บทความชิ้นนี้กล่าวถึงสถานการณ์การใช้ประมวลกฎหมายมาตรา 112 ภายหลังการรัฐประหาร22พฤษภาคม 2557 ที่ชวนให้ถูกตั้งคำถามถึงการดำรงอยู่ของกฎหมายมาตรานี้ ทั้งจากกรณีโพสต์เสียดสีสุนัขทรงเลี้ยง หรือกรณีตอบข้อความเฟซบุ๊กว่า “จ้า” ก็ถูกถือว่าเป็นการสนับสนุนการกระทำความผิด หรือจำนวนปีของโทษจำคุกที่สูงกว่าช่วงก่อนการรัฐประหาร
นอกจากกรณีที่ได้กล่าวไปแล้วยังมีกรณีที่ถูกพูดถึงไม่บ่อยนักและจำนวนผู้ถูกดำเนินคดีกลุ่มนี้ปัจจุบันอาจจะยังมีไม่มากคือกลุ่มผู้ป่วยโรค “จิตเภท” ซึ่งจากการติดตามของศูนย์ทนายความฯ และ iLaw พบว่าภายหลังการรัฐประหารมีผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้อย่างน้อย6 ราย ที่ถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา112 ภายหลังการรัฐประหาร ศูนย์ทนายความฯ จึงอยากชี้ประเด็นปัญหาการใช้มาตรา112 ในอีกมุมหนึ่ง
ภาพประกอบ : แบบทดสอบทางจิตวิทยาด้วยหมึกของ เฮอร์มานน์ รอร์สชาช (Hermann Rorschach)
http://www.tlhr2014.com/th/?p=712
ที่มา
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
.....
การดำเนินคดี 112 กับผู้ป่วยจิตเภทหลังรัฐประหาร
มิถุนายน 28, 2016
By tlhr2014@gmail.com
ปัญหาสะสมของการใช้ข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 อันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองได้มีความรุนแรงมากขึ้นตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2549 ถึงปัจจุบันนี้มีบุคคลที่ถูกดำเนินคดีด้วยกฎหมายมาตรานี้รวมตลอดช่วงระยะเวลา 10 ปีทั้งหมด 103 คนเป็นอย่างน้อย ในจำนวนนี้เฉพาะหลังการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557เพียงเวลา 2 ปี มีจำนวนถึง 67 คน1 แต่เดิมการใช้ ม.112 มาดำเนินคดีกับบุคคลที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ก็ถูกตั้งคำถามถึงการดำรงอยู่ของกฎหมาย อาทิ ขอบเขตการคุ้มครองบุคคลในตำแหน่งต่างๆ2อัตราโทษที่สูงเกินไป จนถึงกระบวนการพิจารณาในศาลหลายครั้งก็เป็นการพิจารณาลับ เมื่อปี 2555จึงเกิดการรณรงค์ให้แก้ไขกฎหมายมาตรานี้
ทั้งนี้ภายหลังการรัฐประหาร22พฤษภาคม 2557 เกิดการจับกุมดำเนินคดีด้วยข้อหาหมิ่นสถาบันกษัตริย์ซึ่งหลายครั้งพฤติการณ์ของผู้ต้องหาที่ถูกแจ้งความดำเนินคดีด้วยม.112 จะชวนให้ถูกตั้งคำถามมากขึ้นถึงการดำรงอยู่ของกฎหมายมาตรานี้ ทั้งจากกรณีโพสต์เสียดสีสุนัขทรงเลี้ยง3 หรือกรณีตอบข้อความเฟซบุ๊กว่า “จ้า” ก็ถูกถือว่าเป็นการสนับสนุนการกระทำความผิด4 จำนวนปีของโทษจำคุกที่สูงกว่าช่วงก่อนการรัฐประหาร5 หรือกรณีที่มีการตีความคุ้มครองไปครอบคลุมสมเด็จพระเทพฯ6 แต่เนื่องจากสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันทำให้แม้กระทั่งการวิพากษ์วิจารณ์ต่อตัวบทกฎหมายก็ยังทำได้ยากมากขึ้นไปด้วย
นอกจากกรณีที่ได้กล่าวไปแล้วยังมีกรณีที่ถูกพูดถึงไม่บ่อยนักและจำนวนผู้ถูกดำเนินคดีกลุ่มนี้ปัจจุบันอาจจะยังมีไม่มากคือกลุ่มผู้ป่วยโรค “จิตเภท” ซึ่งจากการติดตามของศูนย์ทนายความฯ และ iLaw พบว่าภายหลังการรัฐประหารมีผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้อย่างน้อย6 ราย ที่ถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา112 ภายหลังการรัฐประหารซึ่งกว้างขวางอย่างมากจนกระทบแม้กระทั่งกลุ่มบุคคลเหล่านี้7 ซึ่งจะขอยกตัวอย่างผู้ถูกดำเนินคดี ม.112ในกลุ่มนี้ขึ้นมาชี้ประเด็นปัญหาการใช้มาตรา112 ในอีกมุมหนึ่ง
ทะเนช : เสียงแว่วบอกให้ส่ง e-mail
ทะเนช ตกเป็นผู้ต้องหาคดี 112 จากการที่เขาส่งอีเมลที่แนบ URL หรือลิงก์์เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ไปถึงบุคคลหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า “stoplesemajeste” ในประเทศสเปนตั้งแต่ปี 2553 แต่เขาเพิ่งถูกจับกุมดำเนินคดีหลังการรัฐประหารเพียงเดือนเศษๆ เมื่อวันที่ 2 กรกฏาคม 2557 คดีนี้จึงอยู่ในการพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมเนื่องจากเป็นคดีที่เกิดขึ้นก่อน คสช. ออกประกาศให้คดีที่มีการกระทำความผิดตาม ม.112อยู่ในการพิจารณาพิพากษาของศาลทหาร
หลังถูกจับกุมขณะที่ทะเนชถูกคุมขังระหว่างสอบสวน เขาถูกส่งตัวไปตรวจรักษาอาการทางจิตที่สถาบันกัลยาราชนครินทร์ ซึ่งเป็นหน่วยจิตแพทย์ของราชการที่เชี่ยวชาญและมีภารกิจด้านนิติจิตเวช ผลการตรวจระบุว่าเขาเป็นโรคจิตเภทชนิดจิตหวาดระแวง อาการของโรคที่อยู่ติดตัวเขาตลอดเวลาคือหูแว่ว คล้ายมีคนมาพูดข้างหูของเขาโดยข้อความมีลักษณะเป็นการต่อว่าหยาบคาย บอกให้ฆ่าตัวตาย และจิตแพทย์ที่ให้การตรวจรักษาระหว่างถูกควบคุมตัวในเรือนจำยังเบิกความต่อศาลเกี่ยวกับโรคของเขาว่า คนป่วยที่มีอาการหูแว่วนั้น การตัดสินใจจะมีความบกพร่องเป็นช่วงๆ ขึ้นอยู่กับว่าในขณะนั้นมีอาการมากน้อยแค่ไหน และจากคำให้การของทะเนชที่กล่าวถึงการส่งลิงก์ดังกล่าวคิดว่าเป็นการช่วยเหลือประชาชนในเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 นั้นก็เป็นอาการหวาดระแวงของผู้ป่วยโรคนี้อีกด้วย
ทะเนชถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุก 5 ปี แต่ลดโทษเหลือ 3 ปี 4 เดือน จากการให้การในชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์ ส่วนประเด็นโรคจิตเภทศาลวินิจฉัยว่า ตำรวจที่ทำการสอบสวนเบิกความว่าสามารถให้การได้เหมือนคนปกติและยังสามารถกล่าวถึงขั้นตอนการกระทำความผิดได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน แม้ผลการตรวจของแพทย์ระบุว่าเขามีความผิดปกติอยู่บ้าง โดยในคำพิพากษนี้ศาลไม่ได้พิจารณาอาการทางจิตมาเป็นประโยชน์แก่ตัวจำเลยในทางละเว้นหรือบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 65 แต่อย่างใด และกรณีของทะเนชเขาอยู่ในบัญชีเดิมก่อนรัฐประหารซึ่งตำรวจเคยตามตัวเจอมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ไม่มีการดำเนินคดี8
สมัคร : ทำลายพระบรมฉายาลักษณ์
ในคืนวันที่ 8 กรกฎาคม สมัคร9ถูกจับกุมที่ด้านหน้าซุ้มพระบรมฉายาลักษณ์ที่ชาวบ้านช่วยกันสร้างขึ้นบริเวณทางเข้าหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ในอ.เทิง จ.เชียงราย โดยเขาใช้มีดทำลายพระบรมฉายาลักษณ์ เหลือเพียงแต่ซุ้มโครง โดยผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้แจ้งเหตุแก่ตำรวจสายตรวจในพื้นที่ สมัครรับสารภาพในที่เกิดเหตุว่าเป็นผู้ก่อเหตุดังกล่าวจากคำเบิกความในศาลของตำรวจที่จับกุมทราบว่าขณะจับกุมมีกลิ่นเหล้าจากตัวสมัคร จากนั้นถูกนำตัวไปยังสถานีตำรวจภูธรเทิง ก่อนถูกนำตัวมาฝากขังที่ศาลจังหวัดทหารบกเชียงราย ก่อนคดีจะถูกส่งฟ้องต่อศาลเมื่อวันที่ 30 กันยายน 255710
สมัครเคยมีประวัติการรักษาอาการทางจิตมาเป็นเวลาหลายปี เขาเล่าว่าหลายปีก่อน ตัวเองเคยมีอาการหวาดผวา กลัวคนจะเข้ามาทำร้ายอยู่ตลอดเวลา จนต้องไปรักษาอาการที่โรงพยาบาล จำได้ว่าเคยถูกมัดด้วยเชือกกับเตียงเพื่อรักษาด้วย ปัจจุบันอาการหวาดผวานี้หายไปแล้ว แต่ยังคงมีอาการหูแว่วอยู่เรื่อยมา เขามีอาการหูแว่วมักเกิดขึ้นเมื่ออยู่คนเดียว คล้ายมีคนมากระซิบเรียกชื่อเขาอยู่ข้างหูตลอด หรือบางทีก็มีเสียงคนจับกลุ่มพูดกันข้างหู ทั้งที่ไม่มีใคร บางทีต้องผวาตื่นขึ้นมากลางดึก เพราะได้ยินเสียงผู้หญิงเรียกชื่อเขา อาการเหล่านี้ทำให้เขาทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ได้ค่อนข้างเชื่องช้า ในช่วงถูกคุมขังสมัครจึงถูกนำตัวไปอยู่ที่แดนพยาบาลภายในเรือนจำตลอดมา และยังต้องกินยารักษาอาการอยู่วันละสามมื้อทุกๆ วัน
ผลการตรวจรักษาของสมัคร ตามเอกสารประวัติผู้ป่วยของโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ระบุข้อวินิจฉัยของแพทย์ว่านายสมัครมีอาการป่วยเป็นโรคจิตเภท มีลักษณะอาการหูแว่ว ประสาทหลอน และหวาดระแวง นอกจากนั้นผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านยังเบิกความถึงประวัติการรักษาของสมัคร เหตุการณ์เมื่อ 7-8 ปีก่อน สมัครเคยไปช่วยงานศพของชาวบ้านในตำบลอื่น ขณะขนไม้ไปทำฟืนได้เกิดอาการประสาทหลอน วิ่งไปวิ่งมา จนต้องจับส่งไปรักษา และหลังจากนั้นยังมีเหตุทุบบ้านและเผาจักรยานยนต์ของตนเอง แต่ยืนยันว่าในชีวิตประจำวัน ยังสามารถพูดคุยกับจำเลยได้รู้เรื่องปกติ
คดีของสมัครศาลทหารเชียงรายพิพากษาว่าได้ให้การยอมรับสารภาพ แต่กระทำไปเพราะมีอาการป่วยทางจิตโดยที่คดีนี้ก่อนศาลพิพากษาได้สืบพยานไปแล้ว 4 ปาก หลายปากยืนยันอาการจิตเภทของจำเลยที่ปรากฏก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตามสมัครได้ขอถอนคำให้การเนื่องจากเห็นว่ากระบวนการพิจารณายาวนาน จึงรับสารภาพว่าได้กระทำตามฟ้องโจทก์จริงทุกข้อหา พิพากษาให้จำคุก10ปีในข้อหาหมิ่นสถาบันฯ และปรับเงิน100บาทข้อหาพกพาอาวุธมีดไปในที่สาธารณะ รับสารภาพเหลือจำคุก 5ปี ปรับ50 บาท เนื่องจากรับสารภาพ11
ประจักษ์ชัย : เขียนหนังสือร้องทุกข์ถึงนายกฯ
ในกรณีของประจักษ์ชัยจากการสอบข้อเท็จจริงของทนายความเหตุการณ์ที่ทำให้เขาถูกดำเนินคดีเริ่มขึ้นในช่วงสายวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558 เขาเดินทางไปที่ทำเนียบรัฐบาลเพียงคนเดียว เพื่อร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ศูนย์บริการประชาชน ที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(กพร.) เขาเขียนข้อร้องเรียนลงในกระดาษส่งให้ทหารยาม เขาก็ถูกจับกุมทันทีจากข้อความที่เขาเขียน ประจักษ์ชัยเล่าว่าตนมาร้องเรียนแบบนี้หลายครั้งแล้วตั้งแต่ปี 2537
ประจักษ์ชัยได้รับการตรวจรักษาที่สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ระหว่างฝากขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ จิตแพทย์ลงความเห็นว่าเขาเป็นโรคจิตเภทและขณะก่อเหตุก็ทำไปเนื่องจากมีอาการ แพทย์ที่ทำการตรวจรักษายังระบุอีกว่าประจักษ์ชัยมีอาการหลงผิดชัดเจน มีความเชื่อที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ และมีระบบความคิดไม่ต่อเนื่องไม่สามารถเรียบเรียงความคิดเป็นรูปร่างได้ แม้ว่าการสนทนากันในช่วงแรกจะสามารถพูดคุยได้รู้เรื่องแต่เมื่อคุยไปนานๆ จึงจะเห็นว่าระบบความคิดไม่ต่อเนื่อง ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นอาการของคนไข้จิตเภท นอกจากนั้นแม่และพี่สาวของประจักษ์ชัยเล่าว่า ตั้งแต่อายุ 18-19 ปี ก็เริ่มปรากฏอาการทางจิต ลักษณะอาการคือตะโกนเสียงดังด้วยคำที่ไม่มีความหมาย หัวเราะหรือพูดคนเดียว เขาได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลและได้รับยามาแต่ประจักษ์ชัยกินยาได้เพียงครั้งเดียวแล้วไม่กินอีกเลย แต่ปกติไม่เคยทำร้ายใครและสามารถทำงานได้ ประจักษ์ชัยเคยมีประวัติเสพยาเสพติด
