อย่าถามเลยว่าไทยเสี่ยงรัฐประหารอันดับ2ของโลกปีนี้ไหม เพราะที่นี่เขาทำและประกาศทีหลัง แถมดูสถิติทำเฉลี่ยทุก7ปีย่อมมั่นใจได้ #ป #รปห #คสช #ไทย— Pravit Rojanaphruk (@PravitR) February 3, 2017
ooo
FootNote: คำตอบของ”รัฐประหาร”อยู่ที่”กองทัพ”
ที่มา ข่าวสดออนไลน์
3 กุมภาพันธ์ 2560
การถ่ายทอดงานวิจัยจากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์”วอชิงตัน โพสต์”ของสื่อไทยดำเนินไปอย่างน่าสนใจ
มีการเน้นในเรื่อง “รัฐประหาร”
แต่หากลองศึกษากระบวนการของ “พาดหัว” อันเป็นไปภายใต้การตีความก็ไม่ควรมองข้ามการใช้ “คำ”
นั่นก็คือ คำว่ารัฐประหาร “ซ้ำ”
คำว่า “ซ้ำ” แตกต่างไปจากรัฐประหาร “ซ้อน” หรือรัฐประหารไม่มีอะไร”ต่อท้าย”
สะท้อนว่า “ซ้อน” มาจากปัจจัย”อื่น”
แต่คำว่า “ซ้ำ” ไม่เพียงแต่ซ้ำโดยกระบวนการ “รัฐประหาร” หากแต่ที่สำคัญเป็นอย่างมากคือ ซ้ำโดยกลุ่มและคณะบุคคลอย่างที่เรียกว่า
“หน้าเดิม”
เรื่องนี้ต้องศึกษาอย่างเปรียบเทียบระหว่างรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 กับ รัฐประหารเดือนพฤษภาคม 2557
“ซาโตริ” ก็จะ”บังเกิด”
แท้จริงแล้ว ในประวัติศาสตร์ของ”รัฐประหาร”ในสังคมไทยดำเนินไปทั้งอย่าง “ซ้ำ”และอย่าง”ซ้อน”
ขอตัดประเด็น “ซ้อน” ออกไปก่อน
“รัฐประหาร” ซ้ำมีให้เห็นทั้งกรณีเมื่อเดือนกันยายน 2476 และกรณีเมื่อเดือนเมษายน 2491
แตที่อึกทึกครึกโครมเห็นได้จาก 5 ครั้ง
ครั้งที่ 1 คือ การยึดอำนาจเมื่อเดือนกันยายน 2476 ครั้งที่ 2 คือ การยึดอำนาจเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2494
ครั้งที่ 3 คือ การยึดอำนาจเมื่อเดือนตุลาคม 2501 ครั้งที่ 4 คือ การยึดอำนาจเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2514 และครั้งที่ 5 คือ การยึดอำนาจเมื่อเดือน ตุลาคม 2520
เพราะเมื่อปี 2476 เป็นการยึดของ “คณะราษฎร”
เพราะเมื่อปี 2494 เป็นการยึดของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม เพราะเมื่อปี 2501 เป็นการยึดของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เพราะเมื่อปี 2514 เป็นการยึดของ จอมพลถนอม กิตติขจร
เพราะเมื่อปี 2501 เป็นการยึดของ”คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน”
ความหมายก็คือ ยึดอำนาจของตัวเอง
คล้ายกับว่า รัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 กับ รัฐประหารเมื่อ เดือนพฤษภาคม 2557 มีความแตกต่าง
เพราะปี 2549 เป็น พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
เพราะปี 2557 เป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
แต่ถามว่า “โครงสร้าง”แห่งอำนาจของ”กองทัพ”จากยุครัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 มายังรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษ ภาคม 2557 มีความสัมพันธ์กันหรือไม่
คำตอบก็คือ สัมพันธ์กัน อำนาจทางการทหารอย่างแท้จริงอยู่ในมือของใคร อำนาจในการรัฐประหารก็เป็นบุคคลผู้นั้น
ปัจจุบัน อำนาจทางการทหารยังอยู่ในมือ”คสช.”
นั่นก็คือ คำว่ารัฐประหาร “ซ้ำ”
คำว่า “ซ้ำ” แตกต่างไปจากรัฐประหาร “ซ้อน” หรือรัฐประหารไม่มีอะไร”ต่อท้าย”
สะท้อนว่า “ซ้อน” มาจากปัจจัย”อื่น”
แต่คำว่า “ซ้ำ” ไม่เพียงแต่ซ้ำโดยกระบวนการ “รัฐประหาร” หากแต่ที่สำคัญเป็นอย่างมากคือ ซ้ำโดยกลุ่มและคณะบุคคลอย่างที่เรียกว่า
“หน้าเดิม”
เรื่องนี้ต้องศึกษาอย่างเปรียบเทียบระหว่างรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 กับ รัฐประหารเดือนพฤษภาคม 2557
“ซาโตริ” ก็จะ”บังเกิด”
แท้จริงแล้ว ในประวัติศาสตร์ของ”รัฐประหาร”ในสังคมไทยดำเนินไปทั้งอย่าง “ซ้ำ”และอย่าง”ซ้อน”
ขอตัดประเด็น “ซ้อน” ออกไปก่อน
“รัฐประหาร” ซ้ำมีให้เห็นทั้งกรณีเมื่อเดือนกันยายน 2476 และกรณีเมื่อเดือนเมษายน 2491
แตที่อึกทึกครึกโครมเห็นได้จาก 5 ครั้ง
ครั้งที่ 1 คือ การยึดอำนาจเมื่อเดือนกันยายน 2476 ครั้งที่ 2 คือ การยึดอำนาจเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2494
ครั้งที่ 3 คือ การยึดอำนาจเมื่อเดือนตุลาคม 2501 ครั้งที่ 4 คือ การยึดอำนาจเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2514 และครั้งที่ 5 คือ การยึดอำนาจเมื่อเดือน ตุลาคม 2520
เพราะเมื่อปี 2476 เป็นการยึดของ “คณะราษฎร”
เพราะเมื่อปี 2494 เป็นการยึดของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม เพราะเมื่อปี 2501 เป็นการยึดของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เพราะเมื่อปี 2514 เป็นการยึดของ จอมพลถนอม กิตติขจร
เพราะเมื่อปี 2501 เป็นการยึดของ”คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน”
ความหมายก็คือ ยึดอำนาจของตัวเอง
คล้ายกับว่า รัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 กับ รัฐประหารเมื่อ เดือนพฤษภาคม 2557 มีความแตกต่าง
เพราะปี 2549 เป็น พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
เพราะปี 2557 เป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
แต่ถามว่า “โครงสร้าง”แห่งอำนาจของ”กองทัพ”จากยุครัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 มายังรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษ ภาคม 2557 มีความสัมพันธ์กันหรือไม่
คำตอบก็คือ สัมพันธ์กัน อำนาจทางการทหารอย่างแท้จริงอยู่ในมือของใคร อำนาจในการรัฐประหารก็เป็นบุคคลผู้นั้น
ปัจจุบัน อำนาจทางการทหารยังอยู่ในมือ”คสช.”