https://www.youtube.com/watch?v=BpkKnYdL4eU
News Hour ไทยชวดได้ชดเชย GT 200 ช่วงที่3 21/06/2016
MGROnline VDO
Published on Jun 21, 2016
News Hour ไทยชวดได้ชดเชย GT 200 ช่วงที่3 21/06/2016
ooo
ไทยชวดได้ชดเชย GT 200
ไทยชวดได้ชดเชย "GT 200" หลังไร้ชื่อ "ไทย" ในรายชื่อประเทศได้รับการชดเชย แม้จะจัดซื้อมากกว่าร้อยเครื่อง
โดย : ทีมข่าว PRIME TIME เนชั่นทีวี วันที่ 21 มิถุนายน 2559, 01:30
ถ้าพูดถึงมหกรรมลวงโลกแล้ว GT200 ก็น่าจะเป็นกรณีหนึ่งที่เรียกได้ว่า “ลวงโลก”ได้อย่างแท้จริง เเละความน่าเศร้าอยู่ที่หน่วยงานด้านความมั่นคงของไทยหลายหน่วยงาน ตกเป็นเหยื่อของการค้าขายที่เลวร้าย และล่าสุดศาลอังกฤษได้สั่งยึดทรัพย์เจ้าของบริษัทผู้ผลิต พร้อมกับสั่งให้ชดเชยค่าเสียหายให้แก่ประเทศต่างๆ ยกเว้นประเทศไทย ที่ดูเหมือนว่า เพิ่งจะเริ่มต้น
ศาลอังกฤษได้มีคำพิพากษาสั่งให้ยึดทรัพย์ Mr.Jim McCormick ผู้ผลิตเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดปลอม GT200 เป็นจำนวนเงิน 7.9 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 400 ล้านบาท และนำเงินจำนวนนี้ไปชดเชยแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการซื้อเครื่องมือที่ไม่สามารถใช้งานได้จากบริษัทนี้ โดยก่อนหน้านี้ศาลได้พิพากษาจำคุก Mr.Jim McCormick ไปแล้วเป็นเวลา 10 ปี
แต่น่าสนใจว่า ประเทศที่ได้รับการชดเชยนั้นมีนับสิบประเทศรวมทั้งอิรัก แต่กลับไม่มีชื่อประเทศไทย ซึ่งก่อนหน้านี้ หน่วยงานด้านความมั่นคงของไทยถือเป็นลูกค้าชั้นเยี่ยม เพราะจัดซื้อมากกว่าร้อยเครื่อง
ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำวิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเกาะติดและพิสูจน์การใช้งาน GT200 นี้มาตั้งแต่ต้น บอกกับรายการ Prime time เนชั่นทีวีว่า ประเทศอิรักได้ไปแจ้งความว่า เครื่อง ATE651 ใช้งานไม่ได้ก่อนที่จะขยายไปถึง GT200 ซึ่่่งถือว่าเป็นเครือข่ายเดียวกัน ซึ่งการที่อิรักได้ค่าดเชยนั้น เพราะได้ยื่นฟ้องและเรียกร้องค่าเสียหาย แต่สำหรับไทยนั้นไม่ใช่
“แต่ที่ผ่านมาไทยไม่เคยยื่นเรื่องนี้ว่าเป็นประเทศที่เสียหาย และขณะที่มีการต่อสู้คดีกันทางฝั่งที่ถูกฟ้องก็มีการกล่าวอ้างถึงประเทศผู้ใช้ โดยรวมทั้งไทยด้วยโดยเเจ้งว่า มีความพึงพอใจเครื่องมือGT 200 จึงอธิบายยากว่าไทยเสียหายกับเรื่องนี้”ดร.เจษฎากล่าว
หน่วยงานด้านความมั่นคงของไทยจัดหาเครื่องตรวจจับวัตุระเบิดชนิดนี้ต่อเนื่องกันมาหลายปี ซึ่งมีทั้งชื่อ GT200 และ Alpha 6 โดยมีราคาแตกต่างกันไป ซึ่งจากข้อมูลพบว่า กองทัพได้จัดซื้อเครื่องมือชนิดนี้ไว้จำนวนมากที่สุด
การตรวจสอบ GT200 มีขึ้นอย่างจริงจัง สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดยทดสอบตรวจหาวัตถุระเบิด 20 ครั้ง ตรวจเจอ 4 ครั้ง ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับการ “เดาสุ่ม” จึงทำให้มีการสั่งยุติการใช้เครื่องมือชนิดนี้ พร้อมกับการสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบการใช้งบประมาณ เช่น สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) รวมทั้ง ปปช.เข้ามาตรวจสอบ
