..." ตู่วอนแพทย์เข้าใจ บรรจุบุคคลากรสาธารณสุข ต้องประหยัดงบ ไว้ทำอย่างอื่น " >— independence (@redbamboo16) August 22, 2018
รัฐไฟเขียวเพิ่มงบให้ “กองทัพบก” 1.5 พันล้าน ก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ไม้มีค่าhttps://t.co/VU0Tdds5i2 pic.twitter.com/mp6AuIilo7
รัฐไฟเขียวเพิ่มงบให้ “กองทัพบก” 1.5 พันล้าน ก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ไม้มีค่า
21 ส.ค. 2561
โดย: MGR Online
รัฐไฟเขียวเพิ่มงบให้ “กองทัพบก” 1.5 พันล้าน ก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ไม้มีค่า และส่วนที่กองทัพบกได้รับผลกระทบ ตามกรอบวงเงิน 6.2 พันล้าน พร้อมขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณไปอีก 4 ปี เป็นปีงบประมาณ 2557-2566 หลังกองทัพบกได้รับพระราชทานที่ดิน วังทองหลาง เนื้อที่ 79 ไร่ เมื่อปี 2560 เผยความคืบหน้าโครงการก่อสร้าง ณ สิ้นเดือน ก.ค. 2561 เดินหน้าแล้วร้อยละ 56.66
วันนี้ (21 ส.ค.) แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (14 ส.ค.) เห็นชอบให้กองทัพบก และสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ดำเนินการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดการดำเนินการตามโครงการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ไม้มีค่าเพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน
ทั้งนี้ ประกอบด้วยรายละเอียดในส่วนของการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ และส่วนที่กองทัพบกได้รับผลกระทบ เป็นกรณีจำเป็นอันเนื่องมาจากต้องเปลี่ยนแปลงสถานที่ก่อสร้าง โดยในส่วนของกรอบวงเงินงบประมาณที่เพิ่มขึ้น เป็นค่าใช้จ่ายในส่วนของงานก่อสร้างที่มีการปรับปรุง แบบเพิ่มเติมในพื้นที่แห่งใหม่ งานคืนสภาพพื้นที่ก่อสร้างเดิม และค่าชดเชยงานก่อสร้างระหว่างงวด
“อนุมัติให้เปลี่ยนแปลงกรอบวงเงินโครงการฯ จากกรอบวงเงินเดิม จำนวน 4,746,849,158.96 บาท เป็นกรอบวงเงิน 6,284,301,600 บาท เพิ่มขึ้น 1,537,452,441.04 บาท ตามวงเงินผูกพันตามสัญญาค่างานที่จะดำเนินการ และค่างานในส่วนที่เพิ่มขึ้น และอนุมัติการขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2557-2563 เป็นปีงบประมาณ พ.ศ. 2557-2566”
โครงการดังกล่าว สำนักงบประมาณได้เห็นด้วยกับการเพิ่มวงเงินก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ในส่วนของการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ฯ และส่วนที่กองทัพบกใต้รับผลกระทบจากเดิมที่คณะรัฐมนตรีมีมดิอนุมัติโว้ เนื่องจากกองทัพบก มีความจำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลงพื้นที่ก่อสร้าง พร้อมทั้งก่อสร้างอาคารประกอบเพื่อรองรับการใข้งานดังกล่าว ประกอบกับคณะกรรมการบริหารจัดการไม้มีค่าเพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน ได้มีมติเมื่อ (11 พ.ค. 61) เห็นชอบการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด เพื่อให้การดำเนินโครงการบริหารจัดการฯ เป็นไปอย่างต่อเนื่องและบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป๋าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
