วันเสาร์, กรกฎาคม 26, 2557

ชำแหละรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวของคสช. ก้าวแรกของเผด็จการอย่างยั่งยืน


ที่มา สื่อไร้เซนเซอร์ : Reporters Without Censors

รัฐธรรมนูญชั่วคราว 48 มาตราของคสช. ซึ่งจะบังคับใช้ไปจนกว่าจะมีรัฐธรรมนูญฉบับถาวร อาจจะคืนความสุขให้คนไทยได้เล็กน้อยในแง่ที่ว่าไม่ต้องคอยฟังประกาศคสช.ตามช่วงเวลาไพรม์ไทม์อีกต่อไป เพราะมีกฎหมายกึ่งถาวรออกมาแทนที่แล้ว แต่ผลที่จะตามมาหลังจากนี้ ดูจะไม่คุ้มค่าเอาเสียเลย เมื่อดูแต่ละมาตราของรัฐธรรมนูญ ที่จะกลายเป็นรากฐานของรัฐธรรมนูญฉบับถาวรต่อไปในอนาคตอันใกล้ แล้วพบว่ากฎหมายสูงสุดของประเทศฉบับนี้ ให้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแก่คณะรัฐประหาร และยังมีความตั้งใจกีดกันขั้วตรงข้ามไม่ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการเมืองอย่างถึงที่สุด ตรงข้ามกับหลักการปรองดอง-สมานฉันท์ที่คสช.โฆษณาชวนเชื่ออยู่ทุกวันนี้

Bangkok Pundit นักวิเคราะห์และคอลัมนิสต์จาก Asian Correspondent วิพากษ์รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไว้อย่างน่าสนใจ (อ่านบทวิเคราะห์ของ Bangkok Pundit ที่นี่:http://asiancorrespondent.com/125032/thai-interim-constitution-gives-absolute-power-to-the-junta/ ) โดยแบ่งสาระสำคัญออกเป็น 5 ส่วน คือว่าด้วยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี สภาปฏิรูปแห่งชาติ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ซึ่งทั้ง 5 องค์กรนี้ เมื่อดูตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ จะมาจากฝ่ายเดียวและแหล่งเดียว นั่นก็คือคสช.

1. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

มาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญบัญญัติให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีสมาชิกไม่เกิน 220 คน แต่งตั้งโดยคสช.ทั้งหมด และมาตรา 8 ห้ามไม่ให้คนที่เคยดำรงตำแหน่งใดๆในพรรคการเมืองภายในเวลา 3 ปีมานี้เป็นสมาชิก รวมถึงผู้ที่เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง สิทธิทางการเมือง หรือถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหาทุจริตและร่ำรวยผิดปกติ แม้นี่จะเป็นคุณสมบัติที่คาดเดาได้สำหรับสภานิติบัญญัติที่มาจากคณะรัฐประหาร แต่ Bangkok Pundit กลับตั้งข้อสังเกตว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่เหมือนฉบับหลังรัฐประหาร 2549 คือไม่ได้ห้ามผู้เป็นข้าราชการประจำ รวมถึง “ทหาร” เข้ามาเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นั่นก็หมายความว่า สภาแห่งนี้น่าจะแบ่งเป็นเพียง 2 ส่วน แต่สมานฉันท์สีเดียวกัน คือทหารในเครื่องแบบ และพลเรือนที่มีใจฝักใฝ่ทหาร

2. นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี

มาตรา 19 ของรัฐธรรมนูญกำหนดให้นายกรัฐมนตรีและ ครม. มาจากการแต่งตั้ง และมีหน้าที่ “ดำเนินการให้มีการปฏิรูป และสร้างความปรองดองสมานฉันท์” แต่ก็ยังคงประกอบไปด้วยคนกลุ่มคุณสมบัติใกล้เคียงกับสภานิติบัญญัติ ตามมาตรา 20 ของรัฐธรรมนูญบัญญัติให้ครม.ต้องไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดๆ เคร่งครัดกว่าคุณสมับติของสมาชิกสนช. ซึ่งระบุเพียง “ต้องไม่ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองใดๆ”) ซึ่งหมายความว่านักการเมืองทุกฝ่ายจะไม่ได้เข้ามานั่งในคณะรัฐมนตรีชุดใหม่แน่นอน นอกจากนี้ผู้ที่มีคุณสมบัติต้องห้ามยังรวมถึงผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระและศาล แต่ยังเปิดช่องสำหรับข้าราชการประจำ ซึ่ง Bangkok Pundit ชี้ว่าเป็นการเปิดช่องให้พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา มาเป็นนายกรัฐมนตรี และให้สมาชิกคสช.คนอื่นๆมานั่งในครม.ได้อย่างสบายๆ

