MYRA SANGAWONGSE
ณัฏฐิกา วรธันยวิชญ์ หนึ่งในแอดมินเพจ "เรารัก พล.อ.ประยุทธ์" หลังจากที่เดินทางมาถึงสหรัฐอเมริกา
แอดมินเพจ "เรารัก พล.อ.ประยุทธ์" เชื่อถูกจับเพราะทหารต้องการ "เชือดไก่ให้ลิงดู"
แอดมินเพจ "เรารัก พล.อ.ประยุทธ์" เชื่อถูกจับเพราะทหารต้องการ "เชือดไก่ให้ลิงดู"
โดย นันท์ชนก วงษ์สมุทร์
ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
16 มกราคม 2018
ณัฏฐิกา วรธันยวิชญ์ หนึ่งในแอดมินเพจ "เรารัก พล.อ.ประยุทธ์" เปิดเผยถึงสาเหตุของการลี้ภัยไปสหรัฐฯ หลังจากสิ้นหวังในกระบวนการยุติธรรมของไทย ส่วนไอลอว์เผย 3 ปีคสช. มีผู้หนีภัยการเมืองไปต่างประเทศอย่างน้อย 23 ราย
ภาพตัดต่อของนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขี่นกหัวขวาน และภาพที่กำลังย่อตัวลงเพื่อลอยกระทงแล้วตกน้ำ เป็นหนึ่งในหลายร้อยภาพตัดต่อที่ถูกแชร์ในเพจ "เรารัก พล.อ.ประยุทธ์" ซึ่งมีผู้ติดตามราว 80,000 คนก่อนที่จะถูกเจ้าหน้าที่ปิดตัวลงหลังจากที่ผู้ดูแลเพจทั้ง 8 คนถูกจับกุมตัวไปที่ค่ายทหาร และต่อมาถูกส่งตัวมายังกองบังคับการปราบปราม เมื่อเดือน เม.ย. 2559 เพื่อรับทราบข้อกล่าวหา "ยุยงปลุกปั่น" และ "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ"
ณัฏฐิกา วรธันยวิชญ์ หนึ่งในแอดมินเพจ "เรารัก พล.อ.ประยุทธ์" เปิดเผยถึงสาเหตุของการลี้ภัยไปสหรัฐฯ หลังจากสิ้นหวังในกระบวนการยุติธรรมของไทย ส่วนไอลอว์เผย 3 ปีคสช. มีผู้หนีภัยการเมืองไปต่างประเทศอย่างน้อย 23 ราย
ภาพตัดต่อของนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขี่นกหัวขวาน และภาพที่กำลังย่อตัวลงเพื่อลอยกระทงแล้วตกน้ำ เป็นหนึ่งในหลายร้อยภาพตัดต่อที่ถูกแชร์ในเพจ "เรารัก พล.อ.ประยุทธ์" ซึ่งมีผู้ติดตามราว 80,000 คนก่อนที่จะถูกเจ้าหน้าที่ปิดตัวลงหลังจากที่ผู้ดูแลเพจทั้ง 8 คนถูกจับกุมตัวไปที่ค่ายทหาร และต่อมาถูกส่งตัวมายังกองบังคับการปราบปราม เมื่อเดือน เม.ย. 2559 เพื่อรับทราบข้อกล่าวหา "ยุยงปลุกปั่น" และ "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ"
ณัฏฐิกา วรธันยวิชญ์ ผู้ก่อตั้งและหนึ่งในผู้ดูแลเพจดังกล่าว ไม่เคยคิดมาก่อนว่าการล้อเลียนและเสียดสีผู้นำประเทศของเธอ จะทำให้เธอต้องติดคุก จนนำไปสู่การตัดสินใจลี้ภัยไปอยู่สหรัฐอเมริกาเมื่อ 5 เดือนที่ผ่านมา หลังจากที่เธอได้รับการประกันตัวออกมา
MYRA SANGAWONGSE
ณัฏฐิกา วรธันยวิชญ์