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ในขณะนั้น แถลงยืนยันว่า พร้อมยอมรับผลการตรวจสอบ แต่ก็ยังเชื่อมั่นว่า GT200 มีประสิทธิภาพในการตรวจหาวัตถุระเบิดได้จริง เพราะในขณะนั้น GT200 จำนวนมากเป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อปกป้องชีวิตทหารใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
รวมทั้ง แพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติเวชวิทยา ซึ่งมี GT200 อยู่ 4 เครื่อง ก็แสดงความมั่นใจด้วยเช่นกันว่า GT200 มีประสิทธิภาพในการตรวจหาระเบิดได้จริง
แต่ผลการตรวจสอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับเงียบหายไป หลายหน่วยงานที่แสดงท่าทีขึงขังว่า จะชำแหละที่มาที่ไปของโครงการจัดซื้อให้เหมือนการผ่าเครื่อง GT200 จนได้รู้ว่า ภายในไม่ได้มีกลไกอะไรที่จะทำให้เชื่อมั่นได้ว่า จะตรวจหาระเบิดได้จริง ก็ไม่มีความคืบหน้ามาจนถึงวันนี้
ส่วน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม บอกว่า ขอพูดตามหลักการว่า การจัดซื้อจัดหาไม่ได้ทำเพียงคนเดียว แต่ผ่านการพิจารณาคณะกรรมการจัดซื้อจัดหา
“แต่หากมีคอรัปชั่น การทุจริต ต้องดูว่าอยู่ตรงไหน ลงรายละเอียด ซึ่งทุกอย่างต้องทำให้ครบตามระเบียบสำนักงานนายกรัฐมนตรี และมีคณะกรรมการตรวจรับอีก ก็ต้องไปดู” พล.อ.ประวิตรกล่าว
ส่วนพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการเรียกร้องค่าเสียหายจากเอกชนที่ขาย GT200 ว่า “ขณะนี้ยังไม่ทราบ แต่ถ้าร้องได้ก็ร้อง”
นายพิศิษฐ์ ลีลาวัชโรภาส ผู้ว่าฯสตง.กล่าวว่า สตง.ตรวจสอบมาหลายปี พบพฤติการณ์ทุจริตของตัวเเทนจำหน่ายเครื่องGT200ในไทย โดยร่วมกับผู้ผลิตจากต่างประเทศเพราะว่าคุณสมบัติของเครื่องGT200ไม่ตรงความเป็นจริง ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายในไทยสร้างสถานการณ์การทดสอบเครื่องGT200เพื่อหลอกลวงประสิทธิภาพของเครื่องนี้ต่อหลายหน่วยราชการให้สั่งซื้อ เเต่เมื่อมีบางฝ่ายพิสูจน์การทำงานของเครื่องGT200เเล้วพบว่าใช้ไม่ได้จริง เเสดงว่าตัวเเทนจำหน่ายในไทยเเละผู้ผลิตร่วมกันฉ้อโกงหลายหน่วยราชการของไทยให้หลงเชื่อเเละสั่งซื้อ
นายพิศิษฐ์ กล่าวว่า สตง.ตรวจสอบบัญชีการสั่งซื้อของคู่สัญญาคือส่วนราชการและตัวแทนจำหน่ายในไทย และพบว่ามีการร่วมกันหลอกให้ส่วนราชการหลงเชื่อ จึงสั่งซื้อ สตง.จึงเสนอให้หน่วยราชการแจ้งความดำเนินคดีต่อดีเอสไอและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพราะสตง.พบว่ามีการใช้งบประมาณ วงเงินราว800ล้านบาทสั่งซื้อ ตอนนี้สตง.กำลังหาช่องทางว่าจะมีวิธีใดจะฟ้องเรียกค่าความเสียหายจากตัวเเทนจำหน่ายในไทยเเละผู้ผลิตกลับคืนมา โดยจะส่งเรื่องนี้ให้ศอตช.เเละปปง.ตรวจสอบฟ้องร้องอายัดทรัพย์ตัวเเทนจำหน่ายในไทยเเละผู้ผลิตด้วย เพราะพฤติกรรมนี้ชี้ว่าจงใจหลอกลวงและฉ้อโกงหลายส่วนราชการ
นายพิศิษฐ์ กล่าวว่า ความผิดเรื่องนี้เท่าที่สตง.ตรวจสอบนั้นพบว่า เอกชนคือผู้ผลิตเเละตัวเเทนจำหน่ายในไทยมีความผิดเพราะร่วมกันหลอกลวงส่วนราชการให้หลงเชื่อและสั่งซื้อ โดยส่วนราชการนั้นหลายหน่วยหลงเชื่อกับการสาธิตประสิทธิภาพของเครื่องนี้ บางหน่วยสั่งซื้อราคาเเพงกว่าหน่วยงานอื่นเพราะโดนหลอกลวงในฟังก์ชั่นของเครื่องGT200 เช่น ตรวจสารเสพติด เเต่หากจะตรวจสารระเบิดตัองซื้ออุปกรณ์เสริมเข้ามาเพิ่ม เป็นต้น และยังทราบว่ามีเงินส่วนต่างของค้าเครื่องจีที200ที่มีจำนวนมากเพราะต้นทุนการผลิตเครื่องGT 200นั้นไม่แพง แต่เมื่อเสนอขายกับสวนราชการกลับเพิ่มขึ้นหลายร้อยเท่า