3. สภาปฏิรูปแห่งชาติ

มาตรา 27 กำหนดให้ตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติ มีหน้าที่เสนอแนะการปฏิรูปทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ กฎหมาย การศึกษา สาธารณสุข สื่อมวลชน และสังคม โดยมาตรา 28 ระบุให้สภาปฏิรูปมีสมาชิก 250 คน มาจากการแต่งตั้งของคสช.ทั้งหมด แม้ตามมาตรา 30 จะมีกระบวนการตั้งคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปจากทุกภาคส่วนทั่วประเทศ แต่ทั้งหมดก็เป็นกระบวนการสรรหาที่ขึ้นอยู่กับอำนาจของคสช. และที่สำคัญ คุณสมบัติต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งในสภาปฏิรูปก็ยังคงเป็นคุณสมบัติเดียวกับที่ระบุในครม.และสภานิติบัญญัติ ยกเว้นการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง หมายความว่าเฉพาะนักการเมืองที่เคยถูกเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง หรือเคยถูกตัดสินในคดีทุจริต จะไม่มีสิทธิ์ในการเข้าร่วมกระบวนการปฏิรูป นอกจากนี้ Bangkok Pundit ยังตั้งข้อสังเกตว่าสภาปฏิรูปมีหน้าที่สำคัญมากคือการอนุมัติร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ซึ่งคล้ายกับจะให้เป็นการทดแทนกระบวนการลงประชามติโดยตรงจากประชาชน

4. คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

มาตรา 32 กำหนดให้ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติแต่งตั้งกรรมาธิการ 36 คน ทำหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยแบ่งเป็นตัวแทนจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาปฏิรูปแห่งชาติ ครม. และคสช. ซึ่งจะเรียกว่าเป็นตัวแทนจากคสช.ทั้งหมดก็ได้ เพราะมาจากแหล่งอำนาจเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีการล็อกสเป็ครัฐธรรมนูญที่จะมีการยกร่างใหม่ ด้วยการกำหนดว่ารัฐธรรมนูญต้องครอบคลุมการสร้างกลไลป้องกันการใช้นโยบายประชานิยม การป้องกันไม่ให้ผู้เคยต้องคำพิพากษาคดีทุจริตคอรัปชั่นเข้ารับตำแหน่งทางการเมืองโดยเด็ดขาด ซึ่งชัดเจนว่าเป็นการล็อกสเป็ครัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันการกลับสู่การเมืองของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และเครือข่าย นอกจากนี้ยังมีการบังคับให้รัฐธรรมนูญส่งเสริมหลักคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาล โดย Bangkok Pundit เรียกการล็อกสเป็คนี้ว่าเป็น “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” และตั้งข้อสังเกตด้วยว่าไม่ได้มีการกำหนดให้ประชาชนต้องลงประชามติรับรองรัฐธรรมนูญฉบับนี้

5. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ

รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังคงให้อำนาจคสช.อย่างเต็มเปี่ยม เช่นมาตรา 42 ให้อำนาจหัวหน้าคสช. สั่งการให้ครม.ดำเนินการใดๆเพื่อความสมานฉันท์ปรองดองและความสงบสุขของชาติได้ หรือมาตรา 43 ที่ให้หัวหน้าคสช. ทำหน้าที่แทนรัฐสภา สภาผู้แทนฯ และวุฒิสภา ในระหว่างที่ยังไม่มีสภานิติบัญญัติ และที่สำคัญที่สุดคือมาตรา 44 ที่ให้อำนาจหัวหน้าคสช.กระทำการทุกอย่างได้โดยถือว่าไม่ขัดต่อกฎหมาย มีอำนาจเหนือทั้งนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ในนามของการรักษาความมั่นคงของชาติและราชบัลลังก์ ซึ่งมาตรานี้ แม้แต่นายเทพไท เสนพงศ์ นักการเมืองประชาธิปัตย์ ก็ยังวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย ที่มีผู้มีอำนาจเหนืออำนาจตุลาการ ส่วน Bangkok Pundit มองว่าเป็นเรื่องแปลกที่คสช.ต้องการมีอำนาจเบ็ดเสร็จโดยไม่มีการตรวจสอบถ่วงดุล เพื่อทำงานรักษาความสงบและบริหารบ้านเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ แต่รัฐธรรมนูญที่คสช.จะร่างขึ้น กลับควบคุมและจำกัดอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอย่างแทบกระดิกไม่ได้