ขณะนี้คดีของประจักษ์ชัยอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีโดยศาลทหารเพิ่งนัดสอบคำให้การไปเมื่อวันที่ 30พฤษภาคมที่ผ่านมาโดยจะมีการนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 24สิงหาคมที่จะถึงนี้
เสาร์ : ร้องศาลคดีนักการเมืองให้ทวงเงินคืนจากอดีตนายกฯ
เสาร์ทำงานเป็นยามให้กับโรงงานและบริษัทในย่านปทุมธานี เขาถูกดำเนินคดีจากการเขียนคำร้องด้วยลายมือลงบนกระดาษ A4ไปยื่นฟ้องศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในทำนองว่าต้องการให้ศาลดำเนินคดีกับอดีตนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งเนื่องจากเขาได้ยกเงินจำนวน7พันล้านบาท ให้อดีตนายกฯ ไปซื้อหุ้น แต่อดีตนายกฯ คนนั้นกลับแก้ไขสัญญาจากที่จะต้องแบ่งเข้ารัฐกับอดีตนายกฯคนละครึ่ง เป็นเข้ารัฐ 10% ส่วนตัวเองได้ 90% ซึ่งในคำร้องดังกล่าวยังมีการพาดพิงถึงบุคคลในสถาบันกษัตริย์ด้วยจึงทำให้เขาถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112
เสาร์เคยเป็นสายให้ตำรวจในการปราบปรามยาเสพติดในช่วงปี 2536-2540 จากการทำงานทำให้เขาเริ่มเสพยาเสพติดเองจนภายหลังเขาถูกจับกุมดำเนินคดีเสียเองถึงสองครั้ง ครั้งแรกเขาถูกศาลพิพากษาจำคุก 25 ปี แต่ได้รับการลดโทษตามวาระต่างๆ มาเรื่อยๆ จนได้รับการปล่อยตัว เสาร์ยังเล่าถึงเรื่องราวระหว่างถูกคุมขังในเรือนจำว่า ขณะที่เขาดูโทรทัศน์ผู้ประกาศข่าวได้มีการสนทนาตอบโต้กับเขาผ่านทางโทรทัศน์ถึงเรื่องเงินจำนวน 7พันล้านบาทของเสาร์อีกด้วย12
คดีของเขาอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีแล้วโดยเมื่อวันที่ 20เมษายนที่ผ่านมาอัยการศาลทหารสั่งฟ้องต่อศาล ทั้งนี้เสาร์ได้ประกันตัวระหว่างพิจารณาคดีด้วยหลักทรัพย์ 4แสนบาท โดยเมื่อวันที่20มิถุนายนที่ผ่านมาเขาได้ให้การปฏิเสธข้อกล่าวหาต่อศาลและประสงค์ต่อสู้คดี ศาลทหารได้นัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 19 กันยายนปีนี้
ฤๅชา : ร่างทรงพระแม่ธรณี
ฤๅชา ผู้ต้องหาคดี 112 ที่เป็นโรคจิตเภทรายล่าสุด เขาถูกดำเนินคดีจากการโพสต์ภาพกราฟฟิคที่มีภาพบุคคลและข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัวทั้งหมด 5โพสต์ โดยเนื้อหาของโพสต์ เป็นการเชื่อมโยงระหว่างสถาบันกษัตริย์กับสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน จากนั้นเขาถูกจับกุมโดยทหารนาวิกโยธินและตำรวจท้องที่ในตอนเช้าของวันที่ 29 มี.ค.2559 ที่อพาร์ทเมนท์ในจังหวัดระยอง เขาถูกยึดโทรศัพท์มือถือ 6 เครื่อง แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ไปด้วย จากนั้นเจ้าหน้าที่นำตัวฤๅชามาควบคุมไว้ที่ มทบ.11 เป็นเวลา7วัน แต่ก่อนที่ทหารจะนำตัวส่งให้ตำรวจในวันสุดท้ายของการควบคุมตัว เจ้าหน้าที่ให้จิตแพทย์ตรวจอาการของฤๅชาด้วย
ฤๅชามีประวัติการรักษาที่สถาบันกัลยาราชนครินทร์ออกให้เมื่อวันที่ 7เม.ย.2559ระบุว่าเขาเคยเข้ารับการรักษาที่สถาบันกัลยาณ์ฯ ตั้งแต่ปี 2554อาการของโรคคือ “พูดคนเดียว พูดเพ้อเจ้อ คิดว่ามีร่างทรง มีไมโครชิพอยู่ในสมอง คิดว่ามีคนอื่นเอาจิตมาฝากไว้ คิดว่าตนเองสามารถล่วงรู้ความหลังของตนเองได้ หูแว่วเป็นเสียงด่าว่าตนเองตลอดเวลาและหงุดหงิดง่าย” จิตแพทย์วินิจฉัยว่าเป็น Other nonorganic psychotic disorder ซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งของโรคจิตเภท แต่ฤๅชาไม่ได้เข้ารับการตรวจรักษาอย่างต่อเนื่อง และจากการพูดคุยกับฤๅชาถึงแรงจูงใจในการโพสต์ภาพข้อความเหล่านั้นในเฟซบุ๊กของตนเอง ฤๅชาเล่าว่าที่เขาทำเพราะเป็นความต้องการของพระแม่ธรณีที่ต้องการให้มนุษย์ทราบเรื่องราวต่างๆ และการที่เขาต้องไปเข้าสถาบันกัลยาณ์ฯ และถูกคุมขังในเรือนจำครั้งนี้ก็เป็นประสงค์ของพระแม่ธรณีที่ต้องการให้เขาได้ศึกษาโลกมนุษย์และภาพกราฟฟิคที่ทำให้ถูกดำเนินคดีก็เป็นฝีมือของพระแม่ธรณีด้วยเช่นกัน
แฟนของฤๅชาที่อยู่ด้วยกันมาหลายสิบปีให้ข้อมูลว่าฤๅชาไม่เคยใช้ยาเสพติดมาก่อนและไม่ดื่มเหล้าเบียร์ เธอเล่าว่าครั้งแรกที่ทราบว่าฤๅชามีอาการทางจิตคือปี2554 ตอนที่เขาไปปฏิบัติธรรม โดยอาการคือเขาลงไปเลื้อยเหมือนงูและบอกว่าตนเองเป็นพญานาค จึงได้นำตัวส่งโรงพยาบาล หลังได้รับการรักษาแล้วฤๅชาก็ยังเคยมีพระแม่ธรณีมาเข้าทรงอยู่ และบางครั้งเขาก็ยังคิดว่าตัวเองเป็นบุคคลอื่นอีกด้วย
ฤๅชาขณะนี้ยังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพระหว่างรอการสอบสวนของตำรวจโดยไม่ได้ประกันตัวเนื่องจากครอบครัวไม่มีหลักทรัพย์มากพอที่จะใช้ประกันตัวฤๅชา
