คสช. แจ้ง 2 ข้อหา 7 นศ.-นักกิจกรรม “คนอยากเลือกตั้ง”
30 มกราคม 2018
ที่มา บีบีซีไทย
ตำรวจ สน.ปทุมวัน ออกหมายเรียกนักศึกษาและนักกิจกรรมรวม 7 คน เข้ารับทราบข้อกล่าวหาวันศุกร์นี้ หลังฝ่ายกฎหมาย คสช. แจ้งความดำเนินคดี จากกรณีจัดกิจกรรมชุมนุมเรียกร้องเลือกตั้งเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา
พ.ต.ท.สมัคร ปัญญาวงศ์ รองผู้กำกับ (สอบสวน) สน.ปทุมวัน ได้รับแจ้งความจาก พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ นายทหารปฏิบัติการประจำกองบัญชาการกองทัพบก ปฎิบัติหน้าที่ หัวหน้าส่วนปฏิบัติการคณะทำงานด้านกฎหมายส่วนงานการรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 29 ม.ค. ที่ผ่านมา หลังได้รับมอบอำนาจจาก คสช. ให้เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษดำเนินคดีกับนักศึกษาและนักกิจกรรม 7 คนที่จัดกิจกรรม "นัดรวมพลประชาชนอยากเลือกตั้ง แสดงพลังต้านสืบทอดอำนาจ คสช." เมื่อวันที่ 27 ม.ค. เวลา 17.30-19.00 น. ที่บริเวณสกายวอล์ค แยกปทุมวัน
สำหรับนักกิจกรรมทั้ง 7 คน ประกอบด้วย 1. นายรังสิมันต์ โรม 2. นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ 3. น.ส.ณัฎฐา มหัทธนา 4. นายอานนท์ นำภา 5. นายเอกชัย หงส์กังวาน 6. นายสุกฤษฎ์ เพียรสุวรรณ 7. นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล
จาก "รวมพลคนอยากเลือกตั้ง" ถึงนัดชุมนุมไล่รัฐบาล คสช. 10 ก.พ.
นายกฯ ยืนยันภารกิจ คสช. จบตามโรดแมป แต่ไม่รู้ว่าภายใน ก.พ. 62 หรือไม่
ใช้ "อานันท์โมเดล" กำหนด "โรดแมปครั้งสุดท้าย" วิษณุเผยรู้วันเลือกตั้งแน่ มิ.ย. นี้
JIRAPORN KUHAKAN/BBC THAIคำบรรยายภาพ
นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ นายรังสิมันต์ โรม และ น.ส.ณัฎฐา มหัทธนา (จากซ้ายไปขวา) ถูกตั้งข้อหาอย่างน้อย 2 ข้อหา จากการเป็นแกนนำจัดกิจกรรมครั้งนี้
ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทยตรวจสอบข้อมูลพบว่า บุคคลทั้ง 7 คน ถูกตั้งข้อหาอย่างน้อย 2 ข้อหาคือ 1. ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ห้ามชุมนุมหรือมั่วสุมการเมืองเกินกว่า 5 คนขึ้นไป และ 2. กระทำการยุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ขณะนี้ตำรวจ สน.ปทุมวัน ได้ส่งหมายเรียกไปยังผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 7 คนแล้ว เพื่อให้มาพบพนักงานสอบสวนในเวลา 10.00 น. ของวันที่ 2 ก.พ. นี้ แต่ในกรณีของนายสิรวิชญ์ หรือจ่านิว ตำรวจจะส่งเรื่องไปที่ศาลจังหวัดขอนแก่นด้วย เพราะก่อนหน้านี้ นายสิรวิชญ์ถูกศาลจังหวัดขอนแก่นตัดสินจำคุก 6 เดือน คดีละเมิดอำนาจศาล จากการแสดงออกทางสัญลักษณ์และจัดกิจกรรมทางการเมืองภายในเขตอำนาจศาล เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2560 แต่ให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามเคลื่อนไหวทางการเมืองอีก จึงถือว่ากระทำการผิดเงื่อนไขศาล
