กูต้องได้ 100 ล้าน จากทักษิณแน่ๆ
เรียนท่านสมาชิกและไม่ใช่สมาชิกทั้งหลาย
เรื่องการแก้กฎหมายหลักประกันสุขภาพ มีเรื่องแจ้งดังนี้
เรื่องหลักการเหตุผลของการแก้กฎหมาย (เอกสาร 2 แผ่น ท่านทั้งหลายอาจเคยเห็นไปแล้วก่อนหน้านี้) เอกสารนี้ ไม่ได้มีมติในคณะกรรมการยกร่างกฏหมาย แต่เป็นเพราะทีมเลขาได้ยกร่างมาเอง นี่คือการสอดใส่ ทั้งที่ไม่ใช่มติของที่ประชุม อย่างนี้จะไว้ใจได้อย่างไร?
.....
สรุปสาระสำคัญ
(ร่าง) กฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ฉบับใหม่
(ควรอ่าน ควรรู้ ควรแชร์ ก่อนจะสายเกินแก้ แย่เกินการณ์)
- - - - - - - - - -
ก. #ที่มาของการแก้ไขกฎหมาย
ก.1) คณะกรรมการแก้ไขกฎหมาย มี 27 คน ตามที่ คำสั่ง คสช.ม.44 โดย ประธานได้รับการแต่งตั้งโดย รมว.สธ. คือ รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ นอกจากนี้คณะกรรมการชุดนี้ก็มี กรรมการจากกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงยุติธรรม กระทรวงแรงงาน กรมบัญชีกลาง สำนักงบประมาณ สภาวิชาชีพพยาบาล เภสัชกร ที่ปรึกษา สำนักงานสุขภาพแห่งชาติ TDRI กลุ่มประชาสังคม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ก.2) คณะกรรมการเริ่มประชุมกรรมการ ครั้งแรกเมื่อ 6 ก.พ.60 - จะเสร็จสิ้นวันที่ 17 มิ.ย.60 และจะมีการประชุมคณะกรรมการทุกๆอาทิตย์ เมื่อประชุมเสร็จแล้วก็จะมีการนำข้อสรุปที่ได้จากคณะกรรมการ ไปจัดให้มีเวทีประชาพิจารณ์ ซึ่งจะจัดเดือน มิถุนายน 2560 นี้
- - - - - - - - - -
ข. #สาระหลักที่มีการแก้ไข ในร่าง พรบ.ฉบับใหม่ ที่ ควรจับตามองอย่างยิ่ง
ข.1) กฎหมายสุขภาพนี้ให้ครอบคลุมเฉพาะคนไทยเท่านั้น ไม่นับรวมกลุ่มชาติพันธ์ ชนเผ่า คนชายขอบ และคนไทยที่รอพิสูจน์สถานะบุคคล
ข.2) การร่วมจ่าย ให้คงเดิม ตาม มาตรา 5 ของพรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่ก็มีการเปิดช่องให้สามารถทำได้ในอนาคต
ข.3) การใช้เงินจากกองทุน ที่ผ่านมาถูกมองว่าใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ของพรบ. จึงมีการกำหนดให้ระบุให้ชัดเจนว่าใครควรได้รับบ้าง เช่น จ่ายให้ รพ.เป็นค่าน้ำค่าไฟ อื่นๆ จ่ายให้สสจ. กรม กอง ต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุข ส่วนพวกกลุ่มประชาสังคมนั้นให้ไปเอาจากพื้นที่ ไม่ต้องรับงบประมาณจากส่วนกลาง จะรับก็แค่เงินส่งเสริมป้องกันโรคเท่านั้น ที่สำคัญ กรรมการหลายท่านย้ำว่า ต้องมีความโปร่งใส และไม่ซ้ำซ้อนกับงานระบบพื้นที่
ข.4) ให้กันเงินเดือนออกจากค่าใช้จ่ายรายหัว ซึ่งตรงนี้จะทำให้เกิดปัญหา การกระจายบุคลากรทางการแพทย์
