Sathit M.
Voice TV
22 สิงหาคม 2559
'การบ้าน' ที่ไทยกำหนดส่งยูเอ็นในเดือนกันยายน จะเหมือนคำตอบเมื่อเดือนพฤษภาคม และฉายซ้ำอีกครั้งเมื่อวันศุกร์ หรือไม่
ไทยต้องส่ง ‘การบ้านสิทธิมนุษยชน’ ที่นครเจนีวาในเดือนหน้า ทว่าถ้อยแถลงกระทรวงต่างประเทศตอบโต้ข้าหลวงใหญ่ฯเมื่อวันศุกร์ ส่อแววว่าระบอบทหารอาจตอบข้อกังวลของกลไกยูเอ็นด้วยคำชี้แจงเดิมๆ
เมื่อวันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม โฆษกสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ นางราวินา ชัมดาซานี แสดงความวิตกกังวลที่รัฐบาลไทยเดินหน้าปิดกั้นพื้นที่ประชาธิปไตยอย่างหนักมือยิ่งขึ้น
พร้อมกับเรียกร้องให้ยกเลิกข้อหานักกิจกรรมทางการเมือง นักปกป้องสิทธิมนุษยชน และปล่อยตัวประชาชนที่แสดงความคิดเห็นคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญก่อนหน้าการออกเสียงประชามติ รวมทั้งขอให้ยุติการใช้ประกาศ/คำสั่งของคณะรัฐประหาร และเลิกใช้ศาลทหารในการดำเนินคดีพลเรือน (วอยซ์ทีวี, 19 สิงหาคม 2559 ; สำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ)
ไม่ทันข้ามวัน กระทรวงการต่างประเทศตอบโต้คำเรียกร้องของข้าหลวงใหญ่ฯ มีใจความว่า มาตรการต่างๆที่ไทยใช้ถือเป็น "ความจำเป็น" เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย ป้องกันความแตกแยก และว่า ผู้ต้องหาที่ขึ้นศาลทหารมีสิทธิต่างๆไม่ผิดกับศาลพลเรือน ส่วนคดีผู้ต้องหาประชามตินั้นเป็นการดำเนินคดีกับ "ผู้ที่ตั้งใจฝ่าฝืนกฎหมายและก่อความไม่สงบ" (กระทรวงการต่างประเทศ, 19 สิงหาคม 2559)
ฉายหนังวน
คำชี้แจงข้างต้นของทางการไทยไม่ใช่เรื่องใหม่ เราอาจได้ชมระบอบทหารฉายหนังซ้ำอีกหลายรอบ
...พล็อตเรื่องพูดถึงความเป็นภาคียูเอ็นที่พร้อมปฏิบัติตามพันธกรณีในเรื่องสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ทว่าพ่วงคำว่า "แต่" ตัวโตๆไว้ด้วย ว่า "อย่างไรก็ดี รัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินมาตรการ..." อันทำให้ประโยคระรื่นหูก่อนหน้าเสมอเป็นเพียงโวหาร
...พล็อตเรื่องพูดถึงการอำนวย "ความยุติธรรม" ของศาลทหาร
...พล็อตเรื่องพูดถึงการรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของสิ่งที่เรียกว่า "กฎหมาย"
คอมเมนต์ตอบโต้เมื่อวันศุกร์ เป็นการวนซ้ำคำชี้แจงที่ไทยเคยแถลงต่อนานาประเทศในหลายวาระ ที่สำคัญ ไทยเคยพูดทำนองนี้บนเวทีของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติที่นครเจนีวามาแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคม เป็นการพูดหลังจากไทยถูกติติงในเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก การชุมนุม และศาลทหาร
ยูพีอาร์
เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม คณะทำงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของชาติสมาชิก ที่เรียกกันสั้นๆว่ายูพีอาร์ นำเสนอรายงานเกี่ยวกับประเทศไทย ระบุว่า คณะรัฐประหารได้ออกคำสั่งหลายฉบับ ทีมที่เก็บข้อมูลในไทยแสดงความวิตกที่คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติมุ่งจำกัดเสรีภาพการแสดงออก เช่น ปิดสื่อ-เว็บไซต์ที่ต่อต้านคสช. จับกุมผู้มีความเห็นต่าง และบังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างเข้มงวด
