ยิ่งหากดูจากบทเรียนของนายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ภายหลังการรัฐประหารของกองทัพเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ก็ยิ่งเห็นถึงความเสี่ยง— Khaosod Online (@KhaosodOnline) August 29, 2018
โอกาสที่พรรครวมพลังประชาติไทยของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ จะเป็นม่ายขันหมาก
เริ่มปรากฏให้เห็นบ้างแล้ว https://t.co/aAIxyMPseH
บทวิเคราะห์ : ป.ป.ช.ลุยแจ้งข้อหา คดีทุจริต 396 โรงพัก สัญญาณถึง “สุเทพ” ระวัง “ม่ายขันหมาก”
ที่มา มติชนสุดสัปดาห์
ฉบับวันที่ 24 - 30 สิงหาคม 2561
เรียกว่า “งานเข้า” เต็มๆ สำหรับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี
เรียกว่า “งานเข้า” เต็มๆ สำหรับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี
หลังจากเมื่อวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยว่า ได้แจ้งข้อกล่าวหาต่อนายสุเทพและพวกรวม 17 คน
กรณีทุจริตโครงการก่อสร้างสถานีตำรวจ หรือโรงพักทดแทน 396 แห่ง วงเงิน 5,848 ล้านบาท และปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการอนุมัติโครงการก่อสร้างแฟลตที่พักตำรวจ 163 แห่งทั่วประเทศของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
คดีดังกล่าวมีคณะกรรมการ ป.ป.ช.เต็มองค์คณะเป็นอนุกรรมการไต่สวน จากนี้จะให้ผู้ถูกกล่าวหามาชี้แจง รวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติม นำมาประมวล วิเคราะห์ ก่อนสรุปเสนอ ป.ป.ช.ชุดใหญ่พิจารณาให้เสร็จสิ้นภายในปี 2561
ต่อมาวันที่ 20 สิงหาคม นายสุเทพพร้อมด้วยนายทวีศักดิ์ ณ ตะกั่วทุ่ง ทีมทนายความ เข้าชี้แจงข้อกล่าวหาต่อ ป.ป.ช. พร้อมเอกสาร 94 หน้า เจ้าตัวระบุ เป็นข้อมูลเดียวกับที่เคยชี้แจงต่อคณะอนุกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อเดือนมิถุนายน 2558
ก่อนหน้านั้น หลังรู้ว่าถูกป.ป.ช.แจ้งข้อกล่าวหาหนักในคดี 396 โรงพัก นายสุเทพก็ได้เปิดไลฟ์สดผ่านเพจเฟซบุ๊ก 4 วันติดต่อกัน ตั้งแต่ 16-19 สิงหาคม ก่อนเข้าชี้แจงต่อ ป.ป.ช.ด้วยตนเองวันที่ 20 สิงหาคม
การชี้แจงของนายสุเทพ จุดประสงค์หลักก็เพื่อสื่อสารทำความเข้าใจโดยตรงกับบรรดาแฟนเพจเฟซบุ๊ก ซึ่งมีผู้ติดตามอยู่ประมาณ 2.7 ล้านคน
การไลฟ์สดแบบรัวๆ สะท้อนถึงอาการเดือดเนื้อร้อนใจของนายสุเทพในระดับแตกต่างจากคดีความอื่นๆ ไม่ว่าคดีกบฏ อั้งยี่ซ่องโจร จากการนำม็อบ กปปส. ชุมนุมชัตดาวน์เมื่อปี 2556-2557 และขัดขวางการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2557
รวมทั้งกรณีสั่งสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงเมื่อปี 2553
เนื้อหาการไลฟ์สดตลอด 4 วันของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รวมถึงการให้สัมภาษณ์กับสื่อที่หน้าสำนักงาน ป.ป.ช. ก่อนเข้าชี้แจงข้อกล่าวหา
นอกเหนือจากการนำเอกสารหลักฐานต่างๆ มาแสดงเพื่อยืนยันความบริสุทธิ์ของตัวเอง ยังได้เรียกร้องให้ ป.ป.ช.รีบสรุปเรื่องส่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อจะได้ต่อสู้คดีโดยเร็ว
เนื่องจากขณะนี้นายสุเทพเป็นผู้ร่วมจัดตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย หรือ รปช. และอยู่ระหว่างการชักชวนคนเข้าร่วมพรรค ตั้งเป้าเดินสายให้ครบทั้ง 77 จังหวัด
