ผมใช้เวลานานมากในชีวิตกว่าจะรู้ว่าสิ่งที่รักและสิ่งที่รังเกียจคืออะไร และผมก็ได้ตัดสินใจเลือกที่จะใช้ชีวิตไปตามความที่ผมรู้นั้น เสรีภาพและความเสมอภาคคือสิ่งที่ผมรัก และสิ่งที่ผมรังเกียจที่สุดในชีวิตคือเผด็จการ
Anusorn Unno
เรื่องเกี่ยวข้อง...
'5 องค์กรสิทธิฯ-กป.อพช.' ร้อง จนท. ยุติดำเนินคดี 8 ตัวแทน 'เดินมิตรภาพ' โดยทันที
(ประชาไท)
ooo
แถลงการณ์ยืนยันเสรีภาพในการชุมนุม “We Walk…เดินมิตรภาพ”
20/01/2018
By admin99
20 มกราคม 2561
ตามที่เครือข่ายประชาชนในนาม People GO Network ได้จัดงาน “We Walk…เดินมิตรภาพ” ระหว่างวันที่ 20 มกราคม 2561 – 17 กุมภาพันธ์ 2561 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เกษตรทางเลือก หลักประกันสุขภาพ และการใช้สิทธิเสรีภาพ โดยการเดินเท้าจากกรุงเทพมหานครถึงจังหวัดขอนแก่น โดยผู้จัดงานได้ดำเนินการแจ้งการชุมนุมตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 2561 ไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.คลองหลวงซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการดำเนินกิจกรรม ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2561 แล้วนั้น วันที่ 19 มกราคม 2561 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตอบกลับหนังสือแจ้งการชุมนุมสาธารณะระบุว่า จากการตรวจสอบกิจกรรมมีพฤติการณ์จำหน่ายเสื้อยืดซึ่งมีข้อความสื่อความหมายในทางการเมือง และการชักชวนให้ประชาชนทั่วไปร่วมลงลายมือชื่อยกเลิกกฎหมาย ซึ่งไม่ใช่การชุมนุมสาธารณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจดูแล แต่เป็นการมั่วสุม หรือชุมนุมการเมือง ตามข้อ 12 ของคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 ซึ่งหากฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ องค์กรสิทธิมนุษยชนซึ่งลงนามท้ายแถลงการณ์นี้ มีความเห็นต่อข้อชี้แจงดังกล่าว ดังนี้
20 มกราคม 2561
ตามที่เครือข่ายประชาชนในนาม People GO Network ได้จัดงาน “We Walk…เดินมิตรภาพ” ระหว่างวันที่ 20 มกราคม 2561 – 17 กุมภาพันธ์ 2561 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เกษตรทางเลือก หลักประกันสุขภาพ และการใช้สิทธิเสรีภาพ โดยการเดินเท้าจากกรุงเทพมหานครถึงจังหวัดขอนแก่น โดยผู้จัดงานได้ดำเนินการแจ้งการชุมนุมตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 2561 ไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.คลองหลวงซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการดำเนินกิจกรรม ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2561 แล้วนั้น วันที่ 19 มกราคม 2561 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตอบกลับหนังสือแจ้งการชุมนุมสาธารณะระบุว่า จากการตรวจสอบกิจกรรมมีพฤติการณ์จำหน่ายเสื้อยืดซึ่งมีข้อความสื่อความหมายในทางการเมือง และการชักชวนให้ประชาชนทั่วไปร่วมลงลายมือชื่อยกเลิกกฎหมาย ซึ่งไม่ใช่การชุมนุมสาธารณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจดูแล แต่เป็นการมั่วสุม หรือชุมนุมการเมือง ตามข้อ 12 ของคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 ซึ่งหากฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ องค์กรสิทธิมนุษยชนซึ่งลงนามท้ายแถลงการณ์นี้ มีความเห็นต่อข้อชี้แจงดังกล่าว ดังนี้
1. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติได้มีข้อสังเกตเชิงสรุปต่อประเทศไทยเมื่อมีนาคม 2560 แสดงถึงความกังวลในการบังคับใช้คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/58 และเสนอแนะให้ไทยประกันสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก การจำกัดหรือห้ามดำเนินกิจกรรม “We Walk…เดินมิตรภาพ” ซึ่งเป็นการใช้เสรีภาพในการแสดงออกและเป็นการชุมนุมโดยสงบนั้น จึงขัดต่อข้อ 19 และข้อ 21 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง(ICCPR) ที่ไทยเป็นภาคี
2. พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะพ.ศ.2558 มีวัตถุประสงค์มุ่งคุ้มครองพื้นที่สาธารณะโดยไม่ได้จำกัดประเภทของการชุมนุมไว้แต่อย่างใด เจ้าหน้าที่ตำรวจสภ.คลองหลวงซึ่งเป็นเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะจึงมีอำนาจในการดูแลและคุ้มครองการใช้เสรีภาพการชุมนุมในพื้นที่ดังกล่าว การปฏิเสธว่าการชุมนุมอยู่นอกเหนือจากอำนาจของตนนั้น อาจถือเป็นการปฏิเสธการทำ “หน้าที่” ตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ
3. คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 ซึ่งออกตามมาตรา 44 รัฐธรรมนูญ 2557 นั้นเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจระบุขอบเขตของการชุมนุม หรือมั่วสุมทางการเมือง ได้อย่างกว้างขว้าง โดยปราศจากความรับผิด กลายเป็นปัจจัยทางกฎหมายที่จำกัดและละเมิดซึ่งสิทธิข้างต้นเกินความจำเป็นและไม่ได้สัดส่วน องค์กรสิทธิมนุษยชนตามรายชื่อข้างท้ายขอย้ำว่า คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 ขัดต่อมาตรา 34 และมาตรา 44 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งรับรองเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพในการชุมนุมไว้ และขัดต่อหลักนิติรัฐซึ่งเรียกร้องให้ตรวจสอบทุกอำนาจ อย่างชัดแจ้ง
4. การรวมรายชื่อเพื่อเสนอกฎหมายของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เป็นการใช้สิทธิโดยตรงของประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 มาตรา 133 (3) มิใช่การมั่วสุม หรือชุมนุมทางการเมือง ที่ขัดกับข้อ 12 ของคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 แต่อย่างใด การบังคับใช้คำสั่งห้ามการชุมนุมทางการเมืองต่อการดำเนินกิจกรรมเดินมิตรภาพ แม้เป็นการสร้างความหวาดกลัวแก่ประชาชน แต่ยิ่งตอกย้ำให้เห็นถึงสถานการณ์การคุกคามสิทธิเสรีภาพของประชาชน และเห็นถึงความจำเป็นในการรวบรวมรายชื่อเพื่อเสนอกฎหมายให้ยกเลิกคำสั่งดังกล่าว ในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
ด้วยเหตุผลข้างต้น องค์กรสิทธิมนุษยชนตามรายชื่อข้างท้ายจึงเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รัฐยุติการใช้คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/58 และเคารพเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุม ตลอดทั้งอำนวยความสะดวกแก่ผู้จัดงาน ผู้เข้าร่วม และประชาชน ตามอำนาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
มูลนิธินิติธรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม
สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน