ที่มา FB ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์
ติงค่าก่อสร้างรถไฟ 160 กม./ชม.
เมื่อวานนี้ (29 ก.ค. 57) ปลัดกระทรวงคมนาคมแถลงข่าวว่า คสช. เห็นชอบยุทธศาสตร์ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ปีงบประมาณ 2558 - 2565 รวม 4 ด้าน 5 แผนงาน
วันนี้ (30 ก.ค. 57) ผมขอพูดถึงแผนงานที่ 1 การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง ซึ่งประกอบด้วยโครงการดังต่อไปนี้
1. รถไฟทางคู่สายเดิม (สร้างทางรถไฟเพิ่มขึ้นอีก 1 ทาง จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 1 ทาง) ประกอบด้วย 6 เส้นทางดังนี้
(1) ชุมทางถนนจิระ (โคราช) - ขอนแก่น ระยะทาง 185 กม. วงเงิน 26,007.20 ล้านบาท
(2) ประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร ระยะทาง 167 กม. วงเงิน 17,292.53 ล้านบาท
(3) นครปฐม - หัวหิน ระยะทาง 165 กม. วงเงิน 20,038.43 ล้านบาท
(4) ลพบุรี - ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กม. วงเงิน 24,842.44 ล้านบาท
(5) มาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ (โคราช) ระยะทาง 132 กม. วงเงิน 29,855.08 ล้านบาท
(6) หัวหิน – ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 89 กม. วงเงิน 9,436.51 ล้านบาท
เส้นทางแต่ละเส้นทางดังกล่าวข้างต้นมีวงเงินโครงการ (ค่าก่อสร้าง + ค่าที่ดิน + ค่าที่ปรึกษา) เท่ากับวงเงินก่อสร้างรถไฟทางคู่ในแผนเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ซึ่งผ่านการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พรบ. เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท
2. รถไฟทางคู่สายใหม่ (สร้างทางรถไฟใหม่ 2 ทาง) เป็นการก่อสร้างรถไฟทางคู่โดยใช้รางกว้าง 1.435 เมตร ซึ่งเท่ากับรางของรถไฟความเร็วสูง แต่มีความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม.ซึ่งน้อยกว่ารถไฟความเร็วสูงที่มีความเร็วสูงสุด 250 – 300 กม./ชม. ประกอบด้วย 2 เส้นทาง ดังนี้
(1) หนองคาย-โคราช-สระบุรี-แหลมฉบัง-มาบตาพุด รวมระยะทาง 737 กม. วงเงิน 392,570 ล้านบาท
(2) เชียงของ-เด่นชัย-บ้านภาชี-แหลมฉบัง รวมระยะทาง 655 กม. วงเงิน 348,890 ล้านบาท
ผมมีข้อสังเกตเกี่ยวกับวงเงินโครงการ (ค่าก่อสร้าง + ค่างานระบบรถไฟ + ค่าที่ดิน + ค่าที่ปรึกษา) ของรถไฟทางคู่สายใหม่ทั้ง 2 สาย กล่าวคือวงเงินโครงการมีราคาเฉลี่ย 532.66 ล้านบาท/กม. เท่ากันทั้งสองเส้นทาง ซึ่งถือว่าเป็นราคาค่อนข้างสูง เพราะมีราคาพอๆ กับวงเงินโครงการรถไฟความเร็วสูงในแผนเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แต่การก่อสร้างรถไฟทางคู่ทั้งสองสายดังกล่าวไม่ใช่เป็นการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ดังนั้น วงเงินโครงการควรจะต้องถูกกว่า
วงเงินโครงการรถไฟความเร็วสูงในแผนเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท มีดังนี้
1. สายกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ 521 ล้านบาท/กม.
2. สายกรุงเทพฯ – นครราชสีมา 666 ล้านบาท/กม.
3. สายกรุงเทพฯ – หัวหิน 553 ล้านบาท/กม.
4. สายกรุงเทพฯ – ระยอง 456 ล้านบาท/กม.
ผมอยากขอให้ปลัดกระทรวงคมนาคมทบทวนวงเงินก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ทั้งสองสาย ซึ่งอาจมีความคลาดเคลื่อนในการคิดราคา
ติงมาด้วยความห่วงใยครับ
...
เปรียบเทียบวงเงินโครงการรถไฟทางคู่กับไฮสปีดเทรน
เช้าวันนี้ (30 ก.ค. 2557) ผมได้โพสต์เรื่อง “ติงค่าก่อสร้างรถไฟ 160 กม./ชม.” โดยมีข้อความสรุปได้ว่า โครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ซึ่งวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม. บนรางกว้าง 1.435 เมตร มีวงเงินโครงการเฉลี่ยพอๆ กับวงเงินโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ซึ่งวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 250-300 กม./ชม. โดยที่วงเงินโครงการประกอบด้วยค่าก่อสร้าง ค่าระบบรถไฟฟ้า (รถไฟทางคู่สายใหม่ทั้ง 2 สาย จะขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า) ค่าที่ดิน และค่าจ้างที่ปรึกษา
ผมขอเพิ่มเติมรายละเอียดดังแสดงในตาราง ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบวงเงินโครงการระหว่างรถไฟทางคู่ (160 กม./ชม.) กับไฮสปีดเทรน (250-300 กม./ชม.) สรุปได้ดังนี้
1. รถไฟทางคู่สายใหม่ (ความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม.)
มี 2 เส้นทาง ดังนี้
(1) หนองคาย-โคราช-สระบุรี-แหลมฉบัง-มาบตาพุด รวมระยะทาง 737 กม. วงเงิน 392,570 ล้านบาท (วงเงินเฉลี่ย 532.66 ล้านบาท/กม.)
