วันพุธ, มิถุนายน 01, 2559

เถียงยังไม่จบ ‘โหวตโน’ หรือ ‘โนโหวต’ ดี

เถียงยังไม่จบ ‘โหวตโน’ หรือ ‘โนโหวต’ ดี ตอน ๗ สิงหานี้ เลยเก็บโต้วาทีออนไลน์มากางให้ดูกันเพิ่มเติม ยาวหน่อย รับรองไม่กร่อย

หลังจากที่ อ.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ ออกมาต้านกระแสโนโหวต หรือที่กลุ่มเปลี่ยนไปเรียก ‘บอยคอต’ ป้องกันการสับสน Tewarit Bus Maneechai ก็นำตัวเลขบางส่วนมาโพสต์ยืนยันโนโหวต

“๔๒.๔ % คือตัวเลขผู้ไม่มาใช้สิทธิลงประชามติ รธน.ปี ๕๐” และ “๒๗ % คือค่าเฉลี่ยของผู้ไม่มาใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไปสี่ครั้งล่าสุด” ในเงื่อนไขที่ว่าการนับผลประชามติเชื่อถือได้จริง “ซึ่งผมไม่ค่อยเชื่อเพราะมันไม่แฟร์ไม่ฟรี” เขาชี้

“ถามว่าชูธง 'บอยคอต' จะนับผลอย่างไร” เขาว่าก็น่าจะนับคนที่ไม่มาใช้สิทธิ ที่จำนวนมากกว่า ๔๒.๔ % ขึ้นไป ดังนั้น ‘บัส’ กำหนดว่าคะแนนประชามติทั้งหมดแบ่งได้เป็นสามส่วน คือโหวตเยส โหวตโน และบอยคอต (คือให้การบอยคอต มาเป็น 'ทางเลือก' อีกอย่างหนึ่ง)

“senario A : ถ้าโหวตเยสชนะแบบฉิวเฉียด โดยไม่เกิน ๕๐ % ของผู้มีสิทธิโหวต (เพราะถ้าเกิน ๕๐ % ของผู้มีสิทธิอันนั้นยังไงก็ชนะอยู่แล้ว ฮ่า) อาจมีสมมุติฐานว่ามาจากฝ่ายไม่เอา รธน. นี้ ถูกแบ่งคะแนนไปเลือก ‘บอยคอต’ (แทนที่จะออกไปโหวต ‘โน’) นั้น

ซึ่งมีบางท่านกังวลอย่างนั้น รวมไปถึงโจมตีฝ่ายบอยคอตว่ามาเพื่อแบ่งเสียงนี้ หรือตัดคะแนนกันเองบ้าง”

อย่างนี้ ‘บัส’ เสนอให้ช่วยกันรณรงค์อย่างชัดเจนว่าแต่ละส่วน ทั้งโหวตโนและบอยคอตมีจำนวนเท่าไหร่ เพื่อใช้ตัวเลขทั้งสอง (รวมกัน) ผลักดันการเคลื่อนไหวต่อไปในอนาคต

สำหรับบัสยังมี senario B : แต่ถ้าโหวตเยสชนะและเกิน ๕๐ % ของผู้มีสิทธิเลย (อันนี้เก็บวาทกรรม ‘ตัดคะแนนกันเอง’ ไปได้เลย) ก็เอาโหวตโนและบอยคอตมายันสู้ต่อไป” ขณะที่ยังคงรณรงค์ต่อไปว่าการทำประชามติ ๗ สิงหานี้ “ไม่แฟร์ ไม่ฟรี”

รวมความว่าสำหรับ ‘บัส’ ถ้าพวกไม่เอาร่าง รธน. ส่วนหนึ่งไปออกเสียงประชามติด้วยการกาบัตรไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ อีกส่วนบอยคอตโดยไม่ไปใช้สิทธิ ทำให้ฝ่ายรับร่างฯ ชนะ ก็ให้ร่วมกันรณรงค์ต่อ โดยเอาคะแนนทั้งสองกลุ่มมารวมกัน

เขายังเอาอัตราผู้ไปออกเสียงในการเลือกตั้งสี่ครั้งที่ผ่านมา รวมทั้งการทำประชามติร่าง รธน. ๕๐ มาเสริมไว้ด้วย

