วันพฤหัสบดี, มกราคม 11, 2561

"ยุทธศาสตร์ชาติ" ที่งมงายกับ "คนดี" ไม่อาจนำชาติไปได้ พอเถอะ คนดีทำชาติฉิบหายไปมากแล้ว



...


ข้อสอบวัดความดี หรือสังคมไทย มีปัญหา กับ "ความดี"





"ตั้งเป้าหมายไว้ในปี 2562 น่าจะต้องมี ประเมินด้านจิตอาสา หรือความดี ตอนนี้ ทางสทศ. ได้ให้อาจารย์มหาวิทยาลัย ทำวิจัย และหาเครื่องมือทดสอบความดี ว่าจะทดสอบอย่างไร ปัจจุบันนี้มีการสอบเพียง o-net เป็นเรื่องของความรู้ วัดความเก่ง แต่ยังไม่ได้วัดความดี"


โดย ธัญพิสิษฐ์ เลิศบำรุงชัย
ที่มา The Nation
8 มกราคม 2561





การปฏิรูปการศึกษาอยู่ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี รองศาตราจารย์.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ บอกว่า หลังจากนี้จะมีการทดสอบด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมมากขึ้น ซึ่งนับเป็น การทดสอบ แบบศตวรรษที่ 21

ข้อสอบจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่ 1 ทดสอบ ความรู้ เช่น การเขียน การอ่าน และส่วนที่ 2 คือ Soft Skill เป็นเรื่องของ creative ความคิดสร้างสรรค์ และการคิดเชิงวิพากย์ วิเคราะห์

"โดยตั้งเป้าหมายไว้ในปี 2562 น่าจะต้องมี ประเมินด้านจิตอาสา หรือความดี ตอนนี้ ทางสทศ. ได้ให้อาจารย์มหาวิทยาลัย ทำวิจัย และหาเครื่องมือทดสอบความดี ว่าจะทดสอบอย่างไร ปัจจุบันนี้มีการสอบเพียง o-net เป็นเรื่องของความรู้ วัดความเก่ง แต่ยังไม่ได้วัดความดี"

คำให้สัมภาษณ์ของผู้อำนวยการสถาบันการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ หรือ สทศ. ที่ต้องการหาเครื่องมือหรือชุดข้อสอบเพื่อวัดความดี อาจก่อให้เกิดเสียงวิพากย์ขึ้นมาอีกครั้ง ในแวดวงการศึกษา

ความพยายามในการใช้ความดีเป็นตัวชี้วัดในระบบการศึกษา มีอย่างต่อเนื่องและมักถูกวิจารย์ เพราะความดีเป็นนามธรรมที่จับต้องไม่ได้ แล้วจะมีเครื่องมือมาชี้วัด หรือประเมินผลอย่างไร หรืออาจกลายเป็นทำดีหวังผล

เมื่อปี 2557 กระทรวงศึกษาธิการมีทำสมุดพกความดี เพื่อส่งเสริมค่านิยมหลักของคนไทย ตามนโยบาย คสช. และมีข้อเสนอสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา พิจารณาใช้ความดี ในการสอบเข้ามหาลัยด้วย

โครงการสมุดบันทึกความดี เป็น 1 ในโครงการฟื้นฟูจริยธรรม ตามนโยบาย คสช. ซึ่งก่อนหน้านี้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลักดันโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 กับชุมชนกว่า 75,000 แห่ง ทั่วประเทศ รวมทั้งการรื้อฟื้นวิชาหน้าที่พลเมือง ในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

การหมดศรัทธาต่อตัวนักการเมือง คือเหตุผลหนึ่งที่ถูกหยิบยก มาอธิบายว่า ทำไมความดี และคนดี จึงจำเป็นต่อสังคม แต่บทความของนักวิชาการ หลายชิ้น ชี้ว่า การที่สังคมไทยโหยหาความดี นอกจากจะเกิดจากการผลิตซ้ำวาทะกรรม ว่านักการเมืองเป็นคนไม่ดีแล้ว ยังเกิดจากพัฒนาการ ทางประวัติศาสตร์การเมืองการปกครอง ที่รัฐมักจะใช้กรอบแนวคิดและค่านิยมทางศาสนา มาสร้างความชอบธรรมให้กับการปกครอง อยู่เสมอ

ดังนั้นไม่ว่าจะค่านิยม 12 ประการที่ คสช. บัญญัติขึ้น หมู่บ้านรักษาศีล 5 วิชาหน้าที่พลเมือง หรือ ข้อสอบวัดความดี จึงเป็นเพียงภาพสะท้อนอีกภาพหนึ่ง ของปัญหาการใช้ความดี ในสังคมไทย.