สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน - HRLA
May 21, 2021
·
อานนท์ นำภา ผู้ถูกกลั่นแกล้งด้วยคดีความ กับอุปสรรคที่กำลังเผชิญ
-----
SLAPP (Strategic Lawsuit Against Public Participation) หรือการฟ้องคดีปิดปาก ถือเป็นการคุกคามรูปแบบหนึ่งโดยใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือ เพื่อสร้างอุปสรรคและความกลัวต่อประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมทางสังคม หรือแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสาธารณะ บทความนี้เราจะนำเสนออุปสรรคที่ผู้ตกเป็นเป้าหมายของการฟ้องคดีปิดปากต้องเผชิญ ผ่านคดีของอานนท์ นำภา ผู้ถูกดำเนินคดีจากการขึ้นปราศรัยเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์
#อานนท์ นำภา ถูกกลั่นแกล้งด้วยคดีความอย่างไร?
เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2563 กลุ่มมหานครฯ - มอกะเสดได้จัดชุมนุม “เสกคาถาผู้พิทักษ์ปกป้องประชาธิปไตย” บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน อานนท์ นำภา หนึ่งในผู้ปราศรัยที่ต่อมานิตยสาร “ไทม์” ยกให้เป็นหนึ่งใน 100 บุคคลผู้ทรงอิทธิพลต่อการเปลี่ยนอนาคต และล่าสุดเขาได้รับรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน (Gwang Ju Prize for Human Rights) นับถือว่าเป็นบุคคลที่มีส่วนร่วมในการส่งเสริมและพัฒนาสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และสันติภาพ ประจำปี 2564
.
อานนท์ได้นำเสนอความเห็นในประเด็น “สถาบันกษัตริย์กับสังคมไทย” โดยอภิปรายถึงการที่พระมหากษัตริย์ทรงประทับในต่างประเทศ โดยไม่ได้มีการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์, การที่กษัตริย์เข้าแทรกในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ, การประกาศใช้ พ.ร.บ.โอนกำลังพลทหารฯ ด้วยการดึงเอากรมทหารราบที่ 1 และ 11 ให้เข้ามาเป็นส่วนราชการในพระองค์, การไม่สามารถตรวจสอบการใช้งบประมาณเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยการปราศรัยของอานนท์ เน้นย้ำถึงการแสดงความคิดเห็นต่อสถาบันโดยสุจริต ไม่มีเจตนาที่จะมุ่งร้ายหรือทำลายความน่าเคารพเชื่อถือของสถาบันพระมหากษัตริย์ ถ้อยคำตอนหนึ่งของอานนท์กล่าวว่า
.
"พี่น้องครับ หากมีการชุมนุมครั้งหน้า ถ้าใครจะกล่าวอ้างถึงปัญหาที่ซุกอยู่ใต้พรม ขอให้ทุกคนกล่าวถึงปัญหานั้นด้วยความรับผิดชอบ กล่าวถึงปัญหานั้นด้วยความตรงไปตรงมา และกล่าวถึงปัญหานั้นด้วยความเคารพจิตวิญญาณ ความเป็นมนุษย์ของตัวเองครับพี่น้อง อย่าไปด่าสถาบันฯ เฉยๆ พูดด้วยข้อเท็จจริง นำเสนอวิธีการแก้ปัญหาอย่างตรงไปตรงมา ผมเชื่อว่าทุกคนพร้อมที่จะรับฟังและแก้ปัญหาครั้งนี้ไปด้วยกัน ก่อนที่วิกฤตศรัทธาต่อบ้านเมือง ศรัทธาต่อสถาบันจะลดน้อยถอยลงมากไปกว่านี้ พวกเราต้องแก้ปัญหาของสถาบันพระมหากษัตริย์ร่วมกัน"
https://www.facebook.com/watch/live/?v=775078313239884&ref=search (ชั่วโมงที่ 1.42)
.