“ปี ๕๔ ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ๗๕.๐๓ % ปี ๕๐ ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ๗๔.๕๒ % ปี ๔๘ ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ๗๒.๕๖ % ปี ๔๔ ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ๖๙.๙๕ %

ส่วนการประชามติปี ๕๐ ผู้มาใช้สิทธิ ๕๗.๖๑ % (ไม่โหวต ๔๒.๓๙ %)”

ตานี้มีคนมาท้วงบัส Chotisak Onsoong ว่า “ผมเห็นด้วยกับ Tewarit Bus Maneechai ที่โต้แย้ง อ.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ ว่าทั้ง โหวตโน และ โนโหวต (บอยคอต) ต่างก็มีจุดอ่อนด้วยกันทั้งคู่ นะ (แต่เท่ากันหรือเปล่า อันไหนมีจุดอ่อนจุดแข็งมากกว่าน้อยกว่า นั่นอีกเรื่อง)

เพียงแต่ไม่เห็นด้วยที่เสนอในลักษณะประนีประนอมประมาณว่ามันทำร่วมกันได้ มีประโยชน์ทั้งคู่

คือผมกลับคิดว่าระหว่างสองแนวทางนี้ กับแนวทางที่ ๓ คือต่างคนต่างทำ แนวทางที่ ๓ นี่แย่ที่สุดนะ

ในสองทางแรก ต่อให้เลือกทางที่ดีน้อยกว่า (หรือมองอีกด้านคือ มีจุดอ่อนมากกว่า) แต่ถ้า ‘สามัคคีกันทำ’ยังไงก็ดีกว่าการทำแบบต่างคนต่างทำ ตัดคะแนนกันเอง แบบทางที่ ๓

และแทนที่จะอ้างได้หลายๆ เรื่องแบบที่บัสมอง ผมกลับคิดว่ามันจะอ้างอะไรไม่ได้เลยซักอย่างต่างหาก
จะอ้างคนบอยคอตก็ไม่ได้เพราะไม่มีการประกาศบอยคอตที่ชัดเจน จะอ้างผลโหวตก็ไม่ได้ ถ้าโหวตแพ้เพราะเสียงแตก (คือถ้าคิดว่าจะชนะ กระแสโนโหวตไม่มีผล หลายๆ คนคงไม่ออกมาโต้แย้งอะไรขนาดนี้แน่ๆ ได้ยินว่ามีถึงขนาดโจมตีกันว่ารับงาน คสช.มา)”

โชติศักดืเล่าถึงการเคลื่อนไหวในกลุ่มตนเมื่อร่าง รธน. ออกมาใหม่ๆ ว่า มีการถกเถียงกันภายในว่าจะเอาอย่างไร

“แต่ถ้าจะออกแถลงการณ์อะไร ผมเสนอว่าออกแถลงการณ์เรียกร้องและโน้มน้าวให้ทุกฝ่ายที่ไม่รับร่าง รธน. มาคุยกันและหามติร่วมกันดีกว่า ว่าจะ โหวตโน หรือ โนโหวต ได้มติแบบไหนก็เดินตามแนวนั้นร่วมกัน...

ก็ไม่รู้ว่าทำไมอยู่ๆตอนนี้มีประเด็นเรื่องนี้ขึ้นมาอีก คือจริงๆ มันน่าจะคุยกันให้ตกไปแต่แรกแล้วด้วยซ้ำ จะเอาทางไหนก็เอาซักทาง”

ครั้นเมื่อทำท่าจะเป็นเรื่อง ‘ไก่จิกกันในเข่ง’ Jittra Cotchadet จึงออกมา clarified ให้กระจ่าง

“ฟังชัดๆ กันอีกรอบ การที่แสดงตัวว่าจะบอยคอต รธน.มีชัย นั้นไม่ได้เห็นว่ากลุ่มโหวตโนเป็นฝ่ายตรงข้ามนะคะ เราเคารพการแสดงออกทุกเสียงและพวกเรายังเป็นเพื่อนกัน