ooo
เสียน้ำตากันมาเท่าไหร่ กับ ‘GT200’ TDRI ยกตัวอย่างของจัดซื้อพิเศษไม่โปร่งใส
ที่มาภาพจากหนังสือ “เมนูคอร์รัปชั่นและการแสวงหาผลประโยชน์” ดูภาพขนาดใหญ่
ที่มา ประชาไท
Tue, 2016-06-21
จากกรณีเมื่อวันที่ 15 มิ.ย.ที่ผ่านมา ศาลประเทศอังกฤษ ตัดสินยึดทรัพย์สินมูลค่ากว่า 7.9 ล้านปอนด์ (ราว 395 ล้านบาท) จาก เจมส์ แมคคอร์มิค ผู้ต้องหาในคดีจำหน่ายเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดปลอม เพื่อนำเงินไปจ่ายค่าชดเชยแก่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของแมคคอร์มิคและพรรคพวกซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ดังกล่าว (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม) จนก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์พร้อมทั้งแสวงหาผู้รับผิดชอบกรณี GT 200 ในประเทศไทยจำนวนมาก
ในโอกาสนี้ประชาไทขอหยิบรายงานศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) จากโครงการวิจัย “คู่มือประชาชนรู้ทันคอร์รัปชั่นและการแสวงหาผลประโยชน์” โดยเผยแพร่ในหนังสือ “เมนูคอร์รัปชั่นและการแสวงหาผลประโยชน์” ตั้งแต่ มีนาคม 2557 (คลิกอ่านหนังสือดังกล่าวทั้งเล่มออนไลน์) ซึ่งมีการกล่าวถึงเครื่อง GT200 ด้วย โดยระบุว่า สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของราชการและประชาชน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม การประกอบอาชีพและวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่ รัฐบาลจึงต้องจัดซื้ออุปกรณ์และเครื่องมือการทำงานให้กับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ เพื่อใช้จัดการปัญหาความไม่สงบ ซึ่งรวมถึงการจัดซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด ‘GT200’ ซึ่งเป็นเครื่องตรวจจับสสารระยะไกลที่ผลิตโดยบริษัท โกลบอล เทคนิคอล จำกัด ในสหราชอาณาจักร โดยบริษัทดังกล่าวอ้างว่า GT200 สามารถตรวจสอบวัตถุต้องสงสัยต่างๆ ได้ทั้งระเบิดและยาเสพติด ด้วยเหตุนี้กองทัพบกจึงจัดซื้อเครื่อง GT200 เพื่อใช้ในการปฏิบัติภารกิจค้นหาระเบิดของเจ้าหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะในช่วงปี 2550-2552 ซึ่งเกิดเหตุวางระเบิดบ่อยครั้ง
เส้นทางผลประโยชน์
เหตุระเบิดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ช่วงเดือนตุลาคม 2552 นำ มาซึ่งความเคลือบแคลงสงสัยถึงประสิทธิภาพในการค้นหาระเบิดของเครื่อง GT200 โดยในช่วงแรกเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ให้ความเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพของเครื่อง GT200 ว่าเกิดจากการที่เครื่องดังกล่าวมีความสัมพันธ์อย่างมากกับสภาพร่างกายของผู้ใช้ เนื่องจากเครื่อง GT200 ใช้ไฟฟ้าสถิตจากผู้ใช้เป็นกลไกหลักในการทำงาน หากผู้ใช้อ่อนเพลียย่อมส่งผลกระทบต่อความแม่นยำของเครื่องในการค้นหาวัตถุต้องสงสัย การให้เหตุผลเช่นนี้นำไปสู่การตั้งคำถามเกี่ยวกับการทำงานของเครื่อง ทั้งจากนักข่าวและประชาชนผู้สนใจ
อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ทั้งคณะรัฐมนตรี กองทัพบก รวมถึงสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ยังคงเชื่อมั่นว่าเครื่อง GT200 สามารถใช้งานได้ จนกระทั่งในเดือนมกราคม 2553 ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ได้ทำ การตรวจพิสูจน์เครื่อง ADE-651 ซึ่งเป็นเครื่องตรวจหาสสารลักษณะเดียวกันกับเครื่อง GT200 และพบว่าไม่มีวงจรหรือโปรแกรมใดๆ ภายในอุปกรณ์จึงเป็นไปไม่ได้ที่เครื่องจะทำงานได้ ผลการทดสอบดังกล่าวทำให้รัฐบาลอังกฤษแจ้งเตือนประเทศต่างๆ ที่ซื้อเครื่องตรวจหาสสารลักษณะนี้
เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า เครื่อง GT200 ไม่น่าจะใช้ค้นหาวัตถุระเบิดได้และเสนอให้มีการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของเครื่อง GT200
ท้ายที่สุดจึงมีการทดสอบโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ในช่วงกลางเดือ ก.พ. 2553 พบว่า เครื่อง GT200 ตรวจพบวัตถุระเบิดเพียง 4 ครั้ง จากการทดสอบ 20 ครั้ง ซึ่งไม่มากไปกว่าการตรวจหาโดยการสุ่มผลการทดสอบนี้ทำให้ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นสั่งยกเลิกการจัดซื้อเครื่อง GT200 เพิ่มเติม และให้หน่วยงานที่ใช้อยู่ทบทวนเรื่องการใช้งาน
ผลการทดสอบข้างต้นแสดงให้เห็นถึงปัญหาในการจัดซื้อ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์โดยมิได้ตรวจสอบการทำงานว่ามี ประสิทธิภาพจริงหรือไม่ ส่งผลให้เกิดการใช้งบประมาณอย่าง ไม่คุ้มค่า ทั้งนี้ ในช่วงที่เนคเทคทำ การทดสอบ หน่วยงานภาครัฐ ได้มีการใช้เครื่อง GT200 รวมถึงเครื่องตรวจหาสสารลักษณะเดียวกันอย่าง Alpha 6 รวมกันเกินกว่า 1,000 เครื่อง ซึ่งมีมูลค่ารวมกันหลายร้อยล้านบาท
นอกจากปัญหาการจัดซื้อเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์โดย มิได้ตรวจสอบการทำงาน วิธีการจัดซื้อก็อาจก่อปัญหาเช่นกัน โดยปกติการจัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์ หรืออาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ ของกองทัพ มักใช้การซื้อโดยวิธีพิเศษ ซึ่งในบางกรณีอาจมีความ จำ เป็น เนื่องจากเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ แต่ในอีก ด้านหนึ่ง การจัดซื้อด้วยวิธีดังกล่าวอาจทำ ให้หน่วยงานภาครัฐ ได้ของที่ราคาแพงเกินจริง เมื่อเทียบกับการจัดซื้อโดยวิธีประกวด ราคา หรืออาจได้ของที่ไม่ได้คุณภาพตามที่ต้องการ นอกจาก นี้ ความไม่โปร่งใสของการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ ยังเป็นช่องทางให้ เกิดการทุจริต
แม้ว่ารัฐบาลจะจัดซื้อเครื่อง GT200 มาตั้งแต่ปี 2547 แต่การจัดซื้อจำ นวนมากเกิดขึ้นในช่วงปี 2550-2552 รัฐบาล ได้จัดซื้ออย่างน้อย 14 ครั้ง รวม 627 เครื่อง คิดเป็นมูลค่ากว่า 570 ล้านบาท ซึ่งเป็นการจัดซื้อโดยกรมสรรพาวุธทหารบก 8 ครั้ง รวม 408 เครื่อง คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 370 ล้านบาท หรือเครื่องละประมาณ 900,000 บาท โดยใช้ทั้งงบประมาณของกองทัพบกและกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ราชอาณาจักร (กอ.รมน.) แม้ว่าการจัดซื้อเครื่องตรวจจับระเบิดทั้งหมดเป็นการจัดซื้อ จากบริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัด แต่หน่วยงานต่างๆ กลับจัดซื้อด้วยราคาที่ต่างกันมาก โดยกรมศุลกากรจัดซื้อจำนวน 6 เครื่อง ราคาเครื่องละประมาณ 430,000 บาท ขณะที่กรมราชองครักษ์ กระทรวงกลาโหม จัดซื้อจำนวน 3 เครื่อง แต่ซื้อในราคาสูงถึงเครื่องละ 1.2 ล้านบาท ในช่วงเวลาห่างจากที่กรมศุลกากรจัดซื้อเพียง 3 เดือน
