วันพุธ, กันยายน 03, 2557

คสช. งาม...อีกแล้ว...นักข่าวต่างชาติ งง ทำไมต้องห้าม...ดูคลิป ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน แถลงงดการจัดงาน "ความยุติธรรมที่ปิดปรับปรุง" ในวันที่ 2 กย. 2557



https://www.youtube.com/watch?v=otLPH9YVEKw

ที่มา ประชาไท

...จากกรณีที่เจ้าหน้าที่ทหารมีจดหมายด่วนถึงศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชนขอความร่วมมือให้ยกเลิกการจัดงานแถลงข่าวและเสวนา ‘ความยุติธรรมที่ปิดปรับปรุง’ ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ (FCCT) ที่จะจัดขึ้นเวลา 14.00 น. ทางศูนย์ทนายฯ ได้แจ้งผู้สื่อข่าวว่าจะไปรอรับหนังสืออย่างเป็นทางการที่สถานที่จัดงาน ซึ่งผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่ามีเจ้าหน้าที่ทั้งในและนอกเครื่องแบบดูแลอยู่ตั้งแต่งานเริ่ม พร้อมทั้งมีผู้สื่อข่าวทั้งไทยและต่างประเทศรอทำข่าวจำนวนมาก

กระทั่งเวลา ประมาณ 14.30 น. พ.ต.อ.ไชยา คงทรัพย์ ผกก. สน.ลุมพินี เดินทางมายังห้องประชุมเพื่อยื่นหนังสือต่อศูนย์ทนายความเพื่อขอความร่วมมืองดจัดงาน โดยหนังสือ ลงชื่อ พ.ท.ภาสกร กุลรวิวรรณ ผู้บังคับกองพันทหารม้าที่1 รักษาพระองค์ จากนั้นภาวิณี ชุมศรี ตัวแทนจากศูนย์ทนายฯ ได้ชี้แจงถึงความจำเป็นในการงดจัดงานต่อผู้สื่อข่าว พร้อมทั้งยืนยันว่าจะหาทางนำเสนอรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนหลังการรัฐประหารในโอกาสต่อไป

นอกจากนี้ทางศูนย์ทนายฯ ยังได้ออกแถลงการณ์ประณามการกระทำของเจ้าหน้าที่โดยระบุว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่ครั้งนี้เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน พร้อมทั้งยืนยันข้อเสนอในรายงานดังกล่าวต่อสถานการณ์ปัจจุบันคือ 1. ขอให้ยุติการใช้อำนาจตามกฎอัยการศึกโดยยกเลิกประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศ 2. ยกเลิกการกักตัว จับกุม ควบคุมบุคคลโดยอาศัยอำนาจตามกฎอัยการศึก 3. ยกเลิกการจำกัด ควบคุม เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบทุกรูปแบบ 4. ยกเลิกการดำเนินคดีพลเรือนในศาลทหาร

รายละเอียดแถลงการณ์มีดังนี้

แถลงการณ์ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

เรื่องการข่มขู่คุกคามการทำงานของนักกฎหมายและองค์กรสิทธิมนุษยชน

เผยแพร่วันที่ 2 กันยายน 2557

ตามที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ร่วมกับมูลนิธิผสานวัฒนธรรม และแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยได้ร่วมจัดเวทีรายงานสิทธิมนุษยชนและเวทีเสวนาความยุติธรรมที่ปิดปรับปรุงในวันนี้ แต่เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2557 ซึ่งเป็นวันก่อนจัดงาน ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนและองค์กรร่วมจัดได้รับการติดต่อจากเจ้าหน้าที่ทหารให้ยกเลิกการจัดงานในวันนี้โดยให้เหตุผลว่า เนื่องจากสถานการณ์บ้านเมืองยังไม่ปกติ และในระหว่างการประสานงานมีการแจ้งว่าหากองค์กรร่วมจัดยังคงยืนยันในการดำเนินกิจกรรมต่อไปอาจถูกดำเนินคดีในข้อหาฝ่าฝืนประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 7/2557 ซึ่งห้ามชุมนุมทางการเมืองมากกว่า 5 คนขึ้นไป อย่างไรก็ตามศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนมีความเห็นต่อพฤติการณ์ของเจ้าหน้าที่ดังต่อไปนี้

1. การจัดงานดังกล่าวเป็นการรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชน และงานเสวนาความยุติธรรมที่ปิดปรับปรุงซึ่งเกี่ยวข้องกับอุปสรรคในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมในช่วงหลังรัฐประหาร ไม่ใช่การชุมนุมทางการเมือง อีกทั้งรายงานที่ศูนย์ทนายความฯได้จัดทำขึ้นมานี้ก็มาจากข้อมูลการรับเรื่องร้องเรียนและคดีความในความรับผิดชอบของศูนย์ทนายความฯและองค์กรภาคี ซึ่งเป็นการทำหน้าที่ตามวิชาชีพในฐานะนักกฎหมายและนักสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้สถานการณ์ที่มีการประกาศกฎอัยการศึกซึ่งให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงอย่างกว้างขวาง การติดตามตรวจสอบสถานการณ์และเผยแพร่ข้อมูลสู่ความรับรู้ของสังคมจึงถือเป็นสิ่งจำเป็น

2. เสรีภาพในการแสดงออกเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ได้รับการรับรองในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีซึ่งต้องปฏิบัติตาม อีกทั้ง คสช.ได้ให้สัมภาษณ์มาตลอดว่าจะเคารพหลักสิทธิมนุษยชน รวมถึงตามมาตรา 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ซึ่ง คสช.ได้จัดทำขึ้นมาก็ได้รับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคบรรดาที่ชนชาวไทยได้รับการคุ้มครองประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้ การขอให้ยุติกิจกรรมจึงเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพดังกล่าว