ข.5) เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จะมีความชัดเจนมากขึ้น คือ เพื่อใช้จ่ายในบริการสาธารณสุขและสนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการเท่านั้น (ค่าใช้จ่ายประจำ ค่าชดเชยค่าเสื่อมของสถานก่อสร้าง ครุภัณฑ์ และส่งเสริมป้องกันโรค และอื่นๆ) ดังนั้น ถ้าเกินขอบเขตจากนี้จะไม่สามารถนำเงินตรงนี้ไปใช้ได้ เช่น เมื่อก่อน หน่วยบริการ สถานบริการ ก็จะมีทาง โรงพยาบาลระดับต่างๆ และหน่วยงานภาคเอกชน มาช่วยสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ แต่ถ้ากำหนดนี้ชัดเจน จะทำให้การมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาคเอกชนลดทอนไป คนก็จะไปที่โรงพยาบาลเป็นหลัก เป็นต้น
ข.6) คณะกรรมการ สปสช. มีวาระต่อเนื่อง 2 วาระเท่านั้น และจะมีการเพิ่มองค์ประกอบกรรมการสปสช. เพิ่มตำแหน่งรองประธานโดยให้ ปลัด สธ.เป็นรองประธานกรรมการหลักประกันฯ องค์ประกอบและสัดส่วน กรรมการหลักฯ กรรมการควบคุมฯ จะมีเพิ่มทุกสภาวิชาชีพ และผู้แทน รพ.ระดับต่างๆ แต่จะคงหลักการเหมือนกัน คือสัดส่วน และการได้มา เช่น เลือกกันเอง ก็ต้องเลือกกันเองเหมือนกัน ดังนั้น กรรมการสปสช. จะมีผู้แทนภาคสาธารณสุข มากกว่า ประชาชน ในอัตรา 40 ต่อ 5 คน เท่านั้นซึ่งไม่มีความสมดุลย์เลย
ข.7) กำหนดให้หลักเกณฑ์การสมัครเลขาธิการสปสช. กว้างขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้คนอื่นๆ มาทำงาน
ข.8) การจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นเมื่อได้รับความเสียหายทางการแพทย์ จะรวมทั้งผู้ใช้บริการและผู้รับบริการ
ข.9) ไม่ให้ สปสช. จัดซื้อยารวมเอง แต่ควรมีการตั้ง กรรมการระดับชาติต่อรองราคายาร่วมกัน 3 กองทุน และเปิดโอกาสสำหรับ สปสช. ในบางประเภทยา วัสดุ ให้ชุดเล็กไปยกร่างมาเสนอใหม่
- - - - - - - - - -
ค. #สิ่งที่ต้องติดตามเพราะประชาชนจะได้รับผลกระทบ
ค.1) ไม่สามารถขยายความคุ้มครองให้คนไทยรอพิสูจน์สถานะ และคนบนผืนแผ่นดินไทย
กรณีนี้ถือว่า ละเมิดสิทธิมนุษชยหรือไม่? และหากมีท่านใดบอกว่าแรงงานต่างด้าวเป็นภาระ ก็จะบอกว่า แรงงานต่างด้าวรวมผู้ติดตามซึ่งอยู่ในประเทศไทยทุกคน เขาซื้อบัตรประกันสุขภาพในราคา 2,100 บาท มีอายุคุ้มครอง 1 ปี และมีราคาอื่นๆตามช่วงเวลาที่อยู่ในไทย ดูรายละเอียดตามลิงก์ http://phdb.moph.go.th/…/ประกาศกระทรวงสาธารณสุขแรงงานต่างด้… จะว่าไปเขาก็จ่ายให้ระบบประกันสุขภาพไปแล้ว และหากรวมเอาสถิติการเข้ารับการรักษาพยาบาลทั้งประเทศมาดูก็จะพบว่า ได้ประโยชน์มากกว่าเสียประโยชน์ ดังนั้น อย่าไปคิดว่าเขามาเกาะอิงอาศัยอย่างเดียว
ค.2) การแก้กฎหมายนี้ ทำให้เฉพาะเจาะจงเรื่อง คน 48 ล้านคน ส่วน ประกันสังคม ข้าราชการ ไม่เกี่ยว ไม่เอามาเกี่ยวกับกฎหมายนี้
