คงอย่างที่ ชำนาญ จันทร์เรือง ว่านั่นละ “เลือกก็แพ้
ไม่เลือกก็พัง” ก็เลยต้องยื้อให้ถึงที่สุด บางทีอาจถึงปีหรือสองปี
กรรมาฯ
ยืดเวลาเลือกตั้งหลังประกาศราชกิจจาฯ ไปแล้ว ๓ เดือน นี่กำลังเสนอเพิ่มอีกหนึ่งเดือน
เป็น ๑๒๐ วัน กว่าจะได้โหวตใน สนช. อาจกลายเป็น ๖ เดือน เห็นร่ำๆ
กันอีกว่าใจจริงอยากได้ ๑๘๐ วันแน่ะ
โฆษก กมธ. ชงเองกลางจ้อง ร้องว่า ผม “เสนอแปรญัตติมาตรา
๒ ให้ร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.มีผลบังคับใช้เป็นเวลา ๑๒๐ วัน
หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา...
ทั้งที่ความจริงน่าจะขยายเวลาไปถึง ๖
เดือน หรือ ๑๘๐ วัน” นายทวีศักดิ์ สูทกวาทิน ออกลวดลายตัดหน้าก่อนที่ประชุมใหญ่
สนช. จะพิจารณาโหวตร่าง พรป. การเลือกตั้ง ส.ส. วันที่ ๒๕ มกรานี้
นี่หลังจากที่กรรมาธิการเสียงข้างมากอนุมัติแก้ก.ม.
เลือกตั้ง ให้ประกาศใช้ ๙๐ วันหลังราชกิจจาฯ ไปแล้ว
จะว่าพวกนี้มักง่ายก็ไม่เชิง ที่แก้ร่างกฎหมายกันเป้นว่าเล่น
คงเอาอย่างหัวหน้าใน คสช. ที่ถืออำนาจบาตรใหญ่ จะเลิก จะแก้ แม้แต่ออกคำสั่งบิดเบี้ยวกฎหมายตามอำเภอใจ
เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ของพวกตน
ดังเช่นการสกัดกั้น กลั่นแกล้ง
ภาคประชาชนเพื่อการประกันสุขภาพที่เขาชวนกัน ‘เดินมิตรภาพ’ จาก มธ.รังสิตสู่ขอนแก่น ตำรวจคอยติดตามก่อกวนตลอดทาง (ขณะเขียนนี่เป็นที่สี่กำลังจะเข้าโคราช)
ไหนจะเรียกตรวจค้น จับตัวทีมงานฝ่ายสวัสดิการที่ขับรถตามคณะผู้เดิน
(ชุดละสี่คน ซึ่งตอนนี้ชุดที่ห้าออกเดินแล้ว) เอาไปกักตัวไว้ที่ทำการ อบต. สองวัน
แล้วยังไปรังควาญ ไล่คณะผู้เดินออกจากจุดพักในปั๊มน้ำมันที่สระบุรี
แล้วยังไปกดดันวัดที่จะใช้พักค้างคืนไม่ให้รับ
“หนึ่งในทีมเดินมิตรภาพพูดว่า
ตลอดทางพี่ๆ ตำรวจนอกเครื่องแบบทำลับๆ ล่อๆ มาดักถ่ายรูป มาประกบตาม ตลอดเวลา
ที่รัฐแถลงว่ากลัวพวกเราไม่ปลอดภัย
ตอนนี้เรารู้สึกไม่ปลอดภัยก็เพราะเจ้าหน้าที่รัฐนี่แหละ” โพสต์ของกลุ่ม People GO network เล่าเหตุการณ์
สงกรานต์
ป้องบุญจันทร์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่ เขียนบทความอธิบายถึงหลักการและปัญหาของกิจกรรม #wewalkเดินมิตรภาพ ว่า
“เป็นการพยายามสร้างวัฒนธรรมทางกฎหมาย
จากที่เคยเป็นเพียงผู้ถูกรัฐใช้กฎหมายกระทำฝ่ายเดียวมาตลอด
มาเป็นผู้กระทำการทางกฎหมาย และพยายามใช้กฎหมายควบคุมรัฐ...
“เจ้าหน้าที่รัฐเป็นเพียงผู้รับใช้กฎหมาย ไม่ได้เป็นนายเหนือกฎหมายและเหนือประชาชน
ประชาชนสามารถใช้กฎหมายจัดการกับเจ้าหน้าที่รัฐที่ฝ่าฝืนกฎหมายได้
กฎหมายจะไม่ถูกผูกขาดการใช้โดยรัฐอีกต่อไป แต่มันจะเป็นเครื่องมือของสังคมในการควบคุมรัฐด้วย”
ด้วยเหตุนี้ตัวแทนผุ้ร่วมกิจกรรมจึงกระทำการยื่นฟ้อง
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.), ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรคลองหลวง,
ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปทุมธานี, ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ต่อศาลปกครองกลางเมื่อวานนี้ (๒๒ มกรา)
“ขอให้มีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 4
ยุติการดำเนินการใดๆ ที่มีลักษณะเป็นการปิดกั้น
ในการใช้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุม ของทางเครือข่าย”
นายนิมิตร์ เทียนอุดม
เผยว่า “ก่อนการทำกิจกรรมครั้งนี้เราได้มีหนังสือยื่นแจ้งการชุมนุมดังกล่าวแล้ว
เป็นการดำเนินการตามกระบวนการที่ถูกต้องตามกฎหมาย ทำตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ
พ.ศ.๒๕๕๘ มาโดยตลอด และมีการสื่อสารกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจมาโดยตลอด”
แต่ทางการอำนาจรัฐภายใต้ คสช.
ก็ไม่วายใช้ตำรวจคอยกดดันและกลั่นแกล้งไม่เลิกรา มาถึงจุดที่มีทหารไปแจ้งความดำเนินคดีต่อ
๘ แกนนำ ‘People Go Network’ ในข้อหาขัดคำสั่ง
คสช. ฉบับที่ ๓/๒๕๕๘ อ้างว่าเป็นการชุมนุมเกิน ๕ คนขึ้นไป
เป็นที่น่าสังเกตุว่าตั้งแต่
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศสลับหมวกจากหัวหน้าคณะทหารแย่งอำนาจ มาสู่นักการเมืองรอเป็นนายกฯ
ไม่ต้องผ่านเลือกตั้งนี่ มีลิ่วล้อรับงานกดขี่เบียดเบียนชาวบ้านแทนกันคึกคัก
ตำรวจกลั่นแกล้งนักกิจกรรมภาคประชาชน
ฝ่าย กมธ. ซึ่งทำหน้าที่เขียนกฎหมายให้ตรงสเป็ค คสช. ก็กำลังสาละวนจัดการเลื่อนโร้ดแม็พเลือกตั้ง
ไม่ให้คืนสู่ประชาธิปไตยไวนัก