Puangthong Pawakapan
10 hours ago
·
กรณีทูต 18 ประเทศ และประธาน กมธ.วิเทศสัมพันธ์ของของวุฒิสภาของสหรัฐอเมริกา แสดงท่าทีห่วงใยต่อการดำเนินคดีเพื่อยุบพรรคก้าวไกล เป็นเรื่องผิดมารยาทต่อไทย หรือเขากำลังบอกว่าไทยกำลังละเมิดสิทธิทางการเมืองของประชาชนกันแน่?
อันที่จริง นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ชาติตะวันตกแสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับการใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 เขาแสดงออกมาไม่น้อยกว่า 10 ปีแล้ว เพราะเขามองว่ามันเป็นกฎหมายที่ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานในการแสดงความคิดของประชาชนและสื่อมวลชน เป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อจัดการกับฝ่ายที่คิดต่างจากผู้มีอำนาจ
สำหรับชาติตะวันตก อำนาจอธิปไตยและสิทธิอัตวินิจฉัยของรัฐก็สำคัญ แต่สิทธิมนุษยชนก็สำคัญเช่นกัน ประเทศอื่นไม่ควรหลับหูหลับตาปล่อยให้รัฐละเมิดสิทธิของประชาชนโดยไม่ทำอะไร เพราะในที่สุดแล้วรัฐแบบนี้จะปราศจากความมั่นคง ไร้เสถียรภาพ เกิดการประท้วง จลาจล ลุกฮือของประชาชน
ความไร้เสถียรภาพเช่นนี้ไม่เป็นผลดีกับใครทั้งสิ้น ทั้งกับประชาชนภายในประเทศและกับการเมืองระดับภูมิภาค – เมียนมาร์เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด – รัฐแบบนี้จึงมักถูกลงโทษโดยถูกปิดล้อมทางเศรษฐกิจการทูตและการทหาร ดังเช่นสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ กระทำต่อเมียนมาร์ระหว่างปี 1990-2012 และหลังรัฐประหาร 2021 จนถึงปัจจุบัน
ประเทศไทยก็เคยเจอกับการลงโทษทำนองนี้ แต่เบากว่าเท่านั้น นั่นคือ เมื่อ คสช.ทำรัฐประหารในปี 2557 สหรัฐฯตัดความช่วยเหลือทางการทหารและลดระดับการซ้อมรบคอบบร้าโกลด์ลง ส่วนสหภาพยุโรปก็ประกาศว่าจะไม่มีการเจรจาข้อตกลงทางเศรษฐกิจใหม่ๆ จนกว่าทหารจะคืนอำนาจให้แก่ประชาชน ... แม้ว่ามาตรการลงโทษนี้จะไม่ส่งผลในทางเศรษฐกิจต่อไทยมากนัก เพราะไทยยังมีพี่จีนให้พิงหลังได้ แต่มันคือการ Shaming ทำให้ไทยอับอายขายหน้าในประชาคมโลกด้วย
นอกจากนี้ การเมืองที่ไร้เสถียรภาพยังกระทบต่อผลประโยชน์ของต่างชาติด้วย เพราะไม่มีใครอยากลงทุนในประเทศที่มีรัฐประหารบ่อยครั้ง ไม่มีนโยบายเศรษฐกิจที่ชัดเจน ระบอบเผด็จการยังมักควบคู่ไปกับการเล่นพรรคเล่นพวก คอรัปชั่น ระบบราชการล้าหลัง ฯลฯ สำหรับประเด็นนี้ คนไทย ณ วันนี้น่าจะซาบซึ้งมากที่สุดเมื่อทุนต่างชาติและทุนไทยต่างหนีไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านของไทยแทน เพราะเบื่อหน่ายความไม่แน่นอนทางการเมืองและนโยบายเศรษฐกิจที่ไร้อนาคตในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
ข้างล่างนี้คือข้อมูลเก่าที่เราเคยโพสตั้งแต่ปี 2020 ขอเอามาแปะให้คุณรัชดาได้ทำความเข้าใจมากขึ้น
1. มกราคม 2556 สหภาพยุโรปหรืออียู จัดเสวนา “การสร้างความปรองดองและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น” โดยยกตัวอย่างกรณีมาตรา 112 และการตัดสินคดีของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ขึ้นมาอภิปราย[1]