ทั้งนี้จะเห็นว่าบุคคลเหล่านี้ยังดำเนินชีวิตส่วนตัวยังคงดำเนินได้เป็นปกติ ซึ่งอาจจะดูขัดแย้งกับความเชื่อของคนทั่วที่อาจเข้าใจว่าผู้ป่วยโรคจิตเภทจะต้องมีอาการคลุ้มคลั่ง พูดจาไม่รู้เรื่องตลอดเวลา หรือเหม่อลอยจนไม่สามารถดำเนินชีวิตเหมือนคนปกติได้ แต่ผู้ป่วยโรคจิตเภทยังพอสามารถใช้ชีวิตปกติได้อยู่บ้าง เช่น ทำมาหาเลี้ยงชีพ หรือสามารถรับทราบในเรื่องทั่วๆ ไป หรือสถานการณ์ปัจจุบันได้ ขึ้นอยู่กับสภาพอาการและการรักษา13 ถึงแม้ว่าโรคจิตเภทจะต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังสามารถใช้ชีวิตปกติเหมือนคนทั่วไปได้ เพียงแต่พวกเขาอาจยังมีความคิดความเชื่อบางอย่างแตกต่างกับบุคคลทั่วไปซึ่งจะส่งผลต่อการแสดงออกและการกระทำของพวกเขาด้วยเช่นกัน
อีกประเด็นหนึ่งนอกจากประเด็นโรคจิตเภทของพวกเขาแล้วยังมีปัญหาในการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวของกับคดีกล่าวคือ การที่พนักงานสอบสวนพิจารณาว่าจะดำเนินคดีด้วยมาตรา 112กับบุคคลใดในเวลานี้ จากคำบอกเล่าของพนักงานสอบสวนที่ทำคดีของหนึ่งในผู้ต้องหากลุ่มนี้ทำให้ทราบว่าเรื่องที่เกี่ยวกับคดีหมิ่นสถาบันฯ เมื่อพนักงานสอบสวนรวบรวมหลักฐานแล้วจะต้องส่งสำนวนการสอบสวนถึงคณะกรรมการพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับการหมิ่นสถาบันฯ จากนั้นเมื่อสำนวนคดีกลับมาที่พนักงานสอบสวนแล้วจึงจะมีความเห็นสั่งฟ้องถึงอัยการศาลทหาร
คณะกรรมการดังกล่าวเป็นคณะทำงานที่มีหน้าที่พิจารณาคดีที่เป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 คณะกรรมการพิจารณาไม่ได้เพิ่งมีการตั้งภายหลังการรัฐประหาร แต่เริ่มมีชื่อปรากฏในข่าวตั้งแต่กรณีที่นายจักรภพ เพ็ญแขถูกแจ้งความดำเนินคดีตั้งแต่ปี 2551 จนปัจจุบันการดำเนินคดีด้วยข้อหาหมิ่นสถาบันฯ การพิจารณาคดีก็ยังคงอยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการดังกล่าวนี้ ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติเคยมีการแนวทางการปฏิบัติการสอบสวนเป็นตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 122/255314 และภายหลังการรัฐประหารครั้งนี้ก็มีการสั่งการในลักษณะเป็นนโยบายเพื่อจัดการเร่งรัดคดี15
การใช้ข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ดำเนินคดีกับบุคคลที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์อย่างกว้างขวางมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งขณะนี้ได้ส่งผลกระทบถึงกลุ่มคนเหล่านี้ที่เห็นพฤติการณ์คดีและเมื่อลักษณะของข้อความก็สามารถรู้ได้ทันทีว่าการเชื่อมโยงเรื่องราวหรือที่มาของการกระทำไม่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกันเช่นในกรณีของเสาร์หรือฤๅชา แม้ว่ารัฐบาลทหารจะอ้างว่าการดำเนินคดีด้วยม.112ที่ผ่านมาเป็นการปกป้องสถาบันกษัตริย์ แต่การใช้กฎหมายในลักษณะนี้อาจจะต้องกลับมาตั้งคำถามถึงปัญหาตัวบทกฎหมายและการใช้กฎหมายกันอีกครั้ง
.
.
.
1 จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีภายหลังการรัฐประหารอ้างอิงจากเว็บไซต์ของiLaw และอีก5คนที่เพิ่งถูกจับกุมเพิ่มในเดือนเมษายนจนถึงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมานี้ แต่ในส่วนตัวเลขรวมก่อนการรัฐประหารนั้นนับจากฐานข้อมูลคดีของ iLaw ที่ติดตามข้อมูลเกี่ยวกับคดี 112 มาตั้งแต่ก่อนการรัฐประหารครั้งนี้ สามารถดูข้อมูลทั้งหมดได้ ที่นี่
2 กรณีที่มีการตีความอย่างกว้างขวางที่สุดคือการที่ศาลจังหวัดชลบุรีตีความครอบคลุมถึงรัชกาลที่ 4 เพียงแค่ผู้ต้องหากล่าวถึงเปรียบเทียบสภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบันกับช่วงเวลาการปกครองของรัชกาลที่4 แล้วบอกว่าไม่อยากกลับไปอยู่ในยุคนั้นอีก สามารถอ่านรายละเอียดได้ที่นี่ “รายงาน : คดีดูหมิ่นรัชกาลที่ 4 เส้นแบ่งเวลาใหม่ของมาตรา 112”
3 https://tlhr2014.wordpress.com/2016/03/08/like112/
4 https://tlhr2014.wordpress.com/2016/05/06/janew_mom_chat_fb_112/
5 https://tlhr2014.wordpress.com/2015/08/07/pongsak_and_thara/ และ https://tlhr2014.wordpress.com/2015/08/10/sasivimon_112_2/
6 https://tlhr2014.wordpress.com/2016/05/30/112kampangpetch_5/
7 ทั้งนี้เนื่องจากไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลต่อของบุคคลเหล่านี้ต่อสาธารณะได้โดยตรงเพราะมีปัญหาซ้อนทับกันสองประการคือไม่สามารถเผยแพร่ข้อความที่ทำให้พวกเขาถูกดำเนินคดีได้และความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วยโรคจิตเวช ทั้งนี้ศูนย์ทนายความฯ เห็นว่าข้อมูลบางส่วนจะเป็นประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจของสาธารณะจึงได้ขออนุญาตจากผู้ได้รับผลกระทบแล้วเพราะเห็นว่าจะทำให้สามารถทำความเข้าใจต่อการใช้กฎหมายมาตรานี้ภายหลังการรัฐประหารมากขึ้น
8 http://freedom.ilaw.or.th/case/614
9 https://tlhr2014.wordpress.com/2015/08/05/samak_112/
10 https://tlhr2014.wordpress.com/2015/08/05/samak_112/
