วันพุธ, สิงหาคม 26, 2558

ชมคลิปนี้ คลิปเดียว รู้แจ้ง- ฟังคำถาม นักข่าว เห็นวิธีคิด - ฟังคำตอบ วิษณุ เครืองาม เห็นเจตนา (มติชนแนะนำ)




http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=14404951

วิษณุ ชี้ กก.ยุทธศาสตร์คล้ายแต่ไม่เหมือนคอมมิวนิสต์ ปัดตอบ ไม่ไว้ใจเลือกตั้ง

วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558
มติชนออนไลน์

′วิษณุ′ แจง คกก.ยุทธศาสตร์ฯคล้ายแต่ไม่เหมือนที่ใช้ในคอมมิวนิสต์ ปฏิเสธตอบ มีเพื่อไม่ไว้ใจการเลือกตั้ง ส่วนร่างรธน.ไม่สวยขั้นมิสยูนิเวิร์ส ห่วงรณรงค์ทำประชามติ



25 ส.ค. - นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มีหลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ(คปป.)มีความคล้ายคลึงกับองค์กรที่ใช้ในประเทศที่ปกครองแบบคอมมิวนิสต์ว่าอาจมีส่วนคล้ายแต่ไม่เหมือนเนื่องจากคปป.มีหน้าที่ปฏิรูปและสร้างความปรองดองซึ่งรัฐบาลอาจมีเวลาไม่เพียงที่จะดำเนินการส่วนอำนาจพิเศษของกรรมการชุดนี้จะใช้ได้เมื่อประเทศเกิดสถานการณ์วิกฤติจนกฎหมายปกติไม่สามารถควบคุมได้แต่หากเห็นว่าคปป.ใช้อำนาจเกินขอบเขตก็สามารถยื่นร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ตีความได้

ส่วนของบุคคลที่จะมาเป็นคณะกรรมการจะเป็นใครก็ได้รวมถึงอดีตนายกรัฐมนตรีซึ่งคุณสมบัติจะกำหนดไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่จะยกร่างในช่วงเดือนมกราคม2559อย่างไรก็ตามนายวิษณุ ปฏิเสธที่จะตอบว่า การมีคปป.เป็นเพราะไม่ไว้ใจการเลือกตั้งหรือไม่

พร้อมกันนี้นายวิษณุ กล่าวถึงร่างรัฐธรรมนูญฉบับซึ่งนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้เปรียบร่างรัฐธรรมนูญเหมือนนางงาม ว่า ตนมองว่าเป็นมิสอะไรก็ได้ แต่ไม่ถึงขั้น มิสยูนิเวิร์ส ส่วนกรณีที่หลายคนยังกังวลกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้นั้น นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่เป็นไร เพราะตนเองก็กังวลเช่นกัน แต่ไม่ขอเปิดเผยรายละเอียด
นอกจากนี้นายวิษณุ กล่าวถึง การประชุมเพื่อการจัดทำร่างประชามติในวันนี้ว่า เป็นการมารับฟังข้อมูลจากแต่ละฝ่าย ตนไม่มีข้อเสนอใดๆ แต่ส่วนเป็นห่วงเรื่องการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญว่าจะมีช่องทางให้ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญร่วมแสดงความเห็นได้หรือไม่

ส่วนข้อเสนอคำถามให้ปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง2ปีนายวิษณุ กล่าวว่า การปฏิรูปประเทศไม่สามารถทำได้ภายใน 10 ปี และนายกรัฐมนตรี เคยระบุว่าให้ทำการปฏิรูปจนกว่าจะมีเลือกตั้ง แล้วค่อยส่งต่อให้รัฐบาลต่อไปดำเนินการต่อ

ooo

เรื่องเก่าเล่าใหม่...




นักวิชาการญี่ปุ่นงง พวกที่ปฏิเสธการเลือกตั้งแบบไม่อาย

"รู้สึกแปลกใจว่าการเมืองไทยแปลก อันหนึ่งที่เมืองไทยมีคือคนต่อต้านการเมืองแบบเลือกตั้ง คือพวกต่อต้านประชาธิปไตยนะครับ ที่ไหนก็มี เช่น ญี่ปุ่นก็มี มีคนไม่ชอบประชาธิปไตย แต่ที่เมืองไทยนี่แปลกเพราะพวกที่ไม่เอา ไม่ชอบประชาธิปไตย มีพลังมากพอสมควร เขากล้าพูด กล้าปฏิเสธว่าไม่ต้องมีการเลือกตั้ง พูดที่อื่นไม่ค่อยได้ แต่ที่เมืองไทยพูดได้ แล้วก็ไม่ต้องอาย ก็แปลก"

นอกจากนี้ อ.ทามาดะยังอธิบายเพิ่มเติมว่ากลุ่มก้อนทางการเมืองที่ออกมาต้านประชาธิปไตยที่สำคัญคือ กลุ่มคนนิยมเจ้าและพวกประชาสังคมหรือชนชั้นกลาง ที่ค่อยๆเกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 การออกมาต่อต้านประชาธิปไตยและจำกัดสิทธิของคนส่วนใหญ่ของคนสองกลุ่มนี้จะอ้างวาทกรรมศีลธรรมหรือความชั่วของทักษิณ ซึ่งจะถูกหนุนจากสื่อมวลชนที่มีอำนาจมากในช่วงประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม อ.ทามาดะได้สรุปว่า

"ประชาชนเขาไม่ต้องการ 'การเมืองแบบศีลธรรม' อีกต่อไปแล้ว ใช้ไม่ได้ เช่น การเมืองแบบศีลธรรมก็มีรัฐบาลแบบ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ แต่ว่าเขาเป็นคนดี มีทุจริตน้อยกว่าแน่นอน แต่ว่าดีไหม ไม่ดี ประชาชนก็ไม่เอา แค่ศีลธรรมอย่างเดียวไม่มีความหมาย และอย่างที่อาจารย์อภิชาต สถิตนิรามัย เขียนไว้ว่า ประชาชนไม่ใช่ไพร่ฟ้าแล้ว เขาต้องการสิทธิเท่ากับชนชั้นกลางและชนชั้นสูง"

ศาสตราจารย์ ทามาดะ โยชิฟูมิ
มหาวิทยาลัยเกียวโต
24 สิงหาคม 2556
โรงแรมฟูรามา จ.เชียงใหม่
การประชุมวิชาการนานาชาติ: ไทยศึกษาในสายลมตะวันออก
(International Conference: Thai Studies through the East Wind)

ที่มา: http://www.prachatai.com/journal/2013/08/48377

เครดิต 
Voices of Siam