ค.3) องค์ประกอบและสัดส่วนกรรมการภาคผู้แทนประชาชนและองค์กรท้องถิ่นจะลดน้อยลง เนื่องจากมีส่วนเพิ่มจากวิชาชีพ ซึ่งตรงนี้จะเป็นจุดอ่อนสำคัญที่ทำให้เสียงของประชาชนขาดหายไป ขัดกับหลักการแยกบทบาทระหว่างผู้ให้บริการ (กระทรวง สธ.) และผู้ซื้อบริการ (สปสช) เพื่อให้จัดการระบบบริการอย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน ตรวจสอบได้
ค.4) สำนักงาน สปสช. อาจถูกกำกับควบคุมมากขึ้น ทั้งจาก กระทรวง สธ. และ สภาวิชาชีพต่างๆ ทั้งที่ สปสช ควรเป็นหน่วยงานกลางเพื่อต่อรองและพัฒนาระบบให้เกิดการบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพเข้าถึงประชาชนอย่างแท้จริง เพราะเป็นระบบสวัสดิการของประชาชนทุกคน ไม่ใช่ระบบอนาถา สังคมสงเคราะห์แบบที่คนบางคนเข้าใจ และสปสช ต้องทำหน้าที่ “ผู้จัดหาบริการ” โดยการไปต่อรองกับ “ผู้ให้บริการ” อันได้แก่ รพ. ในสธ. และนอกสังกัด สธ. ตลอดทั้งรพ.เอกชน องค์กรท้องถิ่นเป็นต้น
ค.5) ที่ผ่านมามีการนำงบประมาณระดับประเทศของหลักระกันสุขภาพไปสนับสนุนให้องค์กรภาคประชาสังคมต่างๆ ทำหน้าที่ตามนโยบายพัฒนาและส่งเสริมการมีหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หน่วยงานต่างๆ เหล่านั้นรวมถึงสำนักหลายๆสำนักในกระทรวง สธ. ก็ได้รับงบประมาณมา ซึงเป็นการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพในภาพกว้าง บางที่ก็มีการเข้าร่วมในการให้บริการสุขภาพด้วย ตรงนี้เอง ควรระบุให้ชัดเจนไปเลยว่าอะไรจะทำได้ไม่ได้ เพราะประชาชนคงไม่ใช่แค่จะรอป่วยแล้วไปหาหมอเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีบทบาทส่วนร่วมในการให้บริการและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับสิทธิต่างๆ ตามระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ค.6) คณะกรรมการแก้ไขกฏหมายมีการประชุมเกือบทุกอาทิตย์ แต่ประชาชน หมอ แพทย์ คนเกี่ยวข้องไม่ค่อยมีโอกาสได้รับรู้เลย ดังนั้นควรมีการแถลงข่าวให้สาธาณชนได้รับรู้ด้วย และอีกประการหนึ่งใครที่สนใจก็เตรียมตัวไปส่งเสริมแสดงความคิดเห็นได้ในเวทีประชาพิจารณ์ที่จะมีช่วงต้นเดือน มิถุนายน นี้
ค.7) มีเรื่องที่ควรแก้ไขปัญหามากมาย แต่กลับไม่แก้ เช่น หลักการสร้างสังคมสวัสดิการ ที่ไม่ใช่มีไว้แค่คนจน คนอนาถา แต่นี้คือ สวัสดิการทางสังคมของคนไทยทุกคน / การรวมกองทุนสุขภาพเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของสิทธิประโยชน์ ทั้งของประกันสังคม และข้าราชการ/ ไม่ยอมยกเลิกการร่วมจ่าย เพื่อในกฎหมายฉบับเดิมยังเปิดช่องให้ทำ แต่จริงๆแล้วควรเป็นรัฐสวัสดิการทั่วถึงเท่าเทียมคนทุกคน/ ไม่ขยายสิทธิให้ครอบคลุมกับกลุ่มคนที่ไม่มีเลข 13 หลัก ทั้งที่รอพิสูจน์สถานะบุคคลหรือตกสำรวจ ทั้งที่เป็นคนไทยเหมือนกัน/ ไม่เอื้อประโยชน์ให้ สปสช บริหารงานได้อย่างอิสระเพื่อต่อรองราคายา ลดค่าใช้จ่ายสูงเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงยาได้ เช่น ยาแก้พิษ ยากำพร้า เซรุ่ม ยารักษาโรคเรื้อรัง เป็นต้น