11 http://prachatai.com/journal/2015/08/60691
12 https://tlhr2014.wordpress.com/2015/08/20/sao/
13 กรณีของเครือวัลย์ เที่ยงธรรม อดีตผู้ที่เคยเป็นโรคจิตเภทและได้รับการรักษา ในปัจจุบันเป็นกรรมการสมาคมสายใยครอบครัว และเธอยังมีความสามารถแปลหนังสือได้อีกด้วย http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9480000155347
14 สามารถดาวโหลดไฟล์คำสั่งดังกล่าวได้ที่นี่ http://www.sobsuan.com/modules.php?name=Forums&file=download&id=267
15 http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1402904249
ปัญหาสะสมของการใช้ข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 อันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองได้มีความรุนแรงมากขึ้นตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2549 ถึงปัจจุบันนี้มีบุคคลที่ถูกดำเนินคดีด้วยกฎหมายมาตรานี้รวมตลอดช่วงระยะเวลา 10 ปีทั้งหมด 103 คนเป็นอย่างน้อย ในจำนวนนี้เฉพาะหลังการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557เพียงเวลา 2 ปี มีจำนวนถึง 67 คน1 แต่เดิมการใช้ ม.112 มาดำเนินคดีกับบุคคลที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ก็ถูกตั้งคำถามถึงการดำรงอยู่ของกฎหมาย อาทิ ขอบเขตการคุ้มครองบุคคลในตำแหน่งต่างๆ2อัตราโทษที่สูงเกินไป จนถึงกระบวนการพิจารณาในศาลหลายครั้งก็เป็นการพิจารณาลับ เมื่อปี 2555จึงเกิดการรณรงค์ให้แก้ไขกฎหมายมาตรานี้
ทั้งนี้ภายหลังการรัฐประหาร22พฤษภาคม 2557 เกิดการจับกุมดำเนินคดีด้วยข้อหาหมิ่นสถาบันกษัตริย์ซึ่งหลายครั้งพฤติการณ์ของผู้ต้องหาที่ถูกแจ้งความดำเนินคดีด้วยม.112 จะชวนให้ถูกตั้งคำถามมากขึ้นถึงการดำรงอยู่ของกฎหมายมาตรานี้ ทั้งจากกรณีโพสต์เสียดสีสุนัขทรงเลี้ยง3 หรือกรณีตอบข้อความเฟซบุ๊กว่า “จ้า” ก็ถูกถือว่าเป็นการสนับสนุนการกระทำความผิด4 จำนวนปีของโทษจำคุกที่สูงกว่าช่วงก่อนการรัฐประหาร5 หรือกรณีที่มีการตีความคุ้มครองไปครอบคลุมสมเด็จพระเทพฯ6 แต่เนื่องจากสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันทำให้แม้กระทั่งการวิพากษ์วิจารณ์ต่อตัวบทกฎหมายก็ยังทำได้ยากมากขึ้นไปด้วย
นอกจากกรณีที่ได้กล่าวไปแล้วยังมีกรณีที่ถูกพูดถึงไม่บ่อยนักและจำนวนผู้ถูกดำเนินคดีกลุ่มนี้ปัจจุบันอาจจะยังมีไม่มากคือกลุ่มผู้ป่วยโรค “จิตเภท” ซึ่งจากการติดตามของศูนย์ทนายความฯ และ iLaw พบว่าภายหลังการรัฐประหารมีผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้อย่างน้อย6 ราย ที่ถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา112 ภายหลังการรัฐประหารซึ่งกว้างขวางอย่างมากจนกระทบแม้กระทั่งกลุ่มบุคคลเหล่านี้7 ซึ่งจะขอยกตัวอย่างผู้ถูกดำเนินคดี ม.112ในกลุ่มนี้ขึ้นมาชี้ประเด็นปัญหาการใช้มาตรา112 ในอีกมุมหนึ่ง
ทะเนช : เสียงแว่วบอกให้ส่ง e-mail
ทะเนช ตกเป็นผู้ต้องหาคดี 112 จากการที่เขาส่งอีเมลที่แนบ URL หรือลิงก์์เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ไปถึงบุคคลหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า “stoplesemajeste” ในประเทศสเปนตั้งแต่ปี 2553 แต่เขาเพิ่งถูกจับกุมดำเนินคดีหลังการรัฐประหารเพียงเดือนเศษๆ เมื่อวันที่ 2 กรกฏาคม 2557 คดีนี้จึงอยู่ในการพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมเนื่องจากเป็นคดีที่เกิดขึ้นก่อน คสช. ออกประกาศให้คดีที่มีการกระทำความผิดตาม ม.112อยู่ในการพิจารณาพิพากษาของศาลทหาร
หลังถูกจับกุมขณะที่ทะเนชถูกคุมขังระหว่างสอบสวน เขาถูกส่งตัวไปตรวจรักษาอาการทางจิตที่สถาบันกัลยาราชนครินทร์ ซึ่งเป็นหน่วยจิตแพทย์ของราชการที่เชี่ยวชาญและมีภารกิจด้านนิติจิตเวช ผลการตรวจระบุว่าเขาเป็นโรคจิตเภทชนิดจิตหวาดระแวง อาการของโรคที่อยู่ติดตัวเขาตลอดเวลาคือหูแว่ว คล้ายมีคนมาพูดข้างหูของเขาโดยข้อความมีลักษณะเป็นการต่อว่าหยาบคาย บอกให้ฆ่าตัวตาย และจิตแพทย์ที่ให้การตรวจรักษาระหว่างถูกควบคุมตัวในเรือนจำยังเบิกความต่อศาลเกี่ยวกับโรคของเขาว่า คนป่วยที่มีอาการหูแว่วนั้น การตัดสินใจจะมีความบกพร่องเป็นช่วงๆ ขึ้นอยู่กับว่าในขณะนั้นมีอาการมากน้อยแค่ไหน และจากคำให้การของทะเนชที่กล่าวถึงการส่งลิงก์ดังกล่าวคิดว่าเป็นการช่วยเหลือประชาชนในเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 นั้นก็เป็นอาการหวาดระแวงของผู้ป่วยโรคนี้อีกด้วย
ทะเนชถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุก 5 ปี แต่ลดโทษเหลือ 3 ปี 4 เดือน จากการให้การในชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์ ส่วนประเด็นโรคจิตเภทศาลวินิจฉัยว่า ตำรวจที่ทำการสอบสวนเบิกความว่าสามารถให้การได้เหมือนคนปกติและยังสามารถกล่าวถึงขั้นตอนการกระทำความผิดได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน แม้ผลการตรวจของแพทย์ระบุว่าเขามีความผิดปกติอยู่บ้าง โดยในคำพิพากษนี้ศาลไม่ได้พิจารณาอาการทางจิตมาเป็นประโยชน์แก่ตัวจำเลยในทางละเว้นหรือบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 65 แต่อย่างใด และกรณีของทะเนชเขาอยู่ในบัญชีเดิมก่อนรัฐประหารซึ่งตำรวจเคยตามตัวเจอมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ไม่มีการดำเนินคดี8