คือความคิดมันมาในเส้นเดียวกันไม่ได้มีความเห็นต่างกันในเรื่องของเนื้อหาสาระของ รธน. คือบอยคอตนั้นไม่เอา รธน.เช่นเดียวกัน แต่บอยคอตนั้นไปไกลกว่าคือไม่รับการลงประชามติที่จัดขึ้นโดยเผด็จการควบคุมอำนาจทั้งหมด

ส่วนใครจะกล่าวหาว่าบอยคอตเป็นพวกไม่เอาประชาธิปไตย นั่นแสดงว่าคนกล่าวหาก็ยังไม่เข้าใจเรื่องประชาธิปไตยอย่างแท้จริง”

จึงถึงคราว Thanapol Eawsakul ร่วมวงอภิปราย “ผมเพิ่งอ่านเหตุผลที่คุณจิตรา คชเดช Jittra Cotchadet เลือก ‘บอยคอต รธน. มีชัยเผด็จการ’ ส่วนหนึ่งคุณจิตราบอกว่า

แต่เมื่อไตร่ตรองร่วมกับพี่ๆ เพื่่อนๆ น้องๆ และกับพรรคพลังประชาธิปไตย เราเห็นร่วมกันว่า ‘โนโหวต’ ดีที่สุด แต่พูดโนโหวตโหวตโนคนจะสับสนเลยเรียกว่าบอยคอตดีกว่า จึงมีที่มาว่า ‘บอยคอต รัฐธรรมนูญฉบับมีชัย’
...
ทำไมต้องบอยคอต??? เพราะในเมื่อ รธน.หมาไม่แดกขนาดนี้รับไม่ได้แน่นอน ประกอบกับที่มาแย่สุดติ่งกระดิ่งแมวขนาดนี้ เราก็ยิ่งยอมรับไม่ได้

การไปลงประชามติในสนามที่เรารู้ว่ามันไม่ยุติธรรมโปร่งใส่ โหวตไปก็ไม่เห็นว่าจะตรวจสอบได้ แพ้ชนะเราไม่ได้เป็นผู้ตัดสินที่แท้จริง จะเอาเวลาไปเสียกับการประชามติที่ไม่เป็นธรรมทำไม

การออกไปเท่ากับไปติ๊ดชิ่งเป็นหางเครื่องให้วงดนตรีของเขาครบองค์ประกอบ

แต่การบอยคอตคือไม่เอา รธน.ฉบับนี้ จะบ่นโก่นด่าในอนาคตได้อย่างเต็มที่ เพราะเราไม่ไปเข้าร่วมเข้ากติกา ไม่ไปสร้างความชอบธรรมให้ รธน.เผด็จการ”

“สำหรับผมที่ยืนอยู่ข้างการใช้สิทธิไปลงประชามติ และไปโหวตโน นั้น ยอมรับโดยไม่มีข้อแก้ตัวเลยว่าหางเครื่องให้กับระบอบรัฐประหาร และไปสู่กติกาที่ไม่แฟร์

ทั้งนี้จะยืนอยู่บนจุดยืนนี้ ตราบใดที่ยังไม่เห็นข้อเสนอดีกว่า ‘บอยคอต รัฐธรรมนูญฉบับมีชัย’ ด้วยการรณรงค์เพื่อให้คนใช้สิทธิน้อยกว่า ๕๐ % ตามที่คุณ ประแสง มงคลศิริ หัวหน้าพรรคพลังประชาธิปไตยที่คุณจิตราได้เป็นสมาชิก ได้่กล่าวว่า
[ประแสง มงคลศิริ] เราประเมินว่าร่างรธน.นี้คงจะผ่านครับ กลไกทุกอย่างอยู่ในมือเผด็จการ เข้มข้นยิ่งกว่าตอนทำประชามติรธน.ปี ๕๐ ด้วยซ้ำ ครั้งนั้น คมช. บิ๊กบังสนธิไม่ได้ระห่ำเท่าเผด็จการชุดนี้

ปีนั้นพรรคไทยรักไทยก็อัดฉีดสส.กันเต็มที่ออกไปรณรงค์ vote No แต่ผลคือแพ้ยับได้มา ๒๔ % เท่านั้น ฝ่าย vote yes ชนะที่ ๓๓ % แต่ที่น่าสนใจคือผู้ไม่มาใช้สิทธิ ๔๓ % ซึ่งมันเป็นดัชนีชี้วัดได้ว่าสูงทีเดียว แต่ครั้งนั้นไม่มีการเสนอบอยคอต ครั้งนี้เราจึงพยายามกระทุ้งไปเรื่อยๆ แค่ให้ถึง ๕๐ % ก็ไม่ใช่งานง่ายครับ ผมยอมรับ
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1336472343034349&id=100000147872828

