 เหมือนๆ กัน แม้ว่ารายงานภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ผ่านมาจะมีการขยายตัว และปรับตัวลดลงมาเพียงเล็กน้อย แต่ความเครียดของคนไทยในเรื่องนี้ยังมีสูงอยู่ จึงเป็นภาพความขัดแย้งระหว่างตัวเลขจากรายงานภาวะเศรษฐกิจของหน่วยงานต่างๆ ที่ออกมาดี กับอารมณ์ความรู้สึกของคนไทยที่กังวลต่อภาวะเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต
เมื่อพิจารณาจากปัจจัยที่ทำให้คนไทยเกิดความเครียด ไม่ว่าจะเป็นราคาสินค้าและบริการที่แพงขึ้น (ร้อยละ 67.43) ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน (ร้อยละ 50.95) ปัญหาหนี้สินและรายรับไม่พอกับรายจ่าย (ร้อยละ 48.46) ได้ส่งผลให้ค่าครองชีพของคนไทยเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว จึงไม่แปลกที่คนไทยส่วนใหญ่จะรู้สึกกังวลและอดที่จะเครียดไม่ได้ว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยต่อไปในอนาคตจะเป็นไปในทิศทางใด และคุณภาพชีวิตของตนจะดีขึ้นสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่จะเติบโตขึ้นตามที่หน่วยงานต่างๆ คาดการณ์ไว้จริงหรือไม่
นอกจากนี้รองลงมา คนไทยยังเครียดในเรื่องสิ่งแวดล้อมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการจราจร (ร้อยละ 63.93) ปัญหาที่เกิดจากสภาพแวดล้อม เช่น ขยะ เสียงดัง น้ำเสีย (ร้อยละ 26.28) รวมทั้งปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (ร้อยละ 22.21) ที่ส่งผลทำให้เกิดความเครียดมากยิ่งขึ้น ส่วนความเครียดในเรื่องครอบครัวที่อาจเป็นผลมาจากความเครียดในเรื่องอื่นๆ เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่คนไทยส่วนใหญ่กำลังประสบอยู่ ซึ่งเกิดจากความไม่เข้าใจกันระหว่างคนในครอบครัว (ร้อยละ 38.69) ภาระความรับผิดชอบต่อครอบครัว (ร้อยละ 28.77) และไม่มีเวลาให้ครอบครัว (ร้อยละ 27.67) เป็นต้น
จากผลการสำรวจพบว่า เพื่อจะเผชิญหน้ากับสภาพเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้ คนไทยส่วนใหญ่เลือกที่จะพึ่งตนเองมากกว่าโดยใช้จ่ายอย่างประหยัด ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง (ร้อยละ 58.97) หาอาชีพเสริมและพยายามทำงานให้มากขึ้น (ร้อยละ 11.06) และปล่อยวางทำใจยอมรับความเป็นจริงและมีสติ (ร้อยละ 6.28) เป็นต้น
นอกจากนี้จะเห็นว่าปัญหาหลักๆ ที่ทำให้คนไทยส่วนใหญ่เกิดความเครียด คือ ปัญหาสินค้าราคาแพง ปัญหาหนี้สิน/รายรับไม่พอกับรายจ่าย ปัญหาความไม่ซื่อสัตย์สุจริตของนักการเมือง และปัญหาการจราจร ซึ่งเป็นปัญหาที่รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำไปพิจารณาเพื่อปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้คนไทยเกิดความเครียดต่อปัญหาต่างๆ เหล่านี้น้อยลง
ทั้งนี้ ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ส่งผลทำให้คนไทยส่วนใหญ่เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย (ร้อยละ 78.18) ไม่มีความสุขเลย (ร้อยละ 66.92) และรู้สึกหมดกำลังใจ (ร้อยละ 50.37) ซึ่งจะส่งผลทำให้ความเครียดของคนไทยเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งอาจสั่นคลอนความเชื่อมั่นของคนไทยที่มีต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้ในที่สุด
คนไทยทุกเพศทุกวัยเครียดพุ่ง กุ้มใจปัญหาเศรษฐกิจการเงินมากสุด สวนทางตัวเลขเศรษฐกิจภาครัฐออกมาดี ย้ำต้องพึ่งตัวเองใช้จ่ายประหยัด จากสินค้าราคาแพงขึ้น หนี้สินรุงรัง ทำให้เบื่อหน่าย ไม่มีความสุข...