มีรายงานว่า สำหรับโครงการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ไม้มีค่า เดิม ครม. (6 ต.ค. 2558) อนุมัติให้ สปน.เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการดำเนินการในส่วนของการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์และส่วนที่กองทัพบกได้รับผลกระทบ ภายในกรอบวงเงิน 4,746,849,158.96 บาท ในลักษณะก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. 2557-2563 ประกอบด้วย งานปรับปรุงในส่วนของกองทัพบกที่ได้รับผลกระทบ วงเงิน 2,960,589,644 บาท งานก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ วงเงิน 1,667,440,000 บาท และงานอื่นๆ วงเงิน 118,819,514.96 บาท
โดย ครม.(20 ก.ย. 2559) ได้รับทราบการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. 2559-2563 รายการค่าก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ฯ ระยะที่ 1 ภายใน วงเงิน 999,000,000 บาท ระยะเวลาก่อสร้าง 1,260 วัน โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2559 จำนวน 180,000,000 บาท ส่วนที่เหลือ จำนวน 819,000,000 บาท ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 - 2563 และอนุมัติการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. 2560-2563 รายการค่าควบคุมงานก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ฯ ระยะที่ 1 วงเงิน 17,516,300 บาท โดยให้ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 จำนวน 2,535,400 บาท ส่วนที่เหลือจำนวน 14,980,900 บาท ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2563
ต่อมา สำนักงบประมาณเห็นชอบความเหมาะสมของราคาค่าก่อสร้างอาคารที่ได้รับผลกระทบของกองทัพบก (อาคารหอประชุมกองทัพบกและอาคารกรมสวัสดิการทหารบก) และค่าจ้างควบคุมงานก่อสร้างอาคารของกองทัพบก ในวงเงินทั้งสิ้น 2,803,633,500 บาท ประกอบด้วย ค่าก่อสร้างอาคารที่ได้รับผลกระทบของกองทัพบก (อาคารหอประชุมกองทัพบกและอาคารกรมสวัสดิการทหารบก) วงเงิน 2,765,000,000 บาท ดำเนินการในลักษณะก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. 2559-2563 และค่าจ้างควบคุมงานก่อสร้างอาคารหอประชุมกองทัพบก วงเงิน 38,633,500 บาท ดำเนินการในลักษณะก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. 2559-2563
“สำหรับผลการดำเนินงาน (30 ก.ย.60) การก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ฯ คิดเป็นร้อยละ 14.71 การก่อสร้างหอประชุมกองทัพบก ผลงานก่อสร้างคิดเป็นร้อยละ 7.50 และได้มีการยุติการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2560 เนื่องจากจะมีการย้ายสถานที่ก่อสร้างไปยังที่ดินพระราชทาน สำหรับการก่อสร้างอาคารสวัสดิการกองทัพบกแห่งใหม่ไม่ได้รับ ผลกระทบมีผลงานก่อสร้าง (31 ก.ค. 61) คิดเป็นร้อยละ 56.66”
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2560 นายกรัฐมนตรีเข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานโฉนดที่ดินวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 79 ไร่ 2 งาน 60.9 ตารางวา เพื่อพระราชทานให้กองทัพบกใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างอาคารโครงการพิพิธภัณฑ์ไม้มีค่าเพื่อประโยชน์ ชองแผ่นดิน โดยกองทัพบกได้ปรับแผนการดำเนินงานก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ไม้มีค่าฯ และหอประชุมกองทัพบก พร้อมทั้งรายละเอียดงบประมาณในการย้ายไปก่อสร้างในสถานที่แห่งใหม่ ประกอบด้วย