ย้ำนะครับ ผมยังอยู่ข้างไปใช้สิทธิโหวตโน เว้นแต่ว่าจะมีข้อเสนอที่ท้าทายมากกว่าการรณรงค์ให้คนใช้สิทธิน้อยกว่า ๕๐ %

เช่นการฉีกบัตรออกเสียงประชามติ เหมือนกับที่ไชยันต์ ไชยพรได้ทำต่อ ‘ระบอบทักษิณ’ เมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๙ ซึ่งไชยันต์ให้เหตุผลเดียวกันว่า ไม่ยอมรับระบอบที่เป็นอยู่ และจะไม่ยอมเป็นเครื่องมือให้ความชอบธรรมใด ๆ
(ดู ‘ต้านระบอบแม้ว’ อ.จุฬาฯ ฉีกบัตรเลือกตั้ง!http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx…)”

ธนาพลยังได้ให้ภูมิหลังของวิวาทะ ‘โหวตโน-โนโหวต’ ในโพสต์ต่อมาอีกด้วย

“สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เป็นคนเสนอให้บอยคอต ‘ประชามติจอมปลอม’ เป็นคนแรก ไม่ใช่แค่ประชามติ ๒๕๕๙ เท่านั้นแต่เป็นประชามติ ๒๕๕๐ ด้วย

ดังนั้นข้อเสนอของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล จึงนับว่าคงเส้นคงวามาก เมื่อคุณพันศักดิ์ ศรีเทพ วิจารณ์ว่า คนที่เสนอ ‘บอยคอตหรือโนโหวต’ เขาตั้งใจจะนอนเฉยๆ อยู่ที่บ้านอยู่แล้ว จะไปเรียกร้องให้เขาทำอะไรได้อย่างไร

สมศักดิ์ได้เข้ามาตอบว่าไม่จำเป็น พร้อมทั้งมีข้อเสนอเพื่อบอยคอตประชามติดังนี้
.........................
Somsak Jeamteerasakul :ทำไมถึงว่าพวกที่เสนอบอยคอต ‘ตั้งใจจะนอนเฉยๆอยู่ที่บ้าน’ อย่างหนึ่งของการบอยคอตการ ‘ลงคะแนน’ อะไรก็ตาม คือการอยู่ที่บ้านจริง (ไม่จำเป็นต้อง ‘นอน’ หรือ ‘เฉย’ เขาอาจจะกำลังนั่งเขียนด่า คสช. อยู่ก็ได้) แต่ขณะเดียวกันก็มีวิธีอื่นอีก ตั้งแต่ฉีกบัตร (ไม่ได้แนะนำ แค่บอกว่ามันมีรูปแบบอื่น) ไปถึงการไป แต่ไม่ลง (กปปส. ที่บอยคอตไปปิดกั้นทางเข้าก็เป็นรูปหนึ่ง ไม่ได้บอกว่าควรทำแบบนี้ แค่บอกว่ามันมีรูปแบบนี้ที่ไม่ใช่อยู่บ้าน)

หรือวันก่อนเห็น ‘มิตรสหาย’ ท่านนึงเสนอว่าไป ‘ลง’ เลยล่ะ แต่เขียนที่บัตรว่า ‘ขอบอยคอตไม่ยอมรับการลงประชามติปลอมๆ ครั้งนี้’ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้บัตรเสีย เหมือนกับไม่ได้ไปลงเช่นกัน

