ภาพจาก UDD Thailand |
Kaito Kidz
สมุดบันทึกความดี... ใช้คัดคนเข้ามหาวิทลัย [เรอะ] ??
เคยมีประสบการณ์กับสมุดเล่มนี้เหมือนกันครับ
บันทึกความดีจำได้ว่าทำตอน ป.6 ส่งรายอาทิตย์ให้ผู้ปกครองเซ็น
แต่เอาจริง ๆ แล้วแม่งมานั่งเขียนกันจันทร์ก่อนส่งนี่แหละ
แล้วไอ้ลายเซ็นผู้ปกครองก็เพื่อนในห้องทั้งนั้น คือผลัด ๆ กันเซ็น
- "เฮ้ย เป็นผู้ปกครองกูเซ็นให้กูหน่อย เดี๋ยวกูเซ็นให้มึงเป็นผู้ปกครองมึงให้ อาจารย์ไม่รู้หรอก"
- "ไอ้เหี้ยมึง วันพฤหัสที่แล้วไปเล่นไพ่บ้านไอ้เชษ กลับดึก มึงช่วยงานพ่อแม่ตอนไหนวะสาส"
- "เออ เซ็น ๆ ไปไม่ต้องอ่าน ของมึงก็พอ ๆ กันแหละ"
แล้วก็ผ่านมาได้ด้วยดี
นี่คือสมุดบันทึกความดีในสมัยนั้นที่ผ่านมา
Credit
Red Intelligence
...
ศธ.ดันพาสปอร์ตความดีใช้เข้ามหา’ลัยทั่วประเทศ
ศธ. เล็งขยายผลใช้พาสปอร์ตความดีกับเด็กในทุกระดับการศึกษา พร้อมดันให้มีผลต่อการเข้าศึกษาต่อในมหา’ลัย ชู “นครปฐมโมเดล” เป็นต้นแบบที่เปิดทางให้เด็กดีมีคุณธรรมได้สิทธิเรียนต่ออุดมศึกษา ระบุแม้แต่การเรียนลูกเสือก็ใช้เช่นกัน ไม่ฟันธงขยายผลใช้เข้าเรียนต่อ ม.1 และ ม.4 หรือไม่ให้เป็นเรื่องของต้นสังกัดพิจารณา
วันนี้ (21 ก.ค.) นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่า ที่ประชุมขอให้ทุกองค์กรหลักฯได้นำนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เรื่องค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการไปปฏิบัติให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยให้บูรณาการในกิจกรรมการเรียนการสอน หลักสูตรการวัดและประเมินผล นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้เห็นชอบการจัดทำพาสปอร์ตความดี ของนักเรียนทุกระดับชั้นสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) รวมถึงนักศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) ได้มีการจดบันทึกความดีสิ่งที่ตนเองได้ทำในทุกวัน โดยทุกคนจะเขียนความดีที่ตัวเองได้ปฏิบัติในแต่ละวันว่ามีอะไรบ้างลงในพาสปอร์ตความดี โดยมีผู้อำนวยการโรงเรียนเซ็นรับรองให้ ทั้งนี้ ยังได้ขอให้ สกอ. พิจารณานำเรื่องพาสปอร์ตความดีนี้เป็นส่วนหนึ่งในการคัดเลือกเด็กเข้าสู่ระดับอุดมศึกษาด้วย ซึ่ง รศ.นพ.กำจร ตติยกวี เลขาธิการ กกอ. รับที่จะนำเรื่องดังกล่าวไปหารือกับที่ประชุมอธิการบดี (ทปอ.) ต่อไป
“สพฐ. เคยทำโครงการดังกล่าวมาแล้ว โดยมีตัวอย่างของ “นครปฐมโมเดล” ที่โรงเรียนให้นักเรียนทำคุณงามความดีได้สิทธิในการเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการใช้พาสปอร์ตความดีในการเรียนการสอนลูกเสือเช่นกัน แต่ครั้งนี้ ศธ. จะนำมาดำเนินการอย่างจริงจังและขยายให้ครอบคลุมมากขึ้น เพื่อสอดรับกับนโยบายของ คสช. ที่ต้องการปลูกฝังเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมของคนในชาติ ส่วนแนวคิดว่าจะนำพาสปอร์ตความดีขยายผลเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ ม.4 หรือไม่นั้นก็ต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาต่อไป” ปลัด ศธ. กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม เร็วๆ นี้ ศธ. จะทำความร่วมมือกับสำนักงานพระพุทธศาสนา กระทรวง (พศ.) วัฒนธรรม (วธ.) มหาเถรสมาคม (มส.) จัดการเรียนการสอนธรรมะในสถานศึกษาอย่างเข้มข้น เพื่อต้องการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้เรียนวิชาพระพุทธศาสนา ตามหลักสูตรของสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง ซึ่งเมื่อเด็กจบหลักสูตรนี้จะได้ประกาศนียบัตรนักธรรมชั้นตรีควบคู่กับการจบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วย ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษาต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับนครปฐมโมเดล นั้น เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และสำนักงานเขตพื่นที่การศึกษานครปฐมเขต 1 ที่มีการคัดเลือกนักเรียนให้เข้าเรียนจากพฤติกรรมคุณธรรม และทำกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อให้โอกาสในการเข้าเรียนระดับมหาวิทยาลัย
เรื่องเกี่ยวข้อง...
ที่มา ผู้จัดการ Online
วันนี้ (21 ก.ค.) นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่า ที่ประชุมขอให้ทุกองค์กรหลักฯได้นำนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เรื่องค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการไปปฏิบัติให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยให้บูรณาการในกิจกรรมการเรียนการสอน หลักสูตรการวัดและประเมินผล นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้เห็นชอบการจัดทำพาสปอร์ตความดี ของนักเรียนทุกระดับชั้นสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) รวมถึงนักศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) ได้มีการจดบันทึกความดีสิ่งที่ตนเองได้ทำในทุกวัน โดยทุกคนจะเขียนความดีที่ตัวเองได้ปฏิบัติในแต่ละวันว่ามีอะไรบ้างลงในพาสปอร์ตความดี โดยมีผู้อำนวยการโรงเรียนเซ็นรับรองให้ ทั้งนี้ ยังได้ขอให้ สกอ. พิจารณานำเรื่องพาสปอร์ตความดีนี้เป็นส่วนหนึ่งในการคัดเลือกเด็กเข้าสู่ระดับอุดมศึกษาด้วย ซึ่ง รศ.นพ.กำจร ตติยกวี เลขาธิการ กกอ. รับที่จะนำเรื่องดังกล่าวไปหารือกับที่ประชุมอธิการบดี (ทปอ.) ต่อไป
“สพฐ. เคยทำโครงการดังกล่าวมาแล้ว โดยมีตัวอย่างของ “นครปฐมโมเดล” ที่โรงเรียนให้นักเรียนทำคุณงามความดีได้สิทธิในการเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการใช้พาสปอร์ตความดีในการเรียนการสอนลูกเสือเช่นกัน แต่ครั้งนี้ ศธ. จะนำมาดำเนินการอย่างจริงจังและขยายให้ครอบคลุมมากขึ้น เพื่อสอดรับกับนโยบายของ คสช. ที่ต้องการปลูกฝังเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมของคนในชาติ ส่วนแนวคิดว่าจะนำพาสปอร์ตความดีขยายผลเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ ม.4 หรือไม่นั้นก็ต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาต่อไป” ปลัด ศธ. กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม เร็วๆ นี้ ศธ. จะทำความร่วมมือกับสำนักงานพระพุทธศาสนา กระทรวง (พศ.) วัฒนธรรม (วธ.) มหาเถรสมาคม (มส.) จัดการเรียนการสอนธรรมะในสถานศึกษาอย่างเข้มข้น เพื่อต้องการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้เรียนวิชาพระพุทธศาสนา ตามหลักสูตรของสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง ซึ่งเมื่อเด็กจบหลักสูตรนี้จะได้ประกาศนียบัตรนักธรรมชั้นตรีควบคู่กับการจบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วย ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษาต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับนครปฐมโมเดล นั้น เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และสำนักงานเขตพื่นที่การศึกษานครปฐมเขต 1 ที่มีการคัดเลือกนักเรียนให้เข้าเรียนจากพฤติกรรมคุณธรรม และทำกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อให้โอกาสในการเข้าเรียนระดับมหาวิทยาลัย