อานนท์ นำภาถูกตั้งข้อหาหมิ่นพระมหากษัตริย์ มาตรา 112 ตามประมวลกฎหมายอาญา จากการปราศรัยแสดงความคิดเห็นในประเด็นสาธารณะในที่ชุมนุมครั้งนี้และครั้งอื่นๆ รวมถึงการชุมนุม 19 กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ณ สนามหลวง
#กระบวนการยุติธรรม กลายเป็นอุปสรรคซ้ำเติม
หลังจากถูกจับกุมดำเนินคดีจากการออกมาใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบ สันติ และปราศจากอาวุธ อานนท์และแกนนำอีกหลายคนถูกควบคุมตัวในระหว่างการพิจารณาคดี แม้ว่าทนายความ นักวิชาการ และญาติพยายามยื่นขอประกันตัวหลายครั้งเพื่อให้ผู้ต้องหาได้มีสิทธิในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ แต่ศาลมีคำสั่งยกคำร้องด้วยเหตุผลว่าเป็นคดีร้ายแรงและเกรงจำเลยหลบหนี
.
ไม่เพียงเท่านั้น ในระหว่างที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำ อานนท์และแกนนำคนอื่นๆ ต้องเผชิญกับความกังวลว่าจะไม่ปลอดภัยจากผู้ที่ไม่ประสงค์ดีและการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในภาวะนักโทษล้นคุกที่เรือนจำไม่สามารถจัดการได้ อย่างไรก็ตาม ไม่เพียงอานนท์และผู้ต้องหาทางการเมืองคนอื่นๆ เท่านั้นที่ต้องเผชิญอุปสรรคในกระบวนการยุติธรรม แต่ยังพบว่าทั้งทนายความรวมถึงครอบครัวของพวกเขาก็ต้องประสบกับอุปสรรคหลายประการ อาทิ ครอบครัวไม่ได้เข้าเยี่ยม จนนำมาสู่การที่มารดาของอานนท์ และมารดาของแกนนำคนอื่นๆ ต้องออกมาเรียกร้องสิทธิการเยี่ยมผู้ต้องขังและสิทธิในการประกันตัว นอกจากนี้บรรดาทนายความเองก็ประสบกับการทำงานได้ยากขึ้นทั้งการถูกจำกัดการเข้าเยี่ยมผู้ต้องหาในเรือจำเพื่อรวบรวมพยานหลักฐานสำหรับต่อสู้คดี การไม่ให้ผู้ต้องหาและทนายความได้พูดคุยปรึกษาแนวทางในการต่อสู้คดีเพียงลำพัง เป็นต้น
.
จากกรณีของอานนท์ ที่ออกมาแสดงความคิดเห็นในเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์โดยมีเจตนาสุจริต ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติในสังคมประชาธิปไตยที่ประชาชนทุกคนสามารถที่จะออกมาแสดงความคิดเห็น ถกแถลง รวมถึงวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นสาธารณะได้นั้น กลับถูกจับกุมดำเนินคดี และขัดขวางการเข้าถึงสิทธิในกระบวนการยุติธรรมหลายประการ เห็นได้ชัดว่าเพื่อปิดกั้นการออกมาเคลื่อนไหวและแสดงความคิดเห็น อันเป็นเป้าหมายของการฟ้องคดีในลักษณะ SLAPP อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่าคดีฟ้องปิดปากอาจจะไม่สามารถทำให้คนในสังคมเกิดบรรยากาศแห่งความกลัว (chilling effect) จนไม่กล้าออกมาแสดงความเห็น ได้อีกต่อไปแล้ว เห็นได้จากการออกมาแสดงความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่ ดารานักแสดงและประชาชนคนทั่วไป ที่นำประเด็นทางสังคมมาถกเถียงกันในพื้นที่สาธารณะบนพื้นฐานของสิทธิและเสรีภาพอย่างต่อเนื่องและเป็นปกติ
.....
โมกหลวงริมน้ำ
16 hours ago
·
สุขสันต์วันเกิด ทนายอานนท์ นำภา
.
“ผมเชื่อว่าทุก ๆ สิ่งที่ผมและเพื่อน ๆ ทำกันมาเป็นความหวังดีต่อสังคม เป็นประชาธิปไตย มีสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาค ทุกคนไม่เสียใจกับทุกอย่างที่เสียไป และถ้าเราถูกจำกัดบทบาทด้วยการขังคุก ก็ให้ถือว่าสิ่งที่เราทำคือดีที่สุดแล้ว อยากให้คนที่อยู่ข้างนอกได้ทำมันต่อ เพื่อก้าวไปสู่สังคมที่ศิวิไลซ์กว่า ให้คิดถึงวันแรกที่ร่วมทำมาด้วยกัน จนมาถึงวันนี้พวกเราได้ทำหน้าที่อย่างดีที่สุดแล้ว ที่เหลือทุกคนก็ต้องทำต่อไป”
.