ทีมที่เขียนรายงานในส่วนของประเทศไทยยังแสดงความกังวล กรณีคสช.ออก คำสั่งฉบับที่ 3/2558 ห้ามชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน และยังออก ประกาศฉบับที่ 14/2557 ห้ามเคลื่อนไหวต่อต้านคณะรัฐประหาร นอกจากนี้ พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะยังกำหนดเงื่อนไขหลายอย่างที่จะส่งผลให้การชุมนุมกลายเป็นการละเมิดกฎหมาย
ท่าทีแสดงความวิตกต่อการจำกัดสิทธิเสรีภาพในไทย ปรากฏชัดเจนเมื่อคราวสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติออกแถลงการณ์ เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2559 เรียกร้องรัฐบาลทหารไทยให้ยกเลิกข้อหานักศึกษา 11 คนที่ถูกจับเพราะชุมนุมทางการเมือง พร้อมกันนั้น ยังแสดงความกังวลที่นักศึกษาถูกตั้งข้อหาละเมิดคำสั่งคสช. แทนที่จะเป็นข้อหาทำผิดพ.ร.บ.ชุมนุม ทำให้นักกิจกรรมเหล่านั้นต้องขึ้นศาลทหาร
แถลงการณ์บอกด้วยว่า เมื่อถูกดำเนินคดีในศาลทหาร ผู้ต้องหามีความเสี่ยงที่จะถูกไต่สวนอย่างไม่ยุติธรรม จำเลยไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์คดี (Human Rights Council, Working Group on the Universal Periodical Review - Twenty-fifth session 2-13 May 2016)
รายงานของยูพีอาร์ทำให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทย นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ต้องแถลงต่อที่ประชุมยูพีอาร์เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ชี้แจง "เหตุผลและความจำเป็น" ในการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกและการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการชุมนุม รวมไปถึงเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และการนำตัวพลเรือนขึ้นศาลทหาร (ไทยโพสต์, 16 พฤษภาคม 2559)
ย้อนทวนดูอย่างนี้แล้ว เห็นได้ว่า ในเรื่องสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของไทยนั้น นานาประเทศ รวมถึงกลไกยูเอ็น แสดงความวิตกมาโดยตลอด และเรียกร้องให้รัฐบาลทหารของไทยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ขณะที่ทางการไทยพยายามออกตัวในทุกโอกาสเช่นกัน
ส่งการบ้าน
ในเวทียูพีอาร์เมื่อเดือนพฤษภาคม นานาประเทศได้ให้ข้อเสนอแนะการปรับปรุงสิทธิมนุษยชนรวม 249 ข้อ ไทยตอบรับที่จะทำตาม 181 ข้อ ยังเหลือ 68 ข้อ ไทยขอนำกลับมาหารือ ก่อนที่จะให้คำตอบต่อที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติในเดือนกันยายน
ข้อที่ไทยขอนำกลับมาทำเป็นการบ้านนั้น ครอบคลุมเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ การจำกัดเสรีภาพที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน การใช้ศาลทหาร การแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
แม้ทางการไทยเพียรชี้แจงครั้งแล้วครั้งเล่าถึงเหตุผลและความจำเป็นของมาตรการที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพ หากแต่นานาชาติยังคงเรียกร้องการเคารพหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง กรณีที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนตอกย้ำข้อเรียกร้องเหล่านี้เมื่อวันศุกร์ ชวนให้ตั้งคำถามว่า คำชี้แจงของไทยที่ผ่านๆมา มีน้ำหนักน่าเชื่อถือเพียงใด ในสายตาโลก
การที่รัฐบาลทหารยังคงเดินหน้ารักษากฎหมายที่นานาชาติวิพากษ์วิจารณ์ ชวนให้สงสัยด้วยว่า การบ้านที่ไทยจะส่งในเวทีของยูเอ็นในเดือนหน้า จะมีอะไรใหม่หรือไม่ หากการบ้านของไทยยังซ้ำรอยเดิม เชื่อแน่ว่า ปรากฏการณ์โลกล้อมไทยจะมีให้เห็นต่อไปอีก.