สมัคร : ทำลายพระบรมฉายาลักษณ์
ในคืนวันที่ 8 กรกฎาคม สมัคร9ถูกจับกุมที่ด้านหน้าซุ้มพระบรมฉายาลักษณ์ที่ชาวบ้านช่วยกันสร้างขึ้นบริเวณทางเข้าหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ในอ.เทิง จ.เชียงราย โดยเขาใช้มีดทำลายพระบรมฉายาลักษณ์ เหลือเพียงแต่ซุ้มโครง โดยผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้แจ้งเหตุแก่ตำรวจสายตรวจในพื้นที่ สมัครรับสารภาพในที่เกิดเหตุว่าเป็นผู้ก่อเหตุดังกล่าวจากคำเบิกความในศาลของตำรวจที่จับกุมทราบว่าขณะจับกุมมีกลิ่นเหล้าจากตัวสมัคร จากนั้นถูกนำตัวไปยังสถานีตำรวจภูธรเทิง ก่อนถูกนำตัวมาฝากขังที่ศาลจังหวัดทหารบกเชียงราย ก่อนคดีจะถูกส่งฟ้องต่อศาลเมื่อวันที่ 30 กันยายน 255710
สมัครเคยมีประวัติการรักษาอาการทางจิตมาเป็นเวลาหลายปี เขาเล่าว่าหลายปีก่อน ตัวเองเคยมีอาการหวาดผวา กลัวคนจะเข้ามาทำร้ายอยู่ตลอดเวลา จนต้องไปรักษาอาการที่โรงพยาบาล จำได้ว่าเคยถูกมัดด้วยเชือกกับเตียงเพื่อรักษาด้วย ปัจจุบันอาการหวาดผวานี้หายไปแล้ว แต่ยังคงมีอาการหูแว่วอยู่เรื่อยมา เขามีอาการหูแว่วมักเกิดขึ้นเมื่ออยู่คนเดียว คล้ายมีคนมากระซิบเรียกชื่อเขาอยู่ข้างหูตลอด หรือบางทีก็มีเสียงคนจับกลุ่มพูดกันข้างหู ทั้งที่ไม่มีใคร บางทีต้องผวาตื่นขึ้นมากลางดึก เพราะได้ยินเสียงผู้หญิงเรียกชื่อเขา อาการเหล่านี้ทำให้เขาทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ได้ค่อนข้างเชื่องช้า ในช่วงถูกคุมขังสมัครจึงถูกนำตัวไปอยู่ที่แดนพยาบาลภายในเรือนจำตลอดมา และยังต้องกินยารักษาอาการอยู่วันละสามมื้อทุกๆ วัน
ผลการตรวจรักษาของสมัคร ตามเอกสารประวัติผู้ป่วยของโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ระบุข้อวินิจฉัยของแพทย์ว่านายสมัครมีอาการป่วยเป็นโรคจิตเภท มีลักษณะอาการหูแว่ว ประสาทหลอน และหวาดระแวง นอกจากนั้นผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านยังเบิกความถึงประวัติการรักษาของสมัคร เหตุการณ์เมื่อ 7-8 ปีก่อน สมัครเคยไปช่วยงานศพของชาวบ้านในตำบลอื่น ขณะขนไม้ไปทำฟืนได้เกิดอาการประสาทหลอน วิ่งไปวิ่งมา จนต้องจับส่งไปรักษา และหลังจากนั้นยังมีเหตุทุบบ้านและเผาจักรยานยนต์ของตนเอง แต่ยืนยันว่าในชีวิตประจำวัน ยังสามารถพูดคุยกับจำเลยได้รู้เรื่องปกติ
คดีของสมัครศาลทหารเชียงรายพิพากษาว่าได้ให้การยอมรับสารภาพ แต่กระทำไปเพราะมีอาการป่วยทางจิตโดยที่คดีนี้ก่อนศาลพิพากษาได้สืบพยานไปแล้ว 4 ปาก หลายปากยืนยันอาการจิตเภทของจำเลยที่ปรากฏก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตามสมัครได้ขอถอนคำให้การเนื่องจากเห็นว่ากระบวนการพิจารณายาวนาน จึงรับสารภาพว่าได้กระทำตามฟ้องโจทก์จริงทุกข้อหา พิพากษาให้จำคุก10ปีในข้อหาหมิ่นสถาบันฯ และปรับเงิน100บาทข้อหาพกพาอาวุธมีดไปในที่สาธารณะ รับสารภาพเหลือจำคุก 5ปี ปรับ50 บาท เนื่องจากรับสารภาพ11
ประจักษ์ชัย : เขียนหนังสือร้องทุกข์ถึงนายกฯ
ในกรณีของประจักษ์ชัยจากการสอบข้อเท็จจริงของทนายความเหตุการณ์ที่ทำให้เขาถูกดำเนินคดีเริ่มขึ้นในช่วงสายวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558 เขาเดินทางไปที่ทำเนียบรัฐบาลเพียงคนเดียว เพื่อร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ศูนย์บริการประชาชน ที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(กพร.) เขาเขียนข้อร้องเรียนลงในกระดาษส่งให้ทหารยาม เขาก็ถูกจับกุมทันทีจากข้อความที่เขาเขียน ประจักษ์ชัยเล่าว่าตนมาร้องเรียนแบบนี้หลายครั้งแล้วตั้งแต่ปี 2537
ประจักษ์ชัยได้รับการตรวจรักษาที่สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ระหว่างฝากขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ จิตแพทย์ลงความเห็นว่าเขาเป็นโรคจิตเภทและขณะก่อเหตุก็ทำไปเนื่องจากมีอาการ แพทย์ที่ทำการตรวจรักษายังระบุอีกว่าประจักษ์ชัยมีอาการหลงผิดชัดเจน มีความเชื่อที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ และมีระบบความคิดไม่ต่อเนื่องไม่สามารถเรียบเรียงความคิดเป็นรูปร่างได้ แม้ว่าการสนทนากันในช่วงแรกจะสามารถพูดคุยได้รู้เรื่องแต่เมื่อคุยไปนานๆ จึงจะเห็นว่าระบบความคิดไม่ต่อเนื่อง ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นอาการของคนไข้จิตเภท นอกจากนั้นแม่และพี่สาวของประจักษ์ชัยเล่าว่า ตั้งแต่อายุ 18-19 ปี ก็เริ่มปรากฏอาการทางจิต ลักษณะอาการคือตะโกนเสียงดังด้วยคำที่ไม่มีความหมาย หัวเราะหรือพูดคนเดียว เขาได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลและได้รับยามาแต่ประจักษ์ชัยกินยาได้เพียงครั้งเดียวแล้วไม่กินอีกเลย แต่ปกติไม่เคยทำร้ายใครและสามารถทำงานได้ ประจักษ์ชัยเคยมีประวัติเสพยาเสพติด