"เราเป็นพลเรือนแต่เราขึ้นศาลทหาร ผู้พิพากษาและอัยการ ซึ่งเป็นโจทก์ และพยานทุกอย่างเป็นทหาร ฟ้องโดยทหาร แล้วพี่จะเอาอะไรไปสู้เขา" เธอกล่าวกับบีบีซีไทยทางโทรศัพท์ จากเมืองหนึ่งในสหรัฐฯ
ไม่มั่นใจในระบบยุติธรรม
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557 ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้าบริหารประเทศหลังทำการรัฐประหาร เป็นวันที่ณัฏฐิกาตัดสินใจสร้างเพจในเฟซบุ๊ก โดยใช้ชื่อว่า "เรารัก พล.อ.ประยุทธ์"
"ณ เวลานั้น สิ่งหนึ่งที่คนไทยโดนเหมือนกันคือถูกจำกัดสิทธิ ไม่สามารถออกไปแสดงความคิดเห็นทางการเมืองได้ตามปกติ…เราเลยบอกว่าเรารักหัวหน้า คสช. ละกันจะได้ไม่ถูกเพ่งเล็ง" หญิงวัย 44 ปี กล่าว "ด้วยความที่ทุกคนถูกกด จำกัดสิทธิเสรีภาพ เขาทำอะไรไม่ได้มากกว่านี้หรอก ออกมาด่าไม่ได้หรอก แค่ออกมาขำ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ๆ ปัจจุบันไม่ได้มีความรุนแรง เขาใช้ความสร้างสรรค์ทั้งนั้น ทางออกของแรงกดดันจึงไม่ใช่การตีกันเหมือนสมัยก่อน มันมีทางออกอื่น เช่น ตัดต่อรูปขำกัน แต่คนที่ปกครองประเทศเป็นคนรุ่นเก่า คุณยังคิดว่าการลงโทษหนัก ๆ มันทำให้ประเทศดีขึ้นเหรอ"
MYRA SANGAWONGSE
"เราเป็นพลเรือนแต่เราขึ้นศาลทหาร ผู้พิพากษาและอัยการ ซึ่งเป็นโจทก์ และพยานทุกอย่างเป็นทหาร ฟ้องโดยทหาร แล้วพี่จะเอาอะไรไปสู้เขา" เธอกล่าวกับบีบีซีไทยทางโทรศัพท์ จากเมืองหนึ่งในสหรัฐฯ
ไม่มั่นใจในระบบยุติธรรม
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557 ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้าบริหารประเทศหลังทำการรัฐประหาร เป็นวันที่ณัฏฐิกาตัดสินใจสร้างเพจในเฟซบุ๊ก โดยใช้ชื่อว่า "เรารัก พล.อ.ประยุทธ์"
"ณ เวลานั้น สิ่งหนึ่งที่คนไทยโดนเหมือนกันคือถูกจำกัดสิทธิ ไม่สามารถออกไปแสดงความคิดเห็นทางการเมืองได้ตามปกติ…เราเลยบอกว่าเรารักหัวหน้า คสช. ละกันจะได้ไม่ถูกเพ่งเล็ง" หญิงวัย 44 ปี กล่าว "ด้วยความที่ทุกคนถูกกด จำกัดสิทธิเสรีภาพ เขาทำอะไรไม่ได้มากกว่านี้หรอก ออกมาด่าไม่ได้หรอก แค่ออกมาขำ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ๆ ปัจจุบันไม่ได้มีความรุนแรง เขาใช้ความสร้างสรรค์ทั้งนั้น ทางออกของแรงกดดันจึงไม่ใช่การตีกันเหมือนสมัยก่อน มันมีทางออกอื่น เช่น ตัดต่อรูปขำกัน แต่คนที่ปกครองประเทศเป็นคนรุ่นเก่า คุณยังคิดว่าการลงโทษหนัก ๆ มันทำให้ประเทศดีขึ้นเหรอ"