2. พฤษภาคม 2559 นายกลิน เดวีส์ ทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทย กล่าวที่สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศในไทย ว่าห่วงใยสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในไทย อันเนื่องมาจากการบังคับใช้มาตรา 112 [2]
3. พฤษภาคม 2559 ที่ประชุม The Universal Periodic Review ของยูเอ็นว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน ที่เจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ไทยถูกนานาชาติตั้งคำถามเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากกว่า 300 รายการ หนึ่งในหัวข้อที่ถูกตั้งคำถามอย่างมากคือมาตรา 112 เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้หนังสือพิมพ์ทั่วโลกพาดหัวข้อว่า “Thailand faces ‘moment of shame’ at UN rights council review’ (ไทยเผชิญกับ “ช่วงเวลาแห่งความอับอาย” ในการทบทวนของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งยูเอ็น) ประเทศที่ตั้งคำถามกับไทยมีมากมาย เช่น เบลเยี่ยม เชค เนเธอร์แลนด์ ลีคเทนสไตน์ สโลวาเนีย ออสเตรเลีย สหรัฐฯ สวีเดน อังกฤษและไอร์แลนด์เหนือ [3]
4. กุมภาพันธ์ 2560 นายเดวิด เคย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนของยูเอ็นเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกการบังคับใช้ มาตรา112 เพราะถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน ขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนสากล เขายังแสดงความกังวลต่อการดำเนินคดีต่อไผ่ ดาวดิน [4]
5. มิถุนายน 2560 โฆษกสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ แสดงความวิตกกังวลและหนักใจต่อการบังคับใช้ จำนวนคดีที่เพิ่มสูง และบทลงโทษคดีที่เกี่ยวกับมาตรา 112 และเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมายนี้ [5]
เหล่านี้เป็นข้อมูล “บางส่วน” เท่านั้น หากคุณรัชดาจะลองกูเกิ้ลด้วยคำว่า
“Thailand, Lese majeste law, Article 112” ก็จะพบว่านับตั้งแต่รัฐประหารปี 2549 ปัญหานี้ทำให้ประเทศไทยได้ขึ้นพาดหัวข่าวของสำนักข่าวทั่วโลกมากมายเพียงใด ประเทศไทยถูก shaming ถูกทำให้อับอายบ่อยครั้งเพียงใด และหากพรรคก้าวไกลถูกยุบ ประเทศจะน่าอับอายมากยิ่งขึ้นอีกหรือไม่?
1. https://www.voicetv.co.th/read/61841
2. https://www.matichon.co.th/politics/news_138022
3. https://www.jpost.com/.../thailand-faces-moment-of-shame...; ดูรายละเอียดของประเด็นที่เป็นปัญหาใน https://freedom.ilaw.or.th/en/report/may2015
4. https://www.bbc.com/thai/thailand-38894463...
5. https://www.bbc.com/thai/international-40260524; https://www.bbc.com/news/world-asia-40298570
https://ilaw.or.th/node/1566
เพิ่มเติม 2...สภาโยนทิ้งร่างแก้ไขที่ครก.112 ยื่น ไม่มีการบรรจุในญัตติเพื่อพิจารณาแต่ประการใด
Atukkit Sawangsuk
9 hours ago
·
โลกตะวันตกนั้นไม่ถึงขั้นบอยคอตไทยเพราะยุบพรรค เพราะ 112 หรอก
ผลประโยชน์การค้าสำคัญกว่า
แต่เวลาที่บริษัทข้ามชาติจากประเทศเหล่านี้จะมาลงทุน เขาก็ดูข้อมูลรอบด้าน รวมถึงปัญหาการเมือง
ต่างชาติมองเห็นชัดเจนว่า ประเทศนี้มีคลื่นลมแห่งความขัดแย้งรุนแรงอยู่ใต้น้ำ รอวันเป็นสึนามิ
ขณะที่ศักยภาพทุกด้านก็ถดถอย
จึงไม่มีใครอยากลงทุนระยะยาว
ยกเว้นทุนจีน