ดังนั้น หาก ป.ป.ช.ปล่อยให้เรื่องยืดยาวออกไป อาจกระทบต่อการปลุกปั้นพรรค รปช.ได้ และยังอาจทำให้เกิดข้อพิรุธว่าการหยิบยกคดี 396 โรงพักขึ้นมาเล่นงานในช่วงนี้
เป็นการเตะตัดขา ทำลายคะแนนนิยมทางการเมืองหรือไม่
เนื่องจากข้อกล่าวหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เป็นข้อกล่าวหาร้ายแรง มีโทษสูงสุดถึงขั้นประหารชีวิต “เรื่องนี้เดิมพันสูง ถ้าผมผิดก็เอาชีวิตไปเลย”
นายสุเทพยังเชื่อว่าเรื่องนี้มีการตั้งธงไว้แล้วว่าต้องเอาเข้าคุกให้ได้
หลายช่วงหลายตอนในการชี้แจง นายสุเทพยังเหวี่ยงแหลากเอา 2 อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) 1 อดีตรักษาราชการแทน ผบ.ตร. กับอีก 1 อดีตผู้ช่วย ผบ.ตร. เข้ามาเกี่ยวข้อง
ไล่ตั้งแต่ที่มาที่ไปโครงการ ซึ่งริเริ่มในสมัย พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ เป็น ผบ.ตร. เมื่อปี 2552 มี พล.ต.ท.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้ช่วย ผบ.ตร.ขณะนั้น เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาจัดจ้าง
ซึ่งการพิจารณาเห็นสมควรให้จ้างโดยส่วนกลาง เปิดประกวดราคาครั้งเดียว แต่แยกเสนอราคาเป็นรายภาค คือภาค 1-9 ทำสัญญา 9 สัญญา โดยให้แต่ละภาคประกาศเชิญชวนผู้รับจ้างในพื้นที่เข้าร่วมประกวดราคา
ต่อมาเมื่อ พล.ต.อ.พัชรวาทพ้นตำแหน่ง พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ เข้ามาทำหน้าที่รักษาการ ผบ.ตร. จึงได้ทำเรื่องเสนอเปลี่ยนแปลงแก้ไขจากการแยก 9 สัญญารายภาค รวมศูนย์เป็นสัญญาเดียว ผู้ประกอบการรายเดียว
อ้างเหตุผลเพื่อความถูกต้องตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ และเป็นไปตามกฎหมายงบประมาณปี 2553 ที่ออกหลังจากอนุมัติโครงการครั้งแรกไปแล้ว
กรณีทุจริตโครงการก่อสร้างสถานีตำรวจ หรือโรงพักทดแทน 396 แห่ง วงเงิน 5,848 ล้านบาท และปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการอนุมัติโครงการก่อสร้างแฟลตที่พักตำรวจ 163 แห่งทั่วประเทศของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
คดีดังกล่าวมีคณะกรรมการ ป.ป.ช.เต็มองค์คณะเป็นอนุกรรมการไต่สวน จากนี้จะให้ผู้ถูกกล่าวหามาชี้แจง รวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติม นำมาประมวล วิเคราะห์ ก่อนสรุปเสนอ ป.ป.ช.ชุดใหญ่พิจารณาให้เสร็จสิ้นภายในปี 2561
ต่อมาวันที่ 20 สิงหาคม นายสุเทพพร้อมด้วยนายทวีศักดิ์ ณ ตะกั่วทุ่ง ทีมทนายความ เข้าชี้แจงข้อกล่าวหาต่อ ป.ป.ช. พร้อมเอกสาร 94 หน้า เจ้าตัวระบุ เป็นข้อมูลเดียวกับที่เคยชี้แจงต่อคณะอนุกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อเดือนมิถุนายน 2558
ก่อนหน้านั้น หลังรู้ว่าถูกป.ป.ช.แจ้งข้อกล่าวหาหนักในคดี 396 โรงพัก นายสุเทพก็ได้เปิดไลฟ์สดผ่านเพจเฟซบุ๊ก 4 วันติดต่อกัน ตั้งแต่ 16-19 สิงหาคม ก่อนเข้าชี้แจงต่อ ป.ป.ช.ด้วยตนเองวันที่ 20 สิงหาคม
การชี้แจงของนายสุเทพ จุดประสงค์หลักก็เพื่อสื่อสารทำความเข้าใจโดยตรงกับบรรดาแฟนเพจเฟซบุ๊ก ซึ่งมีผู้ติดตามอยู่ประมาณ 2.7 ล้านคน
การไลฟ์สดแบบรัวๆ สะท้อนถึงอาการเดือดเนื้อร้อนใจของนายสุเทพในระดับแตกต่างจากคดีความอื่นๆ ไม่ว่าคดีกบฏ อั้งยี่ซ่องโจร จากการนำม็อบ กปปส. ชุมนุมชัตดาวน์เมื่อปี 2556-2557 และขัดขวางการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2557