ขณะนี้คดีของประจักษ์ชัยอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีโดยศาลทหารเพิ่งนัดสอบคำให้การไปเมื่อวันที่ 30พฤษภาคมที่ผ่านมาโดยจะมีการนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 24สิงหาคมที่จะถึงนี้
เสาร์ : ร้องศาลคดีนักการเมืองให้ทวงเงินคืนจากอดีตนายกฯ
เสาร์ทำงานเป็นยามให้กับโรงงานและบริษัทในย่านปทุมธานี เขาถูกดำเนินคดีจากการเขียนคำร้องด้วยลายมือลงบนกระดาษ A4ไปยื่นฟ้องศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในทำนองว่าต้องการให้ศาลดำเนินคดีกับอดีตนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งเนื่องจากเขาได้ยกเงินจำนวน7พันล้านบาท ให้อดีตนายกฯ ไปซื้อหุ้น แต่อดีตนายกฯ คนนั้นกลับแก้ไขสัญญาจากที่จะต้องแบ่งเข้ารัฐกับอดีตนายกฯคนละครึ่ง เป็นเข้ารัฐ 10% ส่วนตัวเองได้ 90% ซึ่งในคำร้องดังกล่าวยังมีการพาดพิงถึงบุคคลในสถาบันกษัตริย์ด้วยจึงทำให้เขาถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112
เสาร์เคยเป็นสายให้ตำรวจในการปราบปรามยาเสพติดในช่วงปี 2536-2540 จากการทำงานทำให้เขาเริ่มเสพยาเสพติดเองจนภายหลังเขาถูกจับกุมดำเนินคดีเสียเองถึงสองครั้ง ครั้งแรกเขาถูกศาลพิพากษาจำคุก 25 ปี แต่ได้รับการลดโทษตามวาระต่างๆ มาเรื่อยๆ จนได้รับการปล่อยตัว เสาร์ยังเล่าถึงเรื่องราวระหว่างถูกคุมขังในเรือนจำว่า ขณะที่เขาดูโทรทัศน์ผู้ประกาศข่าวได้มีการสนทนาตอบโต้กับเขาผ่านทางโทรทัศน์ถึงเรื่องเงินจำนวน 7พันล้านบาทของเสาร์อีกด้วย12
คดีของเขาอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีแล้วโดยเมื่อวันที่ 20เมษายนที่ผ่านมาอัยการศาลทหารสั่งฟ้องต่อศาล ทั้งนี้เสาร์ได้ประกันตัวระหว่างพิจารณาคดีด้วยหลักทรัพย์ 4แสนบาท โดยเมื่อวันที่20มิถุนายนที่ผ่านมาเขาได้ให้การปฏิเสธข้อกล่าวหาต่อศาลและประสงค์ต่อสู้คดี ศาลทหารได้นัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 19 กันยายนปีนี้
ฤๅชา : ร่างทรงพระแม่ธรณี
ฤๅชา ผู้ต้องหาคดี 112 ที่เป็นโรคจิตเภทรายล่าสุด เขาถูกดำเนินคดีจากการโพสต์ภาพกราฟฟิคที่มีภาพบุคคลและข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัวทั้งหมด 5โพสต์ โดยเนื้อหาของโพสต์ เป็นการเชื่อมโยงระหว่างสถาบันกษัตริย์กับสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน จากนั้นเขาถูกจับกุมโดยทหารนาวิกโยธินและตำรวจท้องที่ในตอนเช้าของวันที่ 29 มี.ค.2559 ที่อพาร์ทเมนท์ในจังหวัดระยอง เขาถูกยึดโทรศัพท์มือถือ 6 เครื่อง แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ไปด้วย จากนั้นเจ้าหน้าที่นำตัวฤๅชามาควบคุมไว้ที่ มทบ.11 เป็นเวลา7วัน แต่ก่อนที่ทหารจะนำตัวส่งให้ตำรวจในวันสุดท้ายของการควบคุมตัว เจ้าหน้าที่ให้จิตแพทย์ตรวจอาการของฤๅชาด้วย
ฤๅชามีประวัติการรักษาที่สถาบันกัลยาราชนครินทร์ออกให้เมื่อวันที่ 7เม.ย.2559ระบุว่าเขาเคยเข้ารับการรักษาที่สถาบันกัลยาณ์ฯ ตั้งแต่ปี 2554อาการของโรคคือ “พูดคนเดียว พูดเพ้อเจ้อ คิดว่ามีร่างทรง มีไมโครชิพอยู่ในสมอง คิดว่ามีคนอื่นเอาจิตมาฝากไว้ คิดว่าตนเองสามารถล่วงรู้ความหลังของตนเองได้ หูแว่วเป็นเสียงด่าว่าตนเองตลอดเวลาและหงุดหงิดง่าย” จิตแพทย์วินิจฉัยว่าเป็น Other nonorganic psychotic disorder ซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งของโรคจิตเภท แต่ฤๅชาไม่ได้เข้ารับการตรวจรักษาอย่างต่อเนื่อง และจากการพูดคุยกับฤๅชาถึงแรงจูงใจในการโพสต์ภาพข้อความเหล่านั้นในเฟซบุ๊กของตนเอง ฤๅชาเล่าว่าที่เขาทำเพราะเป็นความต้องการของพระแม่ธรณีที่ต้องการให้มนุษย์ทราบเรื่องราวต่างๆ และการที่เขาต้องไปเข้าสถาบันกัลยาณ์ฯ และถูกคุมขังในเรือนจำครั้งนี้ก็เป็นประสงค์ของพระแม่ธรณีที่ต้องการให้เขาได้ศึกษาโลกมนุษย์และภาพกราฟฟิคที่ทำให้ถูกดำเนินคดีก็เป็นฝีมือของพระแม่ธรณีด้วยเช่นกัน
แฟนของฤๅชาที่อยู่ด้วยกันมาหลายสิบปีให้ข้อมูลว่าฤๅชาไม่เคยใช้ยาเสพติดมาก่อนและไม่ดื่มเหล้าเบียร์ เธอเล่าว่าครั้งแรกที่ทราบว่าฤๅชามีอาการทางจิตคือปี2554 ตอนที่เขาไปปฏิบัติธรรม โดยอาการคือเขาลงไปเลื้อยเหมือนงูและบอกว่าตนเองเป็นพญานาค จึงได้นำตัวส่งโรงพยาบาล หลังได้รับการรักษาแล้วฤๅชาก็ยังเคยมีพระแม่ธรณีมาเข้าทรงอยู่ และบางครั้งเขาก็ยังคิดว่าตัวเองเป็นบุคคลอื่นอีกด้วย
ฤๅชาขณะนี้ยังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพระหว่างรอการสอบสวนของตำรวจโดยไม่ได้ประกันตัวเนื่องจากครอบครัวไม่มีหลักทรัพย์มากพอที่จะใช้ประกันตัวฤๅชา
ทั้งนี้จะเห็นว่าบุคคลเหล่านี้ยังดำเนินชีวิตส่วนตัวยังคงดำเนินได้เป็นปกติ ซึ่งอาจจะดูขัดแย้งกับความเชื่อของคนทั่วที่อาจเข้าใจว่าผู้ป่วยโรคจิตเภทจะต้องมีอาการคลุ้มคลั่ง พูดจาไม่รู้เรื่องตลอดเวลา หรือเหม่อลอยจนไม่สามารถดำเนินชีวิตเหมือนคนปกติได้ แต่ผู้ป่วยโรคจิตเภทยังพอสามารถใช้ชีวิตปกติได้อยู่บ้าง เช่น ทำมาหาเลี้ยงชีพ หรือสามารถรับทราบในเรื่องทั่วๆ ไป หรือสถานการณ์ปัจจุบันได้ ขึ้นอยู่กับสภาพอาการและการรักษา13 ถึงแม้ว่าโรคจิตเภทจะต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังสามารถใช้ชีวิตปกติเหมือนคนทั่วไปได้ เพียงแต่พวกเขาอาจยังมีความคิดความเชื่อบางอย่างแตกต่างกับบุคคลทั่วไปซึ่งจะส่งผลต่อการแสดงออกและการกระทำของพวกเขาด้วยเช่นกัน