พูดถึงรูปแบบหลังสุดนี้ สมมุติมี ‘บัตรเสีย’ จำนวนมากมายแบบนี้ ก็สามารถชี้ให้เห็นว่าคนไม่เอาเลยตั้งแต่กระบวนการประชามติแล้ว (แน่นอนถ้าจะทำจริงๆ คงต้องมีการหาทางโฆษณาชักชวน บอกล่วงหน้าว่าจะไป ‘ประท้วง’ ประชามติปลอมๆ ด้วยวิธีนี้)
..........................
สำหรับคนปฏิบัติเช่นกรณีคุณจิตรา เมื่อถูกถามว่ารูปธรรมของการบอยคอต นอกจากรอให้คนมาใช้สิทธิ์น้อยกว่า ๕๐ % คืออะไร (https://www.facebook.com/thanapol.eawsakul/posts/1163594110374093?pnref=story)
คุณจิตราบอกไว้ชัดเจนว่า
........
แค่บอยคอตนี่ตาม พรบ.เลือกตั้งเราก็จะเดี้ยงแล้วนะ ถ้าเพิ่มดีกรีอีกน่าจะอยู่ในคุก เอาเป็นตอนนี้คือเราพยายามเปิดพื้นที่ให้เห็นว่ามีคนไม่เอากับที่มาของ รธน. ไว้ได้ทำอะไรต่อถ้าโหวตเยสชนะ”

ธนาพลเพิ่มเติม “นี่คือสถานการณ์ปัจจบัน แต่ยังเหลือเวลาอีก ๖๘ วัน ก่อนจะถึงวันลงประชามติ เราอาจจะเห็นรูปธรรมของคนที่รณรงค์บอยคอต ที่มากกว่า ‘นอนเฉยๆ อยู่ที่บ้าน’ ตามที่คุณพันศักดิ์ ได้วิจารณ์ไว้ก่อนหน้า

ปล. ๑. การไปทำบัตรเสียตามข้อเสนอสมศักดิ์ ถือเป็นการเติมคนไปใช้สิทธิ และขัดกับข้อเรียกร้องให้คนไปใช้สิทธิ์น้อยกว่า ๕๐ %
๒. กกต. เขาตีความบัตรเสีย คือบัตรเสีย ไม่ว่าจะเขียนข้อความอะไร เว้่นแต่การชูบัตรที่ทำสัญลักษณ์ต่อต้านรัฐประหารให้สื่อมวลชนทราบ ซึ่งก็อาจจะมีความผิดตามกฎหมายเลือกตั้งด้วย”

ครานี้ถึงที สศจ. ปิดประตู (ไม่ได้ใส่หน้า ไม่ได้ลั่นดาน และไม่ใช่ตอกฝาโลง)

“ผมยังไม่มีความขยันพอจะเข้าร่วมในการดีเบตเรื่อง ‘โหวตโนหรือโนโหวต (บอยคอต)’ นะครับ ที่เขียนนี้ยังไม่ใช่ คือถ้าจะร่วมดีเบตจริงๆ มีเรื่องให้เขียนเยอะกว่านี้อีกเยอะ

แต่ตั้งเป็นคำถามบางอย่างเฉพาะประเด็นเดียว (คำถามมีหลายคำถามที่ต่อเนื่องเป็นตรรกะกันอยู่ แต่ประเด็นจริงๆ เป็นประเด็นเดียว เรื่องรับหรือไม่รับผลประชามติ)
- บรรดาคนที่เสนอว่าต้อง ‘โหวตโน’ เท่านั้น ไม่ควร ‘โนโหวต’ หรือบอยคอต ขอถามว่า ถ้าสมมุติผลการประชามติออกมาว่า ‘เยส’ จะยอมรับไหม ว่านั่นเป็นเจตจำนงค์ของประชาชนส่วนใหญ่

สมมุติบอกว่า ถ้าประชามติบอกเยสก็จะไม่ยอมรับว่าเป็นเจตจำนงค์ประชาชน - คำถามคือทำไม

สมมุติถ้าจะอธิบายว่า ที่ไม่ยอมรับเพราะประชามติมันไม่แฟร์ ไม่ได้สะท้อนเจตจำนงค์ประชาชนแท้จริง ที่ออกมาว่าเยสจึงนับไม่ได้ ก็ต้องถามต่อไปว่า ถ้างั้นรณรงค์ให้คนไปลงประชามติทำไม

สมมุติตอบต่อไปว่า เพียงเพื่อแสดงว่าไม่เอา รธน. คสช. แต่จริงๆ แล้วจะไม่ยอมรับผลประชามติแต่ต้นถ้ามันออกเยส จะมีคำถามต่อไปด้วยว่า ได้บอกประชาชนไหมว่าที่รณรงค์ให้เขาไปโหวต (โน) น่ะ ถ้าผลมันออกมาว่าเยส จะไม่ยอมรับ

และยังมีคำถามที่สำคัญตามมาในทางกลับกันด้วยว่า สมมุติผลออกมาว่า ‘โน’ อันนี้คง ‘ยอมรับ’ ใช่ไหม คือคงเอามาอ้างว่า เป็น ‘เจตจำนงค์ประชาชนที่ไม่เอา รธน คสช.’