ภาพจากแฟ้มข่าว : เอเอฟพี
'การบ้าน' ที่ไทยกำหนดส่งยูเอ็นในเดือนกันยายน จะเหมือนคำตอบเมื่อเดือนพฤษภาคม และฉายซ้ำอีกครั้งเมื่อวันศุกร์ หรือไม่
ไทยต้องส่ง ‘การบ้านสิทธิมนุษยชน’ ที่นครเจนีวาในเดือนหน้า ทว่าถ้อยแถลงกระทรวงต่างประเทศตอบโต้ข้าหลวงใหญ่ฯเมื่อวันศุกร์ ส่อแววว่าระบอบทหารอาจตอบข้อกังวลของกลไกยูเอ็นด้วยคำชี้แจงเดิมๆ
เมื่อวันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม โฆษกสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ นางราวินา ชัมดาซานี แสดงความวิตกกังวลที่รัฐบาลไทยเดินหน้าปิดกั้นพื้นที่ประชาธิปไตยอย่างหนักมือยิ่งขึ้น
พร้อมกับเรียกร้องให้ยกเลิกข้อหานักกิจกรรมทางการเมือง นักปกป้องสิทธิมนุษยชน และปล่อยตัวประชาชนที่แสดงความคิดเห็นคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญก่อนหน้าการออกเสียงประชามติ รวมทั้งขอให้ยุติการใช้ประกาศ/คำสั่งของคณะรัฐประหาร และเลิกใช้ศาลทหารในการดำเนินคดีพลเรือน (วอยซ์ทีวี, 19 สิงหาคม 2559 ; สำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ)
ไม่ทันข้ามวัน กระทรวงการต่างประเทศตอบโต้คำเรียกร้องของข้าหลวงใหญ่ฯ มีใจความว่า มาตรการต่างๆที่ไทยใช้ถือเป็น "ความจำเป็น" เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย ป้องกันความแตกแยก และว่า ผู้ต้องหาที่ขึ้นศาลทหารมีสิทธิต่างๆไม่ผิดกับศาลพลเรือน ส่วนคดีผู้ต้องหาประชามตินั้นเป็นการดำเนินคดีกับ "ผู้ที่ตั้งใจฝ่าฝืนกฎหมายและก่อความไม่สงบ" (กระทรวงการต่างประเทศ, 19 สิงหาคม 2559)
ฉายหนังวน
คำชี้แจงข้างต้นของทางการไทยไม่ใช่เรื่องใหม่ เราอาจได้ชมระบอบทหารฉายหนังซ้ำอีกหลายรอบ
...พล็อตเรื่องพูดถึงความเป็นภาคียูเอ็นที่พร้อมปฏิบัติตามพันธกรณีในเรื่องสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ทว่าพ่วงคำว่า "แต่" ตัวโตๆไว้ด้วย ว่า "อย่างไรก็ดี รัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินมาตรการ..." อันทำให้ประโยคระรื่นหูก่อนหน้าเสมอเป็นเพียงโวหาร
...พล็อตเรื่องพูดถึงการอำนวย "ความยุติธรรม" ของศาลทหาร
...พล็อตเรื่องพูดถึงการรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของสิ่งที่เรียกว่า "กฎหมาย"
คอมเมนต์ตอบโต้เมื่อวันศุกร์ เป็นการวนซ้ำคำชี้แจงที่ไทยเคยแถลงต่อนานาประเทศในหลายวาระ ที่สำคัญ ไทยเคยพูดทำนองนี้บนเวทีของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติที่นครเจนีวามาแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคม เป็นการพูดหลังจากไทยถูกติติงในเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก การชุมนุม และศาลทหาร
ยูพีอาร์
เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม คณะทำงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของชาติสมาชิก ที่เรียกกันสั้นๆว่ายูพีอาร์ นำเสนอรายงานเกี่ยวกับประเทศไทย ระบุว่า คณะรัฐประหารได้ออกคำสั่งหลายฉบับ ทีมที่เก็บข้อมูลในไทยแสดงความวิตกที่คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติมุ่งจำกัดเสรีภาพการแสดงออก เช่น ปิดสื่อ-เว็บไซต์ที่ต่อต้านคสช. จับกุมผู้มีความเห็นต่าง และบังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างเข้มงวด
ทีมที่เขียนรายงานในส่วนของประเทศไทยยังแสดงความกังวล กรณีคสช.ออก คำสั่งฉบับที่ 3/2558 ห้ามชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน และยังออก ประกาศฉบับที่ 14/2557 ห้ามเคลื่อนไหวต่อต้านคณะรัฐประหาร นอกจากนี้ พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะยังกำหนดเงื่อนไขหลายอย่างที่จะส่งผลให้การชุมนุมกลายเป็นการละเมิดกฎหมาย
ท่าทีแสดงความวิตกต่อการจำกัดสิทธิเสรีภาพในไทย ปรากฏชัดเจนเมื่อคราวสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติออกแถลงการณ์ เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2559 เรียกร้องรัฐบาลทหารไทยให้ยกเลิกข้อหานักศึกษา 11 คนที่ถูกจับเพราะชุมนุมทางการเมือง พร้อมกันนั้น ยังแสดงความกังวลที่นักศึกษาถูกตั้งข้อหาละเมิดคำสั่งคสช. แทนที่จะเป็นข้อหาทำผิดพ.ร.บ.ชุมนุม ทำให้นักกิจกรรมเหล่านั้นต้องขึ้นศาลทหาร
แถลงการณ์บอกด้วยว่า เมื่อถูกดำเนินคดีในศาลทหาร ผู้ต้องหามีความเสี่ยงที่จะถูกไต่สวนอย่างไม่ยุติธรรม จำเลยไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์คดี (Human Rights Council, Working Group on the Universal Periodical Review - Twenty-fifth session 2-13 May 2016)
รายงานของยูพีอาร์ทำให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทย นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ต้องแถลงต่อที่ประชุมยูพีอาร์เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ชี้แจง "เหตุผลและความจำเป็น" ในการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกและการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการชุมนุม รวมไปถึงเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และการนำตัวพลเรือนขึ้นศาลทหาร (ไทยโพสต์, 16 พฤษภาคม 2559)
ย้อนทวนดูอย่างนี้แล้ว เห็นได้ว่า ในเรื่องสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของไทยนั้น นานาประเทศ รวมถึงกลไกยูเอ็น แสดงความวิตกมาโดยตลอด และเรียกร้องให้รัฐบาลทหารของไทยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ขณะที่ทางการไทยพยายามออกตัวในทุกโอกาสเช่นกัน
ส่งการบ้าน
ในเวทียูพีอาร์เมื่อเดือนพฤษภาคม นานาประเทศได้ให้ข้อเสนอแนะการปรับปรุงสิทธิมนุษยชนรวม 249 ข้อ ไทยตอบรับที่จะทำตาม 181 ข้อ ยังเหลือ 68 ข้อ ไทยขอนำกลับมาหารือ ก่อนที่จะให้คำตอบต่อที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติในเดือนกันยายน
ข้อที่ไทยขอนำกลับมาทำเป็นการบ้านนั้น ครอบคลุมเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ การจำกัดเสรีภาพที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน การใช้ศาลทหาร การแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
แม้ทางการไทยเพียรชี้แจงครั้งแล้วครั้งเล่าถึงเหตุผลและความจำเป็นของมาตรการที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพ หากแต่นานาชาติยังคงเรียกร้องการเคารพหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง กรณีที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนตอกย้ำข้อเรียกร้องเหล่านี้เมื่อวันศุกร์ ชวนให้ตั้งคำถามว่า คำชี้แจงของไทยที่ผ่านๆมา มีน้ำหนักน่าเชื่อถือเพียงใด ในสายตาโลก
การที่รัฐบาลทหารยังคงเดินหน้ารักษากฎหมายที่นานาชาติวิพากษ์วิจารณ์ ชวนให้สงสัยด้วยว่า การบ้านที่ไทยจะส่งในเวทีของยูเอ็นในเดือนหน้า จะมีอะไรใหม่หรือไม่ หากการบ้านของไทยยังซ้ำรอยเดิม เชื่อแน่ว่า ปรากฏการณ์โลกล้อมไทยจะมีให้เห็นต่อไปอีก.
ภาพจากแฟ้มข่าว : เอเอฟพี