บรรยากาศการรณรงค์การทำประชามติ ประเทศอื่นๆ เขาทำกันอย่างไรบ้าง แอบดูกันได้ที่ https://t.co/tctwHaQCaN pic.twitter.com/ZCXlK0CQWq— iLaw Club (@iLawclub) June 27, 2016
7 สิงหาคมนี้ จะเป็นวันทำประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ของเราแล้ว ระหว่างที่บรรยากาศการรณรงค์ของฝ่ายรับและไม่รับในบ้านเรายังค่อนข้างเงียบเหงา มาแอบดูประเทศอื่นๆ บ้างดีกว่า เร็วๆ นี้ที่ต่างประเด็นเขาก็มีการทำประชามติกันหลากหลาย บรรยากาศการรณรงค์ของเขาเป็นยังไงบ้างนะ เหมือนหรือแตกต่างกับบ้านเราหรือเปล่า
ภาพกลุ่มผู้ชุมนุมโหวต NO ในการลงประชามติให้สหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรป หรือ Brexit เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2016 บริเวณด้านนอกถนนดาวน์นิงในไวท์ฮอลล์, ลอนดอนกลาง เพื่อกดดันให้ เดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันลาออกจากตำแหน่ง
เครดิตภาพ http://sputniknews.com/analysis/20160425/1038555030/uk-referendum-panama-papers.html
ภาพกลุ่มผู้ชุมนุมฝ่ายโหวต No ของการลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ของประเทศอาร์เมเนีย จากระบบกึ่งประธานาธิบดี เป็นระบบรัฐสภา เดินขบวนคัดค้านระหว่างช่วงการจัดทำประชามติในเดือนธันวาคม 2015
เครดิตภาพ http://en.azvision.az/“No”_front_rally_against_-21565-xeber.html
ภาพกลุ่มผู้ชุมนุมรณรงค์ให้โหวต No ในการลงประชามติของกรีซ เมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2015 เพื่อตัดสินใจว่ากรีซจะยอมรับเงื่อนไขการช่วยเหลือวิกฤติหนี้สาธารณะหรือไม่ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่เสนอโดยคณะกรรมการยุโรป กองทุนการเงินระหว่างประเทศ และธนาคารกลางยุโรป
เครดิตภาพ Agence France-Presse
http://blogs.lse.ac.uk/greeceatlse/2016/06/13/what-those-calling-for-brexit-could-learn-from-the-greek-bailout-referendum/
ภาพกลุ่มผู้ชุมนุมกำลังรอฟังผลการนับคะแนน การลงประชามติเรื่องการจดทะเบียนสมรสของคนรักเพศเดียวกัน ในไอร์แลนด์ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2558
เครดิตภาพ Dara Mac Dónaill/The Irish Times
จาก http://www.irishtimes.com/news/social-affairs/bill-allowing-for-same-sex-marriage-signed-into-law-1.2410678
ภาพการทำกิจกรรมของกลุ่มคนที่สนับสนุนให้ใช้ธงชาติแบบเดิม ในการลงประชามติว่าจะเปลี่ยนธงชาติหรือไม่ ของนิวซีแลนด์ เมื่อเดือนมีนาคม ปี 2016
http://www.stuff.co.nz/national/the-flag-debate/73995531/qa-how-the-flag-voting-process-works
ภาพกลุ่มผู้ชุมนุมฝ่าย "ไม่รับ" ในการรณรงค์การทำประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ของเคนย่า ในปี 2010 โดยผู้ชุมนุมฝ่ายไม่รับ ใช้สีแดงเป็นสัญลักษณ์ในการเคลื่อนไหว
เครดิตภาพ JARED NYATAYA
http://www.nation.co.ke/Kenya-Referendum/Ruto-calls-for-peaceful-referendum-vote/-/926046/968142/-/nl2jol/-/index.html
ภาพกลุ่มผู้ชุมนุมสนับสนุน ประธานาธิบดีพอล คากาเมะ (Paul Kagame) ให้ดำรงตำแหน่งต่อไป ในระหว่างการรณรงค์ลงประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในปี 2016 ของรวันดา เพื่อให้ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งได้ต่อดำรงตำแหน่งครบสองวาระเต็มแล้ว
เครดิตภาพ L'Observateur Paalga
http://allafrica.com/stories/201512171435.html
ภาพการเดินขบวนของผู้ชุมนุมฝ่ายสนับสนุนให้โหวต Yes สนับสนุนให้สก็อตแลนเป็นเอกราชจากสหราชอาณาจักร ระหว่างการลงประชามติในเดือนกันยายน ปี 2014
เครดิตภาพ Paul Hackett / Reuters
https://www.rt.com/uk/313049-bbc-scotland-abuse-protest/
กลุ่มนักกิจกรรมแต่งตัวเป็นหุ่นยนต์ ในการเดินขบวนสนับสนุนในการลงประชามติเรื่องเงินอุดหนุนค่าครองชีพพื้นฐาน ในเดือนมิถุนายน 2016 ที่สวิตเซอร์แลนด์
เครดิตภาพ Roboterdemo https://www.flickr.com/photos/generation-grundeinkommen/sets/72157666579464545/with/26146504884/
http://www.basicincome2016.org/blog/first-robot-protest-worldwide
ภาพกลุ่มผู้ชุมนุมฝ่ายสนับสนุนเอกราชของไต้หวัน เดินขบวนสนับสนุนการทำประชามติ ในประเด็นว่า ไต้หวันควรเสนอตัวเข้าเป็นสมาชิกยูเอ็นในนาม "ไต้หวัน" หรือไม่ (ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของประเทศจีน) การลงประชามติเกิดขึ้นในเดือน มีนาคม 2008 พร้อมกับการเลือกตั้งประธานาธิบดี
อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/iq02/333598
เครดิตภาพ Ptrick Lin
http://www.gettyimages.ae/detail/news-photo/pro-independence-activists-wave-flags-at-a-rally-in-taipei-news-photo/76586621
ภาพประชาชนชาวแคนาดา เดินขบวนรณรงค์ ที่เมืองมอนทรีออล รัฐควิเบก ประเทศแคนาดา ก่อนการลงประชามติในคำถามว่า รัฐควิเบกควรจะแยกตัวเป็นรัฐเอกราชหรือไม่ ในเดือนมิถุนายน 1995
เครดิตภาพ Andre Pichette/AFP/Getty Images
http://www.theguardian.com/politics/2014/sep/08/playing-dirty-win-scotland-learn-quebec-independence-debate
ภาพประชาชนชาวแคนาดา เดินขบวนรณรงค์ ที่เมืองมอนทรีออล รัฐควิเบก ประเทศแคนาดา ก่อนการลงประชามติในคำถามว่า รัฐควิเบกควรจะแยกตัวเป็นรัฐเอกราชหรือไม่ ในเดือนมิถุนายน 1995
เครดิตภาพ Andre Pichette/AFP/Getty Images
http://www.theguardian.com/politics/2014/sep/08/playing-dirty-win-scotland-learn-quebec-independence-debate