MYRA SANGAWONGSE
ณัฏฐิกา วรธันยวิชญ์
เธอมองว่าการจับกุมครั้งนี้เป็นการ "เชือดไก่ให้ลิงดู" เนื่องจากมีเพจจำนวนมากที่ปิดตัวไปเองหลังจากนั้น และจังหวะนั้นกำลังจะมีการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2559 ในเดือน ส.ค. จึงทำให้คนในสังคมโซเชียลต่างเงียบลง
ผู้ดูแลเพจทั้ง 8 คนถูกตั้งข้อหายุยงปลุกปั่น ในขณะที่ณัฏฐิกาและหฤษฏ์ มหาทน ถูกตั้งข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเพิ่มเติม จากข้อความที่คุยกันผ่านเฟซบุ๊กแชท ซึ่งณัฏฐิกาอ้างว่า ได้ถูกตัดต่อเป็นช่วง ๆ
เมื่อเข้าค่ายทหาร ณัฏฐิกาอ้างว่าเธอถูกบังคับให้บอกพาสเวิร์ดเฟซบุ๊ก และมีการยึดมือถือ คอมพิวเตอร์ รูปภาพ และฮาร์ดดิสก์ โดยไม่ได้รับคืน ณัฏฐิกาถูกขังอยู่ในเรือนจำเป็นเวลา 71 วัน จนกระทั่งได้รับการประกันตัวออกมาเมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2559 แต่เธอก็ยังมีอาการเครียดและวิตกกังวลมากจนถึงขั้นนอนไม่หลับ เมื่อใกล้ถึงวันที่จะต้องขึ้นศาล
WASAWAT LUKHARANG/BBC THAI
ณัฏฐิกาพร้อมผู้ต้องหาคดี "8 แอดมิน" อีก 7 คน
กระทบทุกคน
ในอดีตณัฏฐิกาเคยทำงานฟรีแลนซ์ (พนักงานไม่ประจำ) ด้านการตลาดดิจิทัล แต่หลังจากเธอได้รับการประกันตัว ก็ไม่กล้าที่จะไปสมัครงานที่ไหน เนื่องจากเธอมั่นใจว่าคงไม่มีบริษัทไหนรับคนที่ต้องคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเข้าทำงาน
เธอเล่าว่าการถูกจองจำของเธอส่งผลกระทบต่อแม่มากกว่าเธอเสียอีก โดยแม่ของเธอมีอาการมึนงง และจำอะไรไม่ได้ในช่วงแรก ๆ ที่เธอออกมาจากเรือนจำ
"เดิมพี่จะนึกถึงแต่ตัวเองว่าตัวเราจะทำไงต่อไป แต่มันกระทบทุกคนเลย เพื่อนฝูงด้วย คือ ทุกคนมีความเป็นห่วง แล้วทุกคนไม่อยากเห็นภาพนั้นอีก จนพี่คิดว่าถ้าเราจะไม่ติดคุกอีก มีสองหนทางคือชนะคดีกับหนี เราจะเชื่อมั่นขบวนการยุติธรรมได้ไหม" ณัฏฐิกากล่าว "แม่พี่ไม่มีความสุขเลยอยู่เมืองไทย สมมุติอยู่ไทยกลับดึก แม่โทรตามแล้ว ความรู้สึกที่ทหารล็อคตัวหลอนเขา เขานอนไม่หลับ กลัวจะมีคนล็อคตัวอีก"
NUTTIGAR WORATUNYAWIT
ณัฏฐิกา วรธันยวิชญ์
เกือบ 1 ปีหลังจากที่ณัฏฐิกาได้รับการประกันตัว เธอตัดสินใจเดินทางออกจากไทยเมื่อวันที่ 15 ส.ค. ปีที่แล้ว มาถึงสหรัฐฯ วันที่ 18 ส.ค. โดยบอกเพียงคนสนิท และได้เปิดเผยว่าย้ายมาอยู่ที่สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