3. การที่เจ้าหน้าที่ทหาร “ขอความร่วมมือ” ให้ยุติหรือเลื่อนการจัดงานออกไปก่อน โดยแจ้งว่าหากยืนยันจะจัดงานทางเจ้าหน้าที่จะดำเนินคดีข้อหาฝ่าฝืนประกาศ คสช.ซึ่งห้ามชุมนุมทางการเมืองนั้น นอกจากจะเป็นการข่มขู่คุกคามนักกฎหมายและนักสิทธิมนุษยชนแล้ว ยังเป็นการสร้างบรรยากาศความหวาดกลัวในสังคม และลิดรอนสิทธิของผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนและครอบครัวที่จะได้รับความเป็นธรรมและได้รับการชดเชยเยียวยา ซึ่งขัดต่อภาพลักษณ์ซึ่งคสช.ได้ยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่บนพื้นฐานการเคารพสิทธิมนุษยชน และยิ่งเป็นการตอกย้ำสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน จึงขอประณามพฤติการณ์การคุกคามที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ดีในฐานะองค์กรด้านกฎหมายและสิทธิมนุษยชน ยังขอยืนยังถึงหน้าที่ของนักกฎหมายในการปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชน และนำเสนอสถานการณ์สิทธิมนุษยชน 100 วันหลังรัฐประหารที่เกิดขึ้นในช่องทางอื่นต่อไปเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ต่างๆ จางหายไปโดยผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนและครอบครัวไม่ได้รับการค้นหาความจริงและความยุติธรรม เพื่อให้การรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้เกิดขึ้นจริง และศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนจึงยืนยันข้อเสนอในรายงานดังกล่าวต่อสถานการณ์ปัจจุบันคือ

1. ขอให้ยุติการใช้อำนาจตามกฎอัยการศึกโดยยกเลิกประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศ

2. ยกเลิกการกักตัว จับกุม ควบคุมบุคคลโดยอาศัยอำนาจตามกฎอัยการศึก

3. ยกเลิกการจำกัด ควบคุม เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบทุกรูปแบบ

4. ยกเลิกการดำเนินคดีพลเรือนในศาลทหาร

ด้วยความเคารพต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
ooo

นักข่าวต่างชาติ งง ทำไมต้องห้าม
ด้านตำรวจไม่ตอบ เอาแต่เดินหนี !!




Thai Free News รายงาน...

** คสช.ร่อนจดหมายขอความร่วมมือ
"องค์การนิรโทษกรรมสากล" งดเสวนา
"ความยุติธรรมที่ปิดปรับปรุง”

โดยส่งนายตำรวจ ทั้งในและนอกเครื่องแบบ
บุกไปห้ามถึงสถานที่จัดงาน

can you explain to us why you came here today to stop dissident?
คุณช่วยอธิบายให้พวกเราฟังหน่อยได้ไหมว่า
ทำไมคุณถึงมาที่นี่เพื่อหยุดคนที่คิดต่าง

can you explain ภาษาไทย, please
อธิบายเป็นภาษาไทยก็ได้...

Can you tell what′s Happening?
ช่วยบอกได้ไหมว่านี่มันเกิดอะไรขึ้น

Can You tell What′s Wrong?
มีอะไรผิดปกติเหรอ

ผู้สื่อข่าวต่างชาติ
ประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

http://www.youtube.com/watch?v=zOtmAC8nJFc
ooo

Thai junta blocks rights meeting in Bangkok


Reporting by Amy Sawitta Lefevre; Editing by Andrew R.C. Marshall

(Reuters) - Thailand's ruling junta ordered that a rights talk at a journalists' club in Bangkok be shut down on Tuesday, further stoking concerns over freedom of expression in the country since a military power grab in May.

Police, armed with orders from the junta, turned up at the Foreign Correspondent's Club ofThailand as an event, entitled "Access to Justice in Thailand: Currently Unavailable" and organized by Thai rights groups and Amnesty International Thailand, was about to take place.

In the order the National Council for Peace and Order (NCPO), as the junta is formally known, asked organizers to cancel the event in order to "follow the policy of the NCPO".

The military says it took power in May to avert further bloodshed and restore stability after six months of street protests pitting supporters of ousted Prime Minister Yingluck Shinawatra against Bangkok-based royalist opponents.

Rights activists say the junta has worked systematically to snuff out all challenges to its authority, including through the detention of hundreds of activists, academics and journalists in the weeks following the coup.

Tuesday's panel discussion was to have included a presentation on the rights situation inThailand 100 days after the army seized power.

Martial law, which bans gatherings of more than five people, has been in place since May 20. On Tuesday, Prime Minister Prayuth Chan-ocha, the army chief who led the coup, said the law was still needed to maintain order.

"The event was organized to report the human rights situation in Thailand ... which has to do with access to justice after the coup. It is not a political gathering," Amnesty Thailand said in an emailed statement.

"The NCPO has always said it would respect human rights. Asking to stop activities is a violation of freedom."
ooo

ต่อมา "คืนความจริง" ได้นำเสนอบทสนทนากับ เยาวลักษณ์ อนุพันธ์ ทนายความจาก ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ในมิติต่าง ๆ ลงในเฟสบุ๊ค...

ไทยอีนิวส์ขอนำเสนอต่อ...








ที่มา