Thai Liberation
Atukkit Sawangsuk
คุณ Lili Saengsanthitam ซึ่งเรียน LL.M เรื่องกฎหมายระหว่างประเทศอยู่ประเทศเยอรมัน ฝากอธิบายมาสั้นๆ เป็นความรู้เกี่ยวกับการถอนพาสปอร์ต ขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ครับ
"1) การยกเลิกพาสปอร์ต กับการยกเลิกสัญชาตินั้นเป็นคนละเรื่องกัน การถูกยกเลิกพาสปอร์ตนั้นไม่ได้แปลว่าสัญชาติของบุคคลนั้นๆจะถูกยกเลิกไปด้วย ตามหลักของ customary international law นั้น รัฐมีหน้าที่ต้องรับการกลับคืนถิ่นของคนที่เป็นสัญชาติของตนซึ่งในกรณีนี้ไม่ต้องใช้พาสปอร์ตก็สามารถเข้าประเทศตัวเองได้ ดังนั้นการไม่มีพาสปอร์ตไม่ได้แปลว่าเข้าประเทศตัวเองไม่ได้ แต่แปลว่าจะเดินทางไปประเทศอื่นๆไม่ได้เพราะไม่มีหนังสือประกอบการเดินทาง (อันนี้จะไม่พูดถึงรายละเอียดอื่นๆที่เกี่ยวกับการ ขอหนังสือเดินทางชั่วคราว หรือการขอ asylum ในประเทศที่พำนักอยู่)
2) ความเป็นไปได้ในการยกเลิกพาสปอร์ต จริงๆแล้วการยกเลิกพาสปอร์ตนั้นทางรัฐนั้นมีอำนาจในการกระทำ แต่ต้องมีเหตุผลที่เหมาะสมเฉพาะในกรณี national security เป็นหลัก ซึ่งไม่ได้แปลว่ารัฐจะกำหนดขึ้นมาเองว่า national security คืออะไรโดยไม่ได้สนใจดูบรรทัดฐานจากประเทศอื่น นอกจากนั้นการยกเลิกพาสปอร์ตโดยไม่มีเหตุผลรองรับหนักแน่นพอนั้นไม่ถูกต้องตามหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนนักเพราะในสนธิสัญญาระหว่างประเทศหลายฉบับ เช่น UDHR, ICCPR มีการกำหนดสิทธิไว้หลายอย่างซึ่งหากไม่มีพาสปอร์ตแล้วจะไม่สามารถเข้าถึงสิทธิต่างๆได้ เช่น right to freedom of movement, etc.
3) กรณีศึกษาล่าสุด น่าจะเป็นกรณีของ snowden ที่ทางสหรัฐยกเลิกพาสปอร์ตไปเมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2013 แต่อย่างไรก็ดี the state department ยังยืนยันว่า snowden คือ american citizen จึงสามารถเดินทางกลับ (ไปรับโทษ) ประเทศสหรัฐได้โดยไม่ต้องใช้พาสปอร์ต หรืออาจเป็นกรณีที่ทางสหรัฐอาจจะออกหนังสือเดินทางประเภทชั่วคราวให้
4) ในกรณีของ อ.ปวิน คาดว่าทางรัฐไทยคงต้องการยกเลิกพาสปอร์ตเพราะต้องการกดดันให้อ.มีทางเลือกน้อยลงในการเดินทาง คือ less mobility และเป็นการ condemn ให้ประเทศอื่นทราบว่าทางรัฐไทยเห็นว่าการกระทำของอ.เป็น threat
5) ส่วนการที่ญี่ปุ่นจะส่งตัวอาจารย์กลับหรือไม่นั้น จริงๆตามหลักการปฏิบัติของกฎหมายระหว่างประเทศนั้นมีหลักชื่อว่า non-refoulement ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีการเซ็นสัญญาทางกฎหมายใดๆกับประเทศไทย แต่ถือเป็นธรรมเนียมที่ทุกรัฐต้องปฏิบัติตามคือ การส่งตัวบุคคลข้ามแดนในกรณีใดๆก็ตาม รัฐที่ทำการส่ง (sending state) จะไม่สามารถส่งตัวบุคคลนั้นๆไปยังรัฐปลายทาง (receiving state) ได้ หากมีความเป็นไปได้ว่าบุคคลนั้นๆจะได้รับโทษถึงชีวิตหรือถูกซ้อมทรมานที่ประเทศปลายทาง เช่นในกรณีที่ประเทศปลายทางมีโทษประหารชีวิต, มีระบบการสืบสวนสอบสวนที่มีลักษณะไม่เป็นธรรมที่อาจเสี่ยงถูกซ้อมทรมานอยู่เนืองๆ, หรืออาจรวมถึงกรณีที่โทษที่บุคคลนั้นจะได้รับที่ประเทศปลายทั้งนั้นไม่สมสัดส่วนกับความผิดที่กระทำ เป็นต้น
มีคำอธิบายประมาณนี้ค่ะ หวังว่าคงจะไม่คร่าวๆเกินไปและจะเป็นประโยชน์นะคะ"