อีกประเด็นหนึ่งนอกจากประเด็นโรคจิตเภทของพวกเขาแล้วยังมีปัญหาในการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวของกับคดีกล่าวคือ การที่พนักงานสอบสวนพิจารณาว่าจะดำเนินคดีด้วยมาตรา 112กับบุคคลใดในเวลานี้ จากคำบอกเล่าของพนักงานสอบสวนที่ทำคดีของหนึ่งในผู้ต้องหากลุ่มนี้ทำให้ทราบว่าเรื่องที่เกี่ยวกับคดีหมิ่นสถาบันฯ เมื่อพนักงานสอบสวนรวบรวมหลักฐานแล้วจะต้องส่งสำนวนการสอบสวนถึงคณะกรรมการพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับการหมิ่นสถาบันฯ จากนั้นเมื่อสำนวนคดีกลับมาที่พนักงานสอบสวนแล้วจึงจะมีความเห็นสั่งฟ้องถึงอัยการศาลทหาร
คณะกรรมการดังกล่าวเป็นคณะทำงานที่มีหน้าที่พิจารณาคดีที่เป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 คณะกรรมการพิจารณาไม่ได้เพิ่งมีการตั้งภายหลังการรัฐประหาร แต่เริ่มมีชื่อปรากฏในข่าวตั้งแต่กรณีที่นายจักรภพ เพ็ญแขถูกแจ้งความดำเนินคดีตั้งแต่ปี 2551 จนปัจจุบันการดำเนินคดีด้วยข้อหาหมิ่นสถาบันฯ การพิจารณาคดีก็ยังคงอยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการดังกล่าวนี้ ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติเคยมีการแนวทางการปฏิบัติการสอบสวนเป็นตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 122/255314 และภายหลังการรัฐประหารครั้งนี้ก็มีการสั่งการในลักษณะเป็นนโยบายเพื่อจัดการเร่งรัดคดี15
การใช้ข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ดำเนินคดีกับบุคคลที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์อย่างกว้างขวางมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งขณะนี้ได้ส่งผลกระทบถึงกลุ่มคนเหล่านี้ที่เห็นพฤติการณ์คดีและเมื่อลักษณะของข้อความก็สามารถรู้ได้ทันทีว่าการเชื่อมโยงเรื่องราวหรือที่มาของการกระทำไม่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกันเช่นในกรณีของเสาร์หรือฤๅชา แม้ว่ารัฐบาลทหารจะอ้างว่าการดำเนินคดีด้วยม.112ที่ผ่านมาเป็นการปกป้องสถาบันกษัตริย์ แต่การใช้กฎหมายในลักษณะนี้อาจจะต้องกลับมาตั้งคำถามถึงปัญหาตัวบทกฎหมายและการใช้กฎหมายกันอีกครั้ง
.
.
.
1 จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีภายหลังการรัฐประหารอ้างอิงจากเว็บไซต์ของiLaw และอีก5คนที่เพิ่งถูกจับกุมเพิ่มในเดือนเมษายนจนถึงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมานี้ แต่ในส่วนตัวเลขรวมก่อนการรัฐประหารนั้นนับจากฐานข้อมูลคดีของ iLaw ที่ติดตามข้อมูลเกี่ยวกับคดี 112 มาตั้งแต่ก่อนการรัฐประหารครั้งนี้ สามารถดูข้อมูลทั้งหมดได้ ที่นี่
2 กรณีที่มีการตีความอย่างกว้างขวางที่สุดคือการที่ศาลจังหวัดชลบุรีตีความครอบคลุมถึงรัชกาลที่ 4 เพียงแค่ผู้ต้องหากล่าวถึงเปรียบเทียบสภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบันกับช่วงเวลาการปกครองของรัชกาลที่4 แล้วบอกว่าไม่อยากกลับไปอยู่ในยุคนั้นอีก สามารถอ่านรายละเอียดได้ที่นี่ “รายงาน : คดีดูหมิ่นรัชกาลที่ 4 เส้นแบ่งเวลาใหม่ของมาตรา 112”
3 https://tlhr2014.wordpress.com/2016/03/08/like112/
4 https://tlhr2014.wordpress.com/2016/05/06/janew_mom_chat_fb_112/
5 https://tlhr2014.wordpress.com/2015/08/07/pongsak_and_thara/ และ https://tlhr2014.wordpress.com/2015/08/10/sasivimon_112_2/
6 https://tlhr2014.wordpress.com/2016/05/30/112kampangpetch_5/
7 ทั้งนี้เนื่องจากไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลต่อของบุคคลเหล่านี้ต่อสาธารณะได้โดยตรงเพราะมีปัญหาซ้อนทับกันสองประการคือไม่สามารถเผยแพร่ข้อความที่ทำให้พวกเขาถูกดำเนินคดีได้และความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วยโรคจิตเวช ทั้งนี้ศูนย์ทนายความฯ เห็นว่าข้อมูลบางส่วนจะเป็นประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจของสาธารณะจึงได้ขออนุญาตจากผู้ได้รับผลกระทบแล้วเพราะเห็นว่าจะทำให้สามารถทำความเข้าใจต่อการใช้กฎหมายมาตรานี้ภายหลังการรัฐประหารมากขึ้น
8 http://freedom.ilaw.or.th/case/614
9 https://tlhr2014.wordpress.com/2015/08/05/samak_112/
10 https://tlhr2014.wordpress.com/2015/08/05/samak_112/
11 http://prachatai.com/journal/2015/08/60691
12 https://tlhr2014.wordpress.com/2015/08/20/sao/
13 กรณีของเครือวัลย์ เที่ยงธรรม อดีตผู้ที่เคยเป็นโรคจิตเภทและได้รับการรักษา ในปัจจุบันเป็นกรรมการสมาคมสายใยครอบครัว และเธอยังมีความสามารถแปลหนังสือได้อีกด้วย http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9480000155347
14 สามารถดาวโหลดไฟล์คำสั่งดังกล่าวได้ที่นี่ http://www.sobsuan.com/modules.php?name=Forums&file=download&id=267
15 http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1402904249