วันอังคาร, สิงหาคม 13, 2567

บทสรุปแห่งความสิ้นหวัง The Economist สื่อชั้นนำ ชี้ ระบอบการเมืองไทย ล้าหลัง เทียบ ปากีสถาน เวเนซุเอลา


The Politics ข่าวบ้าน การเมือง
7 hours ago
·
บทสรุปแห่งความสิ้นหวัง
The Economist สื่อชั้นนำ
ชี้ ระบอบการเมืองไทย ล้าหลัง
เทียบ ปากีสถาน เวเนซุเอลา
บทความฉบับนี้ ส่วนหนึ่งมาจากบทความของ The Economist: Banning the opposition won’t save Thailand’s unpopular regime ที่แสดงความคิดเห็นกี่ยวกับกรณีการยุบพรรคก้าวไกล เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา
.
การกำจัดผู้เห็นต่าง ไม่อาจช่วยรักษาระบอบการปกครองที่ประชาชนไม่ต้องการได้
การเมืองไทย "การฟ้องร้องทางกฎหมาย" ถือเป็นวิธีการใช้ระบบกฎหมายเพื่อขัดขวางผู้เห็นต่าง ก่อนหน้านี้ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวผ่านบทความออนไลน์กับ The Economist เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม มีใจความว่า ศาลเป็น "อาวุธที่เลือกใช้เพื่อปิดปากผู้ที่ต้องการท้าทายสถานะเดิม"
.
ซึ่งสอดคล้องกับรูปแบบสากลในประเทศที่ล้าหลังทางการเมือง เพราะระบอบเผด็จการส่วนใหญ่ ไม่ใช่เผด็จการอย่างเปิดเผย และเพื่อให้ดูมีความชอบธรรม พวกเขาได้นำรูปแบบของประชาธิปไตยมาใช้แบบผิวเผิน เป็นระบอบประชาธิปไตยแต่ในนาม การใช้ศาลเป็นอาวุธนี้เป็นยุทธวิธีทางการเมืองที่มักถูกนำมาใช้ สถาบันการปกครองจึงสามารถอ้างได้ว่า นี่เป็นการบังคับใช้กฎหมายอยู่ และผู้ที่เห็นต่างก็เป็นเพียงอาชญากรทั่วไปที่ถูกกำจัดได้ โดยพวกเขาแค่ต้องใช้ผู้พิพากษาเพียงไม่กี่คน
ด้วยเหตุผลนี้เองจึงทำให้นักการเมืองที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปากีสถาน ต้องถูกจำคุกเพราะละเมิดกฎหมายที่ถูกยกเลิกไปแล้วเมื่อสิบปีก่อน หรือกรณีของผู้นำฝ่ายค้านในเวเนซุเอลาก็ถูกกล่าวหาว่าก่อกบฏ เพียงเพราะพวกเขาบอกว่า พวกเขาชนะการเลือกตั้งเมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งพวกเขาก็ชนะจริง ๆ
.
อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทย ก็ยังไม่ชัดเจนเท่าไหร่นัก ว่าความพยายามล่าสุดของรัฐบาลในการกดขี่ประชาชนจะได้ผลหรือไม่ ระบอบการปกครองแบบเผด็จการมักดูเหมือนแข็งแกร่ง จนกระทั่งถูกกวาดล้างอย่างกะทันหัน ดังที่อดีตนายกรัฐมนตรีที่หลบหนีจากบังกลาเทศด้วยเครื่องบินกองทัพในช่วงสัปดาห์นี้
.
ประเทศไทยในตอนนี้ พร้อมแล้วสำหรับการฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตย โดยประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางถึงสูง มีชนชั้นกลางที่ตื่นรู้ทางการเมืองและมีความรู้สูง และมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนมากที่เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งรัฐบาลชุดปัจจุบันก็ไม่เป็นที่นิยมในหมู่ประชาชน อีกทั้งแผนการแจกเงินในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งก็ดูไร้ความรอบคอบในการบริหารจัดการ และดูเหมือนจะไม่ได้สร้างความแตกต่างเท่าใดนัก ผู้มีสิทธิเลือกตั้งชาวไทยจำนวนมากมองเห็นความพยายามอย่างสิ้นหวังของรัฐบาลในการหลบซ่อนตัวเองอยู่หลังอำนาจนำ
.
สำหรับคนนอกก็คงไม่สามารถทำอะไรได้มากนัก ประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของไทยก็มักจะไม่เต็มใจเท่าไหร่ที่จะแทรกแซงการเมืองของกันและกัน ขณะเดียวกันสหรัฐอเมริกาเองก็ต้องเงียบเสียงของตนในการวิพากษ์วิจารณ์ เพราะกลัวจะผลักดันไทยให้เข้าไปสู่ในอ้อมอกของจีนที่ก็กำลังรอจ่ออยู่
ดังนั้น นี่จึงเป็นหน้าที่ของคนไทยที่จะต้องทำ คือการกดดันรัฐบาลต่อไป เพื่อที่จะได้มีรัฐบาลที่เป็นตัวแทนของพวกเขาอย่างแท้จริง ลางบอกเหตุไม่ได้เลวร้ายเสมอไป ฝ่ายค้านมีผู้นำใหม่ที่น่าจะเป็นไปได้มากมาย และฝ่ายค้านจะรวมตัวกันอีกครั้งภายใต้พรรคประชาชน เช่นเดียวกับที่พวกเขาเคยทำ และจะทำต่อไป ขอให้โชคดี

(รดิศ บรรลือวงศ์ แปลและเรียบเรียง)