ทั้งกรมราชองครักษ์และกองทัพบกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงกลาโหม จัดซื้อเครื่อง GT200 โดยวิธีพิเศษทำให้ราคาสูงกว่าการจัดซื้อของกรมศุลกากร 1-2 เท่า และหากพิจารณางบประมาณของกระทรวงกลาโหมตั้งแต่หลังรัฐประหารในปี 2549 จะพบว่างบประมาณของกระทรวงกลาโหมเพิ่มสูงขึ้น เรื่อยๆ จนในปี 2556 สูงถึง 1.8 แสนล้านบาท การจัดซื้อโดยวิธีพิเศษจึงสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการใช้งบประมาณอย่างไม่คุ้มค่ารวมถึงเป็นช่องทางให้เกิดการทุจริต
ผลกระทบ
การจัดซื้อเครื่องมือที่มิได้มีการตรวจสอบการทำงานส่งผลให้เกิดการใช้งบประมาณอย่างไม่คุ้มค่าและในกรณีการจัดซื้อเครื่อง GT200 น่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งของการสูญเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่และประชาชน การจัดซื้อโดยวิธีพิเศษเอื้อให้เกิดการทุจริตและยากต่อการตรวจสอบ
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การพัสดุ พ.ศ. 2535
ข้อ 23 การซื้อโดยวิธีพิเศษ ได้แก่ การซื้อครั้งหนึ่ง ซึ่งมีราคาเกิน 100,000 บาท ให้กระทำ ได้เฉพาะ กรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้
(1) เป็นพัสดุที่จะขายทอดตลาดโดยส่วนราชการ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการ ส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้ มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การระหว่างประเทศหรือหน่วยงานของต่าง ประเทศ
(2) เป็นพัสดุที่ต้องซื้อเร่งด่วน หากล่าช้าอาจจะเสียหายแก่ราชการ
(3) เป็นพัสดุเพื่อใช้ในราชการลับ
(4) เป็นพัสดุที่มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นในสถานการณ์ที่จำเป็นหรือเร่งด่วน หรือเพื่อประโยชน์ของส่วนราชการและจำเป็นต้องซื้อเพิ่ม (Repeat Order)
(5) เป็นพัสดุที่จำเป็นต้องซื้อโดยตรงจากต่างประเทศหรือดำเนินการโดยผ่านองค์การระหว่างประเทศ
(6) เป็นพัสดุที่โดยลักษณะของการใช้งานหรือมีข้อจำกัดทางเทคนิคที่จำเป็นต้องระบุยี่ห้อเป็นการเฉพาะซึ่งหมายความรวมถึงอะไหล่ รถประจำตำแหน่งหรือยารักษาโรคที่ไม่ต้องจัดซื้อตามชื่อสามัญในบัญชียาหลักแห่งชาติตามข้อ 60
(7) เป็นพัสดุที่เป็นที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างซึ่งจำเป็นต้องซื้อเฉพาะแห่ง
(8) เป็นพัสดุที่ได้ดำเนินการซื้อโดยวิธีอื่นแล้ว ไม่ได้ผลดี
เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
ศาลอังกฤษยึดทรัพย์ 395 ล้าน ผู้ผลิต GT200 หลังสั่งจำคุก เพื่อจ่ายเงินชดเชยผู้เสียหาย
'ประยุทธ์-ประวิตร' ประสานเสียง GT200 เคยใช้ได้ แต่พิสูจน์ว่าใช้ไม่ได้ ก็ไม่ใช้
ooo
ข่าวเก่าสมัยทั่นผู้นำเป็น ผบทบ.
https://www.youtube.com/watch?v=6-hS5zOUeRM&feature=youtu.be
ข่าว ผบ ทบ GT200 ใช้งานได้หากเชื่อมั่น
ooo
.....
ขอฮาอีกที... (แม่งคิดว่าคนไทยโง่...)
.....
ขอฮาอีกที... (แม่งคิดว่าคนไทยโง่...)
https://www.youtube.com/watch?v=G_PfJQA5eyA&feature=share
เสธ.ไก่อู พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำ ยืนยัน GT200 ใช้งานได้จริง "ไอ้สัส กูฮา"