ค.8) คณะกรรมการที่ยกร่างแก้ไข ไม่มีสัดส่วนที่ครอบคลุมสมดุล เพราะมีเพียงตัวแทนประชาชนเพียง 2 คนเท่านั้นในกรรมการทั้งหมด 26 คน ทั้งที่ควรคำหนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ครอบคลุมแต่กลับให้ความสำคัญเพียงแค่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจนเสียหลักการ
ค.9) รูปแบบการจัดเวทีประชาพิจารณ์ ต้องลงทะเบียนออนไลน์เท่านั้น และจัดเวที 4 เวที ใน 4 ภาคเท่านั้น คนที่จะไปร่วมเวทีใดๆ ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองหมด ในส่วนนี้ ทำให้ไม่สามารถกระจายการมีส่วนร่วมของประชาชนได้เลย และไม่หลากหลายในเสียงของประชาชน ดังนั้นจึงขัดหลักการมีส่วนร่วมที่ทั่วถึงของประชาชน
ค.10) ระบบร่วมจ่ายเป็น nuisance money ไม่ควรมีการร่วมจ่าย ณ จุดรับบริการ โดยเฉพาะถ้างบประมาณยังเพียงพอ แต่สนับสนุนการหาแหล่งงบประมาณเพิ่มเติมจากแหล่งอื่นมาสมทบกับแหล่งงบประมาณเดิม หรือ ผู้ต้องการร่วมจ่ายสามารถบริจาคเงินให้ รพ. หรือ สปสช. ได้อยู่แล้ว เช่น รูปแบบภาษีเฉพาะ หรือ การอนุญาตให้มีระบบประกันสุขภาพเสริม
ค.11) การแยกเงินเดือนข้าราชการออกจากการคำนวณงบประมาณทั้งขาขึ้น ขาลง ไม่ควรทำ ยกเลิกการแก้ไขในประเด็นนี้ เพราะการจัดซื้อ จัดหา หลักประกันสุขภาพให้ประชาชน ต้องคำนวณค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมด แล้วจ่ายให้กลับไปในพื้นที่ตามจำนวนประชากร (ควรจ่ายเหมาต่อหัวประชากร และภาระงาน (กรณีเป็น referral center) ) เพื่อความเป็นธรรมให้กับประชาชน จึงไม่ควรจ่ายเป็นเงินเดือน และค่าตอบแทน เงินเดือนและค่าตอบแทนเป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการต้องบริหารเอง (นั่นก็คือกระทรวงสาธารณสุข)
- - - - - - - - - -
แนวคิดของผู้(ที่ต้าน) สนับสนุนการแก้หลักประกันสุขภาพให้เสื่อมถอยลง ที่อยากให้ท่านทั้งหลายได้อ่านกัน ก็มีเช่นแนวคิดของ
ศ.ดร.นพ.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร กรรมการแพทยสภา ที่กล่าวว่า "ความฟรีทำลายสุขภาพคนไทย โดยการที่คนเข้ารพ.มากขึ้น จากที่เห็นว่าการรักษาพยาบาลเป็นของฟรี และสปสช.คิดว่าเป็นผลงานที่ทำให้คนเข้าถึงบริการมากขึ้น ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผิด" (อ้างอิง http://www.komchadluek.net/news/edu-health/279956)
