วันจันทร์, สิงหาคม 01, 2559

ร่วมจับตาประชามติ : โค้งสุดท้ายประชามติ 10 ปีนี้ อะไรหายไปบ้าง + บรรยากาศการเปิดตัว “เครือข่ายสังเกตการณ์ประชามติ”




.....

ลูกแก้ว โชติรส: โค้งสุดท้ายประชามติ - ทศวรรษที่สูญหาย



https://www.youtube.com/watch?v=DQkXwsAt48s

New Democracy Movement

Published on Jul 31, 2016

ลูกแก้ว โชติรส นักเขียนรุ่นใหม่ พูดถึงสิทธิเสรีภาพในทศวรรษที่สูญหาย และโค้งสุดท้ายประชามติ
VoteNo ไม่รับ กับอนาคตที่ไม่ได้เลือก
และมาร่วมจับตาประชามติด้วยกันในวันที่ 7 สิงหาคม หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 16:00น. เป็นต้นไป

ooo

 บรรยากาศการเปิดตัว “เครือข่ายสังเกตการณ์ประชามติ” 



"เครือข่ายสังเกตการณ์ประชามติ"มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันจับตาการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่จะมีขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม นี้ โดยมีการเปิดรับข้อมูลจากประชาชนและเครือข่ายทั่วประเทศ พร้อมรายงานข้อมูลสู่สาธารณะ



....

แถลงข่าว “เครือข่ายสังเกตการณ์ประชามติ” ในวันที่ 1 สิงหาคม 2559 เวลา 14.00 น.


“เครือข่ายสังเกตการณ์ประชามติ” เป็นการรวมตัวกันเฉพาะกิจขององค์กรสังเกตการณ์การเลือกตั้ง องค์กรสิทธิมนุษยชน และสื่อทางเลือก คือ เครือข่าย We Watch อาสาสมัครเยาวชนสังเกตการณ์ประชามติ, สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน, สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล, โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw), สำนักข่าวไทยพับลิก้า, ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ), และสำนักข่าวประชาไท เพื่อร่วมกันจับตาการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่จะมีขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม นี้ โดยเปิดรับข้อมูลจากประชาชนและเครือข่ายทั่วประเทศ พร้อมรายงานข้อมูลสู่สาธารณะ ‪#‎ส่องประชามติ‬

ooo

‪#‎NEWSROOM‬ ‪#‎TV24‬ “เครือข่ายสังเกตการณ์ประชามติ” เป็นการรวมตัวกันเฉพาะกิจขององค์กรสังเกตการณ์การเลือกตั้ง องค์กรสิทธิมนุษยชน และสื่อทางเลือก คือ เครือข่าย We Watch อาสาสมัครเยาวชนสังเกตการณ์ประชามติ, สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน, โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw), สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล, ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ), และสำนักข่าวประชาไท เพื่อร่วมกันจับตาการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่จะมีขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม นี้ โดยเปิดรับข้อมูลจากประชาชนและเครือข่ายทั่วประเทศ พร้อมรายงานข้อมูลสู่สาธารณะ

จิรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท กล่าวว่า “เครือข่ายสังเกตการณ์ประชามติ” นี้/ นับเป็นการรวมตัวกันเฉพาะกิจขององค์กรสังเกตการณ์การเลือกตั้ง องค์กรสิทธิมนุษยชน และสื่อทางเลือก เนื่องจากประชามติครั้งนี้ แตกต่างไปจากประชามติและการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านๆมา ทั้งในแง่การตรวจสอบ การสังเกตการณ์ และการรายงานข่าว ต้องต้องจับมือกันเพื่อส่องประชามติ 7 สิงหาคม

อาจารย์เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช ผู้อำนวยการสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า การที่มีองค์กรต่างๆร่วมสังเกตการณ์ด้วย จะทำให้เกิดการเปรียบเทียบความถูกต้องแม่นยำของของมูลได้

ชมพูนุช เฉลียวบุญ ผู้ประสานงาน we watch ซึ่งเป็นองค์กรภาคเยาวชน กล่าวว่า ทางอาสาสมัครจะเก็บข้อมูลจากพื้นที่มาออกเป็นรายงาน ซึ่งจะสังเกตการณ์ทั้ง กระบวนการจัดการภายในหน่วยออกเสียง การนับคะแนน การส่งผลคะแนนการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ เสรีภาพในการออกเสียงของประชาชน การเข้าถึงหน่วยเลือกตั้ง บทบาทของเจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคง การบันทึกผู้มาใช้สิทธิ จำนวนบัตรดี บัตรเสีย และผลคะแนนอย่างละเอียด

บัณฑิต หอมเกษ ผู้ประสานงานฝ่ายวิชาการและรณรงค์ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ระบุว่า 7 สิงหาคม มีความสำคัญต่อสิทธิทางการเมืองและอนาคตทางการเมือง แต่บรรยากาศที่ผ่านมา การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเป็นไปอย่างจำกัด นักกฎหมายและนักสิทธิมนุษยชน จึงจำเป็นต้องมาร่วมสังเกตการณ์ด้วย เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนอย่างแท้จริง

ด้านยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการไอลอร์ กล่าวว่า ทางเครือข่ายที่จัดตั้งขึ้นมา จะเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูล ซึ่งต้องอาศัยพี่น้องประชาชนในพื้นที่ส่งเข้ามา แล้วทางเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบและเผยแพร่รายงาน ทั้งนี้ ไอลอร์จะดู 2 เรื่องหลัก คือ การจับตาข้อมูลข่าวสารที่ไปสู่ประชาชน หรือ ที่เรียกกันว่า เอกสารความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ ว่ามีความถูกต้องเพียงใด และสองคือจำนวนผู้ที่ถูกดำเนินคดีตามกฎหมายประชามติ

ส่วนคุณรวิวรรณ รักถิ่นกำเนิด ผู้สื่อข่าว TCIJ ได้ฝากให้สื่อมวลชน ติดตามวันลงประชามติอย่างใกล้ชิด และรายงานข่าวอย่างตรงไปตรงมา โดยอย่าเกรงกลัวต่ออำนาจเผด็จการ

เครือข่ายสังเกตการณ์ประชามติ ยังแสดงความกังวลต่อการนับคะแนนประชามติ ที่ครั้งนี้ไม่มีการทำ เอ็กซิทโพล ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาในอนาคต สะท้อนว่าประชามติ ไม่ได้เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วม ส่วนการนับคะแนนและประกาศผลของ กกต.ก็น่าเป็นห่วง เพราะถ้าไม่โปร่งใสก็จะไม่เป็นที่ยอมรับ

อย่างไรก็ตาม ทางเครือข่ายสังเกตการณ์ประชามติ เปิดเผยว่า ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตสามารถมีส่วนร่วมรายงานข้อมูลมาได้ทางเฟซบุ๊คของเครือข่ายทั้ง 6 หน่วยงาน หรือสามารถเขียนลงในเครือข่ายสังคมออนไลน์ส่วนตัว แล้วติดแฮชแท็คว่า #ส่องประชามติ แล้วทางส่วนกลางจะรวบรวมข้อมูลต่อไป