วันพฤหัสบดี, มิถุนายน 23, 2559

ต้องอ่านเลยนะลูกนะ คลิปก็น่าดูนะลูก จากพ่อ...( FB พ่อปรีดีย์ พนมยงศ์)





https://www.facebook.com/lawyercenter2014/videos/1025634387486415/

พ่อปรีดีย์ พนมยงศ์ shared ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน'svideo.
3 hrs ·


ต้องอ่านเลยนะลูกนะ คลิปก็น่าดูนะลูก

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
7 hrs ·

2 ปี 1 เดือน...
สถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนภายหลังรัฐประหารสำเร็จ “กฎหมาย” และ “กระบวนการยุติธรรม” ถูกชี้นำบงการโดย คสช. และฝ่ายทหาร เป็นเครื่องมือที่ช่วยปรับภาพลักษณ์ให้กับการใช้อำนาจของ คสช. ทำให้ภาพการปกครองของ คสช. เป็นการปกครองโดยกฎหมายหรือ “นิติรัฐ” ในทางรูปแบบ แต่หากพิเคราะห์ในทางเนื้อหาของกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมดังกล่าว รวมทั้งรัฐธรรมนูญชั่วคราว จะพบความบิดเบือนหลักการและความบกพร่องของกระบวนการหลายประการ ที่ทำให้เห็นว่า “กฎหมาย” และ “ กระบวนการยุติธรรม” เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีสถานะเป็นเพียงส่วนประกอบของกลไกการกดบังคับที่ คสช. ใช้ในการละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชน

จนถึงปัจจุบัน ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจำนวน 86 คดี รวมผู้ต้องหาหรือจำเลยจำนวน 119 คน

นอกจากคดีที่ศูนย์ทนายความฯ ได้ให้ความช่วยเหลือแล้ว ตลอดสองปีที่ผ่านมา ยังมีผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนและได้รับผลกระทบจากการใช้อำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติอีกเป็นจำนวนมาก โดยพบว่านับตั้งแต่มีการรัฐประหารจนถึงวันที่ 30 เม.ย. 2559 เจ้าหน้าที่ทหารเรียกบุคคลมารายงานตัว หรือเรียกไป “ปรับทัศนคติ” ในค่ายทหาร อย่างน้อยจำนวน 1,006 คน เจ้าหน้าที่แทรกแซงหรือปิดกั้นไม่ให้มีงานเสวนาหรือกิจกรรมสาธารณะเกิดขึ้นอย่างน้อยจำนวน 130 งาน และมีการจับกุมควบคุมตัวบุคคลภายใต้กฎอัยการศึกและคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 อย่างน้อย 579 คน

รายงานชิ้นนี้นำเสนอบทวิเคราะห์กลไกการใช้อำนาจของ คสช. ตลอดสองปีเศษที่ผ่านมา ในฐานะที่เป็นทั้งเครื่องมือสำคัญในการควบคุมและรองรับอำนาจการปกครอง ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกดบังคับการแสดงออกทางการเมืองทุกประเภท และทำให้การละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการใช้อำนาจของ คสช. และเจ้าหน้าที่ทหารดำเนินไปอย่างเป็นระบบ โดยสามารถแบ่งกลไกเหล่านี้ออกเป็น 4 ประการหลักๆ ได้แก่
1) การเรียกบุคคลรายงานตัวและการจับตาสอดส่องโดยรัฐ
2) การสร้าง “กฎหมาย” และ “กระบวนการยุติธรรมที่ชี้นำโดยทหาร”
3) การใช้กฎหมายปกติและกฎหมายพิเศษเป็นเครื่องมือปราบปรามทางการเมือง
4) การใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2557 รองรับการใช้อำนาจให้ปราศจากการรับผิด

อ่านรายงานฉบับเต็มพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ที่https://tlhr2014.wordpress.com/2016/06/22/2years_report/
ชมคลิปผ่าน YouTube ที่ https://www.youtube.com/watch?v=t09lnlQQolc&feature=youtu.be