ในช่วงท้าย ๆ ของการอยู่เมืองไทย เธอพยายามอยู่กับครอบครัวและเพื่อนสนิทให้มากที่สุด และไปไหว้พระที่วัดหลายแห่ง
"พี่ตัดใจแล้วว่าพี่อาจจะไม่ได้กลับเมืองไทยอีก แล้วเวลาคุยกับใครพี่จะบอกว่าฉันจะไม่ได้เจอกับแกในชาตินี้ เวลาพี่ขับรถ ก็คิดในใจว่า ฉันคงไม่ได้ขับบนเส้นนี้อีกแล้ว" เธอกล่าว
ขอสถานะผู้ลี้ภัย
เกือบ 1 ปีหลังจากที่ณัฏฐิกาได้รับการประกันตัว เธอตัดสินใจเดินทางออกจากไทยเมื่อวันที่ 15 ส.ค. ปีที่แล้ว มาถึงสหรัฐฯ วันที่ 18 ส.ค. โดยบอกเพียงคนสนิท และได้เปิดเผยว่าย้ายมาอยู่ที่สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
ในช่วงท้าย ๆ ของการอยู่เมืองไทย เธอพยายามอยู่กับครอบครัวและเพื่อนสนิทให้มากที่สุด และไปไหว้พระที่วัดหลายแห่ง
"พี่ตัดใจแล้วว่าพี่อาจจะไม่ได้กลับเมืองไทยอีก แล้วเวลาคุยกับใครพี่จะบอกว่าฉันจะไม่ได้เจอกับแกในชาตินี้ เวลาพี่ขับรถ ก็คิดในใจว่า ฉันคงไม่ได้ขับบนเส้นนี้อีกแล้ว" เธอกล่าว
ขอสถานะผู้ลี้ภัย
MYRA SANGAWONGSE
ณัฏฐิกา วรธันยวิชญ์ และ จอม เพชรประดับ
ปัจจุบันณัฏฐิกาทำงานโดยได้รับค่าจ้างขั้นต่ำที่ร้านอาหารไทยแห่งหนึ่ง และตอนนี้อยู่ในระหว่างการรวบรวมเอกสารในการยื่นขอสถานะผู้ลี้ภัยทางการเมืองกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและสัญชาติ (United States Citizenship and Immigration Services หรือ USCIS) โดยมีอดีตผู้สื่อข่าวอย่าง จอม เพชรประดับ คอยให้คำปรึกษาในฐานะผู้ที่ได้รับสถานะผู้ลี้ภัยเมื่อปีที่ผ่านมา หลังจากที่ คสช. ได้เรียกตัวเขาเพื่อเข้ารายงานตัวด้วยคำสั่ง คสช. 82/2557
ณัฏฐิกากล่าวว่า เธอจะยื่นขอสถานะผู้ลี้ภัยทางการเมืองในฐานะที่ถูกรัฐบาลคุกคาม เนื่องจากเธอติดคุกด้วยคดีที่ไม่สมเหตุสมผล และหากอยู่ในประเทศไทยต่อไป จะมีความเสี่ยงที่จะถูกส่งกลับเข้าไปในคุก โดยสาเหตุที่เลือกที่จะลี้ภัยที่สหรัฐฯ เนื่องจากเป็นประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก เข้าใจในเรื่องสิทธิมนุษยชน และให้เสรีภาพในเรื่องการทำงาน
"มันทิ้งความกังวลในเรื่องเก่าว่าเราคงไม่ได้ติดคุกอีกแล้วในชาตินี้ แต่อาจกังวลเรื่องการใช้ชีวิตแทน ซึ่งมันสู้ได้ แต่ความกังวลเดิมจากการติดคุกเราไม่ได้เป็นคนควบคุมว่าฉันต้องทำไงก็ได้ไม่ให้ติดคุก" เธอกล่าว "ตราบใดที่ใจเราสู้เราอยู่ได้ มันมีความหวังเสมอ…ประเทศนี้เป็นประเทศแห่งความหวัง มีความหวังในทุกซอกทุกมุมของประเทศ"
จำกัดสิทธิเสรีภาพ?