นอกจากจะเห็นได้ชัดว่าองค์กรตามรัฐธรรมนูญทั้งหมดที่จะทำหน้าที่บริหารและนิติบัญญัติ ปกครองและกำหนดกฎเกณฑ์กฎหมายสูงสุดของไทย ล้วนตกอยู่ภายใต้อำนาจรวมศูนย์จากคสช. อีกประเด็นเล็กๆที่ไม่มีใครพูดถึงมากนักก็คือรัฐธรรมนูญมาตรา 24 ที่ระบุให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจหน้าที่แต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการทหารและพลเรือนระดับอธิบดี ปลัดกระทรวง ผู้พิพากษา รวมถึงผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญทั้งหมด ซึ่งหมายความว่าอำนาจโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการทั้งหมด ขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรีเพียงผู้เดียว แม้แต่องค์กรที่มีหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐ

เรียกว่าตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ไม่มีอะไรภายใต้ดวงอาทิตย์ที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่จะทำไม่ได้ และเป็นการทำโดยไม่มีการตรวจสอบถ่วงดุลใดๆ ใช้หลัก “เชื่อใจและศรัทธา” แบบไทยๆเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ทำให้คาดเดาได้ว่าผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ ก็คือพลเอกประยุทธเอง เพราะหัวหน้าคสช.ที่มีอำนาจล้นฟ้า คงไม่ตั้งคนอื่นให้ขึ้นมามีอำนาจล้นฟ้าเหมือนกับตนเอง

และคงจะเป็นความหวังลมๆแล้งๆ หากจะหวังว่ารัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งในอนาคตจะเป็นประชาธิปไตย เมื่อทั้งสองประการจะต้องเกิดขึ้นภายใต้รัฐาธิปัตย์และองค์กรที่ตรงข้ามกับประชาธิปไตยอย่างสุดโต่งเช่นนี้
...

เรื่องเกี่ยวเนื่อง...

สำหรับเผยแพร่ทันที

ประเทศไทย: รัฐธรรมนูญชั่วคราวให้อำนาจอย่างกว้างขวาง

ผู้ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนได้รับความคุ้มครองจากการรับผิด

(นิวยอร์ก 24 กรกฎาคม 2557) – ฮิวแมนไรท์วอทช์กล่าวว่า คณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครองของไทยควรแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่ประกาศใช้ และให้อำนาจกับพวกตนอย่างกว้างขวาง โดยปราศจากการต้องรับผิด หรือมาตรการสำหรับป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน

เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2557 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2557 ซึ่งมี 48 มาตรา และได้รับการลงพระปรมาภิไธยโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อนึ่ง คณะที่ปรึกษาของคณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครองได้ร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับนี้ขึ้นโดยปราศจากการหารือใดๆ กับสาธารณะ

แบรด อดัมส์ ผู้อำนวยการแผนกเอเชีย ฮิวแมนไรท์วอทช์ กล่าวว่า "รัฐธรรมนูญชั่วคราวพยายามให้ความชอบธรรมทางกฎหมายกับอำนาจที่กว้างขวาง และปราศจากการต้องรับผิดของคณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครอง" "แทนที่จะปูทางไปสู่การฟื้นฟูประชาธิปไตย คณะทหารกลับให้อำนาจที่ปราศจากการตรวจสอบแก่พวกตนในการที่แทบจะทำอะไรก็ได้ทุกอย่างตามต้องการ ซึ่งรวมถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยไม่ต้องรับผิด"

ฮิวแมนไรท์วอทช์กล่าวว่า รัฐธรรมนูญชั่วคราวมีเนื้อหาที่อ่อนมากเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และยังอนุญาตให้ คสช. สามารถดำเนินนโยบาย และมาตรการต่างๆ โดยปราศจากการตรวจสอบควบคุมที่มีประสิทธิภาพเพือป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้เมื่อเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้นก็ไม่ต้องมีการรับผิดใดๆ ทั้งนี้ ถึงแม้มาตรา 4 จะให้การยอมรับอย่างกว้างๆ ต่อสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพตามประเพณีประชาธิปไตย และพันธะกรณีระหว่างประเทศของประเทศไทย แต่ คสช.มีอำนาจตามมาตรา 44 และ 47 ในการจำกัด ระงับ หรือยับยั้งการปกป้องสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน

มาตรา 44 ให้อำนาจอย่างกว้างขวางต่อ คสช.ในการออกคำสั่ง และดำเนินการต่างๆ ตามที่เห็นสมควรได้ ไม่ว่าจะมีผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างไรก็ตาม กล่าวคือ "ในกรณีที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นเป็นการจําเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปในด้านต่างๆ การส่งเสริมความสามัคคี และความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทําอันเป็นการบ่อนทําลายความสงบเรียบร้อย หรือความมั่นคงของชาติราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายใน หรือภายนอกราชอาณาจักร" ให้หัวหน้า คสช. มีอํานาจ "สั่งการระงับยับยั้ง หรือกระทําการใดๆ ได้ ไม่ว่าการกระทํานั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ และให้ถือว่าคําสั่ง หรือการกระทํา รวมทั้งการปฏิบัติตามคําสั่งดังกล่าว ... ชอบด้วยกฎหมาย และรัฐธรรมนูญนี้ และเป็นที่สุด" อย่างไรก็ตาม อำนาจที่กว้างขวางเช่นนี้ไม่มีการตรวจสอบควบคุมจากฝ่ายตุลาการ หรือสถาบันอื่นใด หัวหน้า คสช. เพียงแค่ต้องรายงานการดําเนินการดังกล่าวให้รายงานประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และนายกรัฐมนตรีทราบหลังจากนั้นเท่านั้น

มาตรา 48 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนดให้การกระทำทั้งหลายของสมาชิก คสช. และผู้ที่กระทำการในนาม คสช. ซึ่งรวมถึงการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม "พ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง" ฮิวแมนไรท์วอทช์กล่าววว่า ถึงแม้จะมีบทบัญญัติตามมาตรานี้ แต่กฏหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศรับรองสิทธิในการได้รับการเยียวยาจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน และกำหนดให้รัฐบาลต้องสอบสวนข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง และดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 6, 30 และ 32 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวได้สร้างระบบการเมืองแบบปิด และไม่เป็นประชาธิปไตย โดย คสช.เป็นผู้คัดเลือกบุคคลเป็นเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ไม่มีกรอบเวลาที่ชัดเจนสำหรับกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในการเสนอร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่มีข้อกำหนดให้ต้องทำการหารือใดๆ กับสาธารณะ หรือต้องผ่านการทำประชามติ ส่วนสภาปฏิรูปแห่งชาตินั้นมีหน้าที่ศึกษา และเสนอแนะเพื่อให้เกิดการสร้างความเป็นประชาธิปไตย การเลือกตั้งที่เสรี และเป็นธรรม และการปฏิรูปในด้านต่างๆ

มาตรา 8 และ 33 กำหนดข้อห้ามอย่างกว้างๆ ไม่ให้ผู้ที่ดํารงตําแหน่ง หรือเคยดํารงตําแหน่งใดในพรรคการเมืองภายในระยะเวลาสามปีที่ผ่านมาสามารถเป็นมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แต่ไม่มีข้อห้ามไม่ให้สมาชิก คสช. ทหาร ตำรวจ และข้าราชการอื่นๆ ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ฮิวแมนไรท์วอทช์กล่าวว่า ข้อกำหนดเช่นนี้เปิดโอกาสความเป็นไปได้ที่พลเอกประยุทธ์จะรับตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะที่ยังคงมีฐานะเป็นหัวหน้า คสช. ถ้าหากเขาประสงค์ที่จะทำเช่นนั้น

ตั้งแต่การทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ฮิวแมนไรท์วอทช์ได้เก็บบันทึกข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชนจำนวนมากที่เกิดขึ้นโดยคณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครอง คสช. ซึ่งประกอบด้วยเหล่าทัพต่างๆ และตำรวจได้ปิดกั้นการแสดงออกอย่างกว้างขวาง ควบคุมตัวบุคคลต่างๆ มากกว่า 300 คน ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีการตั้งข้อหาความผิด ห้ามการชุมนุมในที่สาธารณะ และออกคำสั่งที่มีลักษณะกดขี่ข่มเหงต่อนักกิจกรรม และกลุ่มรากหญ้า มาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวทำให้การละเมิดสิทธิมนุษยชนเหล่านั้นกลายเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย โดยระบุว่า ประกาศ หรือคำสั่ง หรือการปฏิบัติทั้งหมดของ คสช. ตั้งแต่ที่มีการยึด และควบคุมอํานาจการปกครองแผ่นดิน "ชอบด้วยกฎหมาย และชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และเป็นที่สุด"