รวมทั้งกรณีสั่งสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงเมื่อปี 2553
เนื้อหาการไลฟ์สดตลอด 4 วันของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รวมถึงการให้สัมภาษณ์กับสื่อที่หน้าสำนักงาน ป.ป.ช. ก่อนเข้าชี้แจงข้อกล่าวหา
นอกเหนือจากการนำเอกสารหลักฐานต่างๆ มาแสดงเพื่อยืนยันความบริสุทธิ์ของตัวเอง ยังได้เรียกร้องให้ ป.ป.ช.รีบสรุปเรื่องส่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อจะได้ต่อสู้คดีโดยเร็ว
เนื่องจากขณะนี้นายสุเทพเป็นผู้ร่วมจัดตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย หรือ รปช. และอยู่ระหว่างการชักชวนคนเข้าร่วมพรรค ตั้งเป้าเดินสายให้ครบทั้ง 77 จังหวัด
ดังนั้น หาก ป.ป.ช.ปล่อยให้เรื่องยืดยาวออกไป อาจกระทบต่อการปลุกปั้นพรรค รปช.ได้ และยังอาจทำให้เกิดข้อพิรุธว่าการหยิบยกคดี 396 โรงพักขึ้นมาเล่นงานในช่วงนี้
เป็นการเตะตัดขา ทำลายคะแนนนิยมทางการเมืองหรือไม่
เนื่องจากข้อกล่าวหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เป็นข้อกล่าวหาร้ายแรง มีโทษสูงสุดถึงขั้นประหารชีวิต “เรื่องนี้เดิมพันสูง ถ้าผมผิดก็เอาชีวิตไปเลย”
นายสุเทพยังเชื่อว่าเรื่องนี้มีการตั้งธงไว้แล้วว่าต้องเอาเข้าคุกให้ได้
หลายช่วงหลายตอนในการชี้แจง นายสุเทพยังเหวี่ยงแหลากเอา 2 อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) 1 อดีตรักษาราชการแทน ผบ.ตร. กับอีก 1 อดีตผู้ช่วย ผบ.ตร. เข้ามาเกี่ยวข้อง
ไล่ตั้งแต่ที่มาที่ไปโครงการ ซึ่งริเริ่มในสมัย พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ เป็น ผบ.ตร. เมื่อปี 2552 มี พล.ต.ท.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้ช่วย ผบ.ตร.ขณะนั้น เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาจัดจ้าง
ซึ่งการพิจารณาเห็นสมควรให้จ้างโดยส่วนกลาง เปิดประกวดราคาครั้งเดียว แต่แยกเสนอราคาเป็นรายภาค คือภาค 1-9 ทำสัญญา 9 สัญญา โดยให้แต่ละภาคประกาศเชิญชวนผู้รับจ้างในพื้นที่เข้าร่วมประกวดราคา
ต่อมาเมื่อ พล.ต.อ.พัชรวาทพ้นตำแหน่ง พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ เข้ามาทำหน้าที่รักษาการ ผบ.ตร. จึงได้ทำเรื่องเสนอเปลี่ยนแปลงแก้ไขจากการแยก 9 สัญญารายภาค รวมศูนย์เป็นสัญญาเดียว ผู้ประกอบการรายเดียว
อ้างเหตุผลเพื่อความถูกต้องตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ และเป็นไปตามกฎหมายงบประมาณปี 2553 ที่ออกหลังจากอนุมัติโครงการครั้งแรกไปแล้ว
นายสุเทพได้ลงนามเห็นชอบตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ
มีการตั้งข้อสังเกตว่า การชี้แจงของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ
เป็นการ “โยนบาป” ให้กับ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ อดีตรักษาการ ผบ.ตร. รับไปคนเดียวเต็มๆ
ส่วนการที่บริษัทผู้ชนะประมูลไม่สามารถก่อสร้างโรงพัก 396 แห่งได้ทันตามกำหนดนั้น อดีตรองนายกฯ ยังระบุ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