เมื่อวันที่ 24 ส.ค. สถาบันวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอยูโพล) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่องดัชนีความเครียดของคนไทย เดือนส.ค. กรณีศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,007 ตัวอย่าง พบว่า คนไทยมีความเครียดคล้ายคลึงกับการสำรวจในครั้งที่ผ่านมาเมื่อเดือนพ.ค. ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่มีความเครียดในเรื่องเศรษฐกิจ/การเงินมากกว่าเรื่องอื่นๆ (ร้อยละ 77.08) รองลงมา คือ เรื่องสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 66.52) และเรื่องครอบครัว (ร้อยละ 55.06) เป็นต้น แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ระดับความเครียดของคนไทยในการสำรวจครั้งนี้พุ่งสูงกว่า 2 ไตรมาสที่ผ่านมา
ประเด็นที่น่าเป็นห่วง คือ เมื่อพิจารณาความเครียดของคนในแต่ละวัยก็พบว่า คนไทยตั้งแต่วัยเรียน วัยทำงาน จนถึงวัยชรา (อายุ 18 ปีขึ้นไป) ต่างก็มีความเครียดในเรื่องเศรษฐกิจ/การเงินมาเป็นอันดับ 1 เหมือนๆ กัน แม้ว่ารายงานภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ผ่านมาจะมีการขยายตัว และปรับตัวลดลงมาเพียงเล็กน้อย แต่ความเครียดของคนไทยในเรื่องนี้ยังมีสูงอยู่ จึงเป็นภาพความขัดแย้งระหว่างตัวเลขจากรายงานภาวะเศรษฐกิจของหน่วยงานต่างๆ ที่ออกมาดี กับอารมณ์ความรู้สึกของคนไทยที่กังวลต่อภาวะเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต
เมื่อพิจารณาจากปัจจัยที่ทำให้คนไทยเกิดความเครียด ไม่ว่าจะเป็นราคาสินค้าและบริการที่แพงขึ้น (ร้อยละ 67.43) ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน (ร้อยละ 50.95) ปัญหาหนี้สินและรายรับไม่พอกับรายจ่าย (ร้อยละ 48.46) ได้ส่งผลให้ค่าครองชีพของคนไทยเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว จึงไม่แปลกที่คนไทยส่วนใหญ่จะรู้สึกกังวลและอดที่จะเครียดไม่ได้ว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยต่อไปในอนาคตจะเป็นไปในทิศทางใด และคุณภาพชีวิตของตนจะดีขึ้นสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่จะเติบโตขึ้นตามที่หน่วยงานต่างๆ คาดการณ์ไว้จริงหรือไม่
นอกจากนี้รองลงมา คนไทยยังเครียดในเรื่องสิ่งแวดล้อมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการจราจร (ร้อยละ 63.93) ปัญหาที่เกิดจากสภาพแวดล้อม เช่น ขยะ เสียงดัง น้ำเสีย (ร้อยละ 26.28) รวมทั้งปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (ร้อยละ 22.21) ที่ส่งผลทำให้เกิดความเครียดมากยิ่งขึ้น ส่วนความเครียดในเรื่องครอบครัวที่อาจเป็นผลมาจากความเครียดในเรื่องอื่นๆ เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่คนไทยส่วนใหญ่กำลังประสบอยู่ ซึ่งเกิดจากความไม่เข้าใจกันระหว่างคนในครอบครัว (ร้อยละ 38.69) ภาระความรับผิดชอบต่อครอบครัว (ร้อยละ 28.77) และไม่มีเวลาให้ครอบครัว (ร้อยละ 27.67) เป็นต้น
จากผลการสำรวจพบว่า เพื่อจะเผชิญหน้ากับสภาพเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้ คนไทยส่วนใหญ่เลือกที่จะพึ่งตนเองมากกว่าโดยใช้จ่ายอย่างประหยัด ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง (ร้อยละ 58.97) หาอาชีพเสริมและพยายามทำงานให้มากขึ้น (ร้อยละ 11.06) และปล่อยวางทำใจยอมรับความเป็นจริงและมีสติ (ร้อยละ 6.28) เป็นต้น
นอกจากนี้จะเห็นว่าปัญหาหลักๆ ที่ทำให้คนไทยส่วนใหญ่เกิดความเครียด คือ ปัญหาสินค้าราคาแพง ปัญหาหนี้สิน/รายรับไม่พอกับรายจ่าย ปัญหาความไม่ซื่อสัตย์สุจริตของนักการเมือง และปัญหาการจราจร ซึ่งเป็นปัญหาที่รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำไปพิจารณาเพื่อปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้คนไทยเกิดความเครียดต่อปัญหาต่างๆ เหล่านี้น้อยลง
ทั้งนี้ ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ส่งผลทำให้คนไทยส่วนใหญ่เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย (ร้อยละ 78.18) ไม่มีความสุขเลย (ร้อยละ 66.92) และรู้สึกหมดกำลังใจ (ร้อยละ 50.37) ซึ่งจะส่งผลทำให้ความเครียดของคนไทยเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งอาจสั่นคลอนความเชื่อมั่นของคนไทยที่มีต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้ในที่สุด
...
ใช่! ประชาชนเหนื่อยกว่า pic.twitter.com/JxtW3ZgsoY— Lin Okabe (@Byakuren29) August 26, 2018