จากบทสัมภาษณ์ the active thai pbs
·
อานนท์ นำภา ผู้ถูกกลั่นแกล้งด้วยคดีความ กับอุปสรรคที่กำลังเผชิญ
-----
SLAPP (Strategic Lawsuit Against Public Participation) หรือการฟ้องคดีปิดปาก ถือเป็นการคุกคามรูปแบบหนึ่งโดยใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือ เพื่อสร้างอุปสรรคและความกลัวต่อประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมทางสังคม หรือแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสาธารณะ บทความนี้เราจะนำเสนออุปสรรคที่ผู้ตกเป็นเป้าหมายของการฟ้องคดีปิดปากต้องเผชิญ ผ่านคดีของอานนท์ นำภา ผู้ถูกดำเนินคดีจากการขึ้นปราศรัยเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์
#อานนท์ นำภา ถูกกลั่นแกล้งด้วยคดีความอย่างไร?
เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2563 กลุ่มมหานครฯ - มอกะเสดได้จัดชุมนุม “เสกคาถาผู้พิทักษ์ปกป้องประชาธิปไตย” บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน อานนท์ นำภา หนึ่งในผู้ปราศรัยที่ต่อมานิตยสาร “ไทม์” ยกให้เป็นหนึ่งใน 100 บุคคลผู้ทรงอิทธิพลต่อการเปลี่ยนอนาคต และล่าสุดเขาได้รับรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน (Gwang Ju Prize for Human Rights) นับถือว่าเป็นบุคคลที่มีส่วนร่วมในการส่งเสริมและพัฒนาสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และสันติภาพ ประจำปี 2564
.
อานนท์ได้นำเสนอความเห็นในประเด็น “สถาบันกษัตริย์กับสังคมไทย” โดยอภิปรายถึงการที่พระมหากษัตริย์ทรงประทับในต่างประเทศ โดยไม่ได้มีการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์, การที่กษัตริย์เข้าแทรกในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ, การประกาศใช้ พ.ร.บ.โอนกำลังพลทหารฯ ด้วยการดึงเอากรมทหารราบที่ 1 และ 11 ให้เข้ามาเป็นส่วนราชการในพระองค์, การไม่สามารถตรวจสอบการใช้งบประมาณเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยการปราศรัยของอานนท์ เน้นย้ำถึงการแสดงความคิดเห็นต่อสถาบันโดยสุจริต ไม่มีเจตนาที่จะมุ่งร้ายหรือทำลายความน่าเคารพเชื่อถือของสถาบันพระมหากษัตริย์ ถ้อยคำตอนหนึ่งของอานนท์กล่าวว่า
.
"พี่น้องครับ หากมีการชุมนุมครั้งหน้า ถ้าใครจะกล่าวอ้างถึงปัญหาที่ซุกอยู่ใต้พรม ขอให้ทุกคนกล่าวถึงปัญหานั้นด้วยความรับผิดชอบ กล่าวถึงปัญหานั้นด้วยความตรงไปตรงมา และกล่าวถึงปัญหานั้นด้วยความเคารพจิตวิญญาณ ความเป็นมนุษย์ของตัวเองครับพี่น้อง อย่าไปด่าสถาบันฯ เฉยๆ พูดด้วยข้อเท็จจริง นำเสนอวิธีการแก้ปัญหาอย่างตรงไปตรงมา ผมเชื่อว่าทุกคนพร้อมที่จะรับฟังและแก้ปัญหาครั้งนี้ไปด้วยกัน ก่อนที่วิกฤตศรัทธาต่อบ้านเมือง ศรัทธาต่อสถาบันจะลดน้อยถอยลงมากไปกว่านี้ พวกเราต้องแก้ปัญหาของสถาบันพระมหากษัตริย์ร่วมกัน"
https://www.facebook.com/watch/live/?v=775078313239884&ref=search (ชั่วโมงที่ 1.42)
.
อานนท์ นำภาถูกตั้งข้อหาหมิ่นพระมหากษัตริย์ มาตรา 112 ตามประมวลกฎหมายอาญา จากการปราศรัยแสดงความคิดเห็นในประเด็นสาธารณะในที่ชุมนุมครั้งนี้และครั้งอื่นๆ รวมถึงการชุมนุม 19 กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ณ สนามหลวง
#กระบวนการยุติธรรม กลายเป็นอุปสรรคซ้ำเติม
หลังจากถูกจับกุมดำเนินคดีจากการออกมาใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบ สันติ และปราศจากอาวุธ อานนท์และแกนนำอีกหลายคนถูกควบคุมตัวในระหว่างการพิจารณาคดี แม้ว่าทนายความ นักวิชาการ และญาติพยายามยื่นขอประกันตัวหลายครั้งเพื่อให้ผู้ต้องหาได้มีสิทธิในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ แต่ศาลมีคำสั่งยกคำร้องด้วยเหตุผลว่าเป็นคดีร้ายแรงและเกรงจำเลยหลบหนี
.