แบรด อดัมส์ กล่าวว่า "คำกล่าวอ้างของ คสช.ว่า รัฐธรรมนูญชั่วคราวเป็นสิ่งจำเป็นต่อการฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้ง และการปกครองโดยพลเรือนนั้นเป็นฉากบังหน้าให้คณะทหารควบคุมอำนาจต่อไป" "โดยการกระชับอำนาจการควบคุมมากขึ้น บรรดานายพลกำลังทำผิดคำสัญญาที่จะฟื้นฟูประชาธิปไตยในประเทศไทย รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญเพื่อเผด็จการ"

http:///www.hrw.org/news/2014/07/24/thailand-interim-constitution-provides-sweeping-powers

For Immediate Release

Thailand: Interim Constitution Provides Sweeping Powers
Rights Violators Get Blanket Immunity

(New York, July 24, 2014) – The Thai military junta should amend the interim constitution it unilaterally promulgated that gives it sweeping powers without accountability or safeguards against human rights violations, Human Rights Watch said today.

On July 22, 2014, Gen. Prayuth Chan-ocha, the head of the ruling National Council for Peace and Order (NCPO), proclaimed the 2014 interim constitution. The junta’s advisory team drafted the 48-section document without public consultation, and it was signed by King Bhumibol Adulyadej.

“The interim constitution attempts to give legal justification to the sweeping and unaccountable power taken by the military junta,” said Brad Adams, Asia director at Human Rights Watch. “Instead of paving the way for a return to democratic, civilian rule, the Thai junta has granted itself unchecked authority to do almost anything it wants, including committing rights abuses with impunity.”

The interim constitution’s provisions on human rights are very weak, Human Rights Watch said. The interim constitution permits the NCPO to carry out policies and actions without any effective oversight or accountability for human rights abuses. While section 4 vaguely recognizes human rights and liberties arising from Thailand’s democratic traditions and international obligations, the NCPO has broad authority under sections 44 and 47 to limit, suspend, or suppress fundamental human rights protections.

Section 44 provides the NCPO with wide discretion to issue orders and undertake acts the military authorities deem appropriate, regardless of the human rights implications. Specifically, “where the head of the NCPO is of opinion that it is necessary for the benefit of reforms in any field, or to strengthen public unity and harmony, or for the prevention, disruption or suppression of any act that undermines public peace and order or national security, the monarchy, national economics or administration of State affairs,” the head of the NCPO is empowered to “issue orders, suspend or act as deemed necessary. … Such actions are completely legal and constitutional.” This sweeping power is to be carried out without any judicial or other oversight. The NCPO head only needs to report his decisions and actions to the National Legislative Assembly and the prime minister immediately after they are taken.

Section 48 of the interim constitution provides that NCPO members and anyone carrying out actions on behalf of the NCPO, including the May 22 coup, “shall be absolutely exempted from any wrongdoing, responsibility and liabilities.” Despite this provision, international human rights law ensures the right to a remedy for human rights violations and places a duty on governments to investigate allegations of serious human rights violations and prosecute those responsible, Human Rights Watch said.

The interim constitution under sections 6, 30, and 32 creates a closed and undemocratic political system under which the NCPO will hand-pick members of the National Legislative Assembly, the National Reform Council, and the Constitution Drafting Committee. The National Reform Council is to examine and make recommendations on creating a democracy, holding free and fair elections, and considering other various reforms. There is no clear time frame for the Constitution Drafting Committee to present the draft constitution, which will not require public consultation or approval by referendum.

Sections 8 and 33 broadly bar people who have held positions in political parties over the past three years from becoming members of the National Legislative Assembly and the Constitutional Drafting Committee. Such restrictions do not apply to members of the NCPO and serving military and police personnel, or other government officials. These provisions make it possible for General Prayuth to take the office of prime minister while maintaining leadership over the NCPO should he decide to do so, Human Rights Watch said.

Since the military coup on May 22, Human Rights Watch has documented numerous violations of human rights by junta. The NCPO, which consists of all branches of the armed forces and police, has enforced widespread censorship, detained more than 300 people—most without charge, banned public gatherings, and issued repressive orders targeting activists and grassroots groups. Section 47 of the interim constitution legalizes those abuses by providing that all announcements and orders of NCPO since the coup are deemed to be “completely legal and constitutional.”

“The NCPO’s claims that the interim constitution is essential for restoring electoral democracy and civilian rule in Thailand are a façade for continuing control by the junta,” Adams said. “By tightening their control, the generals are backtracking on their repeated promises to restore democracy in Thailand. This is a charter for dictatorship.”