(2) เชียงของ-เด่นชัย-บ้านภาชี-แหลมฉบัง รวมระยะทาง 655 กม. วงเงิน 348,890 ล้านบาท (วงเงินเฉลี่ย 532.66 ล้านบาท/กม.)
วงเงินโครงการรวม 741,460 ล้านบาท ระยะทางรวม 1,392 กม. ดังนั้นวงเงินเฉลี่ยเท่ากับ 532.66 ล้านบาท/กม.
ข้อน่าสังเกตก็คือ วงเงินเฉลี่ยต่อกิโลเมตรเท่ากันทั้งสองเส้นทางคือ 532.66 ล้านบาท/กม. ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะลักษณะภูมิประเทศของเส้นทางทั้งสองต่างกัน
2. ไฮสปีดเทรน (ความเร็วสูงสุด 250-300 กม./ชม.)
ประกอบด้วย 4 เส้นทาง ดังนี้
1. สายกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ระยะทาง 745 กม. วงเงิน 387,821 ล้านบาท (วงเงินเฉลี่ย 520.57 ล้านบาท/กม.)
2. สายกรุงเทพฯ – นครราชสีมา ระยะทาง 256 กม. วงเงิน 170,450 ล้านบาท (วงเงินเฉลี่ย 665.82 ล้านบาท/กม.)
3. สายกรุงเทพฯ – หัวหิน ระยะทาง 225 กม. วงเงิน 124,327.90 ล้านบาท (วงเงินเฉลี่ย 552.57 ล้านบาท/กม.)
4. สายกรุงเทพฯ – ระยอง ระยะทาง 221 กม. วงเงิน 100,953.83 ล้านบาท (วงเงินเฉลี่ย 456.80 ล้านบาท/กม.)
วงเงินโครงการรวม 783,552.73 ล้านบาท ระยะทางรวม 1,447 กม. ดังนั้นวงเงินเฉลี่ยเท่ากับ 541.50 ล้านบาท/กม.
โดยสรุป ไฮสปีดเทรนมีวงเงินโครงการเฉลี่ยต่อ กม. สูงกว่าวงเงินเฉลี่ยต่อ กม. ของรถไฟทางคู่สายใหม่เพียงแค่ 10 ล้านบาท เท่านั้น
เห็นผลการเปรียบเทียบเช่นนี้แล้ว คุณคิดว่าทำไมวงเงินโครงการเฉลี่ยต่อ กม. ระหว่างรถไฟทางคู่สายใหม่กับไฮสปีดเทรนจึงใกล้เคียงกันครับ
ผมขอเพิ่มเติมรายละเอียดดังแสดงในตาราง ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบวงเงินโครงการระหว่างรถไฟทางคู่ (160 กม./ชม.) กับไฮสปีดเทรน (250-300 กม./ชม.) สรุปได้ดังนี้
1. รถไฟทางคู่สายใหม่ (ความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม.)
มี 2 เส้นทาง ดังนี้
(1) หนองคาย-โคราช-สระบุรี-แหลมฉบัง-มาบตาพุด รวมระยะทาง 737 กม. วงเงิน 392,570 ล้านบาท (วงเงินเฉลี่ย 532.66 ล้านบาท/กม.)
(2) เชียงของ-เด่นชัย-บ้านภาชี-แหลมฉบัง รวมระยะทาง 655 กม. วงเงิน 348,890 ล้านบาท (วงเงินเฉลี่ย 532.66 ล้านบาท/กม.)
วงเงินโครงการรวม 741,460 ล้านบาท ระยะทางรวม 1,392 กม. ดังนั้นวงเงินเฉลี่ยเท่ากับ 532.66 ล้านบาท/กม.
ข้อน่าสังเกตก็คือ วงเงินเฉลี่ยต่อกิโลเมตรเท่ากันทั้งสองเส้นทางคือ 532.66 ล้านบาท/กม. ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะลักษณะภูมิประเทศของเส้นทางทั้งสองต่างกัน
2. ไฮสปีดเทรน (ความเร็วสูงสุด 250-300 กม./ชม.)
ประกอบด้วย 4 เส้นทาง ดังนี้
1. สายกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ระยะทาง 745 กม. วงเงิน 387,821 ล้านบาท (วงเงินเฉลี่ย 520.57 ล้านบาท/กม.)
2. สายกรุงเทพฯ – นครราชสีมา ระยะทาง 256 กม. วงเงิน 170,450 ล้านบาท (วงเงินเฉลี่ย 665.82 ล้านบาท/กม.)
3. สายกรุงเทพฯ – หัวหิน ระยะทาง 225 กม. วงเงิน 124,327.90 ล้านบาท (วงเงินเฉลี่ย 552.57 ล้านบาท/กม.)
4. สายกรุงเทพฯ – ระยอง ระยะทาง 221 กม. วงเงิน 100,953.83 ล้านบาท (วงเงินเฉลี่ย 456.80 ล้านบาท/กม.)
วงเงินโครงการรวม 783,552.73 ล้านบาท ระยะทางรวม 1,447 กม. ดังนั้นวงเงินเฉลี่ยเท่ากับ 541.50 ล้านบาท/กม.
โดยสรุป ไฮสปีดเทรนมีวงเงินโครงการเฉลี่ยต่อ กม. สูงกว่าวงเงินเฉลี่ยต่อ กม. ของรถไฟทางคู่สายใหม่เพียงแค่ 10 ล้านบาท เท่านั้น
เห็นผลการเปรียบเทียบเช่นนี้แล้ว คุณคิดว่าทำไมวงเงินโครงการเฉลี่ยต่อ กม. ระหว่างรถไฟทางคู่สายใหม่กับไฮสปีดเทรนจึงใกล้เคียงกันครับ