ไม่เพียงเท่านั้น ในระหว่างที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำ อานนท์และแกนนำคนอื่นๆ ต้องเผชิญกับความกังวลว่าจะไม่ปลอดภัยจากผู้ที่ไม่ประสงค์ดีและการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในภาวะนักโทษล้นคุกที่เรือนจำไม่สามารถจัดการได้ อย่างไรก็ตาม ไม่เพียงอานนท์และผู้ต้องหาทางการเมืองคนอื่นๆ เท่านั้นที่ต้องเผชิญอุปสรรคในกระบวนการยุติธรรม แต่ยังพบว่าทั้งทนายความรวมถึงครอบครัวของพวกเขาก็ต้องประสบกับอุปสรรคหลายประการ อาทิ ครอบครัวไม่ได้เข้าเยี่ยม จนนำมาสู่การที่มารดาของอานนท์ และมารดาของแกนนำคนอื่นๆ ต้องออกมาเรียกร้องสิทธิการเยี่ยมผู้ต้องขังและสิทธิในการประกันตัว นอกจากนี้บรรดาทนายความเองก็ประสบกับการทำงานได้ยากขึ้นทั้งการถูกจำกัดการเข้าเยี่ยมผู้ต้องหาในเรือจำเพื่อรวบรวมพยานหลักฐานสำหรับต่อสู้คดี การไม่ให้ผู้ต้องหาและทนายความได้พูดคุยปรึกษาแนวทางในการต่อสู้คดีเพียงลำพัง เป็นต้น
.
จากกรณีของอานนท์ ที่ออกมาแสดงความคิดเห็นในเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์โดยมีเจตนาสุจริต ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติในสังคมประชาธิปไตยที่ประชาชนทุกคนสามารถที่จะออกมาแสดงความคิดเห็น ถกแถลง รวมถึงวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นสาธารณะได้นั้น กลับถูกจับกุมดำเนินคดี และขัดขวางการเข้าถึงสิทธิในกระบวนการยุติธรรมหลายประการ เห็นได้ชัดว่าเพื่อปิดกั้นการออกมาเคลื่อนไหวและแสดงความคิดเห็น อันเป็นเป้าหมายของการฟ้องคดีในลักษณะ SLAPP อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่าคดีฟ้องปิดปากอาจจะไม่สามารถทำให้คนในสังคมเกิดบรรยากาศแห่งความกลัว (chilling effect) จนไม่กล้าออกมาแสดงความเห็น ได้อีกต่อไปแล้ว เห็นได้จากการออกมาแสดงความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่ ดารานักแสดงและประชาชนคนทั่วไป ที่นำประเด็นทางสังคมมาถกเถียงกันในพื้นที่สาธารณะบนพื้นฐานของสิทธิและเสรีภาพอย่างต่อเนื่องและเป็นปกติ
.....
โมกหลวงริมน้ำ
16 hours ago
·
สุขสันต์วันเกิด ทนายอานนท์ นำภา
.
“ผมเชื่อว่าทุก ๆ สิ่งที่ผมและเพื่อน ๆ ทำกันมาเป็นความหวังดีต่อสังคม เป็นประชาธิปไตย มีสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาค ทุกคนไม่เสียใจกับทุกอย่างที่เสียไป และถ้าเราถูกจำกัดบทบาทด้วยการขังคุก ก็ให้ถือว่าสิ่งที่เราทำคือดีที่สุดแล้ว อยากให้คนที่อยู่ข้างนอกได้ทำมันต่อ เพื่อก้าวไปสู่สังคมที่ศิวิไลซ์กว่า ให้คิดถึงวันแรกที่ร่วมทำมาด้วยกัน จนมาถึงวันนี้พวกเราได้ทำหน้าที่อย่างดีที่สุดแล้ว ที่เหลือทุกคนก็ต้องทำต่อไป”
.
จากบทสัมภาษณ์ the active thai pbs