JIRAPORN KUHAKAN/BBC THAI
เว็บไซต์เดลินิวส์และแนวหน้ารายงานตรงกันว่า การเข้าแจ้งข้อหากับนักกิจกรรมทั้ง 7 เป็นผลสืบเนื่องจากกองกำลังรักษาความสงบ กองทัพภาคที่ 1 ได้ตรวจสอบการใช้เพจเฟซบุ๊คที่ใช้ชื่อว่าเพจ "พลเมืองโต้กลับ Resistant Citizen" พบว่ามีการแชร์โพสต์ของกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย Democracy Restoration Group หรือ DRG เมื่อวันที่ 25 ม.ค. เวลา 22.00 น. โดยมีข้อความว่า "นัดรวมพล ประชาชนอยากเลือกตั้งแสดงพลังต้านสืบทอดอำนาจ คสช. ในวันเสาร์ที่ 27 ม.ค. 2561 เวลา 17.30 น. ที่สกายวอล์คปทุมวัน" ซึ่งเป็นการเชิญชวนให้กลุ่มของตนเองและประชาชนที่มีแนวคิดเหมือนกันมาเข้าร่วมกิจกรรมชุมนุมต่อต้าน คสช. และยังได้แจ้งเหตุการณ์เป็นระยะ (อัพเดท) ในระหว่างมีกิจกรรมเมื่อวันเสาร์ที่ 27 ม.ค. จึงได้รายงานให้ คสช. ทราบ และดำเนินการสืบสวนหาข่าวการเคลื่อนไหวของกลุ่มนายรังสิมันต์กับพวก ทาง คสช. เห็นว่าการปราศรัยดังกล่าว เป็นการชุมนุมกันเกิน 5 คนในที่สาธารณะ เป็นการฝ่าฝืนคำสั่ง และเป็นการกระทำด้วยวาจาอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริตเพื่อความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่อง จึงมอบหมายให้ พ.อ.บุรินทร์เข้าแจ้งความดำเนินคดีดังกล่าว
ด้านนายรังสิมันต์กล่าวกับบีบีซีไทยว่า ยังไม่ได้รับหมายเรียกใด ๆ ทราบข่าวจากสื่อมวลชนเท่านั้น ส่วนกรณีที่ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) สั่งตรวจสอบท่อน้ำเลี้ยงของกลุ่มที่เคลื่อนไหวนั้น นายรังสิมันต์ตั้งคำถามกลับไปว่า "เขาตรวจสอบพวกผมมาเกือบ 4 ปีแล้ว ไหนล่ะท่อน้ำเลี้ยง และถ้าเทียบกันหมัดต่อหมัด ใครกันแน่ที่รวยขึ้น ใครกันแน่ที่จนลง ถึงตอนนี้ผมก็ยังไม่มีนาฬิการิชาร์ด มิลล์ ใส่สักเรือน ไม่มีอะไรต่างจากเดิม"
ขณะเดียวกันเพจ DRG ได้ออกมายืนยันว่าจะจัดกิจกรรมชุมนุมในวันที่ 10 ก.พ. ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ตามที่นัดหมายกับประชาชนเอาไว้ หลังแกนนำถูก คสช. แจ้งความดำเนินคดี
เรื่องเกี่ยวข้อง...
สิทธิมนุษยชนที่หายไปในปีที่ 3 ของคสช.
(บีบีซี ไทย)
...
Thai Junta Files Charges Against Democracy Activists
By THE ASSOCIATED PRESS via NY Times
JAN. 30, 2018
BANGKOK — Thailand's ruling military junta has filed charges against seven democracy activists for calling for elections and an end to military rule.
Police Lt. Col. Samak Panyawong said Tuesday that a junta representative had filed charges of sedition and violating a ban on political gatherings against the activists, who demonstrated on Saturday.