งานก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ ระยะที่ 1 ต้องการงบประมาณเพิ่มเติม วงเงิน 187,841,372.29 บาท รวมเป็น 1,204,292,972.29 บาท โดยงบประมาณที่เพิ่มขึ้นประกอบด้วย งบประมาณที่จะต้องเพิ่มเติมให้ครบวงเงินตามสัญญาเดิม เป็นค่างานก่อสร้างที่บริษัทคู่สัญญาได้ดำเนินการไปแล้วในพื้นที่เติม, งบประมาณที่จะตองเพิ่มเติมงานก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ฯ ระยะที่ 1 ในพื้นที่แห่งใหม่ วงเงิน 59,000,000 บาท เป็นค่างานปรับพื้นที่พร้อมถมดินในพื้นที่แห่งใหม่, งานก่อสร้างหอประชุมกองทัพบก และกรมสวัสดิการทหารบก ต้องการงบประมาณเพิ่มเติม วงเงิน 1,068,147,063.26 บาท รวมเป็น 3,844,236,707.26 บาท
สำหรับรูปแบบจำลองอาคารพิพิธภัณฑ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (พิพิธภัณฑ์ไม้มีค่า) ความเป็นมา เนื่องด้วยทางรัฐบาลตระหนักถึงความสําคัญของไม้ของกลางที่คดีสิ้นสุด และตกเป็นของแผ่นดิน ซึ่งได้ถูกเก็บรักษาไว้โดย 3 หน่วยงานราชการ ได้แก่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมป่าไม้ และกรมศลุกากร จํานวนไม้ดังกล่าวในปัจจุบันมีปริมาณมาก หน่วยเก็บรักษาต้องสูญเสียงบประมาณจํานวนมากในการดูแลรักษาในแต่ละปี
คณะกรรมการบริหารจัดการไม้มีค่า จึงได้มีแนวคิดรที่จะก่อสร้างอาคารสําหรับจัดแสดงสมบัติของชาติขึ้น โดยนําไม้มีค่าที่เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อแผ่นดิน และเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นอาคารสําหรับจัดแสดงงานศิลปะ ทั้งประติมากรรม จิตรกรรม ตลอดจน งานฝีมือต่างๆ ของช่างไทย รวมถึงเป็นแหล่งเรียนรู้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์เชิงศิลปะ และสามารถใช้เป็นอาคารรับรองแขกของรัฐบาลเพื่อแสดงถึงเอกลักษณ์ทางศิลปะของประเทศ
“เดิมกำหนดสถานที่พื้นที่บริเวณหอประชุมกองทัพบก เทเวศร์ ซึ่งอยู่ในบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ พื้นที่รวม 19 ไร่ 1 งาน รูปแบบและพื้นที่ใช้สอย อาคารพิพิธภัณฑ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ รูปแบบสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์เพื่อให้มีความสอดคลอ้งกับการแสดงออกถึงความเป็นไทย”
สำหรับรูปแบบอาคารจัดวางเป็นลักษณะ 3 มุขจั่ว คือมีมุขตรงกลาง มุขด้านซ้าย และด้านขวา ภายนอกอาคาร ผนังบุด้วยหินอ่อน และมีจั่ว รวยระกา ลวดลายปูนปั้น ทาสี พระปรมาภิไธย โลหะหล่อปิดทอง เป็นองค์ประกอบ อาคารมีความสูง 2 ชั้น โดย ชั้นแรกประกอบด้วย ส่วนพิพิธภัณฑ์, ห้องรับรอง และสํานักงาน ชั้นสองประกอบด้วย ส่วนจัดแสดง, ส่วนรบัรอง และห้องประชุม ความจุ 700 ที่นั่ง สําหรับการประชุม และ 350 ที่นั่ง สําหรับการจัดเลี้ยง นอกจากนี้ยังมีชั้นจอดรถใต้ดิน 2 ชั้น สามารถจอดรถได้ 150 คัน พื้นที่ใช้สอย รวมทั้งอาคาร 13,500 ตารางเมตร
ภายในตกแต่งเล่าเรื่องราววรรณคดีเชิงประวัติศาสตร์ โดยใช้พระราชวังแวร์ซายส์ ประเทศฝรั่งเศส เป็นต้นแบบ จัดวางองค์ประกอบแบบตะวันตก แต่ใช้ลวดลายแบบไทย การประดับตกแต่งแต่ละห้องแตกต่างกัน ใช้เรื่องราวของวรรณคดี คติความเชื่อความรู้ ในอดีต การเมือง การปกครอง เรื่องราวของประวัติศาสตร์ชาติไทยโดยการใช้ศิลปะจากช่างสิบหมู่ของกรมศลิปากร และศิลปาชีพ ส่วนประติมากรรมที่ใช้เป็นสัตว์หิมพานต์ มีรูปลักษณะสัตว์ผสมมนุษย์ สัตว์ผสมเทวดา หรือมีลักษณะเป็นเทวดา