อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รับมอบข้อเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงจากรมต.คมนาคมญี่ปุ่น |
นสพ.ผู้จัดการอ้างข่าวนิเคอิว่าไทยสร้างความแปลกใจให้แก่ฝ่ายญี่ปุ่นยิ่งนัก เนื่องจากทางญี่ปุ่นใช้เวลาถึง ๓ ปีปรับพัฒนาเทคโนโลยี่รถไฟ 'ชินคันเซ็น' สำหรับประเทศไทย เสร็จแล้วไทยขอลดความเร็วลงไปจากมาตรฐาน ๓๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ให้เหลือแค่ ๑๘๐-๒๐๐ ก.ม./ช.ม.
เนื่องจาก "คำนวณค่าใช้จ่ายในโครงการนี้ว่าอยู่ที่ราว ๔๒๐,๐๐๐ ล้านบาท โดยรัฐบาลไทยมองว่าสูงเกินไป" ทั้งนี้เพราะ "การลดความเร็วของรถไฟจะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ เช่น การสร้างแผงกั้นเสียง"
ถึงอย่างนั้นข่าวกล่าวว่า "แต่ต้นทุนที่สำคัญที่สุดคือ การสร้างรางใหม่ ๖๗๐ กม. จะไม่แตกต่างกันมากไม่ว่าจะเป็นรถไฟความเร็วสูงหรือความเร็วปานกลาง แต่รถไฟที่ช้าลงจะทำให้เสียโอกาสในการแข่งขัน เพราะผู้โดยสารจะหันไปใช้บริการเครื่องบินแทน"
ทั้งนี้ "รัฐบาลไทยประเมินค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงเส้นทางนี้ไว้ที่ ๑,๒๐๐ บาท ซึ่งถูกกว่าค่าโดยสารรถไฟชินคันเซ็นราว ๑ ใน ๓ ในระยะทางเท่ากัน เนื่องจากค่าครองชีพที่ต่างกันของสองประเทศ"
ทว่าในรายงานข้อเสนอของญี่ปุ่นให้ข้อคิดว่า ในประสบการณ์ของญี่ปุ่นเอง "รถไฟความเร็วสูงจะสูญเสียลูกค้าให้กับเครื่องบินหากต้องใช้เวลาเดินทางมากกว่า ๓ ชั่วโมง โดยหากใช้ความเร็วที่ ๓๐๐ กม.ต่อชั่วโมง เส้นทางจากกรุงเทพถึงเชียงใหม่ก็ยังต้องใช้เวลาเดินทางราว ๓ ชั่วโมงครึ่ง"
จะเป็นด้วยเหตุนี้หรือเปล่าที่รัฐบาล คสช. 'chickens out' ปอดแหกว่าจะโดนตำหนิ และ/หรือตรวจสอบ แบบเดียวกับโครงการจำนำข้าวของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
หรือไม่เช่นนั้นก็เป็นเพราะหัวหน้า คสช. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีความชื่นชมในการบริหารประเทศในแบบของจีนมากมายเสียจน ไม่อยากให้รถไฟญี่ปุ่นล้ำหน้ารถไฟจีนที่มีความเร็วแค่ปานกลาง
(https://mgronline.com/japan/detail/9610000006247)