อีกทั้งความล่าช้าก็อยู่ในความรับผิดชอบของผู้ควบคุมการก่อสร้าง ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นใคร จึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับการทำสัญญาและการอนุมัติเปลี่ยนวิธีการประมูล
นอกจากนี้สิ่งที่ชี้ว่านายสุเทพพยายามขยายประเด็นให้เป็นเรื่องการเมืองคือ การซัดไปถึง พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ อดีตผู้ช่วย ผบ.ตร. ประธานคณะกรรมการพิจารณาจัดจ้างโครงการขณะนั้น
ว่าต่อมา พล.ต.อ.พงศพัศได้มาเป็นผู้สมัครพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. แข่งกับ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร จากพรรคประชาธิปัตย์
อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์อ้างว่า ตอนนั้นพรรคเพื่อไทยยกกรณี 396 โรงพักขึ้นมาโจมตีว่ามีการทุจริต ก็เพื่อหวังผลทำลายฐานคะแนนเสียงพรรคประชาธิปัตย์
อย่างไรก็ตาม ในประเด็นของ พล.ต.อ.พงศพัศ มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า
การอ้างอิงของนายสุเทพ เกิดความสับสนในตัวเอง เพราะเคยระบุไว้ว่า พล.ต.อ.พงศพัศ ประธานคณะกรรมการพิจารณาจัดจ้างโครงการ เห็นสมควรในการแยกสัญญาเป็นรายภาค 1-9 และ พล.ต.อ.พัชรวาท ผบ.ตร.ขณะนั้นก็เห็นด้วย
ก่อนที่นายสุเทพจะลงนามเปลี่ยนแปลงแก้ไข เป็นแบบรวมศูนย์สัญญาเดียว ตามที่ พล.ต.อ.ปทีป รักษาการ ผบ.ตร.ชงเรื่องเสนอมาหลังจาก พล.ต.อ.พัชรวาทพ้นตำแหน่งไปแล้ว
การพยายามโยงเรื่องนี้เข้ากับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. กล่าวหามีการเมืองอยู่เบื้องหลัง จึงเป็นเรื่องค่อนข้างเลื่อนลอย และขาดน้ำหนักน่าเชื่อถือ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี ป.ป.ช.แจ้งข้อกล่าวหานายสุเทพ เทือกสุบรรณ แต่ไม่แจ้งข้อกล่าวหากับตนเอง ทั้งที่ขณะนั้นตนเองดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
น่าจะเป็นเพราะ ครม.เป็นเพียงผู้อนุมัติเฉพาะหลักการว่าจะทำอะไรบ้าง ส่วนการเปลี่ยนแปลงจากการแยก 9 สัญญารายภาค มาเป็นการรวมสัญญาเดียว ไม่มีการเสนอมายังนายกฯ และ ครม.ในตอนนั้น
แต่เสนอตรงไปที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง อนุมัติตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอมา
แน่นอนว่าการถูกกล่าวหาในคดีทุจริต 396 โรงพักและแฟลตตำรวจ 163 แห่ง ย่อมส่งผลสะเทือนไม่เพียงแต่กับตัวนายสุเทพแบบโดดๆ แต่ยังส่งผลไปถึงอนาคตของพรรครวมพลังประชาชาติไทย
เมื่อเร็วๆ นี้ในวันประชุมเลือกหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค นายสุเทพประกาศอย่างมั่นใจว่าพรรครวมพลังประชาชาติไทยจะได้เป็นรัฐบาลแน่นอน
“หลังเลือกตั้งให้แต่งตัวรอขันหมากได้เลย”
แต่แล้วการมาของคดีทุจริตก่อสร้าง 396 โรงพัก อาจกลายเป็นจุดเปลี่ยนของสถานการณ์
นอกจากทำให้กลุ่มมวลชนนกหวีดเกิดความหวั่นไหวสั่นคลอนศรัทธาในตัวผู้นำ ยังอาจเป็นเหตุผลให้ผู้มีอำนาจใช้เป็นข้ออ้างลอยแพ เพื่อจะได้ไม่โดนครหาไปด้วย
ยิ่งหากดูจากบทเรียนของนายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ภายหลังการรัฐประหารของกองทัพเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ก็ยิ่งเห็นถึงความเสี่ยง
โอกาสที่พรรครวมพลังประชาติไทยของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ จะเป็นม่ายขันหมาก
เริ่มปรากฏให้เห็นบ้างแล้ว