MYRA SANGAWONGSE
ณัฏฐิกา วรธันยวิชญ์
ณัฏฐิกากล่าวว่า แม้ว่า คสช. อาจจะมีความพยายามที่จะปรองดองมากขึ้นก่อนที่จะปูทางไปสู่การเลือกตั้ง แต่ก็ยังคงมีอำนาจปกครองประเทศใน "ฉากหลัง" เหมือนเดิม ดังนั้น สถานการณ์ต่าง ๆ ในเรื่องสิทธิเสรีภาพก็คงจะไม่ดีขึ้น
บีบีซีไทยได้พยายามติดต่อทีมโฆษก คสช. ตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค. เพื่อสอบถามถึงกรณีของณัฏฐิกา แต่ยังไม่ได้รับคำตอบในเรื่องนี้
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 1 ม.ค. ที่ผ่านมา พล.ต.ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ ทีมโฆษก คสช. กล่าวถึงบทบาทในการดำเนินงานของ คสช. ในปีนี้ว่า การบังคับใช้กฎหมายของ คสช. จะใช้กฎหมายตามปกติ ดำเนินการอย่างรอบคอบ รัดกุม และยืนยันว่าจะไม่ทำอะไรที่ไปละเมิดสิทธิมนุษยชนใด ๆ ทั้งสิ้น
โดยในรอบปีที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี ได้เห็นชอบให้ประกาศใช้วาระแห่งชาติเรื่อง "สิทธิมนุษยชน ร่วมขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน" ซึ่งเสนอจากกระทรวงยุติธรรม โดยมีหลักการให้ส่วนราชการต่างๆ ปรับปรุงทัศนคติเจ้าหน้าที่ของรัฐให้เข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชน และมุ่งลดสถิติการละเมิดสิทธิมนุษยชน
อย่างน้อย 23 คนหนีออกนอกประเทศ
จากการรวบรวมข้อมูลของ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ไอลอว์ พบว่าในช่วงสามปีกว่าที่คสช.อยู่ในอำนาจ มีผู้ที่ลี้ภัยทางการเมืองหรือได้รับผลกระทบจากการคุกคามของคสช.จนต้องโยกย้ายถิ่นฐาน ในลักษณะเช่นเดียวกับณัฏฐิกาแล้วมากกว่า 20 คน ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มที่ออกไปเมื่อที่มีคดีอย่างเป็นทางการโดยนับถึงตอนที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา 3 ราย ซึ่งในกลุ่มนี้รวมณัฏฐิกา ซึ่งถูกแจ้งข้อหาละเมิด ม. 112 และ 116 ส่วนกลุ่มที่ 2 มี 19 คนที่ออกไปตอนที่ยังไม่มีคดีอย่างเป็นทางการ ก็อย่างเช่น สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, จอม เพชรประดับ, ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์, วัฒน์ วรรลยางกูร, จรัล ดิษฐาภิชัย ฯ
ส่วนกลุ่มที่สาม ไม่มีคดีแต่รับผลกระทบจากเคลื่อนไหวของคสช. ก็คือ นพวรรณ บันลือศิลป์ ภรรยา แอนดรูว์ แมคเกรเกอร์ มาแชล
สิทธิผู้ต้องหาเลือกทนาย สิทธิที่หายไปในยุค คสช.
ล่า 10,000 ชื่อ ปลดอาวุธ คสช. ยกเลิกประกาศ-คำสั่ง 35 ฉบับละเมิดสิทธิ-เสรีภาพประชาชน
นักรบไซเบอร์: อาชีพนี้เหมาะกับคุณหรือไม่
ooo
หนึ่งในคนที่มีพระคุณอย่างมากในเรื่องการขอลี้ภัยคือ ดร.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์
เราไม่เคยพบกันมาก่อน ไม่เคยคุยกันไม่ว่าโดยส่วนตัวหรือทางออนไลน์
วันนึง อ.ปวินรับทราบจากเพื่อนของเราว่า เราต้องการทำเรื่องขอลี้ภัยที่ใดซักที่ในโลก
และเพียงไม่กี่วันหลังจากนั้น เราก็ได้รับหนังสือรับรองจาก อ.ปวิน เป็นฉบับแรก
เราซาบซึ้งและปลาบปลื้มผู้ชายคนนี้เพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าจากที่ชอบอยู่แล้ว
เมื่อเดินทางมาถึงอเมริกา เราเขียนข้อความไปแจ้งว่า เราอยู่อเมริกาแล้วและกำลังจะทำเรื่องขอสถานะผู้ลี้ภัย
อ.ปวินยินดีกับเราด้วย เราจบบทสนทนาด้วยการบอกว่า รักอาจารย์นะ และอยากเจอมากๆซักครั้งในชีวิต
เราเจอกันด้วยความไม่ตั้งใจแต่ก็ไม่บังเอิญซะทีเดียว
อาจารย์ให้กำลังใจและสัญญาว่าจะต้องพบกันอีก
เป็นที่มาของสเตตัสที่เราเคยเขียนด้วยความดีใจว่า เราได้พบชายในฝันที่แอบรักแล้ว
อ.ปวิน ไม่ใช่ผู้ลี้ภัยรายเดียวที่เราได้พบในประเทศนี้
และทุกคนที่พบต่างมีความปิติยินดีไม่ต่างกัน และมีสิ่งหนึ่งที่เรียกได้ว่า “หัวอกเดียวกัน”
เราจึงเข้าใจกันโดยไม่ต้องพูดอะไรกันมาก
Nuttigar Woratunyawit