ซึ่งคำถามที่ตามมาคือ ก้อในเมื่อถ้าผลออกมาว่าเยสคุณจะไม่ยอมรับ โดยอ้างว่าไม่ได้เป็นเจตจำนงค์แท้จริงประชาชน แต่ทำไมถ้าผลออกโนคุณจึงยอมรับ อ้างว่าเป็นเจตจำนงค์ประชาชนที่แสดงว่าไม่เอา รปห. ล่ะ

ถ้าประชามติมันไม่แฟร์ ใช้ไม่ได้ (แต่เสนอให้ไปลงด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่) ผลที่ออกมาก็ไม่ควรเอามาอ้างได้เลยสิ ต่อให้เป็นโนก็ตาม คือไม่ใช่ใช้ไม่ได้เฉพาะถ้ามันออกเยส
.......
สรุปแบบสั้นๆ คือ พวกที่รณรงค์โหวตโน
- ถ้าผลออกมาว่าเยส จะไม่ยอมรับว่าเป็นเจตจำนงค์ประชาชนที่จะเอา รธน. รปห.
- แต่ถ้าผลออกมาว่าโน จะยอมรับและเอาไปอ้างว่านี่เป็นเจตจำนงค์ประชาชนที่ไม่เอา รธน. รปห.

(หรือถ้าใช้สำนวนประชดหน่อยๆ ซึ่งต้องมีคนคิดในใจแน่คือ ‘ถ้าผลออกมาไม่ตรงตามที่พวกกรูเรียกร้อง พวกกรูไม่ยอมรับ แต่ถ้าผลถูกใจตรงตามที่พวกกรูเรียกร้อง พวกกรูจึงจะยอมรับ’ - อันนี้ ผมไม่ได้ตั้งใจเขียนเป็นความเห็นผม เพียงแต่แสดงให้ดูว่า โดยตรรกะแบบนี้ ข้อสรุปถ้าจะพูดแบบประชดๆ เป็นอย่างไร)

อะไรประมาณนี้ ถูกไหม”

คงได้แต่ตอบว่า ‘ไม่ถูกทั้งหมด และไม่ผิดทั้งมวล’ คือพวกโหวตโนเขาค่อนข้างหน่อมแน้ม ไม่หักด้ามพร้าด้วยเข่า เขาก็เลยเอายังไงก็เอา แต่ถ้าแพ้แล้วขอนับรวมกับพวกกล้าแกร่งบอยคอต ไว้ไปสู้คราวหน้า (เพราะว่า คสช. จะอยู่อีกนาน)

แท้จริงพวกเขาอยากให้ทุกคนที่ไม่เอาร่างฯ มีชัย ไปออกเสียงไม่รับกันถ้วนทั่ว เพราะเชื่อว่าถ้าร่วมกัน รวมพลัง ก็มีทางชนะได้ รวมกับเสียงสลิ่มกลับใจ เห็บกระโดด เหลืองไม่รับ อะไรปานนั้นด้วย

แต่ทำไมเขาไม่เอาบอยคอต ด้วยเหตุผลว่างานนี้ คสช.จัดหนักจัดเต็ม ทั้งทัพบก รด. ครู ก.ข.ค. แถม กกต. เล่นแรง ๑๐ ปี จนเชื่อว่าถ้าไม่ออกไปโหวตต้าน บัตรการับมากกว่าไม่รับแน่ๆ

ก็แค่นี้แหละนาย ไม่ได้เป็นฝ่ายโนโหวตหรือโหวตโนหรอกนะ เนื่องจากคราวนี้เป็นไฟล้ท์บังคับเขาไม่ให้โหวต แต่บ่องตง เข้าใจฝ่ายอยากไปโหวตโนน่ะ