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา (คนที่ด่าตัวแทน WHO แต่ไม่กล้าไปขอโทษ) กรรมการแพทยสภา ที่กล่าวว่า “สมควรที่จะยกเลิกพ่อค้าคนกลางหรือองค์กรกลางนี้เสียที และปล่อยให้กระทรวงสาธารณสุขมีเกียรติและศักดิ์ศรีเหมือนกระทรวงอื่นทุกกระทรวงในประเทศไทย ที่สามารถรับผิดชอบงานของกระทรวงในการให้บริการประชาชน โดยไม่ต้องตกอยู่ใต้อาณัติ(เหมือนเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา)ของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสปสช.อีกต่อไป”
(อ้างอิง https://www.facebook.com/churdchoo.ariyasriwatana/posts/10154725675675208 )
- - - - - - - - - -
การรับฟังความเห็นออนไลน์ ที่นี่ (ต้องลงทะเบียน)
http://www.lawamendment.go.th/…/it…/1036-2017-06-02-16-11-05
- - - - - - - - - -
ทั้งหมดที่เขียนมานี้ เป็นสาระสำคัญเบื้องต้นที่ควรรู้ไว้ให้เท่าทันคนคิดร้ายต่อระบบประกันสุขภาพของประชาชน
แม้แต่ นพ.มงคล อดีต รมว.สาธารณสุข ก็ยังโพสต์เฟซบุ๊กถึง พล.อ.ประยุทธ์ ชี้ว่ากำลังมีการทำลายหลักการสำคัญของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าผ่านแก้ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ ระบุหากนายกฯ ปล่อยให้มีการแก้ไขตามที่กำลังทำอยู่ จะเป็นการทำลายหลักการแยกผู้ซื้อบริการออกจากผู้จัดบริการ เป็นการละเมิดสิทธิของประชาชน และใช้งบประมาณแผ่นดินที่ไม่เป็นธรรม
(http://prachatai.org/journal/2017/06/71816)
และ 30 บาท รักษาทุกโรคนี้ก็เป็นโครงการที่ได้รับคำชื่นชมจากทั่วโลก และ UN ก็ผลักดันให้นำไปใช้กับประเทศต่างๆ แต่ถ้าประเทศต้นแบบกลับมีคนกลุ่มหนึ่งจ้องทำลายระบบนี้ คงน่าตลกพิลึก อิอิ
สุดท้ายนี้ เห็นว่าการแก้ไขกฎหมายสามารถทำได้ แต่ต้องไม่บิดเบือนเจตนารมณ์และหลักการของกฏหมาย แต่ถ้าแก้ไขแล้วไม่เป็นประโยชน์อันใดแก่ประชาชน ก็ควรเริ่มนับหนึ่งใหม่ ให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมกระจายความคิด ความเห็นให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น ไม่ใช่ทำด้วยการลิดรอนสิทธิเสียงของทุกฝ่าย เพื่อสร้างความชอบธรรมและประชาพิจารณ์ เพียงเพื่อลดคำครหาที่อาจถูกมองว่าแก้กฏหมายเพื่อเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง แต่สุดท้ายแล้วคนที่มีเสียงมากที่สุดกลับเป็นพวกพ้องของตนเอง ไม่ใช่ประชาชน
ท่านใดเห็นว่าเข้าใจง่าย จักช่วยกันแชร์ออกไปกูก็ไม่ได้หวงห้าม
...
ลิงค์เอกสาร
https://www.facebook.com/secret100million/posts/656547007876832
ที่มา FB
กูต้องได้ 100 ล้าน จากทักษิณแน่ๆ added 11 new photos.