Thailand has been under military rule since a 2014 coup ousted an elected government. One of many oppressive laws the junta has imposed is a ban on political gatherings of over five people. Sedition, or illicit efforts to bring about change in the country's laws, is punishable by up to seven years in prison.
The junta has pushed back several promised election deadlines, and recently indicated that polls intended for 2018 may be delayed, causing unusual public concern. The concern comes on top of a scandal involving many ultra-expensive watches possessed by a top junta member whose pay could not account for his ownership. The junta took power with a vow to purge corruption from politics.
"The world's history is proof that people's rights and liberties are never easily granted," Rangsiman Rome, one of the charged activists and protest group leaders, said at Saturday's demonstration in Bangkok that was joined by around 200 people. He said he would attend the next protest scheduled for Feb. 10, also in Bangkok.
Another charged activist, Anon Nampa, who is a civil rights lawyer, said Tuesday that he expects to receive a police summons via mail in the next few days, although he hasn't seen the official charges against him yet.
"The military dictatorship filed charges to arrest democracy activists on the grounds of violating the dictatorship's orders," Anon said in a Facebook post Tuesday. "It's funny. Not only do these people have no shame, they're also confused and lost in their generation."
The other charged activists are also outspoken critics of the ruling junta: Sirawit Seritiwat, Nutta Mahatana, Netiwit Chotiphatphaisal, Ekachai Hongkangwan and Sukrid Peansuwan.
Sunai Phasuk, senior Thailand researcher for Human Rights Watch, said the charges show that the ruling junta has no intention of restoring democracy, which it said was its goal when it seized power.
"How can the junta claim they are leading Thailand to a restoration of democracy when a peaceful exercise of freedom of expression, freedom of assembly, and freedom of association are denied and exercising such rights is considered a serious crime of sedition?" Sunai said. "This shows the true colors of the junta, that they continue to act with dictatorial instincts."
BANGKOK — Thailand's ruling military junta has filed charges against seven democracy activists for calling for elections and an end to military rule.
Police Lt. Col. Samak Panyawong said Tuesday that a junta representative had filed charges of sedition and violating a ban on political gatherings against the activists, who demonstrated on Saturday.
Thailand has been under military rule since a 2014 coup ousted an elected government. One of many oppressive laws the junta has imposed is a ban on political gatherings of over five people. Sedition, or illicit efforts to bring about change in the country's laws, is punishable by up to seven years in prison.
The junta has pushed back several promised election deadlines, and recently indicated that polls intended for 2018 may be delayed, causing unusual public concern. The concern comes on top of a scandal involving many ultra-expensive watches possessed by a top junta member whose pay could not account for his ownership. The junta took power with a vow to purge corruption from politics.
"The world's history is proof that people's rights and liberties are never easily granted," Rangsiman Rome, one of the charged activists and protest group leaders, said at Saturday's demonstration in Bangkok that was joined by around 200 people. He said he would attend the next protest scheduled for Feb. 10, also in Bangkok.
Another charged activist, Anon Nampa, who is a civil rights lawyer, said Tuesday that he expects to receive a police summons via mail in the next few days, although he hasn't seen the official charges against him yet.
"The military dictatorship filed charges to arrest democracy activists on the grounds of violating the dictatorship's orders," Anon said in a Facebook post Tuesday. "It's funny. Not only do these people have no shame, they're also confused and lost in their generation."
The other charged activists are also outspoken critics of the ruling junta: Sirawit Seritiwat, Nutta Mahatana, Netiwit Chotiphatphaisal, Ekachai Hongkangwan and Sukrid Peansuwan.
Sunai Phasuk, senior Thailand researcher for Human Rights Watch, said the charges show that the ruling junta has no intention of restoring democracy, which it said was its goal when it seized power.
"How can the junta claim they are leading Thailand to a restoration of democracy when a peaceful exercise of freedom of expression, freedom of assembly, and freedom of association are denied and exercising such rights is considered a serious crime of sedition?" Sunai said. "This shows the true colors of the junta, that they continue to act with dictatorial instincts."